ศูนย์ข่าวภูเก็ต-คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎรลงพื้นที่ภูเก็ตศึกษาปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวในภูเก็ตและผลกระทบจากการปรับค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาท ด้านภาคท่องเที่ยวฉะขึ้นค่าแรงทำต้นทุนเพิ่ม วอนรัฐออกมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม
ที่ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่) คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายนิทัศน์ ศรีนนท์ ประธานกรรมาธิการฯ ประชุมติดตามสถานการณ์ปัญหาแรงงานและการใช้แรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการในเขตจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายไชยวัฒน์ เทพี ปลัดจังหวัดภูเก็ต พ.ต.อ.ชำนาญ แป้นนาบอน รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต พ.ต.อ.ภาณุวัฒน์ ร่วมรักษ์ ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน หอการค้าจังหวัดภูเก็ต สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมชี้แจง
นายนิทัศน์ กล่าวว่า การศึกษาดูงานในครั้งนี้ เนื่องจากภูเก็ตเป็น 1 ใน 7 จังหวัดที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาล จึงต้องการทราบว่าส่งผลกระทบกับทั้งในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างอย่างไรบ้าง ประกอบกับภูเก็ตถือเป็นจังหวัดที่มีปัญหาเรื่องการว่างงานน้อยมากอยู่ที่ประมาณ 0.5 % ต่อจำนวน 200,000 คนของประชาชน รวมทั้งเพื่อรับทราบปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวด้วย
ตัวแทนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงว่า ภูเก็ตมีประชากรตามทะเบียนราษฎรประมาณ 351,909 คน จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีประชากรในวัยทำงาน (15 ปีขึ้นไป) จำนวน 228,453 คน มีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน รวม 164,652 คน จำแนกเป็นผู้มีงานทำ 163,776 คนของผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 876 คน โดยมีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมจำนวนทั้งสิ้น 8,280 แห่ง มีลูกจ้าง 118,078 คน ซึ่งที่ผ่านมาอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตได้มีมติในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจาก 221 บาทเป็น 300 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. 2555
ส่วนของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต ณ วันที่ 25 พ.ย.2554 จังหวัดภูเก็ตมีแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนและขออนุญาตทำงานจำนวนทั้งสิ้น 61,954 ราย เป็นพม่า 61,002 ราย ลาว 626 ราย และกัมพูชา 326 ราย ในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 20 ม.ค. 2555 และ วันที่ 28 ก.พ. 2555 จำนวน 15,577 ราย ได้รับการพิสูจน์สัญชาติตามมติ ครม. วันที่ 19 ม.ค. 2553 จำนวน 35,091 ราย คงเหลือแรงงานที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 20 ม.ค. 2555 และวันที่ 28 ก.พ. 2555 จำนวน 5,675 ราย
นอกจากนี้ ยังมีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบอยู่ในประเทศไทยและผู้ติดตามที่เป็นบุตรอายุไม่เกิน 15 ปี ตามมติ ครม. วันที่ 26 เมษายน 2554 จำนวน 23,254 ราย ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว 20,558 ราย
พ.ต.อ.ชำนาญ แป้นนาบอน รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต กล่าวว่า ในการดำเนินคดีกับคนต่างด้าวในปี 2553 จำนวน 246 ราย ผลักดันกลับจำนวน 242 ราย ส่วนในปี 2554 มีการดำเนินคดี 130 ราย ผลักดันกลับ 226 ราย โดยตัวเลขของแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองมาอยู่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้นมีตัวเลขที่ไม่ชัดเจน จากการตรวจสอบไม่พบว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคง โดยอยู่ในวิสัยที่สามารถควบคุมได้
พ.ต.อ.ภาณุวัฒน์ ร่วมรักษ์ ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานพบว่าปัญหาที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนนายจ้าง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเร่งงานก่อสร้าง ส่งผลให้เกิดการซื้อตัวแรงงานต่างด้าว ขณะที่ปัญหาที่เกิดจากนายจ้างจะเป็นเรื่องการเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งในเรื่องของตัวเลขฐานข้อมูลจะเป็นการรวบรวมของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้นในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าจะมีแรงงานเหล่านี้เพิ่มขึ้น จึงควรมีฐานข้อมูลรวมซึ่งจะเกิดความชัดเจนมากขึ้น และอีกปัญหาที่พบขณะนี้ คือ แรงงานที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่าเป็นวัณโรคถึง 57 ราย
