ASTVผู้จัดการรายวัน-“สมเด็จพระบรมฯ” ทรงแนะระบายน้ำออกพุทธมณฑลไม่กระทบชาวบ้านพุทธมณฑลสาย 4 และ 5 ด้าน พศ. เร่งสนองพระราชดำรัส คาดสูบน้ำออกหมดก่อนปีใหม่ "ยงยุทธ" ย้ำไม่เกินสิ้นปี จ.นนทบุรี-ปทุมธานี-นครปฐม น้ำแห้งแน่ “สุขุมพันธุ์” นัดหารือผู้นำหมู่บ้านเศรษฐกิจหลังชาวบ้านไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ เข้าไปแก้ปัญหาน้ำท่วม
วานนี้ (7 ธ.ค.) นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า จากการที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรสวนส้มโอนครปฐม เมื่อเร็วๆนี้ ทรงมีพระราชดำรัสแก่รักษาการผู้ว่าฯนครปฐมถึงการระบายน้ำที่ท่วมอยู่ที่พุทธมณฑลใจความว่า การระบายน้ำขอให้ระมัดระวังอย่าให้กระทบประชาชนโดยรอบ ทาง พศ. มีแนวทางในการระบายน้ำออกโดยจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำที่ท่วมบ้านประชาชนออกแม่น้ำท่าจีนไปก่อน จากนั้นค่อยระบายน้ำจากพุทธมณฑลออกไป โดยติดตั้งเครื่องสูบเพื่อระบายน้ำลงคูคลองอย่างเป็นระบบลงสู่แม่น้ำท่าจีน โดยไม่ให้น้ำเอ่อเข้าท่วมบ้านประชาชนย่านพุทธมณฑลสาย 4 และ 5 อีก ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าจะสูบน้ำออกจากพุทธมณฑลหมดก่อนปีใหม่
ด้านนางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า วันนี้ ( 8 ธ.ค.) วธ. กำหนด จัดงานนิทรรศการภาพถ่าย “น้ำ+ใจ 2554” (WATER+EMPATHY 2011) ภาพบันทึกเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ สะท้อนน้ำใจในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหตุการณ์อุทกภัย เพื่อร่วมแสดง และทรงเสด็จเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ“น้ำ+ใจ 2554” ในวันที่ 8 ธ.ค. 2554 เวลา 17.00 น. ณ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
** ไม่เกินสิ้นปีน้ำแห้งหมด
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวถึงปัญหาน้ำท่วม ที่รัฐบาลบอกจะหมดไปภายในสิ้นปีว่า ทางผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประสบอุทกภัย คือ จ.ปทุมธานี ยืนยันว่า หมู่บ้านจัดสรรน้ำจะแห้งในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ขณะที่จ.นนทบุรี น้ำจะแห้งในวันที่ 16 และ วันที่ 20 จะเป็น จ.นครปฐม
สำหรับเงินชดเชย 5 พันบาท ที่ประชาชนออกมาระบุว่าได้ช้านั้น นายยงยุทธ ยืนยันว่า ไม่ช้า เรารีบเต็มที่แล้ว แต่เป็นเพราะจำนวนประชาชนที่เดือดร้อนมีมาก ซึ่งเราต้องหาความเหมาะสม เงินเรามีพร้อมที่จะจ่ายอยู่แล้ว
**ยังเปิดโรงครัวช่วยผู้ประสบภัย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเปิดโรงครัวชาวใต้ น้ำใจช่วยน้ำท่วม ของพรคประชาธิปัตย์ว่า ขณะนี้ทำอาหารเลี้ยงกว่า 10,000 กล่อง ส่งไปให้โดยตนจะประเมินสถานการณ์จนถึงวันที่10 ธ.ค. จากนั้นก็จะประเมินอีกครั้งในวันที่ 15 ธ.ค. เป็นช่วงๆไป และตอนนี้เหลือโรงครัวอยู่ทั้งหมด 3 แห่งจากทั้งหมด 20 กว่าแห่ง ตรงไหนที่น้ำลด ประชาชนช่วยตัวเองได้แล้วเราก็ปิด แต่ครัวส่วนกลาง ที่พรรคยังเปิดอยู่ คอยช่วยในจุดที่ลำบากและมาขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้ สิ่งที่ตนกังวลใจตอนนี้คือ เราจะเยียวยาความเสียหายอย่างไร
เมื่อถามว่านอกจากจะมีความชัดเจนเรื่องเยียวยาแล้ว ล่าสุดมีส.ส.นำของหมดอายุ ใส่ในถุงยังชีพ นำไปให้กับประชาชน ที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี นายสุเทพ กล่าวว่า ถ้าเกิดขึ้นจริงมันโหดร้ายไปหน่อย เพราะคนกำลังมีความทุกข์ เหมือนกับเป็นการซ้ำเติม รัฐบาลควรตรวจสอบว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นคนทำ ไม่ควรปล่อยให้ผ่านไป
