ASTVผู้จัดการรายวัน -“โต้ง” ถกคลัง - สศช. - แบงก์ชาติหาทางออกแก้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เคาะ3 ข้อสรุปได้แล้ว ยืนยันไม่แตะเงินคลังหลวง-เงินหลวงตาบัว เล็งเพิ่มอำนาจกองทุนฟื้นฟูฯ เรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินและสถาบันคุ้มครองเงินฝากจ่ายดอกเบี้ย ส่วนเงินต้นยังเป็นภาระของธปท.ตามกฎหมาย "มาร์ค" ติงออกพ.ร.ก.โอนหนี้ให้ธปท. ส่อขัดรัฐธรรมนูญ แนะใช้ระเบียบแบงก์ชาติดึงกำไร มาชำระหนี้เงินต้น ด้านธปท.รับปัญหาน้ำ ท่วมกระทบศก.ไทย เดือนพ.ย.หนักสุด เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวติดลบ ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้มีโอกาสต่ำกว่า 1.8% ส่วนในปี 55 แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังดีอยู่น่าจะดันให้โตไม่ต่ำกว่า 4.8%
เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ประชุมร่วมกับนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)หรือสภาพัฒน์ฯ เพื่อพิจารณาแนวการแก้ภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF วงเงิน 1.14 ล้านล้านบาท
ที่ประชุมใช้เวลาหารือร่วมกันนานกว่า 3 ชั่วโมง ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเห็นว่าแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีการโอนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งหมดไปยัง ธปท. แต่จะใช้วิธีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้กองทุนฟื้นฟูฯ ดำเนินการรูปแบบต่าง ๆ เช่น เรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท และโอนรายได้จากสถาบันคุ้มครองเงินฝากจำนวน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายหนี้ในส่วนที่เป็นภาระดอกเบี้ยของกองทุนฟื้นฟูฯ
นายธีระชัยกล่าวว่า ที่ประชุมวันนี้เห็นชอบในหลักการที่จะใช้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นกลไกในการหาแหล่งเงินและรายได้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ โดยจะมีการดำเนินการ คือ โอนรายได้ที่เกิดจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยนำรายได้ในส่วนนี้ไปอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการชั่วคราว ซึ่งขณะนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีรายได้ปีละประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ จะเสนอแก้กฎหมายเพิ่มอำนาจให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ จากระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่เป็นภาระมากเกินไป โดยแนวทางนี้เชื่อว่าจะไม่เป็นภาระแก่งบประมาณในการชำระดอกเบี้ย และจะไม่กระทบต่อวินัยการเงินการคลัง
ขณะนี้ รัฐบาลมีภาระที่ต้องชำระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯ อยู่ประมาณ 45,000 ล้านบาท แต่จะได้จากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 30,000 ล้านบาท และจะเปิดให้กองทุนฟื้นฟูฯ เรียกเก็บจากสถาบันการเงินอย่างน้อย 15,000 ล้านบาท ส่วนของเงินต้นนั้น ยังให้เป็นไปตามกลไกเดิม คือ ธปท.เป็นผู้ชำระเงินต้น
ส่วนจะนำเงินจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากมาจนกว่าจะเพียงพอกับการแก้ปัญหาหนี้เก่า หรือหาวิธีการหรือกลไกในการแก้ปัญหาหนี้เก่า โดยไม่กระทบหรือเป็นภาระงบประมาณในแต่ละปี ท้ายสุดก็ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.
นายธีระชัยกล่าวว่า หนี้ดังกล่าวหากโอนให้แบงก์ชาติจะต้องมีการพิมพ์ธนบัตร แต่ที่ประชุมวันนี้ได้มีการหารือว่าถ้าโอนไปกองทุนฟื้นฟูฯ ผู้ลงทุนก็จะคิดว่ารัฐบาลเข้าไปค้ำประกัน และหนี้ที่เป็นของกองทุนฟื้นฟูฯ ก็ยังถือว่าเป็นหนี้สาธารณะอยู่ดี ซึ่งเมื่อพิจารณาอย่างนี้ ถ้าโอนไปแล้วและให้กองทุนฟื้นฟูฯ ออกพันธบัตรแทนรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้น จึงจะหนีไม่พ้นที่รัฐบาลต้องเข้าไปค้ำประกัน ดังนั้นการโอนหนี้ในกองทุนฟื้นฟูฯ จึงมีความจำเป็นในระดับรองลงมา
****"ประสาร"ลั่นไม่พิมพ์เงิน
ด้านนายประสาร กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการแก้หนี้กองทุนฟื้นฟู ฯภายใต้ 3 หลักการสำคัญคือ 1.ต้องไม่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเพื่อนำมาใช้หนี้แทนกองทุนฟื้นฟูฯ 2.จะหารูปแบบการชดเชยภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะไม่ทำให้เสียวินัยการคลัง และ 3.จะใช้แนวทางที่ไม่กระทบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ เงินบริจาคของหลวงตามหาบัว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมที่ชัดเจนอีกครั้ง และเบื้องต้นคาดว่า คงจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย และคาดจะได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้
ทั้งนี้ ในประเด็นเรื่องการโอนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องมีการหารือกันอย่างละเอียด เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งธปท.เอง ตลอดจนกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคงต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพียงแต่ในขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นกฎหมายตัวใด จึงต้องรอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหารือกันก่อนและจะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด
ส่วนกรณีที่นายกิตติรัตน์ออกมาระบุว่าสามารถนำกำไรที่มีอยู่จากผลประกอบการของ ธปท.มาใช้คืนหนี้กองทุนฯ ได้นั้น ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ กล่าวว่า ปีนี้ ธปท.มีผลประกอบการขาดทุน เนื่องจากค่าเงินบาทผันผวน โดยช่วงต้นปีเงินบาทแข็งค่า และกลับมาอ่อนค่าในช่วงกลางปีถึงปลายปี
*** "มาร์ค"ติงออกพ.ร.ก.ส่อขัดรธน.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดในการออก พ.ร.ก.เพื่อโอนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า สิ่งที่ต้องจับตาดูก็คือ การตราเป็นพ.ร.ก.นั้น จะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะการออกเป็นพ.ร.ก. มี 2 เงื่อนไขหลัก คือ
1. ต้องทำเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น รักษาความมั่นคง ป้องปัดภัยพิบัติ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
2. เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นต้องดูว่าสาระ พ.ร.ก.จะออกมาเป็นอย่างไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ต้องการผลักหนี้ก้อนนี้ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะรัฐบาลปัจจุบันแบกรับภาระดอกเบี้ยอยู่ประมาณ 6- 7 หมื่นล้านบาท หากผลักดอกเบี้ยก้อนนี้ไปให้ ธปท. ได้ จะทำให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายงบประมาณได้เพิ่มขึ้น แม้หนี้ตัวนี้จะเป็นหนี้ของประเทศ หนี้ของประชาชนเหมือนกัน แต่เมื่อไปอยู่กับธปท. แล้ว ธปท.จะเป็นผู้จัดการ แล้วรัฐบาลก็หมดภาระตรงนี้ไป แต่หาก ธปท. เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุนสำรองฯ หรือการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม จนเกิดปัญหาเงินเฟ้อ ประชาชนก็จะเหมือนถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
" ผมเห็นว่าวิธีที่น่าจะทำมากกว่า คือไปดูกฎระเบียบของแบงก์ชาติ ว่าจะมีทางอย่างไร ที่จะเอากำไรบางส่วนสามารถมาชำระหนี้ที่เป็นเงินต้นได้เพิ่มเติมมากขึ้น เพราะว่าขณะนี้มีปัญหาเวลาที่ดูกำไรของธปท. มีหลายบัญชี แล้วมีทั้งที่เป็นเงินบาท มีทั้งที่เป็นเงินเหรียญ และโดยเทคนิค และกฎระเบียบต่างๆ ทำให้ขณะนี้ มีเงินบางส่วนซึ่งน่าจะสามารถมาช่วยชำระหนี้ตรงนี้ได้ แต่เอาออกมาไม่ได้ น่าจะดูตรงนั้นมากกว่า เพราะว่าพอแบงก์ชาติเขาสามารถชำระเงินต้นได้มากขึ้น มันก็จะลดภาระดอกเบี้ย ที่กระทรวงการคลังรับผิดชอบไปโดยปริยาย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
