ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าการ ธปท.แจงไม่รับโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เหตุมติ ครม.ปี40 ระบุชัดเป็นหนี้ของคลังที่กองทุนฟื้นฟูฯ ทำตามนโยบายรัฐ โต้ปัจจุบัน ธปท.มีทุนติดลบ 4 แสนล้าน และขาดทุนสะสม 1.99 แสนล้านมีฐานะดีอย่างไร และหากสุดท้ายจะออกกฎหมายมาบังคับโอนหนี้ให้คนอื่นโดยที่คนนั้นไม่ยินยอมหรือไม่ได้ปรึกษาก่อนอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องตีกลับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 55 มั่นใจไม่กระทบนโยบายการเงิน แต่คนข้างนอกอาจมองว่าวิธีการบริหารราชการแผ่นดินของบ้านเรามีปัญหา
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การโอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) ที่เหลืออยู่จำนวน 1.14 ล้านล้านบาทจากกระทรวงการคลังมาให้ ธปท.ดูแล ต้องเข้าใจก่อนว่าการจะคืนหนี้ได้ หนี้ก้อนนั้นต้องเป็นของ ธปท.แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะหนี้ก้อนดังกล่าวเป็นหนี้ของคลัง โดยปี 40 ที่เกิดวิกฤตประชาชนแห่ถอนเงิน ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้รัฐบาลค้ำประกันเงินฝากและเจ้าหนี้ โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นตัวกลางรับแลก จึงเห็นได้ชัดว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เป็นกลไกของรัฐ ไม่ใช่ของ ธปท.
นอกจากนี้ ตัวกองทุนฟื้นฟูฯ จะปิดในปี 56 และกลางปี 55 บทบาทของกองทุนฟื้นฟูฯจะหมดไป ซึ่งระบุในกฎหมาย พ.ร.บ.ธปท.ปี 51 แต่เมื่อคลังส่งหนังสือบอกว่าให้คงสถานะกองทุนฟื้นฟูฯ ไว้ก่อนก็แสดงให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เป็นกลไกของรัฐ อีกทั้งต้องเข้าใจด้วยว่าไม่มีหน่วยงานใดที่มีอำนาจเก็บภาษี เพื่อนำรายได้มาชดเชยภาระหนี้สินดังกล่าวได้ ซึ่ง ธปท.เองก็เหมือนกับหน่วยงานอื่นของรัฐที่เมื่อใดมีกำไรก็จะนำส่งให้กระทรวงการคลัง ทำให้เงินไม่ได้อยู่ที่ธปท.
ส่วนประเด็นที่เห็นว่าขณะนี้ ธปท.มีฐานะการเงินดี ความเป็นจริงก็ไม่ใช่ เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธปท.ต้องดูแลค่าเงินบาท ซึ่งในยามเศรษฐกิจดี เงินบาทแข็งค่า ธปท.จะมีผลขาดทุน จึงต่างกับธุรกิจอื่น และส่งผลให้ ธปท.มีภาระในการดูดซับสภาพคล่อง คือ มีต้นทุนจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท.สูงกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศ ทำให้ขณะนี้ ธปท.มีทุนติดลบ 4 แสนล้านบาท และขาดทุนสะสมอีก 1.9 แสนล้านบาท โดยหากนำหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ โอนมาให้ ธปท.จะส่งผลให้ ธปท.ขาดทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท
ขณะเดียวกัน เงินสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ ส่วนหนึ่งเกิดจากทุนสำรองเงินตราที่ใช้หนุนหลังธนบัตร ไม่ใช่บัญชีของ ธปท.และเงินสำรองฯ ก็ยังเกิดจากเงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างมาก ซึ่งนักลงทุนต่างชาติที่เป็นเจ้าของก็เข้ามาซื้อหุ้นหรือพันธบัตรในไทย จึงมีโอกาสถอนเงินออกไปได้ ซึ่งเห็นได้จากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาต่างชาติมีการขายออกไปบ้าง ทำให้เงินทุนสำรองฯ ไม่เหมือนกับประเทศตะวันออกกลางที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติจากน้ำมัน ทำให้มีรายได้ไหลเข้าประเทศทั้งหมด
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ในปัจจุบันสังคมประเทศไทยมีระบบกฎหมายที่น่าเชื่อถือพอสมควร จึงไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ คนมีหนี้แล้วจะออกกฎหมายยกหนี้ให้อีกคนหนึ่ง ซึ่งคนคนนั้นไม่ได้ยินยอมหรือปรึกษาอะไรเลย เพราะแม้แต่ชาวบ้านหรือภาคธุรกิจตามปกติเมื่อมีหนี้จะให้ใครรับหนี้ก็ต้องให้เขายินยอมด้วย ฉะนั้น การออกกฎหมายมาบังคับก็จะเป็นการสร้างมาตรฐานการออกกฎหมายที่ค่อนข้างตลกและถ้าจะมีการแก้กฎหมายก็ต้องผ่านรัฐสภา ซึ่งขณะนี้มีบางคนตั้งคำถามว่า กฎหมายลักษณะนี้จะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะแสดงให้เห็นว่าการออกกฎหมายแบบนี้เมื่อใครมีหนี้จะโอนให้ใครก็ได้
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้บ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือของ ธปท. เพราะแม้ตอนนี้ ธปท.มีทุนติดลบ แต่คนทั่วไปยังเชื่อว่าวันหนึ่งจะมีรายได้ ทำให้เมื่อออกพันธบัตร ธปท.มาก็ยังคงมีคนซื้ออยู่ แต่หากธปท.มีผลขาดทุนติดลบเพิ่มขึ้น คนทั่วไปจะห่วงว่า ธปท.อาจจะไม่กล้าดำเนินนโยบายการเงินแบบตรงไปตรงมา เพราะห่วงเรื่องผลกำไรขาดทุน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะกระทบความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศก็จะตกต่ำลง
“เราทำตามหน้าที่ ไม่รู้สึกหนักใจ และประเด็นนี้เราไม่ผิด ถ้าทำผิดเราถึงจะแสดงความรับผิดชอบ โดยเรื่องปัญหาหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยวิกฤตปี 40 หนี้ก้อนนี้แลกมากับความอยู่รอดของประเทศไทยและแบงก์ชาติก็ไม่ได้มีอำนาจในการเก็บภาษีในการหารายได้มาชดเชยหนี้สินดังกล่าวได้ แต่เมื่อเกิดผลไม่ดีกับประเทศ ยิ่งหนีก็จะรู้สึกไม่ดี จึงเห็นว่าควรอธิบายว่าประเทศเกิดอะไรมากกว่า และเข้าใจว่าทางคุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีความเข้าใจว่าผลตามมาเป็นเช่นไร”
ห่วงคนข้างนอกมองบ้านเรามีปัญหา
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่อนุมัติกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 55 ที่นำเสนอไปว่า ไม่ได้มีผลกระทบต่อนโยบายการเงิน เพราะทุกอย่างดำเนินต่อไปทั้งการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งถัดไปในวันที่ 25 ม.ค.นี้ และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.25% จึงสามารถใช้กรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ระดับ 0.5-3% ตามแบบเดิมได้อยู่ เพียงแต่คนข้างนอกอาจมองว่าวิธีการบริหารราชการแผ่นดินของบ้านเราไม่เรียบร้อย
“โดยทั่วโลกในขณะนี้ใช้กรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ซึ่งกรอบนี้ก็ถอดแบบกันมา โดยเห็นว่าใช้เงินเฟ้อทั่วไปเพียงต้องการสื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น เพราะเงินเฟ้อทั่วไปจะครอบคลุมทุกปัจจัยที่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป ต่างจากเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสดเข้าไป ฉะนั้น ไม่ว่าจะใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ไม่ได้แสดงว่าเงินเฟ้อจะปรับขึ้นหรือลงและไม่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินให้เปลี่ยนแปลงไป”
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การโอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) ที่เหลืออยู่จำนวน 1.14 ล้านล้านบาทจากกระทรวงการคลังมาให้ ธปท.ดูแล ต้องเข้าใจก่อนว่าการจะคืนหนี้ได้ หนี้ก้อนนั้นต้องเป็นของ ธปท.แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะหนี้ก้อนดังกล่าวเป็นหนี้ของคลัง โดยปี 40 ที่เกิดวิกฤตประชาชนแห่ถอนเงิน ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้รัฐบาลค้ำประกันเงินฝากและเจ้าหนี้ โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นตัวกลางรับแลก จึงเห็นได้ชัดว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เป็นกลไกของรัฐ ไม่ใช่ของ ธปท.
นอกจากนี้ ตัวกองทุนฟื้นฟูฯ จะปิดในปี 56 และกลางปี 55 บทบาทของกองทุนฟื้นฟูฯจะหมดไป ซึ่งระบุในกฎหมาย พ.ร.บ.ธปท.ปี 51 แต่เมื่อคลังส่งหนังสือบอกว่าให้คงสถานะกองทุนฟื้นฟูฯ ไว้ก่อนก็แสดงให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เป็นกลไกของรัฐ อีกทั้งต้องเข้าใจด้วยว่าไม่มีหน่วยงานใดที่มีอำนาจเก็บภาษี เพื่อนำรายได้มาชดเชยภาระหนี้สินดังกล่าวได้ ซึ่ง ธปท.เองก็เหมือนกับหน่วยงานอื่นของรัฐที่เมื่อใดมีกำไรก็จะนำส่งให้กระทรวงการคลัง ทำให้เงินไม่ได้อยู่ที่ธปท.