นายกฤษฎา ตันสกุล อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวว่า ยังไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท แต่อยากสะท้อนปัญหาว่า การปรับขึ้นค่าจ้างถึง 36 % จากปกติแต่ละปีจะปรับเพิ่มประมาณ 5-15 % ส่งผลให้ต้นทุนในการประกอบการเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่สินค้าอื่นๆได้มีการปรับขึ้นไปรอไว้แล้ว ขณะเดียวกันก็ยังส่งผลต่อการบริหารจัดการในเรื่องของงบประมาณประจำปีด้วย
ส่วนมาตรการภาษีที่รัฐบาลกำหนดมานั้นก็ไม่ครอบคลุมหรือช่วยผู้ประกอบการได้จริง นอกจากนี้ยังจะมีปัญหาเรื่องของเงินเฟ้อตามมาอีกด้วย เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องมีการช่วยเหลืออย่างจริงจังทั้งมาตรการภาษี และการฝึกทักษะแรงงานที่จะต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วนและจริงจังในการป้อนให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว
ในส่วนของแรงงานต่างด้าวจากตัวเลขที่ลงทะเบียนซึ่งมีประมาณ 60,000 ราย แต่ในความเป็นจริงคิดว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 100,000 ราย หากมองในแง่ดีแรงงานดังกล่าวก็จะมาช่วยเสริมในส่วนของแรงงานระดับล่างที่ขาดแรงงาน แต่ที่น่าห่วงเป็นเรื่องของปัญหาทางสังคม เพราะเราขาดการบริหารจัดการที่ดี ประกอบกับ จากการจัดสรรงบประมาณตามตัวเลขประชากรซึ่งได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประชากรที่มีอยู่จริง ดังนั้น ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการพัฒนา จึงอยากให้มองที่ข้อเท็จจริง ไม่เช่นนั้นภูเก็ตก็จะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไปได้ไม่นาน
ขณะที่ตัวแทนจากหอการค้า กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ว่าเห็นด้วย เพราะจะเกิดการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีค่าจ้างเพิ่มขึ้นปัญหาอาชญากรรมก็จะลดน้อยลง ส่วนปัญหาเรื่องของแรงงานต่างด้าวที่เป็นปัญหาค่อนข้างมากคือในส่วนของผู้ติดตาม เนื่องจากไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนดังนั้นควรกำหนดกรอบให้ชัดเจนในเรื่องดังกล่าวว่าจะทำอย่างไร และอยากฝากให้แก้ปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนแรงงานระดับล่างกับระดับกลางซึ่งมีปัญหาค่อนข้างมาก
ที่ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่) คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายนิทัศน์ ศรีนนท์ ประธานกรรมาธิการฯ ประชุมติดตามสถานการณ์ปัญหาแรงงานและการใช้แรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการในเขตจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายไชยวัฒน์ เทพี ปลัดจังหวัดภูเก็ต พ.ต.อ.ชำนาญ แป้นนาบอน รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต พ.ต.อ.ภาณุวัฒน์ ร่วมรักษ์ ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน หอการค้าจังหวัดภูเก็ต สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมชี้แจง
นายนิทัศน์ กล่าวว่า การศึกษาดูงานในครั้งนี้ เนื่องจากภูเก็ตเป็น 1 ใน 7 จังหวัดที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาล จึงต้องการทราบว่าส่งผลกระทบกับทั้งในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างอย่างไรบ้าง ประกอบกับภูเก็ตถือเป็นจังหวัดที่มีปัญหาเรื่องการว่างงานน้อยมากอยู่ที่ประมาณ 0.5 % ต่อจำนวน 200,000 คนของประชาชน รวมทั้งเพื่อรับทราบปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวด้วย
ตัวแทนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงว่า ภูเก็ตมีประชากรตามทะเบียนราษฎรประมาณ 351,909 คน จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีประชากรในวัยทำงาน (15 ปีขึ้นไป) จำนวน 228,453 คน มีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน รวม 164,652 คน จำแนกเป็นผู้มีงานทำ 163,776 คนของผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 876 คน โดยมีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมจำนวนทั้งสิ้น 8,280 แห่ง มีลูกจ้าง 118,078 คน ซึ่งที่ผ่านมาอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภูเก็ตได้มีมติในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจาก 221 บาทเป็น 300 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. 2555
