ศูนย์ข่าวศรีราชา – กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการคัดค้านการขยายท่าเทียบเรือแหลมฉบังเฟส 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พร้อมสั่งยุติโครงการจนกว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคี
วานนี้( 13 มิ.ย.)คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา(กมธ.) นำโดย นางภารดี จงสุขธนามณี รองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา และประธาน คณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะ เดินทางมาที่เทศบาลตำบลบางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการร้องเรียน กรณีการคัดค้านการขยายท่าเทียบเรือแหลมฉบังเฟส 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พร้อมกับลงพื้นที่บริเวณปากคลองบางละมุง หาดแหลมฉบัง และพื้นที่ชายทะเลที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะหลังจากมีการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง
นางภารดี จงสุขธนามณี รองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา และประธาน คณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ดูปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว พบว่า ข้อกังวลของชาวบ้านต่อตัวโครงการการขยายท่าเรือเฟส 3 รวมทั้งปัญหาที่ผ่านมาในการก่อสร้างท่าเรือในเฟส 1 และเฟส 2 ซึ่งการท่าเรือฯเองยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงขอให้ทางการท่าเรือฯ ได้ยุติโครงการดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมาเพื่อร่วมกันถกปัญหาและความชัดเจนของโครงการดังกล่าว เพราะเท่าที่ทราบในขณะนี้ ท่าเรือแหลมฉบังมีศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าได้ ปีละ10 ล้านบีทียู และในปัจจุบันตู้สินค้าที่เข้าท่าเรือแหลมฉบังนั้นทางการท่าเรือฯยังสามารถรองรับได้อย่างสบาย
ด้านนายสนธิ คชวัฒน์ เลขาคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เผยว่า สำหรับปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น คณะอนุกรรมาธการฯ ได้ให้ข้อแนะนำ ในการแก้ไขปัญหาโครงการ ดังนี้ คือ 1. ให้การท่าเรือแหลมฉบังทำรายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้ง 3 เฟส เพื่อศึกษาตรวจสอบขีดความสามารถในการรองรับโครงการ พร้อมทั้งมาตรการในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2. ควรจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคี ในการกำกับติดตามตรวจสอบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3. สร้างความไว้วางใจและสร้างมวลชนสัมพันธ์สำหรับประชาชนที่อยู่รอบโครงการ พร้อมทั้งให้ประชาชนเข้าเยี่ยมโครางการได้ อย่างน้อยเดือนละครั้ง
4.จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของโครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบังอย่างน้อยปีละครั้ง 5. รับฟังข้อเสนอแนะ และข้อห่วงกังวลของประชาชนพร้อมทั้ง เสนอมาตรการความรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม 6. ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่ปรากฏในรายงาน การ่อสร้างท่าเรือเฟส 1 และเฟส 2 และ 7. จัดให้มีงบประมาณ ปี 2555 สำหรับการจัดทำโครงการความรับผิดชอบของสำนักงานการท่าเรือแหลมฉบัง ต่อสังคม และชุมชนโดยรอบ และดำเนินการการให้เป็นรูปธรรมต่อไป
ด้านนางนิภา ฮวดเฮง ชาวบ้านแหลมฉบัง กล่าวว่า ที่ผ่านมาท่าเรือแหลมฉบังไม่เคยสนใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชาวบ้าน ซึ่งในปัจจุบันพวกเราเดือดร้อนอย่างมาก ในเรื่องของการประกอบอาชีพประมง หากท่าเรือเฟส 3 เกิดขึ้นอีก พวกเราคงหมดอาชีพ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้วในขณะนี้ คือหาดแหลมฉบัง ในอดีตสวยงามมาก แต่ปัจจุบันไม่สามารถลงเล่นน้ำได้ เนื่องจากมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงทะเล และเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งผลกระทบมาจากการการถมทะเล ดังนั้นพวกเราจะคัดค้านโครงการขยายท่าเรือเฟส 3 จนถึงที่สุด เนื่องจากไม่มั่นใจต่อตัวโครงการและไม่เชื่อใจในการดำเนินการของท่าเรือแหลมฉบัง
