ผมคิดว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยทุกวันนี้ คือ การขาดความเชื่อมั่นในเรื่องความยุติธรรม บางคนกล่าวหาว่า ความยุติธรรมของบ้านเรานั้นมีสองมาตรฐาน หรือถ้าว่าไปแล้วก็คือ สังคมไทยเริ่มจะไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม เพราะการพิจารณาคดีหลายครั้งออกมาขัดกับความรู้สึกของประชาชน
ความไม่เชื่อมั่นดังกล่าวกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยกระพือให้เกิดความน่าเชื่อถือเมื่อมีการนำเอากรณีผู้ต้องหาส่ง SMS มาขยายความอย่างตัดตอนข้อเท็จจริง
วันนี้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและกลไกในการสื่อสารเปิดกว้าง สังคมมีความกล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ต่างกับในอดีตที่สังคมโดยทั่วไปมักจะเกรงกลัวศาล เพราะข้อหา “หมิ่นศาล” นั้นเป็นข้อหาที่น่าครั่นคร้ามอยู่ไม่เบา ลองคิดดูสิครับว่า โดนข้อหา “หมิ่นศาล” และคนตัดสินก็คือศาลแล้วจะมีผลลัพธ์อย่างไร
ถ้าจะว่าไปแล้ว เสียงร้องกล่าวหาว่าศาลมีสองมาตรฐานนั้นเกิดขึ้นหนาหูในยุคที่ทักษิณมีคดีความขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ถ้าคดีไหนที่ถูกศาลตัดสินให้แพ้ ก็จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามออกมา และดูเหมือนทักษิณจะเป็นเพียงคนเดียวที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการตุลาการได้อย่างเปิดเผย
หลังคำพิพากษาตัดสินจำคุกทักษิณในคดีที่ดินรัชดาฯ ทักษิณได้ออกแถลงการณ์ประณามศาลไทยต่อชาวโลกว่า เป็นคำพิพากษาที่ไร้เหตุผล เขาแถลงว่าเป็นการสมคบกันของบรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย ผู้เชื่อในทุกสิ่งอย่าง ยกเว้นประชาธิปไตย
ผมเองเคยตั้งคำถามด้วยความฉงนใจมาแล้วหลายครั้งว่า ทำไมทักษิณที่ไม่ยอมรับอำนาจของศาลไทยเป็นนักโทษคดีจึงสามารถใช้ขอบเขตอำนาจของศาลไทย หลังจากผมพยายามศึกษาเรื่องกฎหมายและไปเจอภาษิตละตินประโยคคนหนึ่งซึ่งมีคำแปลภาษาไทยกำกับไว้ด้วย ผมพิจารณาดูแล้วว่าภาษิตบทนี้น่าจะใกล้เคียงกับสถานะของทักษิณ แต่ก็ไม่มั่นใจอยู่ดีว่าความรู้งูๆ ปลาๆ ของผมนั้นจะถูกหรือผิด กระทั่งผมได้โพสต์ไปถามเพื่อนคนหนึ่งในวงการตุลาการก็ยืนยันได้ว่า ความคิดของผมน่าจะถูกต้อง แต่ก็ยังไม่มีคำอธิบายอะไรที่แจ่มชัดนัก
ภาษิตบทนั้นเขียนเป็นภาษาละตินว่า Extra legend positus est civiliter mortuus
จากนั้นผมได้โพสต์ไปในเพจ Kittisak Prokati ของ รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า อาจารย์ครับขอความรู้ภาษิตกฎหมายนี้หมายความว่าอะไร เข้ากับทักษิณที่หนีคดีหรือไม่ ถ้าใช่ทักษิณควรมีสิทธิแต่งตั้งตัวแทนมาฟ้องคนอื่นในศาลได้หรือไม่
อาจารย์กิตติศักดิ์ ตอบคำถามไว้น่าสนใจดังนี้
...
