xs
xsm
sm
md
lg

"ปู"เททองระฆังใหญ่สุดในไทย ขอพรทั่วแผนดินมีความสงบเย็น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เมื่อเวลา 07.40 น.วานนี้ ( 25 ธ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อม

ด้วยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย พร้อมคณะ ออกเดินทาง

จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปยังกองบิน 21 จ.อุบลราชธานี และเดินทางโดยขบวนรถยนต์

ไปยัง วัดศรีบึงบูรณ์ อ.บึงบูรณ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเป็นประธานพิธีเททองหล่อระฆังแผ่นดิน "

สังควารี" ซึ่งเป็นระฆังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ บริเวณประรำพิธีวัดศรีบึงบูรณ์ โดยมี

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม และประชาชนจำนวนมาก มารอให้การต้อนรับ
โดยนายกฯวางพวงมาลัยใบเสมาหน้าพระอุโบสถ จากนั้นเข้าสู่พระอุโบสถ โดย

นายกฯก้มสัมผัสธรณีประตู พร้อมกับกล่าวว่า "อะหัง ขะมา มิภันเต" หมายถึง ข้าพเจ้าขอขมา

แทนสตรี เพื่อเข้าสู่เขตสังคกรรม นายกฯ จุดธูปเทียน บูชาพระประธานในอุโบสถ พร้อมอธิ

ฐานจิต " ขอความสงบเยือกเย็นจงบังเกิดขึ้นทั่วแผ่นดิน" จากนั้นนายกฯ ออกจากอุโบสถ

ก้มสัมผัสธรณีประตู พร้อมกับกล่าวว่า "อะหัง ขะมา มิภันเต" พร้อมกันนี้นายกฯ ได้ชมการ

แสดง ฟ้อนรำ จากกลุ่มชาวบ้านตำบลบึงบูรพ์ หน้าพระอุโบสถ
นายกฯได้เดินทางต่อไปยังประรำพิธี เพื่อประกอบพิธีเททองหล่อระฆัง ซึ่งในพิธี

เททอง นายกฯ กล่าว คาถาชินบัญชร พร้อมอธิฐานจิต "แม้เสียงระฆังดังขึ้น สรรพสัตว์ทั้ง

หลาย จากนาคพิภพสู่มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ทุกชีวิต จงมีความสงบเยือกเย็น ตลอด

กาล แห่งพุทธนิรันดร์" จากนั้นประกอบพิธีเททองหล่อระฆังแผ่นดิน "สังควารี"
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวกับประชาชนที่มาร่วมงานว่า ถือเป็นความภูมิใจที่

ได้มาร่วมทำบุญเททองหล่อระฆังทองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และขอให้บุญกุศลครั้งนี้

ส่งไปถึงคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ทั้งนี้ จ.ศรีสะเกษ เป็นจังหวัดที่ได้รับกระทบจากน้ำท่วม รัฐบาลจะเร่งดำเนินการ

เยียวยาอย่างเต็มที่ ทั้งการชดเชยภาคการเกษตรที่เสียหาย การพักหนี้เกษตรกร โดยขอให้

ประชาชนรีบแจ้งเพื่อจะได้จ่ายเงินชดเชยโดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกันก็จะเร่งฟื้นฟูส่วนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบให้กลับคืนสู่สภาพเดิม

โดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และโดยให้มีการเน้นการ

สร้างงานสร้างอาชีพภายในชุมชน พร้อมยืนยันรัฐบาลจะเดินหน้าทุกนโยบายที่ได้หาเสียงไว้

โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาปากท้อง และความเป็นอยู่ของประชาชน
นายกรัฐมนตรียังได้อวยพรปีใหม่แก่ชาวศรัสะเกษ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง ชีวิต

ความเป็นอยู่ที่ดี และขอให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปอย่างมีความสุข
หลังจากนั้นเวลา 11.00 น. นายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปยังอาคารหอ

ประชุมทีปังกรรัศมีโชต มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อติดตามการทำงานในโครงการ

สนับสนุนการจัดสวัสดิชุมชนตำบล และรับข้อเสนอแนะแนวทางปฏิรูประบบสวัสดิการองค์

องชุมชนภาคอีสานและภาคีท้องถิ่น
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังได้มอบทุนสนับสนุนสมทบทุนกองทุนสวัสดิการชุมชน

ตำบล 20 จังหวัด รวมถึงมอบเกียรติบัตรแก่อำเภอที่สามารถดำเนินการจัดตั้งกองทุน

สวัสดิการชุมชนตำบลเต็มพื้นที่อำเภอ 20 จังหวัด และ มอบผ้าห่มให้กับประชาชนจังหวัด

ศรีสะเกษ ที่กำลังประสบภัยหนาว พร้อมให้กำลังใจแก่ขบวนสวัสดิการชุมชนภาคอีสานและ

นโยบายการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนและ กล่าวปิดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนคน

อีสาน ครั้งที่ 4/2554 "ตุ้มโฮมคนอีสาน เสวนางานสวัสดิการชุมชน"
โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวชื่นชมการจัดสวัสดิการชุมชนตำบลถึง20 จังหวัด ซึ่ง

