ศูนย์ข่าวศรีราชา - ท่าเรือแหลมฉบัง(ทลฉ.) เฟส 3 “ ยังลูกผีลูกคน “ หลังชาวบ้านยังปักหลักคัดค้านไม่หยุด แม้จะมีการเจรจาทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการหลายครั้ง แต่ไม่มีความคืบหน้า
นายรังสรรค์ สมบูรณ์ ชาวประมงบางคลองบางละมุง กล่าวถึง สถานการณ์ความคืบหน้า โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง(ทลฉ.) เฟส 3 อาจจะเกิดขึ้นไปได้ยาก เพราะที่ผ่านมา มีการพูดคุยจากหน่วยงานระดับสูงจากส่วนกลาง และจากประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 หลายครั้งแล้ว โดยเสนอแนวทางและปัญหาต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด
“การท่าเรือแหลมฉบัง ไม่ให้ความสนใจหรือสนใจต่อผลกระทบหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทั้งๆที่มีการเสนอแนวทางไปแล้ว และหากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง และมีผลกระทบ ทางการท่าเรือแหลมฉบัง จะให้ความสนใจหรือเข้าดำเนินการแก้ไขหรือไม่ ดังนั้น โครงการนี้จะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะกลุ่มชาวบ้านที่เคยได้รับผลกระทบคงจะไม่ให้เกิดขึ้นอย่างง่ายๆแน่นอน” นายรังสรรค์ กล่าว
นายรังสรรค์ กล่าวว่า ข้อเสนอที่หน่วยงานระดับสูงเสนอ โดยเฉพาะการจัดตั้งไตรภาคี ซึ่งมีชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบเข้าไปเป็นคณะกรรมการ โดยขณะนี้ล่วงเลยไปนานหลายเดือนแล้ว ก็ไม่มีอะไรเคลื่อนไหวเลย ทั้งๆที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ซึ่งควรจะต้องดำเนินการจัดการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเข้ามาร่วมกันทำงานไม่เกิดผลกระทบขึ้นในภายภาคหน้า เพราะชาวบ้านหวาดกลัว กับโครงการเฟสที่ 1 และ เฟส 2 แล้ว
สำหรับคณะกรรมการไตรภาคี ที่จะจัดตั้งขึ้นมา มีชื่อ “คณะกรรมการกำกับติดตามผลกระทบและการพัฒนาท่าเรือ เฟส 1 และ 2 “ โดยยังไม่เกี่ยวข้องกับท่าเรือเฟส 3 ที่มีโครงการในขณะนี้ เนื่องจากเฟส 1 และ 2 ยังเป็นปัญหาคาใจประชาชนบริเวณดังกล่าว เพราะทางการท่าเรือแหลมฉบังไม่เคยให้ความสนใจหรือเข้ามาแก้ไขปัญหา ดังนั้น เฟส 3 จึงยังไม่สมควรจะเกิดขึ้น หากการแก้ไขปัญหา เฟส 1 และ เฟส 2 ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
ด้าน ดร.สมนึก จงมิวศิน เครือข่ายประชาชนคัดค้านการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 กล่าวว่า ประชาชนให้ความสนใจและติดตามความเคลื่อนไหวโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาเคยเสนอปัญหาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะท่าเรือเฟส 1 และ เฟส 2 ยังสร้างปัญหาและผลกระทบต่อชาวบ้านและชาวประมง ดังนั้น ควรจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนจะดำเนินโครงการใหม่
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอ ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการตั้งแต่เดือนก.ย. 54 แต่ก็มีปัญหาอุปสรรคมาโดยตลอด ทำให้คณะกรรมการชุดนี้ยังไม่สามารถจัดตั้งได้ ซึ่งหากยืดเยื้อไปนานกว่านี้ จนชาวบ้านอดทนไม่ไหว การดำเนินโครงการเฟส 3 คงจะมีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะชาวบ้านให้โอกาสและระยะเวลามานานแล้ว แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบ ถึงไม่เร่งดำเนินการตามที่ชาวบ้านเรียกร้อง ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
“ชาวบ้านจะยื่นข้อเรียกร้องต่อการท่าเรือแหลมฉบังในเร็วๆ นี้ เพื่อเร่งรัดจัดตั้งคณะกรรมการ หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆในเร็วๆนี้ คงจะไม่มีการเจรจากันอีกแล้ว เพราะชาวบ้านถือว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ให้ความสำคัญต่อชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร” ดร.สมนึก กล่าว
ด้านนายสนธิ คชวัฒน์ เลขาคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานที่รับผิดชอบจากส่วนกลางลงมาในพื้นที่ และเป็นตัวกลางในการร่วมพูดคุยกับการท่าเรือแหลมฉบัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และกลุ่มชาวประมงที่ประกอบอาชีพในทะเล เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา และโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้น
การพูดคุยนั้น ได้มีการเสนอแนวทางร่วมกัน คือ 1.ให้การท่าเรือแหลมฉบังทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 เฟส เพื่อศึกษาตรวจสอบขีดความสามารถในการรองรับโครงการ พร้อมทั้งหามาตรการในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.ควรจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคีในการกำกับติดตามและตรวจสอบ 3.สร้างความไว้วางใจและสร้างมวลชนสัมพันธ์สำหรับประชาชน ที่อยู่รอบโครงการ 4.จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างน้อยปีละครั้ง
5.รับฟังข้อเสนอแนะและข้อห่วงกังวลของประชาชน พร้อมทั้งเสนอมาตรการความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม 6.ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ 7.จัดให้มีงบประมาณสำหรับการจัดทำโครงการความรับผิดชอบของการท่าเรือต่อสังคมและชุมชนโดยรอบ และดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป
นายรังสรรค์ สมบูรณ์ ชาวประมงบางคลองบางละมุง กล่าวถึง สถานการณ์ความคืบหน้า โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง(ทลฉ.) เฟส 3 อาจจะเกิดขึ้นไปได้ยาก เพราะที่ผ่านมา มีการพูดคุยจากหน่วยงานระดับสูงจากส่วนกลาง และจากประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 หลายครั้งแล้ว โดยเสนอแนวทางและปัญหาต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด
“การท่าเรือแหลมฉบัง ไม่ให้ความสนใจหรือสนใจต่อผลกระทบหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทั้งๆที่มีการเสนอแนวทางไปแล้ว และหากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง และมีผลกระทบ ทางการท่าเรือแหลมฉบัง จะให้ความสนใจหรือเข้าดำเนินการแก้ไขหรือไม่ ดังนั้น โครงการนี้จะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะกลุ่มชาวบ้านที่เคยได้รับผลกระทบคงจะไม่ให้เกิดขึ้นอย่างง่ายๆแน่นอน” นายรังสรรค์ กล่าว
นายรังสรรค์ กล่าวว่า ข้อเสนอที่หน่วยงานระดับสูงเสนอ โดยเฉพาะการจัดตั้งไตรภาคี ซึ่งมีชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบเข้าไปเป็นคณะกรรมการ โดยขณะนี้ล่วงเลยไปนานหลายเดือนแล้ว ก็ไม่มีอะไรเคลื่อนไหวเลย ทั้งๆที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ซึ่งควรจะต้องดำเนินการจัดการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเข้ามาร่วมกันทำงานไม่เกิดผลกระทบขึ้นในภายภาคหน้า เพราะชาวบ้านหวาดกลัว กับโครงการเฟสที่ 1 และ เฟส 2 แล้ว
สำหรับคณะกรรมการไตรภาคี ที่จะจัดตั้งขึ้นมา มีชื่อ “คณะกรรมการกำกับติดตามผลกระทบและการพัฒนาท่าเรือ เฟส 1 และ 2 “ โดยยังไม่เกี่ยวข้องกับท่าเรือเฟส 3 ที่มีโครงการในขณะนี้ เนื่องจากเฟส 1 และ 2 ยังเป็นปัญหาคาใจประชาชนบริเวณดังกล่าว เพราะทางการท่าเรือแหลมฉบังไม่เคยให้ความสนใจหรือเข้ามาแก้ไขปัญหา ดังนั้น เฟส 3 จึงยังไม่สมควรจะเกิดขึ้น หากการแก้ไขปัญหา เฟส 1 และ เฟส 2 ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
ด้าน ดร.สมนึก จงมิวศิน เครือข่ายประชาชนคัดค้านการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 กล่าวว่า ประชาชนให้ความสนใจและติดตามความเคลื่อนไหวโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาเคยเสนอปัญหาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะท่าเรือเฟส 1 และ เฟส 2 ยังสร้างปัญหาและผลกระทบต่อชาวบ้านและชาวประมง ดังนั้น ควรจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนจะดำเนินโครงการใหม่
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอ ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการตั้งแต่เดือนก.ย. 54 แต่ก็มีปัญหาอุปสรรคมาโดยตลอด ทำให้คณะกรรมการชุดนี้ยังไม่สามารถจัดตั้งได้ ซึ่งหากยืดเยื้อไปนานกว่านี้ จนชาวบ้านอดทนไม่ไหว การดำเนินโครงการเฟส 3 คงจะมีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะชาวบ้านให้โอกาสและระยะเวลามานานแล้ว แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบ ถึงไม่เร่งดำเนินการตามที่ชาวบ้านเรียกร้อง ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
“ชาวบ้านจะยื่นข้อเรียกร้องต่อการท่าเรือแหลมฉบังในเร็วๆ นี้ เพื่อเร่งรัดจัดตั้งคณะกรรมการ หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆในเร็วๆนี้ คงจะไม่มีการเจรจากันอีกแล้ว เพราะชาวบ้านถือว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ให้ความสำคัญต่อชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร” ดร.สมนึก กล่าว
ด้านนายสนธิ คชวัฒน์ เลขาคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานที่รับผิดชอบจากส่วนกลางลงมาในพื้นที่ และเป็นตัวกลางในการร่วมพูดคุยกับการท่าเรือแหลมฉบัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน และกลุ่มชาวประมงที่ประกอบอาชีพในทะเล เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา และโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้น
การพูดคุยนั้น ได้มีการเสนอแนวทางร่วมกัน คือ 1.ให้การท่าเรือแหลมฉบังทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 เฟส เพื่อศึกษาตรวจสอบขีดความสามารถในการรองรับโครงการ พร้อมทั้งหามาตรการในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.ควรจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคีในการกำกับติดตามและตรวจสอบ 3.สร้างความไว้วางใจและสร้างมวลชนสัมพันธ์สำหรับประชาชน ที่อยู่รอบโครงการ 4.จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างน้อยปีละครั้ง
5.รับฟังข้อเสนอแนะและข้อห่วงกังวลของประชาชน พร้อมทั้งเสนอมาตรการความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม 6.ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ 7.จัดให้มีงบประมาณสำหรับการจัดทำโครงการความรับผิดชอบของการท่าเรือต่อสังคมและชุมชนโดยรอบ และดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป