ศูนย์ข่าวศรีราชา - คณะกรรมการกำกับติดตามการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบัง ติดตามความคืบหน้าของโครงการ หลังจากชาวบ้านคัดค้าน โดยขอให้แยกการศึกษาออกจากการพิจารณาว่าจะสร้างหรือไม่สร้างท่าเทียบเรือ พร้อมก่อนนำผลการศึกษาไปนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขออนุมัติ ให้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการก่อน
วันนี้ (14 ก.ย.) นายภัครธรณ์ เทียนไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน คณะกรรมการกำกับติดตามการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีส่วนราชการและภาคประชาชนทั้งตำบลแหลมฉบังและบางละมุงเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วย อนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา
นายสนธิ คชวัฒน์ อนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ดังนี้ คือ 1.แต่งตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าเทียบเรือแหลมฉบัง 2.แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรอบท่าเทียบเรือแหลมฉบัง 3.แต่งตั้งคณะทำงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของท่าเรือแหลมฉบังในภาพรวม
คณะทำงานติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ประกอบด้วยส่วนราชการและภาคประชาชน ไปติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าเทียบเรือต่างๆ ในท่าเทียบเรือแหลมฉบัง โดยมีท่าเรือแหลมฉบังเป็นผู้ประสานและจัดให้มีการเยี่ยมชมท่าเทียบเรือแต่ละท่าทุกเดือน และขอให้มีการประชุมร่วมกันของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ โดยคณะทำงานให้ข้อเสนอแนะ และอาจจะมีการตั้งเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน
คณะทำงานพัฒนาชุมชนและสังคม โดยรอบท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จะทำหน้าที่รับฟังความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำเสนอแผนการพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรอบ และนำเสนอแผนดังกล่าวให้การท่าเรือแหลมฉบังตั้งงบประมาณดำเนินการต่อไป
สำหรับคณะทำงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของท่าเรือแหลมฉบังในภาพรวม จะทำหน้าที่ ประเมินมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากท่าเทียบเรือแหลมฉบังทั้งหมด และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของการท่าเรือ ที่จะทำการพัฒนาต่อไป รวมทั้งจะทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนใกล้เคียง เนื่องจากกิจกรรมของท่าเรือต่างๆ เช่น รถบรรทุกคอนเทนเนอร์วิ่งผ่านเข้าออกชุมชนและเกิดอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก
นายสนธิ กล่าวต่อไปว่า สำหรับจุดประสงค์ของการตั้งคณะทำงานทั้ง 3 ชุดดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของท่าเทียบเรือแหลมฉบังอย่างแท้จริง และขณะเดียวกัน ผู้บริหารท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ก็ต้องคิดว่าประชาชนที่อยู่โดยรอบเป็นส่วนหนึ่งของท่าเทียบเรือด้วย เมื่อมีการประชุมหารือกันทุกภาคส่วน ก็จะเปลี่ยนจากจุดยืนเป็นจุดร่วมในการทำงาน และสุดท้ายจะนำไปสู่ข้อยุติ ว่าสมควรจะก่อสร้างท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 หรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้ขอให้แยกผลการศึกษาที่จ้างบริษัทที่ปรึกษา ทำการศึกษาออกจากการพิจารณาว่าจะสร้างหรือไม่สร้างท่าเทียบเรือ โดยขอให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามที่กำหนดกับการท่าเรือไว้ แต่ก่อนที่จะนำผลการศึกษาไปนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขออนุมัติและอนุญาตก่อสร้างจะต้องนำมาขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการพัฒนา เพื่อขยายขีดความสามารถท่าเทียบเรือแหลมฉบังพิจารณาก่อน
วันนี้ (14 ก.ย.) นายภัครธรณ์ เทียนไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน คณะกรรมการกำกับติดตามการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีส่วนราชการและภาคประชาชนทั้งตำบลแหลมฉบังและบางละมุงเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วย อนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา
นายสนธิ คชวัฒน์ อนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ดังนี้ คือ 1.แต่งตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าเทียบเรือแหลมฉบัง 2.แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรอบท่าเทียบเรือแหลมฉบัง 3.แต่งตั้งคณะทำงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของท่าเรือแหลมฉบังในภาพรวม
คณะทำงานติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ประกอบด้วยส่วนราชการและภาคประชาชน ไปติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าเทียบเรือต่างๆ ในท่าเทียบเรือแหลมฉบัง โดยมีท่าเรือแหลมฉบังเป็นผู้ประสานและจัดให้มีการเยี่ยมชมท่าเทียบเรือแต่ละท่าทุกเดือน และขอให้มีการประชุมร่วมกันของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ โดยคณะทำงานให้ข้อเสนอแนะ และอาจจะมีการตั้งเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน
คณะทำงานพัฒนาชุมชนและสังคม โดยรอบท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จะทำหน้าที่รับฟังความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำเสนอแผนการพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรอบ และนำเสนอแผนดังกล่าวให้การท่าเรือแหลมฉบังตั้งงบประมาณดำเนินการต่อไป
สำหรับคณะทำงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของท่าเรือแหลมฉบังในภาพรวม จะทำหน้าที่ ประเมินมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากท่าเทียบเรือแหลมฉบังทั้งหมด และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของการท่าเรือ ที่จะทำการพัฒนาต่อไป รวมทั้งจะทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนใกล้เคียง เนื่องจากกิจกรรมของท่าเรือต่างๆ เช่น รถบรรทุกคอนเทนเนอร์วิ่งผ่านเข้าออกชุมชนและเกิดอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก
นายสนธิ กล่าวต่อไปว่า สำหรับจุดประสงค์ของการตั้งคณะทำงานทั้ง 3 ชุดดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของท่าเทียบเรือแหลมฉบังอย่างแท้จริง และขณะเดียวกัน ผู้บริหารท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ก็ต้องคิดว่าประชาชนที่อยู่โดยรอบเป็นส่วนหนึ่งของท่าเทียบเรือด้วย เมื่อมีการประชุมหารือกันทุกภาคส่วน ก็จะเปลี่ยนจากจุดยืนเป็นจุดร่วมในการทำงาน และสุดท้ายจะนำไปสู่ข้อยุติ ว่าสมควรจะก่อสร้างท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 หรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้ขอให้แยกผลการศึกษาที่จ้างบริษัทที่ปรึกษา ทำการศึกษาออกจากการพิจารณาว่าจะสร้างหรือไม่สร้างท่าเทียบเรือ โดยขอให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามที่กำหนดกับการท่าเรือไว้ แต่ก่อนที่จะนำผลการศึกษาไปนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขออนุมัติและอนุญาตก่อสร้างจะต้องนำมาขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการพัฒนา เพื่อขยายขีดความสามารถท่าเทียบเรือแหลมฉบังพิจารณาก่อน