**อย่าเพิ่งยุบศปภ. รอเยียวยาให้เสร็จก่อน
เมื่อถามว่า มีข่าวว่า ศปภ. เตรียมที่จะปิดตัวนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ตนคิดว่าสถานการณ์ขณะนี้งานของศปภ. ยังไม่เสร็จสิ้น ไม่ใช่ว่าน้ำลดแล้วจบกัน แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องทำหลังจากน้ำลดแล้ว มากกว่าตอนที่น้ำยังท่วมอยู่คือ การเยียวยา ฟื้นฟู บ้านเรือน ไร่นาต่างๆ ของประชาชน ต้องทำอย่างมีแผน ควรระดมกำลังมาทำสิ่งนี้
**อัดปภ.ทำงานห่วยตั้งรับอย่างเดียว
นายประมวล เอมเปีย ผู้เชี่ยวชาญประจำผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า ที่ตนออกมาเปิดเผยถึงระเบียบหลักเกณฑ์ และแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพราะเห็นว่าปีนี้คนไทยประสบอุทกภัยน้ำท่วมกว่า 50 จังหวัด ประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบ แต่น่าแปลกที่ไม่มีใครพูดถึงสิทธิ และความช่วยเหลือตามสิทธิที่ชาวบ้านควรจะได้รับ ทำให้ชาวบ้านไม่รู้เรื่องเลย พูดแต่เรื่องเงิน 5 พันบาทอย่างเดียว แต่เงินเยียวยาชดเชย ตามระเบียบดังกล่าวไม่มีการพูดถึง
**ระดับน้ำในคลองหลักลดลงต่อเนื่อง
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เวลา 11.45 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหากรุงเทพฯ ว่า สถานการณ์ น้ำทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ คลองในพื้นที่ส่วนใหญ่ระดับน้ำลดลงอย่างชัดเจน และคลองรังสิต ระดับน้ำอยู่ที่ 2.42 เมตร ส่วนคลองทวีวัฒนาระดับน้ำลดลงเยอะมากเมื่อเทียบกับวันที่ 3 ธ.ค.โดยภายนอกประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาระดับน้ำลดลง 18 ซม.และภายในประตูระบายน้ำลดลง 15 ซม.ทั้งนี้ กทม.ได้ดำเนินการระบายน้ำจากพื้นที่เฉพาะ ได้แก่ ถ.พหลโยธินตอนบน บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ และบริเวณ ถ.บรมราชชนนี คาดว่า บน ถ.บรมราชชนนี จะแห้งภายใน 2 วัน
**นัดถกผู้นำหมู่บ้านแก้น้ำท่วม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ใน ส่วนของการกู้พื้นที่หมู่บ้านเศรษฐกิจนั้น เมื่อ 2 วันที่ผ่าน กทม.ได้เข้าไประบายน้ำจากพื้นที่ส่วนหนึ่งแล้ว แต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. มีประชาชนประมาณ 50-100 คน คัดค้านไม่ให้เจ้าหน้าที่ กทม.เข้าไปปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภายในหมู่บ้านเศรษฐกิจโดยไม่มีเหตุผล ดังนั้น วันนี้ (8 ธ.ค.) ตนเองจะเข้าไปหารือกับผู้นำชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจด้วยตนเอง ถึงความร่วมมือในการระบายน้ำในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม
**กทม.เล็งงดเก็บค่าขยะ 4 เดือน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เบื้องต้นกทม.จะประกาศยกเว้นค่าจัดเก็บขยะ 4 เดือน ส่วนจะยกเว้นได้มากกว่านี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม โดยได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียด ระเบียบหลักเกณฑ์ตามข้อกฎหมาย และให้เสนอกลับมาอีกครั้งซึ่งจะให้ได้ข้อสรุปในสัปดาห์นี้เพื่อประกาศเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาว กทม.
**เร่งเก็บขยะถนนสรงประภาเสร็จใน 24 ชม.
เวลา 15.00 น.นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.ลงพื้นที่ตรวจการจัดเก็บขยะ บริเวณถนนสรงประภา เขตดอนเมือง ซึ่งมีประชาชนนำขยะจากน้ำท่วมมาทิ้งไว้บนผิวจราจรเป็นจำนวนมาก โดยกทม.ได้ระดมเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งรถขยะ รถตัก รถบรรทุก จาก 20 สำนักงานเขตที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครมาช่วยในการจัดเก็บขยะ โดยจะเร่งจัดเก็บให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้นจะทำความสะอาดบริเวณที่ประชาชนนำขยะมาทิ้ง ด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคฉีดล้างทำความสะอาด
**คร.เผยควบคุม 6 โรคหลังน้ำลดได้
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.)กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีโรคที่เกิดหลังน้ำท่วมว่า ขณะนี้มี 6 โรคที่ต้องเฝ้าระวัง คือ 1.โรคฉี่หนู 2.โรคไข้หวัดใหญ่ 3.โรคปอดบวม 4. โรคมือ เท้า ปาก 5. โรคตาแดง 6. โรคท้องเสีย,ท้องร่วง ไม่มีการระบาดเมื่อเปรียบเทียบเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนโรคฉี่หนูทุกปีจะพบป่วย 5000 ราย เสียชีวิต 50 ราย แต่ในปีนี้พบป่วย 3,300ราย และพบว่าพื้นที่ที่เป็นไร่นามีอัตราระบาดสูงกว่าพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะทางภาคอีสาน
**น้ำท่วมหนักอยู่ 12 จังหวัด เสียชีวิต 675 ราย
ที่กระทรวงมหาดไทย ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศอส.) รายงานสถานการณ์อุทกภัย ใน 2 พื้นที่รวม 12 จังหวัด โดยพื้นที่ประเทศไทยตอนบน ปัจจุบันยังประสบอุทกภัย 11 จังหวัดจังหวัด 87 อำเภอ 628 ตำบล 4,224 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,660,658 ครัวเรือน 4,453,618 คน ได้แก่ จ.ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร และ กทม. และ มีผู้เสียชีวิต 675 ราย สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย)ส่วนสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ 1 จังหวัด จังหวัด 2 อำเภอ 15 ตำบล 124 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,507 ครัวเรือน 17,212 คน ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิต 9 ราย คือ จ.พัทลุง 2 ราย สงขลา 2 ราย ยะลา 2 ราย และ จ.นราธิวาส 3 ราย) ทั้งนี้ จากการที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 8 จังหวัด ปัจจุบันมีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว อยู่ระหว่างฟื้นฟู 7 จังหวัด ได้แก่จ.นราธิวาส ยะลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ตรัง สงขลา และ จ.พัทลุง
***ประกันหวั่นจ่ายอาน3แสนล.
ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา มีนายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ส.ส.เพชรบูรณ์ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน เพื่อศึกษามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของบริษัทประกันภัย โดยมี น.ส.วราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการด้านกำกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) นายอานนท์ วังสุ เลขาสมาคมประกันวินาศภัยเข้าชี้แจง
โดย น.ส.วราวรรณ กล่าวว่า เหตุน้ำท่วมสร้างความเสียหายมาก ล่าสุดมียอดเรียกร้องสินไหมแล้วจำนวนมาก แบ่งเป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 926 ราย คิดเป็นเบี้ยที่ต้องจ่าย 4.5 แสนล้านบาท กลุ่มโรงงานขนาดเล็ก หรือกลุ่มเอสเอ็มอี 2.7 แสนราย คิดเป็นเบี้ยที่ต้องจ่าย 3 แสนล้านบาท รถยนต์ที่เสียหาย มีผู้แจ้งขอรับประกันแล้ว 1 หมื่นราย เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท ขณะนี้จ่ายไปแล้วประมาณ 1,000 ราย คิดเป็นเงิน 71 ล้านบาท ความเสียหายต่อทรัพย์สินมีผู้แจ้งแล้ว 1 หมื่นราย คิดเป็นเงิน 6 หมื่นล้านบาท จ่ายไปแล้ว 700 ราย เป็นเงิน 53 ล้านบาท มีผู้เสียชีวิต 94 ราย เป็นเงิน 31 ล้านบาท ได้จ่ายไปทั้งหมดแล้วที่มีการเรียกร้อง นายอานนท์กล่าวว่า คาดว่าความเสียหายในปี 2554 คิดเป็นเงินที่บริษัทประกันต้องจ่ายกว่า 3 แสนล้าน เบื้องต้นบริษัทประกันร้อยละ 90 จะจ่ายให้แน่นอน
ในส่วนกรมธรรม์รถยนต์ คาดว่ามีมากถึง 4 หมื่นคัน มูลค่ากว่า 1.6 หมื่นล้านบาท บ้านพักอาศัยเสียหายมากกว่า 3 หมื่นหลัง เสียหาย 3-4 หมื่นล้านบาท ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ เพราะหลายแห่งน้ำยังไม่ลด จึงยังไม่สามารถส่งทีมเข้าไปประเมินได้ ดังนั้นจากทุนประกันรวมทั้งหมด 7 แสนล้านบาท ประเมินคร่าวๆว่าหากได้รับความเสียหายร้อยละ 30 เท่ากับจำนวนเงิน 2.1 แสนล้านบาท ส่วนตัวมองว่า ตัวเลขดังกล่าวจะเอาไม่อยู่ เพราะจากน้ำท่วมขังนาน ตัวเลขอาจพุ่งสูงขึ้นอีก ยืนยันว่าเงิน 3 แสนล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมาธิการหลายคนได้ซักถามประเด็นการรับทำประกันภัยต่อของกลุ่มโรงงาน อุตสาหกรรม การขึ้นเบี้ยประกันในปี 2555 รวมถึงการปรับปรุงรูปแบบทำประกันภัย โดยพิจารณาพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเป็นหลัก ซึ่งนายอานนท์ชี้แจงว่า บริษัทประกันขณะนี้ไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์น้ำท่วมจะไม่เกิดขึ้นอีก เช่น นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ทางธุรกิจประกันส่ายหน้าที่จะให้เข้าระบบประกันภัยต่อ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมาก สำหรับเบี้ยประกันภัยนั้น ส่วนตัวเห็นว่าต้องเพิ่มเบี้ยประกันแน่นอน เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมขณะนี้นับหลายพันล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับธุรกิจประกันภัย ทางรัฐบาลต้องทำให้เกิดความมั่นใจ ด้วยการกำหนดนโยบายป้องกันน้ำท่วม รวมถึงกลุ่มโรงงาน ต้องมีแนวทางป้องกันน้ำท่วมที่ชัดเจน ความเสียหายที่เกิดขึ้นประเมินคร่าวๆ ไว้ที่ 3 แสนล้านบาท แน่นอนว่าธุรกิจประกันต้องเป็นผู้จ่ายเป็นสัดส่วนมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ภัยที่เกิดขึ้นนั้นรัฐบาลควรจะเข้ามาช่วย หรือมีส่วนในความรับผิดชอบด้วย