การที่คุณทักษิณไม่ยอมรับโทษตามคำพิพากษา และปฏิเสธว่าตนไม่ผิดตามคำตัดสินก็แสดงอยู่แล้วว่าไม่ยอมรับเขตอำนาจของศาล ดังนั้นจะมาพึ่งศาลในการฟ้องคนอื่นเป็นจำเลยก็เป็นการใช้สิทธิที่ไม่สุจริต และทำให้ระบบกฎหมายและศาลไม่อาจรับรองให้ใช้สิทธิเช่นนั้นได้เท่านั้นเองครับ ส่วนเรื่อง extra legem เป็นกรณีคล้ายกัน แปลว่า ผู้อยู่นอกกฎหมาย ปกติย่อมถือว่าถึงแก่ความตายทางแพ่ง ลองคิดดูง่ายๆ ว่า คนร้ายฆ่าคนตาย ถูกศาลตัดสินประหาร แล้วฆ่าเจ้าหน้าที่หลบหนีไปต่างประเทศ นักข่าวรายงานไปในทางเลวร้าย คนร้ายเลยตั้งทนายมาฟ้องให้รับผิดฐานละเมิดทำให้เสียทางทำมาหาได้ ศาลควรรอการพิจารณาไว้จนกว่าโจทก์จะยอมรับอำนาจศาลหรือไม่? หรือถ้าคุณบิน ลาดิน จะแต่งทนายมาฟ้องประธานาธิบดีบุช หรือหนังสือพิมพ์อเมริกันว่าหมิ่นประมาท ศาลอเมริกันควรจะว่าอย่างไร?
...
แต่คำถามที่น่าสนใจแต่ยังไม่มีคำตอบก็คือ ทำไมคนอย่างทักษิณที่ทั้งดูหมิ่นศาล ไม่ยอมรับการพิจารณาคดีของศาล และก่อนหน้านั้นมีความพยายามติดสินบนศาลในคดีนี้ จึงยังสามารถใช้ศาลไทยที่ตัวเองไม่ยอมรับฟ้องร้องกล่าวหาคนอื่นได้อีก
ผมคิดว่า ศาลมีความจำเป็นต้องวางตนให้น่าเชื่อถือ ไม่ออกมาโต้เถียงกับสาธารณะ การพูดจาต้องมีความระมัดระวัง แต่ถ้าสิ่งนั้นถูกนำไปขยายผลเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงหรือสร้างความคลางแคลงที่อาจกระทบต่อสถาบันของชาติ ศาลก็ควรจะออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่ออธิบายต่อสังคมบ้าง
เพราะความเข้าใจผิดและการบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น สามารถทำได้ง่ายในสังคมที่มีพื้นฐานความรู้ไม่เท่าเทียมกัน และเราต้องยอมรับว่าในโลกที่ social media เฟื่องฟูอย่างทุกวันนี้นั้น ขอบเขตอำนาจของระบบข้อมูลข่าวสารกว้างไกลกว่าเวิ้งจักรวาล และกลายเป็นว่าทุกคนสามารถมีสื่ออยู่ในมือตัวเองเท่าเทียมกันหมด
ผมดีใจครับที่คุณสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ออกมาอธิบายต่อสังคมถึงกรณีที่คุณอำพล ตั้งนพคุณ อายุ 61 ปี ซึ่งถูกตั้งฉายาว่า “อากง” ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ถูกศาลอาญามีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 20 ปี เพราะกรณีนี้ถูกนำไปบิดเบือนทั้งในและต่างประเทศ
ขบวนการไม่เอาเจ้าต้องการเอาเรื่องนี้เป็นเชื้อไฟขยายผลให้ลุกลามไปสู่เป้าหมายที่ตนเองต้องการ แม้เราต้องยอมรับว่าขบวนการเรียกร้องให้ทบทวนแก้ไขและตัดมาตรานี้มีทั้งฝ่ายเอาเจ้าและไม่เอาเจ้าก็ตาม
มีความพยายามเอาไปพูดแบบตัดตอนว่า ทำไมส่ง SMS ติดคุกตั้ง 20 ปีทั้งที่มีคนอ่านคือคนรับข้อความเพียงคนเดียว แล้วพยายามสร้างเรื่องราวให้ “ดราม่า” เพื่อเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงเป็นสู่ภาพที่ต้องการหลอกล่อสังคม เช่น อากงเป็นคนแก่ที่น่าสงสารทำไมต้องตัดสินจำคุกคนแก่ขนาดนี้ อากงต้องเลี้ยงหลาน 4 คน ฯลฯ