***ธปท.รับจีดีพีพ.ย.วูบแรง กดดันทั้งปีโตต่ำกว่า1.8%
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมมากกว่าที่ธปท.ประเมินไว้ ทำให้ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนพ.ย.ได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด แต่คาดว่าส่วนใหญ่ภาคเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงเดือนธ.ค.นี้ ทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยตลอดปี 54 คาดว่าจะต่ำกว่าที่ธปท.ประเมินไว้ที่ระดับ 1.8% แต่คาดว่าในปี 55 เศรษฐกิจไทยน่าจะโตไม่ต่ำกว่า 4.8% เพราะแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม
ทั้งนี้ ธปท.เห็นว่าหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจเริ่มจะปรับตัวดีขึ้นจากปัญหาน้ำท่วม โดยภาคเกษตรคาดว่าน่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตข้าวและราคายางพาราที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย ทำให้ธุรกิจยางรถยนต์น่าจะดีขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็ค่อยๆปรับตัวได้ดีและค่อนข้างเร็วทั้งธุรกิจรถยนต์ที่เริ่มหาวัตถุดิบมาผลิตทันที แผงวงจรไฟฟ้า(ไอซี) คาดว่าเริ่มผลิตได้ในเดือนม.ค.นี้ และธุรกิจ Hard Disk Drive (HDD) คาดว่าจะผลิตได้เต็มที่ไม่เกินปลายไตรมาส 2 ของปีหน้า
ส่วนการบริโภคคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้เร็วในเดือนธ.ค.นี้และชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าจากมาตรการภาครัฐที่เข้ามาช่วยและจากการสอบถามผู้ประกอบการเห็นว่าความต้องการซื้อรถยนต์ยังไม่ถดถอยกว่าช่วงที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการลงทุนคาดว่าจะเริ่มเห็นในช่วงไตรมาสแรกและเต็มที่ในช่วงไตรมาส 2 มาจากการก่อสร้างที่เกิดจากการฟื้นฟูกิจการหรือปรับปรุงซ่อมแซม ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ใหม่ แต่การลงทุนใหม่อาจต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง เพราะภาคธุรกิจส่วนใหญ่ต่างรอความชัดเจนของรัฐบาลทำแผนจัดการน้ำและการป้องกันอุทกภัยในปีหน้า
นายเมธี กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนพ.ย.นี้ ธปท.เห็นว่าปัญหาอุทกภัยกระทบทั้งภาคเกษตรที่รายได้ติดลบ 8.6% ครั้งแรกในรอบหลายปี ภาคอุตสาหกรรมที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ระดับ 97.9 ต่ำกว่าปีฐาน และภาคท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากคำเตือนให้แก่นักท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ แต่คาดว่าการท่องเที่ยวไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่าภาคอื่น
เพราะช่วงหลังนักท่องเที่ยวมาจากกลุ่มเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่นและอิเดีย ทำให้มีการปรับตัวเร็วต่อปัญหาภัยพิบัติ
เช่นเดียวกับภาคบริโภคหดตัวติดลบ1.6% แต่ไม่ต่ำมากกว่าช่วงวิกฤต การลงทุนก็ได้รับผลกระทบเช่นกันติดลบ 1.3% โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัย แต่มองว่าแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 39 จากเดือนต.ค. 36.7 และดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นเป็น 54.4 ถือว่าสูงกว่าระดับ 50 ที่มีความเชื่อมั่น
ทำให้ผู้ประกอบการจะมีความมั่นใจต่อการลงทุนในวันข้างหน้าเพิ่มขึ้น
สำหรับภาคส่งออก การนำเข้าและการผลิต นอกจากได้รับผลกระทบเรื่องน้ำท่วมแล้วยังมีผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเช่นกัน ทำให้การส่งออกมีมูลค่า 1.53 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือหดตัว 13.1% ลดลงน้อยกว่าช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 52 และมีมูลนำเข้า 1.51 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 1.9% ซึ่งเป็นการหดตัวมากในรอบ 2 ปี และในแง่มูลค่าต่ำกว่าที่ผ่านมา 1 ปี ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 218 ล้านเหรียญสหรัฐ และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุล 355 ล้านเหรียญสหรัฐตามรายรับของบริษัทประกันภัยต่างประเทศจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเดือนนี้ส่งมา 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 136 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในเดือนพ.ย.มีเงินไหลออกทั้งสิ้น 1,381 ล้านเหรียญสหรัฐใกล้เคียงกับเดือนก่อนจากการชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ต่างชาติมีการขายหุ้นออกไป 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันต่างชาติขายพันธบัตรธปท. 400 ล้านเหรียญ แต่กลับซื้อพันธบัตรรัฐบาล 200 ล้านเหรียญ เพราะเชื่อว่าดอกเบี้ยนโยบายลดลง จึงหันมาขายพันธบัตรอายุสั้นและซื้อระยะยาวมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูง
"อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับสูง โดยเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4.19% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 2.90% และจากการสำรวจผู้ประกอบการ พบว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อใน 12 เดือนข้างหน้าลดลง ลดลงต่อเนื่องจากเดือนต.ค.ที่ผ่านมา แต่อนาคตเงินเฟ้อยังคงทรงตัวระดับสูงจากนโยบายภาครัฐหลังน้ำท่วมจะเป็นตัวเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ ขณะที่ปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เชื่อว่าเป็นปัจจัยชั่วคราว เมื่อภาคธุรกิจฟื้นตัวได้ทุกอย่างกลับมาปกติ เพราะขณะนี้แรงงานส่วนใหญ่ยังไม่โดนปลดและบางภาคยังขาดแคลนแรงงานด้วยซ้ำ ทำให้ในอนาคตอาจมีการย้ายตลาดแรงงานมากขึ้น"
เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ประชุมร่วมกับนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)หรือสภาพัฒน์ฯ เพื่อพิจารณาแนวการแก้ภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF วงเงิน 1.14 ล้านล้านบาท
ที่ประชุมใช้เวลาหารือร่วมกันนานกว่า 3 ชั่วโมง ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเห็นว่าแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีการโอนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งหมดไปยัง ธปท. แต่จะใช้วิธีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้กองทุนฟื้นฟูฯ ดำเนินการรูปแบบต่าง ๆ เช่น เรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท และโอนรายได้จากสถาบันคุ้มครองเงินฝากจำนวน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายหนี้ในส่วนที่เป็นภาระดอกเบี้ยของกองทุนฟื้นฟูฯ
นายธีระชัยกล่าวว่า ที่ประชุมวันนี้เห็นชอบในหลักการที่จะใช้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นกลไกในการหาแหล่งเงินและรายได้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ โดยจะมีการดำเนินการ คือ โอนรายได้ที่เกิดจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยนำรายได้ในส่วนนี้ไปอยู่ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นการชั่วคราว ซึ่งขณะนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีรายได้ปีละประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ จะเสนอแก้กฎหมายเพิ่มอำนาจให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ จากระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่เป็นภาระมากเกินไป โดยแนวทางนี้เชื่อว่าจะไม่เป็นภาระแก่งบประมาณในการชำระดอกเบี้ย และจะไม่กระทบต่อวินัยการเงินการคลัง
ขณะนี้ รัฐบาลมีภาระที่ต้องชำระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯ อยู่ประมาณ 45,000 ล้านบาท แต่จะได้จากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 30,000 ล้านบาท และจะเปิดให้กองทุนฟื้นฟูฯ เรียกเก็บจากสถาบันการเงินอย่างน้อย 15,000 ล้านบาท ส่วนของเงินต้นนั้น ยังให้เป็นไปตามกลไกเดิม คือ ธปท.เป็นผู้ชำระเงินต้น
ส่วนจะนำเงินจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากมาจนกว่าจะเพียงพอกับการแก้ปัญหาหนี้เก่า หรือหาวิธีการหรือกลไกในการแก้ปัญหาหนี้เก่า โดยไม่กระทบหรือเป็นภาระงบประมาณในแต่ละปี ท้ายสุดก็ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.
