ASTVผู้จัดการรายวัน – สบน.ระบุ ADB ยกย่องตลาดตราสารหนี้ไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของภูมิภาคหลังปรับตัวสู่ 3 เสาหลักเศรษฐกิจของประเทศสร้างสมดุลควบคู่ตลาดเงิน – ตลาดทุน ชีปริมาณซื้อขายพุ่งถึง 8 หมื่นล้านบาทต่อวันแซงหน้าตลาดหุ้นไทยหลายเท่าตัว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB จัดอันดับให้ประเทศไทยมีการพัฒนาตลาดตราสารหนี้เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียนนำหน้าประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย เนื่องจากมีความหลากหลายของประเภทตราสารและการพัฒนาตลาดตราสารที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540
ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของไทยนั้น สบน.ได้ดำเนินการปรับบทบาทขององค์กรจากหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะการบริหารหนี้สินภาครัฐสู่การเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตลาดพันธบัตรของประเทศ หรือ ทำหน้าที่ออก Benchmark Bond ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจของประเทศและสร้างสมดุลทางการเงินของประเทศในระยะยาว
" เมื่อตอนเกิดวิกฤติปี 40 นั้นภาคการเงินของประเทศไทยเรายังไม่มีความสมดุลเน้นพึ่งพาตลาดเงินหรือธนาคารพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ขณะที่ตลาดทุนก็เกิดฟองสบู่มากเกินไป รวมทั้งตลาดตราสารหนี้ก็ยังไม่มีบทบาทมากนัก แต่ที่ผ่านมาเกือบ 15 ปีได้มีการพัฒนาตราสารหนี้จนมีความแข็งแกร่งสามารถสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในตลาดการเงินให้ประเทศได้ " นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
สำหรับปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ของไทยในปัจจุบันมีปริมาณการซื้อขายที่สูงถึง 8 หมื่นล้านบาทต่อวันถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 2 หมื่นกว่าล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่สัดส่วนของตลาดตราสารหนี้ต่อจีดีพีอยู่ที่ 68% ตลาดทุน 70% และตลาดเงิน 80% ถือว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากจากช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่ตลาดตราสารหนี้มีสัดส่วนไม่ถึง 10% ของจีดีพี
การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของไทยนั้นมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้มากในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยนอกจากการบริหารจัดการพันธบัตรภาครัฐแล้วภาคเอกชนยังอาศัยตลาดตราสารหนี้ในการออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนมาใช้ในการขยายกิจการที่มีต้นทุนที่ถูกและสามารถกู้ได้ระยะยาวตามอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทเอกชนนั้นๆ
" จากประสบการณ์ที่ประเทศไทยเราประสบปัญหาวิกฤติต้มยำกุ้งในอดีตทำให้เราพัฒนาตลาดการเงินทั้ง 3 ส่วนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะตลาดพันธบัตร มีการวางระบบดำเนินการเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาการซื้อขายทั้งในตลาดแรกและตลาดรองที่เหมาะสมจะทำให้เอดีบีจัดอันดับให้เราเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค " นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB จัดอันดับให้ประเทศไทยมีการพัฒนาตลาดตราสารหนี้เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียนนำหน้าประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย เนื่องจากมีความหลากหลายของประเภทตราสารและการพัฒนาตลาดตราสารที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540
ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของไทยนั้น สบน.ได้ดำเนินการปรับบทบาทขององค์กรจากหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะการบริหารหนี้สินภาครัฐสู่การเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตลาดพันธบัตรของประเทศ หรือ ทำหน้าที่ออก Benchmark Bond ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจของประเทศและสร้างสมดุลทางการเงินของประเทศในระยะยาว
" เมื่อตอนเกิดวิกฤติปี 40 นั้นภาคการเงินของประเทศไทยเรายังไม่มีความสมดุลเน้นพึ่งพาตลาดเงินหรือธนาคารพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ขณะที่ตลาดทุนก็เกิดฟองสบู่มากเกินไป รวมทั้งตลาดตราสารหนี้ก็ยังไม่มีบทบาทมากนัก แต่ที่ผ่านมาเกือบ 15 ปีได้มีการพัฒนาตราสารหนี้จนมีความแข็งแกร่งสามารถสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในตลาดการเงินให้ประเทศได้ " นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
สำหรับปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ของไทยในปัจจุบันมีปริมาณการซื้อขายที่สูงถึง 8 หมื่นล้านบาทต่อวันถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 2 หมื่นกว่าล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่สัดส่วนของตลาดตราสารหนี้ต่อจีดีพีอยู่ที่ 68% ตลาดทุน 70% และตลาดเงิน 80% ถือว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากจากช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่ตลาดตราสารหนี้มีสัดส่วนไม่ถึง 10% ของจีดีพี
การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของไทยนั้นมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้มากในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยนอกจากการบริหารจัดการพันธบัตรภาครัฐแล้วภาคเอกชนยังอาศัยตลาดตราสารหนี้ในการออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนมาใช้ในการขยายกิจการที่มีต้นทุนที่ถูกและสามารถกู้ได้ระยะยาวตามอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทเอกชนนั้นๆ
" จากประสบการณ์ที่ประเทศไทยเราประสบปัญหาวิกฤติต้มยำกุ้งในอดีตทำให้เราพัฒนาตลาดการเงินทั้ง 3 ส่วนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะตลาดพันธบัตร มีการวางระบบดำเนินการเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาการซื้อขายทั้งในตลาดแรกและตลาดรองที่เหมาะสมจะทำให้เอดีบีจัดอันดับให้เราเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค " นายจักรกฤศฏิ์กล่าว