ทั้งที่ข้อเท็จจริงก็เป็นไปตามที่คุณสิทธิศักดิ์แถลงก็คือ ผู้กระทำไม่ได้กระทำความผิดแค่ครั้งเดียว แต่มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ด้วยถ้อยคำดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายถึง 4 ครั้ง มีถ้อยคำที่แตกต่างกันทุกครั้ง แสดงถึงเจตนาที่จงใจกระทำผิดกฎหมายอย่างท้าทายไม่ยำเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่มีจิตสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอดจนถึงในชั้นศาลจึงไม่มีเหตุลดโทษ บรรเทาโทษตาม
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดแต่ละครั้งจำคุกกระทงละ 5 ปี ตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษบทหนักนั้น เป็นการลงโทษสูงกว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายเพียง 2 ปี ยังเหลืออัตราโทษอีก 10 ปี ที่ศาลมิได้นำมาใช้ เมื่อนำโทษทั้ง 4 กระทงมารวมกันเป็น 20 ปี คนทั่วไปที่ไม่รู้จึงเข้าใจผิดคิดว่าศาลลงโทษครั้งเดียว 20 ปี เห็นว่าโทษหนักไป แต่ถ้าเทียบกับพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งคดีแล้ว หลายคนที่รู้จริงเห็นตรงข้ามว่าโทษเบาไปหรือเหมาะสมแล้วก็มี
ขณะเดียวกันแม้ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิด เพราะศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้ว เชื่อว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของอัยการโจทก์จริง แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยไม่พอใจในผลคำพิพากษา ก็ยังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย คดียังไม่ถึงที่สุดไม่อาจพิจารณาว่าอากงเป็นผู้กระทำผิดซึ่งเป็นไปตามหลักสากลทั่วไป
ผมดีใจที่ศาลออกมาพูดครับ เพราะการพูดและชี้แจงเป็นคำตอบว่าศาลเองก็ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม และกระบวนการตรวจสอบศาลทางสาธารณะได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไงก็ช่วยตอบคำถามเรื่องทักษิณของผมด้วยก็ดี
ความไม่เชื่อมั่นดังกล่าวกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยกระพือให้เกิดความน่าเชื่อถือเมื่อมีการนำเอากรณีผู้ต้องหาส่ง SMS มาขยายความอย่างตัดตอนข้อเท็จจริง
วันนี้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและกลไกในการสื่อสารเปิดกว้าง สังคมมีความกล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ต่างกับในอดีตที่สังคมโดยทั่วไปมักจะเกรงกลัวศาล เพราะข้อหา “หมิ่นศาล” นั้นเป็นข้อหาที่น่าครั่นคร้ามอยู่ไม่เบา ลองคิดดูสิครับว่า โดนข้อหา “หมิ่นศาล” และคนตัดสินก็คือศาลแล้วจะมีผลลัพธ์อย่างไร
