xs
xsm
sm
md
lg

เขื่อนไซยะบูลีไม่ลงตัว เวียดนาม-เขมร ดันลาวศึกษาผลกระทบต่อ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>บริเวณก่อสร้างเขื่อนไซยะบูลี ในแขวงไซยะบูลี ของลาว ในวันนี้ (8 ธ.ค.) กัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม ได้จัดการประชุมหารือพิจารณาเกี่ยวกับการอนุมัติข้อเสนอการสร้างเขื่อนมูลค่าหลายพันล้านแห่งนี้ ขณะที่นักเคลื่อนไหวและนักสิ่งแวดล้อมออกมาต่อต้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้อย่างมากเช่นกัน. --AFP PHOTO/HO/INTERNATIONAL RIVERS. </font></b>

เอเอฟพี - ลาวกำลังมองหาเสียงสนับสนุนจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 แห่ง คือ ไทย กัมพูชา และ เวียดนาม ในวันนี้ (8 ธ.ค.) ในการหารือเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าไซยะบูลีบนแม่น้ำโขง ที่เผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากบรรดานักอนุรักษนิยม

ลาวได้จัดการเจรจาหารือระดับสูงกับกัมพูชา ไทย และเวียดนาม ที่เป็นประเทศสมาชิกในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ใน จ.เสียมราฐ ของกัมพูชา เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการเขื่อนมูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์

นักเคลื่อนไหวเตือนว่าเขื่อนขนาด 1,260 เมกะวัตต์ในลาว ที่เป็น 1 ในเขื่อน 11 แห่ง ที่วางแผนจะสร้างขึ้นบนแม่น้ำโขงตอนล่าง จะส่งผลกระทบต่อประชาชนราว 60 ล้านคน ที่ใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับแม่น้ำสายนี้

ฝ่ายไทยที่เห็นชอบจะซื้อไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อนแห่งนี้ถึง 95% ระบุในการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมที่มีขึ้นในวันนี้ว่าจะไม่คัดค้านโครงการดังกล่าว แต่เวียดนามและกัมพูชา ที่ยังคงวิตกกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากเขื่อนต่อการทำฟาร์มและอุตสาหกรรมประมง ได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อกังวลดังกล่าวอย่างหนักแน่นและเรียกร้องให้มีการศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะอนุมัติให้โครงการดำเนินต่อไป นอกจากนั้น เวียดนามยังได้เสนอให้เลื่อนโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าทุกแห่งบนแม่น้ำโขงตอนล่างออกไปอีก 10 ปี

แม้จะมีความวิตกกังวลถึงประเด็นต่างๆ แต่ทุกการตัดสินใจที่มีขึ้นในการประชุมวันนี้จะยังไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายกับลาว
.
<br><FONT color=#000033> นักเคลื่อนไหวระบุว่า การก่อสร้างเขื่อนไซยะบูลีบนแม่น้ำโขงจะส่งผลกระทบต่อประชาชนราว 60 ล้านคนที่ใช้ชีวิตขึ้นอยู่กับแม่น้ำสายนี้. --AFP PHOTO/HO/INTERNATIONAL RIVERS. </font></b>
ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก และเขื่อนไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตในการเป็นแบตเตอรี่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน คือ เวียดนาม และไทย และในการตอบสนองต่อเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับโครงการเขื่อนไซนะบูลี เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ลาวระบุว่า ได้ระงับการก่อสร้างเขื่อนและได้ทบทวนโครงการใหม่อีกครั้ง

และในสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวีละพน วีละวง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ กล่าวกับหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ส ว่า ควรอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป เนื่องจากเขื่อนแห่งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง

อย่างไรก็ตาม กัมพูชา ระบุว่า การศึกษาที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอและเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเพิ่มเติบถึงผลกระทบข้ามพรมแดนของโครงการมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ก่อนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะมีขึ้น

ขณะที่นักสิ่งแวดล้อม เตือนว่า การก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสายหลักจะดักสารอาหารสำคัญหลายชนิด ส่งผลให้สาหร่ายเติบโตเพิ่มมากขึ้น และขัดขวางปลาหลายสิบสายพันธุ์ที่จะว่ายไปยังต้นน้ำเพื่อวางไข่
.
<bR><FONT color=#000033>ชาวประมงเขมรกำลังทอดแหตามริมแม่น้ำโขงชานกรุงพนมเปญวันที่ 8 ธ.ค.2554 รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศแม่น้ำโขง ลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนาม ประชุมกันที่เมืองเสียมราฐวันเดียวกัน กัมพูชากับวียดนามร่วมกันเรียกร้องให้ลาวศึกษาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนไซยะบูลีให้มากกว่านี้ ส่วนไทยไม่คิดค้าน เขื่อนมูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์ ถือหุ้นใหญ่โดยกลุ่ม ช.การช่าง จากประเทศไทย. -- REUTERS/Samrang Pring.   </b>
<bR><FONT color=#000033>ชาวประมงเขมรแสดงให้ช่างภาพดูปลาที่ทอดแหขึ้นมาได้จากริมฝั่งแม่น้ำโขงชานกรุงพนมเปญวันที่ 89 ธ.ค.2554 ผู้คนที่นั่นซึ่งหาปลามาหลายชั่วคนกล่าวว่า จับปลาได้น้อยลงอย่างมากในช่วงปีหลังๆ นี้ และเกรงว่าการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงในลาวและไทย จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก.-- REUTERS/Samrang Pring. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น