เช่นเดียวกับ น.ส.วราวรรรณ ที่เห็นว่า อยากให้รัฐบาลเข้ามีส่วนรับผิดชอบในรูปแบบการตั้งกองทุนประกันภัย ที่รัฐบาลมีส่วนสนับสนุนร่วมกับบริษัทประกันภัย เหมือนในต่างประเทศ หากรัฐบาลเข้ามาการันตีกลุ่มธุรกิจประกันภัย จะถือว่าเป็นความได้เปรียบในการต่อรองเบี้ยประกันกับต่างประเทศ ที่รับช่วงประกันภัยต่อ ส่วนการปรับปรุงรูปแบบทำประกันภัยตามพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ยอมรับว่าเคยมีแนวคิด แต่ติดปัญหาคือไม่มีข้อมูลเพียงพอ ตนสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง หรือจัดโซนประกันภัยให้เหมาะสมกับพื้นที่
วานนี้ (7 ธ.ค.) นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า จากการที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรสวนส้มโอนครปฐม เมื่อเร็วๆนี้ ทรงมีพระราชดำรัสแก่รักษาการผู้ว่าฯนครปฐมถึงการระบายน้ำที่ท่วมอยู่ที่พุทธมณฑลใจความว่า การระบายน้ำขอให้ระมัดระวังอย่าให้กระทบประชาชนโดยรอบ ทาง พศ. มีแนวทางในการระบายน้ำออกโดยจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำที่ท่วมบ้านประชาชนออกแม่น้ำท่าจีนไปก่อน จากนั้นค่อยระบายน้ำจากพุทธมณฑลออกไป โดยติดตั้งเครื่องสูบเพื่อระบายน้ำลงคูคลองอย่างเป็นระบบลงสู่แม่น้ำท่าจีน โดยไม่ให้น้ำเอ่อเข้าท่วมบ้านประชาชนย่านพุทธมณฑลสาย 4 และ 5 อีก ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าจะสูบน้ำออกจากพุทธมณฑลหมดก่อนปีใหม่
ด้านนางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า วันนี้ ( 8 ธ.ค.) วธ. กำหนด จัดงานนิทรรศการภาพถ่าย “น้ำ+ใจ 2554” (WATER+EMPATHY 2011) ภาพบันทึกเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ สะท้อนน้ำใจในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหตุการณ์อุทกภัย เพื่อร่วมแสดง และทรงเสด็จเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ“น้ำ+ใจ 2554” ในวันที่ 8 ธ.ค. 2554 เวลา 17.00 น. ณ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
** ไม่เกินสิ้นปีน้ำแห้งหมด
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวถึงปัญหาน้ำท่วม ที่รัฐบาลบอกจะหมดไปภายในสิ้นปีว่า ทางผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ประสบอุทกภัย คือ จ.ปทุมธานี ยืนยันว่า หมู่บ้านจัดสรรน้ำจะแห้งในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ขณะที่จ.นนทบุรี น้ำจะแห้งในวันที่ 16 และ วันที่ 20 จะเป็น จ.นครปฐม
สำหรับเงินชดเชย 5 พันบาท ที่ประชาชนออกมาระบุว่าได้ช้านั้น นายยงยุทธ ยืนยันว่า ไม่ช้า เรารีบเต็มที่แล้ว แต่เป็นเพราะจำนวนประชาชนที่เดือดร้อนมีมาก ซึ่งเราต้องหาความเหมาะสม เงินเรามีพร้อมที่จะจ่ายอยู่แล้ว
**ยังเปิดโรงครัวช่วยผู้ประสบภัย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเปิดโรงครัวชาวใต้ น้ำใจช่วยน้ำท่วม ของพรคประชาธิปัตย์ว่า ขณะนี้ทำอาหารเลี้ยงกว่า 10,000 กล่อง ส่งไปให้โดยตนจะประเมินสถานการณ์จนถึงวันที่10 ธ.ค. จากนั้นก็จะประเมินอีกครั้งในวันที่ 15 ธ.ค. เป็นช่วงๆไป และตอนนี้เหลือโรงครัวอยู่ทั้งหมด 3 แห่งจากทั้งหมด 20 กว่าแห่ง ตรงไหนที่น้ำลด ประชาชนช่วยตัวเองได้แล้วเราก็ปิด แต่ครัวส่วนกลาง ที่พรรคยังเปิดอยู่ คอยช่วยในจุดที่ลำบากและมาขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้ สิ่งที่ตนกังวลใจตอนนี้คือ เราจะเยียวยาความเสียหายอย่างไร
เมื่อถามว่านอกจากจะมีความชัดเจนเรื่องเยียวยาแล้ว ล่าสุดมีส.ส.นำของหมดอายุ ใส่ในถุงยังชีพ นำไปให้กับประชาชน ที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี นายสุเทพ กล่าวว่า ถ้าเกิดขึ้นจริงมันโหดร้ายไปหน่อย เพราะคนกำลังมีความทุกข์ เหมือนกับเป็นการซ้ำเติม รัฐบาลควรตรวจสอบว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นคนทำ ไม่ควรปล่อยให้ผ่านไป
**อย่าเพิ่งยุบศปภ. รอเยียวยาให้เสร็จก่อน
เมื่อถามว่า มีข่าวว่า ศปภ. เตรียมที่จะปิดตัวนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ตนคิดว่าสถานการณ์ขณะนี้งานของศปภ. ยังไม่เสร็จสิ้น ไม่ใช่ว่าน้ำลดแล้วจบกัน แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องทำหลังจากน้ำลดแล้ว มากกว่าตอนที่น้ำยังท่วมอยู่คือ การเยียวยา ฟื้นฟู บ้านเรือน ไร่นาต่างๆ ของประชาชน ต้องทำอย่างมีแผน ควรระดมกำลังมาทำสิ่งนี้
**อัดปภ.ทำงานห่วยตั้งรับอย่างเดียว
นายประมวล เอมเปีย ผู้เชี่ยวชาญประจำผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า ที่ตนออกมาเปิดเผยถึงระเบียบหลักเกณฑ์ และแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพราะเห็นว่าปีนี้คนไทยประสบอุทกภัยน้ำท่วมกว่า 50 จังหวัด ประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบ แต่น่าแปลกที่ไม่มีใครพูดถึงสิทธิ และความช่วยเหลือตามสิทธิที่ชาวบ้านควรจะได้รับ ทำให้ชาวบ้านไม่รู้เรื่องเลย พูดแต่เรื่องเงิน 5 พันบาทอย่างเดียว แต่เงินเยียวยาชดเชย ตามระเบียบดังกล่าวไม่มีการพูดถึง
**ระดับน้ำในคลองหลักลดลงต่อเนื่อง
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เวลา 11.45 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. แถลงสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหากรุงเทพฯ ว่า สถานการณ์ น้ำทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ คลองในพื้นที่ส่วนใหญ่ระดับน้ำลดลงอย่างชัดเจน และคลองรังสิต ระดับน้ำอยู่ที่ 2.42 เมตร ส่วนคลองทวีวัฒนาระดับน้ำลดลงเยอะมากเมื่อเทียบกับวันที่ 3 ธ.ค.โดยภายนอกประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาระดับน้ำลดลง 18 ซม.และภายในประตูระบายน้ำลดลง 15 ซม.ทั้งนี้ กทม.ได้ดำเนินการระบายน้ำจากพื้นที่เฉพาะ ได้แก่ ถ.พหลโยธินตอนบน บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ และบริเวณ ถ.บรมราชชนนี คาดว่า บน ถ.บรมราชชนนี จะแห้งภายใน 2 วัน
**นัดถกผู้นำหมู่บ้านแก้น้ำท่วม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ใน ส่วนของการกู้พื้นที่หมู่บ้านเศรษฐกิจนั้น เมื่อ 2 วันที่ผ่าน กทม.ได้เข้าไประบายน้ำจากพื้นที่ส่วนหนึ่งแล้ว แต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. มีประชาชนประมาณ 50-100 คน คัดค้านไม่ให้เจ้าหน้าที่ กทม.เข้าไปปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภายในหมู่บ้านเศรษฐกิจโดยไม่มีเหตุผล ดังนั้น วันนี้ (8 ธ.ค.) ตนเองจะเข้าไปหารือกับผู้นำชุมชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจด้วยตนเอง ถึงความร่วมมือในการระบายน้ำในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม
**กทม.เล็งงดเก็บค่าขยะ 4 เดือน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เบื้องต้นกทม.จะประกาศยกเว้นค่าจัดเก็บขยะ 4 เดือน ส่วนจะยกเว้นได้มากกว่านี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม โดยได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียด ระเบียบหลักเกณฑ์ตามข้อกฎหมาย และให้เสนอกลับมาอีกครั้งซึ่งจะให้ได้ข้อสรุปในสัปดาห์นี้เพื่อประกาศเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับชาว กทม.