ถ้าจะว่าไปแล้ว เสียงร้องกล่าวหาว่าศาลมีสองมาตรฐานนั้นเกิดขึ้นหนาหูในยุคที่ทักษิณมีคดีความขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ถ้าคดีไหนที่ถูกศาลตัดสินให้แพ้ ก็จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามออกมา และดูเหมือนทักษิณจะเป็นเพียงคนเดียวที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการตุลาการได้อย่างเปิดเผย
หลังคำพิพากษาตัดสินจำคุกทักษิณในคดีที่ดินรัชดาฯ ทักษิณได้ออกแถลงการณ์ประณามศาลไทยต่อชาวโลกว่า เป็นคำพิพากษาที่ไร้เหตุผล เขาแถลงว่าเป็นการสมคบกันของบรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย ผู้เชื่อในทุกสิ่งอย่าง ยกเว้นประชาธิปไตย
ผมเองเคยตั้งคำถามด้วยความฉงนใจมาแล้วหลายครั้งว่า ทำไมทักษิณที่ไม่ยอมรับอำนาจของศาลไทยเป็นนักโทษคดีจึงสามารถใช้ขอบเขตอำนาจของศาลไทย หลังจากผมพยายามศึกษาเรื่องกฎหมายและไปเจอภาษิตละตินประโยคคนหนึ่งซึ่งมีคำแปลภาษาไทยกำกับไว้ด้วย ผมพิจารณาดูแล้วว่าภาษิตบทนี้น่าจะใกล้เคียงกับสถานะของทักษิณ แต่ก็ไม่มั่นใจอยู่ดีว่าความรู้งูๆ ปลาๆ ของผมนั้นจะถูกหรือผิด กระทั่งผมได้โพสต์ไปถามเพื่อนคนหนึ่งในวงการตุลาการก็ยืนยันได้ว่า ความคิดของผมน่าจะถูกต้อง แต่ก็ยังไม่มีคำอธิบายอะไรที่แจ่มชัดนัก
ภาษิตบทนั้นเขียนเป็นภาษาละตินว่า Extra legend positus est civiliter mortuus
จากนั้นผมได้โพสต์ไปในเพจ Kittisak Prokati ของ รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า อาจารย์ครับขอความรู้ภาษิตกฎหมายนี้หมายความว่าอะไร เข้ากับทักษิณที่หนีคดีหรือไม่ ถ้าใช่ทักษิณควรมีสิทธิแต่งตั้งตัวแทนมาฟ้องคนอื่นในศาลได้หรือไม่
อาจารย์กิตติศักดิ์ ตอบคำถามไว้น่าสนใจดังนี้
...
การที่คุณทักษิณไม่ยอมรับโทษตามคำพิพากษา และปฏิเสธว่าตนไม่ผิดตามคำตัดสินก็แสดงอยู่แล้วว่าไม่ยอมรับเขตอำนาจของศาล ดังนั้นจะมาพึ่งศาลในการฟ้องคนอื่นเป็นจำเลยก็เป็นการใช้สิทธิที่ไม่สุจริต และทำให้ระบบกฎหมายและศาลไม่อาจรับรองให้ใช้สิทธิเช่นนั้นได้เท่านั้นเองครับ ส่วนเรื่อง extra legem เป็นกรณีคล้ายกัน แปลว่า ผู้อยู่นอกกฎหมาย ปกติย่อมถือว่าถึงแก่ความตายทางแพ่ง ลองคิดดูง่ายๆ ว่า คนร้ายฆ่าคนตาย ถูกศาลตัดสินประหาร แล้วฆ่าเจ้าหน้าที่หลบหนีไปต่างประเทศ นักข่าวรายงานไปในทางเลวร้าย คนร้ายเลยตั้งทนายมาฟ้องให้รับผิดฐานละเมิดทำให้เสียทางทำมาหาได้ ศาลควรรอการพิจารณาไว้จนกว่าโจทก์จะยอมรับอำนาจศาลหรือไม่? หรือถ้าคุณบิน ลาดิน จะแต่งทนายมาฟ้องประธานาธิบดีบุช หรือหนังสือพิมพ์อเมริกันว่าหมิ่นประมาท ศาลอเมริกันควรจะว่าอย่างไร?
...