ส่วนประเด็นที่เห็นว่าขณะนี้ ธปท.มีฐานะการเงินดี ความเป็นจริงก็ไม่ใช่ เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธปท.ต้องดูแลค่าเงินบาท ซึ่งในยามเศรษฐกิจดี เงินบาทแข็งค่า ธปท.จะมีผลขาดทุน จึงต่างกับธุรกิจอื่น และส่งผลให้ ธปท.มีภาระในการดูดซับสภาพคล่อง คือ มีต้นทุนจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท.สูงกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศ ทำให้ขณะนี้ ธปท.มีทุนติดลบ 4 แสนล้านบาท และขาดทุนสะสมอีก 1.9 แสนล้านบาท โดยหากนำหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ โอนมาให้ ธปท.จะส่งผลให้ ธปท.ขาดทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท
ขณะเดียวกัน เงินสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ ส่วนหนึ่งเกิดจากทุนสำรองเงินตราที่ใช้หนุนหลังธนบัตร ไม่ใช่บัญชีของ ธปท.และเงินสำรองฯ ก็ยังเกิดจากเงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างมาก ซึ่งนักลงทุนต่างชาติที่เป็นเจ้าของก็เข้ามาซื้อหุ้นหรือพันธบัตรในไทย จึงมีโอกาสถอนเงินออกไปได้ ซึ่งเห็นได้จากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาต่างชาติมีการขายออกไปบ้าง ทำให้เงินทุนสำรองฯ ไม่เหมือนกับประเทศตะวันออกกลางที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติจากน้ำมัน ทำให้มีรายได้ไหลเข้าประเทศทั้งหมด
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ในปัจจุบันสังคมประเทศไทยมีระบบกฎหมายที่น่าเชื่อถือพอสมควร จึงไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ คนมีหนี้แล้วจะออกกฎหมายยกหนี้ให้อีกคนหนึ่ง ซึ่งคนคนนั้นไม่ได้ยินยอมหรือปรึกษาอะไรเลย เพราะแม้แต่ชาวบ้านหรือภาคธุรกิจตามปกติเมื่อมีหนี้จะให้ใครรับหนี้ก็ต้องให้เขายินยอมด้วย ฉะนั้น การออกกฎหมายมาบังคับก็จะเป็นการสร้างมาตรฐานการออกกฎหมายที่ค่อนข้างตลกและถ้าจะมีการแก้กฎหมายก็ต้องผ่านรัฐสภา ซึ่งขณะนี้มีบางคนตั้งคำถามว่า กฎหมายลักษณะนี้จะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะแสดงให้เห็นว่าการออกกฎหมายแบบนี้เมื่อใครมีหนี้จะโอนให้ใครก็ได้
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้บ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือของ ธปท. เพราะแม้ตอนนี้ ธปท.มีทุนติดลบ แต่คนทั่วไปยังเชื่อว่าวันหนึ่งจะมีรายได้ ทำให้เมื่อออกพันธบัตร ธปท.มาก็ยังคงมีคนซื้ออยู่ แต่หากธปท.มีผลขาดทุนติดลบเพิ่มขึ้น คนทั่วไปจะห่วงว่า ธปท.อาจจะไม่กล้าดำเนินนโยบายการเงินแบบตรงไปตรงมา เพราะห่วงเรื่องผลกำไรขาดทุน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะกระทบความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศก็จะตกต่ำลง
“เราทำตามหน้าที่ ไม่รู้สึกหนักใจ และประเด็นนี้เราไม่ผิด ถ้าทำผิดเราถึงจะแสดงความรับผิดชอบ โดยเรื่องปัญหาหนี้สินกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยวิกฤตปี 40 หนี้ก้อนนี้แลกมากับความอยู่รอดของประเทศไทยและแบงก์ชาติก็ไม่ได้มีอำนาจในการเก็บภาษีในการหารายได้มาชดเชยหนี้สินดังกล่าวได้ แต่เมื่อเกิดผลไม่ดีกับประเทศ ยิ่งหนีก็จะรู้สึกไม่ดี จึงเห็นว่าควรอธิบายว่าประเทศเกิดอะไรมากกว่า และเข้าใจว่าทางคุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีความเข้าใจว่าผลตามมาเป็นเช่นไร”
ห่วงคนข้างนอกมองบ้านเรามีปัญหา
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่อนุมัติกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 55 ที่นำเสนอไปว่า ไม่ได้มีผลกระทบต่อนโยบายการเงิน เพราะทุกอย่างดำเนินต่อไปทั้งการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งถัดไปในวันที่ 25 ม.ค.นี้ และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.25% จึงสามารถใช้กรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ระดับ 0.5-3% ตามแบบเดิมได้อยู่ เพียงแต่คนข้างนอกอาจมองว่าวิธีการบริหารราชการแผ่นดินของบ้านเราไม่เรียบร้อย
“โดยทั่วโลกในขณะนี้ใช้กรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ซึ่งกรอบนี้ก็ถอดแบบกันมา โดยเห็นว่าใช้เงินเฟ้อทั่วไปเพียงต้องการสื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น เพราะเงินเฟ้อทั่วไปจะครอบคลุมทุกปัจจัยที่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป ต่างจากเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสดเข้าไป ฉะนั้น ไม่ว่าจะใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ไม่ได้แสดงว่าเงินเฟ้อจะปรับขึ้นหรือลงและไม่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินให้เปลี่ยนแปลงไป”