นายธีระชัยกล่าวว่า หนี้ดังกล่าวหากโอนให้แบงก์ชาติจะต้องมีการพิมพ์ธนบัตร แต่ที่ประชุมวันนี้ได้มีการหารือว่าถ้าโอนไปกองทุนฟื้นฟูฯ ผู้ลงทุนก็จะคิดว่ารัฐบาลเข้าไปค้ำประกัน และหนี้ที่เป็นของกองทุนฟื้นฟูฯ ก็ยังถือว่าเป็นหนี้สาธารณะอยู่ดี ซึ่งเมื่อพิจารณาอย่างนี้ ถ้าโอนไปแล้วและให้กองทุนฟื้นฟูฯ ออกพันธบัตรแทนรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้น จึงจะหนีไม่พ้นที่รัฐบาลต้องเข้าไปค้ำประกัน ดังนั้นการโอนหนี้ในกองทุนฟื้นฟูฯ จึงมีความจำเป็นในระดับรองลงมา
****"ประสาร"ลั่นไม่พิมพ์เงิน
ด้านนายประสาร กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการแก้หนี้กองทุนฟื้นฟู ฯภายใต้ 3 หลักการสำคัญคือ 1.ต้องไม่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มเพื่อนำมาใช้หนี้แทนกองทุนฟื้นฟูฯ 2.จะหารูปแบบการชดเชยภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะไม่ทำให้เสียวินัยการคลัง และ 3.จะใช้แนวทางที่ไม่กระทบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ เงินบริจาคของหลวงตามหาบัว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมที่ชัดเจนอีกครั้ง และเบื้องต้นคาดว่า คงจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย และคาดจะได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้
ทั้งนี้ ในประเด็นเรื่องการโอนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องมีการหารือกันอย่างละเอียด เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งธปท.เอง ตลอดจนกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคงต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพียงแต่ในขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นกฎหมายตัวใด จึงต้องรอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหารือกันก่อนและจะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด
ส่วนกรณีที่นายกิตติรัตน์ออกมาระบุว่าสามารถนำกำไรที่มีอยู่จากผลประกอบการของ ธปท.มาใช้คืนหนี้กองทุนฯ ได้นั้น ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ กล่าวว่า ปีนี้ ธปท.มีผลประกอบการขาดทุน เนื่องจากค่าเงินบาทผันผวน โดยช่วงต้นปีเงินบาทแข็งค่า และกลับมาอ่อนค่าในช่วงกลางปีถึงปลายปี
*** "มาร์ค"ติงออกพ.ร.ก.ส่อขัดรธน.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดในการออก พ.ร.ก.เพื่อโอนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า สิ่งที่ต้องจับตาดูก็คือ การตราเป็นพ.ร.ก.นั้น จะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะการออกเป็นพ.ร.ก. มี 2 เงื่อนไขหลัก คือ
1. ต้องทำเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น รักษาความมั่นคง ป้องปัดภัยพิบัติ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
2. เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นต้องดูว่าสาระ พ.ร.ก.จะออกมาเป็นอย่างไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ต้องการผลักหนี้ก้อนนี้ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะรัฐบาลปัจจุบันแบกรับภาระดอกเบี้ยอยู่ประมาณ 6- 7 หมื่นล้านบาท หากผลักดอกเบี้ยก้อนนี้ไปให้ ธปท. ได้ จะทำให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายงบประมาณได้เพิ่มขึ้น แม้หนี้ตัวนี้จะเป็นหนี้ของประเทศ หนี้ของประชาชนเหมือนกัน แต่เมื่อไปอยู่กับธปท. แล้ว ธปท.จะเป็นผู้จัดการ แล้วรัฐบาลก็หมดภาระตรงนี้ไป แต่หาก ธปท. เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุนสำรองฯ หรือการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม จนเกิดปัญหาเงินเฟ้อ ประชาชนก็จะเหมือนถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
" ผมเห็นว่าวิธีที่น่าจะทำมากกว่า คือไปดูกฎระเบียบของแบงก์ชาติ ว่าจะมีทางอย่างไร ที่จะเอากำไรบางส่วนสามารถมาชำระหนี้ที่เป็นเงินต้นได้เพิ่มเติมมากขึ้น เพราะว่าขณะนี้มีปัญหาเวลาที่ดูกำไรของธปท. มีหลายบัญชี แล้วมีทั้งที่เป็นเงินบาท มีทั้งที่เป็นเงินเหรียญ และโดยเทคนิค และกฎระเบียบต่างๆ ทำให้ขณะนี้ มีเงินบางส่วนซึ่งน่าจะสามารถมาช่วยชำระหนี้ตรงนี้ได้ แต่เอาออกมาไม่ได้ น่าจะดูตรงนั้นมากกว่า เพราะว่าพอแบงก์ชาติเขาสามารถชำระเงินต้นได้มากขึ้น มันก็จะลดภาระดอกเบี้ย ที่กระทรวงการคลังรับผิดชอบไปโดยปริยาย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
***ธปท.รับจีดีพีพ.ย.วูบแรง กดดันทั้งปีโตต่ำกว่า1.8%
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า จากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมมากกว่าที่ธปท.ประเมินไว้ ทำให้ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนพ.ย.ได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด แต่คาดว่าส่วนใหญ่ภาคเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงเดือนธ.ค.นี้ ทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยตลอดปี 54 คาดว่าจะต่ำกว่าที่ธปท.ประเมินไว้ที่ระดับ 1.8% แต่คาดว่าในปี 55 เศรษฐกิจไทยน่าจะโตไม่ต่ำกว่า 4.8% เพราะแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม
ทั้งนี้ ธปท.เห็นว่าหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจเริ่มจะปรับตัวดีขึ้นจากปัญหาน้ำท่วม โดยภาคเกษตรคาดว่าน่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตข้าวและราคายางพาราที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย ทำให้ธุรกิจยางรถยนต์น่าจะดีขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็ค่อยๆปรับตัวได้ดีและค่อนข้างเร็วทั้งธุรกิจรถยนต์ที่เริ่มหาวัตถุดิบมาผลิตทันที แผงวงจรไฟฟ้า(ไอซี) คาดว่าเริ่มผลิตได้ในเดือนม.ค.นี้ และธุรกิจ Hard Disk Drive (HDD) คาดว่าจะผลิตได้เต็มที่ไม่เกินปลายไตรมาส 2 ของปีหน้า
ส่วนการบริโภคคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้เร็วในเดือนธ.ค.นี้และชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าจากมาตรการภาครัฐที่เข้ามาช่วยและจากการสอบถามผู้ประกอบการเห็นว่าความต้องการซื้อรถยนต์ยังไม่ถดถอยกว่าช่วงที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการลงทุนคาดว่าจะเริ่มเห็นในช่วงไตรมาสแรกและเต็มที่ในช่วงไตรมาส 2 มาจากการก่อสร้างที่เกิดจากการฟื้นฟูกิจการหรือปรับปรุงซ่อมแซม ซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ใหม่ แต่การลงทุนใหม่อาจต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง เพราะภาคธุรกิจส่วนใหญ่ต่างรอความชัดเจนของรัฐบาลทำแผนจัดการน้ำและการป้องกันอุทกภัยในปีหน้า