แต่คำถามที่น่าสนใจแต่ยังไม่มีคำตอบก็คือ ทำไมคนอย่างทักษิณที่ทั้งดูหมิ่นศาล ไม่ยอมรับการพิจารณาคดีของศาล และก่อนหน้านั้นมีความพยายามติดสินบนศาลในคดีนี้ จึงยังสามารถใช้ศาลไทยที่ตัวเองไม่ยอมรับฟ้องร้องกล่าวหาคนอื่นได้อีก
ผมคิดว่า ศาลมีความจำเป็นต้องวางตนให้น่าเชื่อถือ ไม่ออกมาโต้เถียงกับสาธารณะ การพูดจาต้องมีความระมัดระวัง แต่ถ้าสิ่งนั้นถูกนำไปขยายผลเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงหรือสร้างความคลางแคลงที่อาจกระทบต่อสถาบันของชาติ ศาลก็ควรจะออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่ออธิบายต่อสังคมบ้าง
เพราะความเข้าใจผิดและการบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น สามารถทำได้ง่ายในสังคมที่มีพื้นฐานความรู้ไม่เท่าเทียมกัน และเราต้องยอมรับว่าในโลกที่ social media เฟื่องฟูอย่างทุกวันนี้นั้น ขอบเขตอำนาจของระบบข้อมูลข่าวสารกว้างไกลกว่าเวิ้งจักรวาล และกลายเป็นว่าทุกคนสามารถมีสื่ออยู่ในมือตัวเองเท่าเทียมกันหมด
ผมดีใจครับที่คุณสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ออกมาอธิบายต่อสังคมถึงกรณีที่คุณอำพล ตั้งนพคุณ อายุ 61 ปี ซึ่งถูกตั้งฉายาว่า “อากง” ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ถูกศาลอาญามีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 20 ปี เพราะกรณีนี้ถูกนำไปบิดเบือนทั้งในและต่างประเทศ
ขบวนการไม่เอาเจ้าต้องการเอาเรื่องนี้เป็นเชื้อไฟขยายผลให้ลุกลามไปสู่เป้าหมายที่ตนเองต้องการ แม้เราต้องยอมรับว่าขบวนการเรียกร้องให้ทบทวนแก้ไขและตัดมาตรานี้มีทั้งฝ่ายเอาเจ้าและไม่เอาเจ้าก็ตาม
มีความพยายามเอาไปพูดแบบตัดตอนว่า ทำไมส่ง SMS ติดคุกตั้ง 20 ปีทั้งที่มีคนอ่านคือคนรับข้อความเพียงคนเดียว แล้วพยายามสร้างเรื่องราวให้ “ดราม่า” เพื่อเบี่ยงเบนข้อเท็จจริงเป็นสู่ภาพที่ต้องการหลอกล่อสังคม เช่น อากงเป็นคนแก่ที่น่าสงสารทำไมต้องตัดสินจำคุกคนแก่ขนาดนี้ อากงต้องเลี้ยงหลาน 4 คน ฯลฯ
ทั้งที่ข้อเท็จจริงก็เป็นไปตามที่คุณสิทธิศักดิ์แถลงก็คือ ผู้กระทำไม่ได้กระทำความผิดแค่ครั้งเดียว แต่มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ด้วยถ้อยคำดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายถึง 4 ครั้ง มีถ้อยคำที่แตกต่างกันทุกครั้ง แสดงถึงเจตนาที่จงใจกระทำผิดกฎหมายอย่างท้าทายไม่ยำเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่มีจิตสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอดจนถึงในชั้นศาลจึงไม่มีเหตุลดโทษ บรรเทาโทษตาม
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดแต่ละครั้งจำคุกกระทงละ 5 ปี ตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษบทหนักนั้น เป็นการลงโทษสูงกว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายเพียง 2 ปี ยังเหลืออัตราโทษอีก 10 ปี ที่ศาลมิได้นำมาใช้ เมื่อนำโทษทั้ง 4 กระทงมารวมกันเป็น 20 ปี คนทั่วไปที่ไม่รู้จึงเข้าใจผิดคิดว่าศาลลงโทษครั้งเดียว 20 ปี เห็นว่าโทษหนักไป แต่ถ้าเทียบกับพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งคดีแล้ว หลายคนที่รู้จริงเห็นตรงข้ามว่าโทษเบาไปหรือเหมาะสมแล้วก็มี
ขณะเดียวกันแม้ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิด เพราะศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้ว เชื่อว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของอัยการโจทก์จริง แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยไม่พอใจในผลคำพิพากษา ก็ยังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย คดียังไม่ถึงที่สุดไม่อาจพิจารณาว่าอากงเป็นผู้กระทำผิดซึ่งเป็นไปตามหลักสากลทั่วไป
ผมดีใจที่ศาลออกมาพูดครับ เพราะการพูดและชี้แจงเป็นคำตอบว่าศาลเองก็ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม และกระบวนการตรวจสอบศาลทางสาธารณะได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไงก็ช่วยตอบคำถามเรื่องทักษิณของผมด้วยก็ดี