ส่วนของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต ณ วันที่ 25 พ.ย.2554 จังหวัดภูเก็ตมีแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนและขออนุญาตทำงานจำนวนทั้งสิ้น 61,954 ราย เป็นพม่า 61,002 ราย ลาว 626 ราย และกัมพูชา 326 ราย ในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 20 ม.ค. 2555 และ วันที่ 28 ก.พ. 2555 จำนวน 15,577 ราย ได้รับการพิสูจน์สัญชาติตามมติ ครม. วันที่ 19 ม.ค. 2553 จำนวน 35,091 ราย คงเหลือแรงงานที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ และต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันที่ 20 ม.ค. 2555 และวันที่ 28 ก.พ. 2555 จำนวน 5,675 ราย
นอกจากนี้ ยังมีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบอยู่ในประเทศไทยและผู้ติดตามที่เป็นบุตรอายุไม่เกิน 15 ปี ตามมติ ครม. วันที่ 26 เมษายน 2554 จำนวน 23,254 ราย ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว 20,558 ราย
พ.ต.อ.ชำนาญ แป้นนาบอน รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต กล่าวว่า ในการดำเนินคดีกับคนต่างด้าวในปี 2553 จำนวน 246 ราย ผลักดันกลับจำนวน 242 ราย ส่วนในปี 2554 มีการดำเนินคดี 130 ราย ผลักดันกลับ 226 ราย โดยตัวเลขของแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองมาอยู่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้นมีตัวเลขที่ไม่ชัดเจน จากการตรวจสอบไม่พบว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคง โดยอยู่ในวิสัยที่สามารถควบคุมได้
พ.ต.อ.ภาณุวัฒน์ ร่วมรักษ์ ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานพบว่าปัญหาที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนนายจ้าง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเร่งงานก่อสร้าง ส่งผลให้เกิดการซื้อตัวแรงงานต่างด้าว ขณะที่ปัญหาที่เกิดจากนายจ้างจะเป็นเรื่องการเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งในเรื่องของตัวเลขฐานข้อมูลจะเป็นการรวบรวมของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้นในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าจะมีแรงงานเหล่านี้เพิ่มขึ้น จึงควรมีฐานข้อมูลรวมซึ่งจะเกิดความชัดเจนมากขึ้น และอีกปัญหาที่พบขณะนี้ คือ แรงงานที่ถูกส่งมาจากโรงพยาบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่าเป็นวัณโรคถึง 57 ราย
นายกฤษฎา ตันสกุล อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวว่า ยังไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท แต่อยากสะท้อนปัญหาว่า การปรับขึ้นค่าจ้างถึง 36 % จากปกติแต่ละปีจะปรับเพิ่มประมาณ 5-15 % ส่งผลให้ต้นทุนในการประกอบการเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่สินค้าอื่นๆได้มีการปรับขึ้นไปรอไว้แล้ว ขณะเดียวกันก็ยังส่งผลต่อการบริหารจัดการในเรื่องของงบประมาณประจำปีด้วย
ส่วนมาตรการภาษีที่รัฐบาลกำหนดมานั้นก็ไม่ครอบคลุมหรือช่วยผู้ประกอบการได้จริง นอกจากนี้ยังจะมีปัญหาเรื่องของเงินเฟ้อตามมาอีกด้วย เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องมีการช่วยเหลืออย่างจริงจังทั้งมาตรการภาษี และการฝึกทักษะแรงงานที่จะต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วนและจริงจังในการป้อนให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว
ในส่วนของแรงงานต่างด้าวจากตัวเลขที่ลงทะเบียนซึ่งมีประมาณ 60,000 ราย แต่ในความเป็นจริงคิดว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 100,000 ราย หากมองในแง่ดีแรงงานดังกล่าวก็จะมาช่วยเสริมในส่วนของแรงงานระดับล่างที่ขาดแรงงาน แต่ที่น่าห่วงเป็นเรื่องของปัญหาทางสังคม เพราะเราขาดการบริหารจัดการที่ดี ประกอบกับ จากการจัดสรรงบประมาณตามตัวเลขประชากรซึ่งได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประชากรที่มีอยู่จริง ดังนั้น ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการพัฒนา จึงอยากให้มองที่ข้อเท็จจริง ไม่เช่นนั้นภูเก็ตก็จะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไปได้ไม่นาน
ขณะที่ตัวแทนจากหอการค้า กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ว่าเห็นด้วย เพราะจะเกิดการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีค่าจ้างเพิ่มขึ้นปัญหาอาชญากรรมก็จะลดน้อยลง ส่วนปัญหาเรื่องของแรงงานต่างด้าวที่เป็นปัญหาค่อนข้างมากคือในส่วนของผู้ติดตาม เนื่องจากไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนดังนั้นควรกำหนดกรอบให้ชัดเจนในเรื่องดังกล่าวว่าจะทำอย่างไร และอยากฝากให้แก้ปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนแรงงานระดับล่างกับระดับกลางซึ่งมีปัญหาค่อนข้างมาก