วานนี้( 13 มิ.ย.)คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา(กมธ.) นำโดย นางภารดี จงสุขธนามณี รองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา และประธาน คณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะ เดินทางมาที่เทศบาลตำบลบางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการร้องเรียน กรณีการคัดค้านการขยายท่าเทียบเรือแหลมฉบังเฟส 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พร้อมกับลงพื้นที่บริเวณปากคลองบางละมุง หาดแหลมฉบัง และพื้นที่ชายทะเลที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะหลังจากมีการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง
นางภารดี จงสุขธนามณี รองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา และประธาน คณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ดูปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว พบว่า ข้อกังวลของชาวบ้านต่อตัวโครงการการขยายท่าเรือเฟส 3 รวมทั้งปัญหาที่ผ่านมาในการก่อสร้างท่าเรือในเฟส 1 และเฟส 2 ซึ่งการท่าเรือฯเองยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงขอให้ทางการท่าเรือฯ ได้ยุติโครงการดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมาเพื่อร่วมกันถกปัญหาและความชัดเจนของโครงการดังกล่าว เพราะเท่าที่ทราบในขณะนี้ ท่าเรือแหลมฉบังมีศักยภาพในการรองรับตู้สินค้าได้ ปีละ10 ล้านบีทียู และในปัจจุบันตู้สินค้าที่เข้าท่าเรือแหลมฉบังนั้นทางการท่าเรือฯยังสามารถรองรับได้อย่างสบาย
ด้านนายสนธิ คชวัฒน์ เลขาคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เผยว่า สำหรับปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น คณะอนุกรรมาธการฯ ได้ให้ข้อแนะนำ ในการแก้ไขปัญหาโครงการ ดังนี้ คือ 1. ให้การท่าเรือแหลมฉบังทำรายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้ง 3 เฟส เพื่อศึกษาตรวจสอบขีดความสามารถในการรองรับโครงการ พร้อมทั้งมาตรการในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2. ควรจัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคี ในการกำกับติดตามตรวจสอบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3. สร้างความไว้วางใจและสร้างมวลชนสัมพันธ์สำหรับประชาชนที่อยู่รอบโครงการ พร้อมทั้งให้ประชาชนเข้าเยี่ยมโครางการได้ อย่างน้อยเดือนละครั้ง
4.จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของโครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบังอย่างน้อยปีละครั้ง 5. รับฟังข้อเสนอแนะ และข้อห่วงกังวลของประชาชนพร้อมทั้ง เสนอมาตรการความรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม 6. ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่ปรากฏในรายงาน การ่อสร้างท่าเรือเฟส 1 และเฟส 2 และ 7. จัดให้มีงบประมาณ ปี 2555 สำหรับการจัดทำโครงการความรับผิดชอบของสำนักงานการท่าเรือแหลมฉบัง ต่อสังคม และชุมชนโดยรอบ และดำเนินการการให้เป็นรูปธรรมต่อไป
ด้านนางนิภา ฮวดเฮง ชาวบ้านแหลมฉบัง กล่าวว่า ที่ผ่านมาท่าเรือแหลมฉบังไม่เคยสนใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชาวบ้าน ซึ่งในปัจจุบันพวกเราเดือดร้อนอย่างมาก ในเรื่องของการประกอบอาชีพประมง หากท่าเรือเฟส 3 เกิดขึ้นอีก พวกเราคงหมดอาชีพ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้วในขณะนี้ คือหาดแหลมฉบัง ในอดีตสวยงามมาก แต่ปัจจุบันไม่สามารถลงเล่นน้ำได้ เนื่องจากมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงทะเล และเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งผลกระทบมาจากการการถมทะเล ดังนั้นพวกเราจะคัดค้านโครงการขยายท่าเรือเฟส 3 จนถึงที่สุด เนื่องจากไม่มั่นใจต่อตัวโครงการและไม่เชื่อใจในการดำเนินการของท่าเรือแหลมฉบัง