นายเมธี กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนพ.ย.นี้ ธปท.เห็นว่าปัญหาอุทกภัยกระทบทั้งภาคเกษตรที่รายได้ติดลบ 8.6% ครั้งแรกในรอบหลายปี ภาคอุตสาหกรรมที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ระดับ 97.9 ต่ำกว่าปีฐาน และภาคท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากคำเตือนให้แก่นักท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ แต่คาดว่าการท่องเที่ยวไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่าภาคอื่น
เพราะช่วงหลังนักท่องเที่ยวมาจากกลุ่มเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่นและอิเดีย ทำให้มีการปรับตัวเร็วต่อปัญหาภัยพิบัติ
เช่นเดียวกับภาคบริโภคหดตัวติดลบ1.6% แต่ไม่ต่ำมากกว่าช่วงวิกฤต การลงทุนก็ได้รับผลกระทบเช่นกันติดลบ 1.3% โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัย แต่มองว่าแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 39 จากเดือนต.ค. 36.7 และดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นเป็น 54.4 ถือว่าสูงกว่าระดับ 50 ที่มีความเชื่อมั่น
ทำให้ผู้ประกอบการจะมีความมั่นใจต่อการลงทุนในวันข้างหน้าเพิ่มขึ้น
สำหรับภาคส่งออก การนำเข้าและการผลิต นอกจากได้รับผลกระทบเรื่องน้ำท่วมแล้วยังมีผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเช่นกัน ทำให้การส่งออกมีมูลค่า 1.53 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือหดตัว 13.1% ลดลงน้อยกว่าช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 52 และมีมูลนำเข้า 1.51 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 1.9% ซึ่งเป็นการหดตัวมากในรอบ 2 ปี และในแง่มูลค่าต่ำกว่าที่ผ่านมา 1 ปี ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 218 ล้านเหรียญสหรัฐ และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุล 355 ล้านเหรียญสหรัฐตามรายรับของบริษัทประกันภัยต่างประเทศจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเดือนนี้ส่งมา 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 136 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในเดือนพ.ย.มีเงินไหลออกทั้งสิ้น 1,381 ล้านเหรียญสหรัฐใกล้เคียงกับเดือนก่อนจากการชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ต่างชาติมีการขายหุ้นออกไป 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันต่างชาติขายพันธบัตรธปท. 400 ล้านเหรียญ แต่กลับซื้อพันธบัตรรัฐบาล 200 ล้านเหรียญ เพราะเชื่อว่าดอกเบี้ยนโยบายลดลง จึงหันมาขายพันธบัตรอายุสั้นและซื้อระยะยาวมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูง
"อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับสูง โดยเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4.19% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 2.90% และจากการสำรวจผู้ประกอบการ พบว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อใน 12 เดือนข้างหน้าลดลง ลดลงต่อเนื่องจากเดือนต.ค.ที่ผ่านมา แต่อนาคตเงินเฟ้อยังคงทรงตัวระดับสูงจากนโยบายภาครัฐหลังน้ำท่วมจะเป็นตัวเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ ขณะที่ปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เชื่อว่าเป็นปัจจัยชั่วคราว เมื่อภาคธุรกิจฟื้นตัวได้ทุกอย่างกลับมาปกติ เพราะขณะนี้แรงงานส่วนใหญ่ยังไม่โดนปลดและบางภาคยังขาดแคลนแรงงานด้วยซ้ำ ทำให้ในอนาคตอาจมีการย้ายตลาดแรงงานมากขึ้น"