จะทำให้เกิดนิสัยการออม ต่อยอดไปถึงการพัฒนาชุมชนและคนทั้งเป็นการแก้ปัญหาชุมชน

แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี
ทั้งนี้รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นกลไกของผู้ว่าราช

จังหวัด จะต้องมีการประสานความต้องการของประชาชนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้มากที่

สุด
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ในปีใหม่นี้ขออวยพรให้คนอีสานมีความสุข เพราะปีนี้

ประสบกับปัญหาที่หนักมามาก โดยเฉพาะอุทกภัย ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิด

ขึ้นอีก และจะใช้โอกสนี้บริหารจัดการน้ำให้ดี ไม่เฉพาะน้ำท่วม แต่จะรวมถึงน้ำแล้งด้วย

ขณะเดียวกันก็จะเร่งทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตปกติโดยเร็ว

**ยื่นค้านสร้าง“เขื่อนไชยะบุรี”
โอกาสนี้ นายอิทธิพล คำสุข เลขานุการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขงภาค

อีสาน ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี โดยนายอิทธิพล กล่าวว่าในนามเครือข่าย

ประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ซึ่งประกอบด้วย จ.เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม

มุกดาหาร อำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี ได้ติดตามกรณีการสร้างเขื่อนไชยะบุรี บนแม่น้ำ

โขง ในพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) แม้ว่าเขื่อนจะตั้งอยู่ใน

สปป.ลาว แต่ก็เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง เพราะจะเกิดอันตรายต่อระบบนิเวศของ

แม่น้ำ และวิถีชีวิตของประชาชนกว่า 60 ล้านคนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อ

วงจรชีวิตการอพยพของพันธุ์ปลา และอาจเป็นเหตุให้มีการสูญพันธุ์ของพันธุ์สัตว์น้ำกว่า 41

ชนิด ในแม่น้ำโขง รวมทั้งปลาบึก ด้วย
ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องของสภาเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง ที่ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี

มีดังนี้
1. ควรให้ประชาชนในพื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด ได้มีส่วนร่วมในการ

กำหนดกรอบการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของเขื่อน และมีส่วนร่วมในการศึกษาผล

กระทบดังกล่าวทุกขั้นตอน
2. ควรมีการจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของเขื่อนไชยะบุรีใหม่

ให้สอดคล้องกับความคาดหวังในระดับสากล ที่มีต่อเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างในแม่น้ำที่ไหล

ข้ามพรมแดน ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์อย่างละเอียด เกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดนที่อาจ

เกิดขึ้น
3. เนื่องจากการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมีข้อบกพร่อง และไม่มีการเปิด

เผยข้อมูลให้สาธารณะทราบก่อนกระบวนการรับฟังความเห็น และมีส่วนร่วมของประชาชน

จึงถือได้ว่ากระบวนการเหล่านี้มีข้อบกพร่องอย่างฉกรรจ์ เมื่อจัดทำการประเมินผลกระทบ

ด้านสิ่งแวดล้อมจนเสร็จแล้ว ก็ควรนำผลการวิเคราะห์นั้นมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดให้มี

การรับฟังความเห็น และมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนใน สปป.ลาว และ

ประเทศอื่นๆ อีก 3 แห่ง ในแม่น้ำโขงตอนล่าง
4. การตัดสินใจให้สร้างเขื่อนไชยะบุรีตามโครงการที่เสนอมีแนวโน้มทำให้เกิด

ผลกระทบร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทรัพยากรร่วมของประเทศต่าง ๆ
5. การตัดสินใจให้สร้างเขื่อนไชยะบุรีตามโครงการที่เสนอมีแนวโน้มทำให้เกิด

อันตรายร้ายแรงต่อรัฐเพื่อนบ้าน ซึ่งขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของ สปป.ลาว ในการป้องกัน

อันตรายข้ามพรมแดน
6. การตัดสินใจให้สร้างเขื่อนไชยะบุรีตามโครงการที่เสนอขัดกับหลัก การ

ป้องกันไว้ก่อน เนื่องจากการตัดสินใจดังกล่าวไม่คำนึงความไม่แน่นอน และข้อกังวลเกี่ยว

กับผลกระทบของเขื่อน และไม่แสดงให้เห็นว่า จะสามารถนำมาตรการลดผลกระทบเหล่านี้

ไปปฏิบัติได้จริง
7.ประเทศกัมพูชา ไทย และเวียดนาม มีสิทธิและหน้าที่ในการป้องกันผลกระทบ

ร้ายแรงจากเขื่อนไชยะบุรีที่มีต่อแม่น้ำโขง รัฐบาลประเทศเหล่านี้มีสิทธิได้รับการเยียวยาด้าน

การเงิน เนื่องจากผลกระทบร้ายแรงที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจของตน
8.ให้รัฐบาลไทยยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้า จากโครงการเขื่อนไชยะบุรี โดย การ

ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กำลังโหลดความคิดเห็น