**เร่งเก็บขยะถนนสรงประภาเสร็จใน 24 ชม.
เวลา 15.00 น.นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.ลงพื้นที่ตรวจการจัดเก็บขยะ บริเวณถนนสรงประภา เขตดอนเมือง ซึ่งมีประชาชนนำขยะจากน้ำท่วมมาทิ้งไว้บนผิวจราจรเป็นจำนวนมาก โดยกทม.ได้ระดมเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งรถขยะ รถตัก รถบรรทุก จาก 20 สำนักงานเขตที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครมาช่วยในการจัดเก็บขยะ โดยจะเร่งจัดเก็บให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้นจะทำความสะอาดบริเวณที่ประชาชนนำขยะมาทิ้ง ด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคฉีดล้างทำความสะอาด
**คร.เผยควบคุม 6 โรคหลังน้ำลดได้
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.)กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีโรคที่เกิดหลังน้ำท่วมว่า ขณะนี้มี 6 โรคที่ต้องเฝ้าระวัง คือ 1.โรคฉี่หนู 2.โรคไข้หวัดใหญ่ 3.โรคปอดบวม 4. โรคมือ เท้า ปาก 5. โรคตาแดง 6. โรคท้องเสีย,ท้องร่วง ไม่มีการระบาดเมื่อเปรียบเทียบเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา ส่วนโรคฉี่หนูทุกปีจะพบป่วย 5000 ราย เสียชีวิต 50 ราย แต่ในปีนี้พบป่วย 3,300ราย และพบว่าพื้นที่ที่เป็นไร่นามีอัตราระบาดสูงกว่าพื้นที่น้ำท่วม โดยเฉพาะทางภาคอีสาน
**น้ำท่วมหนักอยู่ 12 จังหวัด เสียชีวิต 675 ราย
ที่กระทรวงมหาดไทย ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศอส.) รายงานสถานการณ์อุทกภัย ใน 2 พื้นที่รวม 12 จังหวัด โดยพื้นที่ประเทศไทยตอนบน ปัจจุบันยังประสบอุทกภัย 11 จังหวัดจังหวัด 87 อำเภอ 628 ตำบล 4,224 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,660,658 ครัวเรือน 4,453,618 คน ได้แก่ จ.ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร และ กทม. และ มีผู้เสียชีวิต 675 ราย สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย)ส่วนสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ 1 จังหวัด จังหวัด 2 อำเภอ 15 ตำบล 124 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,507 ครัวเรือน 17,212 คน ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิต 9 ราย คือ จ.พัทลุง 2 ราย สงขลา 2 ราย ยะลา 2 ราย และ จ.นราธิวาส 3 ราย) ทั้งนี้ จากการที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 8 จังหวัด ปัจจุบันมีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว อยู่ระหว่างฟื้นฟู 7 จังหวัด ได้แก่จ.นราธิวาส ยะลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ตรัง สงขลา และ จ.พัทลุง
***ประกันหวั่นจ่ายอาน3แสนล.
ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา มีนายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ส.ส.เพชรบูรณ์ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน เพื่อศึกษามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของบริษัทประกันภัย โดยมี น.ส.วราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการด้านกำกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) นายอานนท์ วังสุ เลขาสมาคมประกันวินาศภัยเข้าชี้แจง
โดย น.ส.วราวรรณ กล่าวว่า เหตุน้ำท่วมสร้างความเสียหายมาก ล่าสุดมียอดเรียกร้องสินไหมแล้วจำนวนมาก แบ่งเป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 926 ราย คิดเป็นเบี้ยที่ต้องจ่าย 4.5 แสนล้านบาท กลุ่มโรงงานขนาดเล็ก หรือกลุ่มเอสเอ็มอี 2.7 แสนราย คิดเป็นเบี้ยที่ต้องจ่าย 3 แสนล้านบาท รถยนต์ที่เสียหาย มีผู้แจ้งขอรับประกันแล้ว 1 หมื่นราย เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท ขณะนี้จ่ายไปแล้วประมาณ 1,000 ราย คิดเป็นเงิน 71 ล้านบาท ความเสียหายต่อทรัพย์สินมีผู้แจ้งแล้ว 1 หมื่นราย คิดเป็นเงิน 6 หมื่นล้านบาท จ่ายไปแล้ว 700 ราย เป็นเงิน 53 ล้านบาท มีผู้เสียชีวิต 94 ราย เป็นเงิน 31 ล้านบาท ได้จ่ายไปทั้งหมดแล้วที่มีการเรียกร้อง นายอานนท์กล่าวว่า คาดว่าความเสียหายในปี 2554 คิดเป็นเงินที่บริษัทประกันต้องจ่ายกว่า 3 แสนล้าน เบื้องต้นบริษัทประกันร้อยละ 90 จะจ่ายให้แน่นอน
ในส่วนกรมธรรม์รถยนต์ คาดว่ามีมากถึง 4 หมื่นคัน มูลค่ากว่า 1.6 หมื่นล้านบาท บ้านพักอาศัยเสียหายมากกว่า 3 หมื่นหลัง เสียหาย 3-4 หมื่นล้านบาท ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ เพราะหลายแห่งน้ำยังไม่ลด จึงยังไม่สามารถส่งทีมเข้าไปประเมินได้ ดังนั้นจากทุนประกันรวมทั้งหมด 7 แสนล้านบาท ประเมินคร่าวๆว่าหากได้รับความเสียหายร้อยละ 30 เท่ากับจำนวนเงิน 2.1 แสนล้านบาท ส่วนตัวมองว่า ตัวเลขดังกล่าวจะเอาไม่อยู่ เพราะจากน้ำท่วมขังนาน ตัวเลขอาจพุ่งสูงขึ้นอีก ยืนยันว่าเงิน 3 แสนล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมาธิการหลายคนได้ซักถามประเด็นการรับทำประกันภัยต่อของกลุ่มโรงงาน อุตสาหกรรม การขึ้นเบี้ยประกันในปี 2555 รวมถึงการปรับปรุงรูปแบบทำประกันภัย โดยพิจารณาพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเป็นหลัก ซึ่งนายอานนท์ชี้แจงว่า บริษัทประกันขณะนี้ไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์น้ำท่วมจะไม่เกิดขึ้นอีก เช่น นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ทางธุรกิจประกันส่ายหน้าที่จะให้เข้าระบบประกันภัยต่อ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมาก สำหรับเบี้ยประกันภัยนั้น ส่วนตัวเห็นว่าต้องเพิ่มเบี้ยประกันแน่นอน เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมขณะนี้นับหลายพันล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับธุรกิจประกันภัย ทางรัฐบาลต้องทำให้เกิดความมั่นใจ ด้วยการกำหนดนโยบายป้องกันน้ำท่วม รวมถึงกลุ่มโรงงาน ต้องมีแนวทางป้องกันน้ำท่วมที่ชัดเจน ความเสียหายที่เกิดขึ้นประเมินคร่าวๆ ไว้ที่ 3 แสนล้านบาท แน่นอนว่าธุรกิจประกันต้องเป็นผู้จ่ายเป็นสัดส่วนมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ภัยที่เกิดขึ้นนั้นรัฐบาลควรจะเข้ามาช่วย หรือมีส่วนในความรับผิดชอบด้วย
เช่นเดียวกับ น.ส.วราวรรรณ ที่เห็นว่า อยากให้รัฐบาลเข้ามีส่วนรับผิดชอบในรูปแบบการตั้งกองทุนประกันภัย ที่รัฐบาลมีส่วนสนับสนุนร่วมกับบริษัทประกันภัย เหมือนในต่างประเทศ หากรัฐบาลเข้ามาการันตีกลุ่มธุรกิจประกันภัย จะถือว่าเป็นความได้เปรียบในการต่อรองเบี้ยประกันกับต่างประเทศ ที่รับช่วงประกันภัยต่อ ส่วนการปรับปรุงรูปแบบทำประกันภัยตามพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ยอมรับว่าเคยมีแนวคิด แต่ติดปัญหาคือไม่มีข้อมูลเพียงพอ ตนสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง หรือจัดโซนประกันภัยให้เหมาะสมกับพื้นที่