แบงก์ชาติสวิตเซอร์แลนด์ทำตลาดอัตราแลกเปลี่ยนถึงกับช็อกเมื่อวันอังคาร (6) โดยประกาศกำหนดเพดานสูงสุดอัตราแลกเปลี่ยนเงินฟรังก์สวิสของตน ความเคลื่อนไหวอย่างห้าวหาญคราวนี้เพื่อมุ่งสกัดกั้นแนวโน้มที่พวกนักลงทุนรู้สึกวิตกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก จึงต่างหันมาใช้เงินตราสกุลนี้เป็นแหล่งหลบภัยชั้นดี แล้วเลยทำให้ฟรังก์สวิสมีค่าแข็งขึ้นเรื่อยๆ จนกำลังทำท่าจะพาเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย
ธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สวิส เนชั่นแนล แบงก์ (เอสเอ็นบี) ออกคำแถลงด้วยถ้อยคำภาษาที่บางตอนฟังอยู่รุนแรงยิ่ง โดยระบุว่าจะไม่ยอมอดทนปล่อยให้สกุลเงินตราของตนแข็งโป๊กจนกระทั่ง 1 ยูโรแลกได้ไม่ถึง 1.20 ฟรังก์สวิส และพร้อมที่จะปกป้องรักษาเป้าหมายนี้เอาไว้ให้ได้ แม้จะต้องออกรับซื้อเงินตราสกุลอื่นๆ ในปริมาณที่ไม่จำกัด
ปรากฏว่าการแสดงท่าทีเช่นนี้ทำให้มูลค่าของฟรังก์สวิสในตลาดลดฮวบลงทันทีประมาณ 8% ทั้งนี้เงินตราสกุลนี้ได้แข็งค่าขึ้นมาถึงราวหนึ่งในสามทีเดียว นับตั้งแต่การล้มครืนของวานิชธนกิจ เลห์แมน บราเธอร์ส ในปี 2008 ซึ่งถือเป็นสัญญาณของวิกฤตภาคการเงินที่ลุกลามไปทั่วโลก
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินตราสกุลนี้เพิ่มค่าขึ้นมหาศาลเช่นนี้ เป็นเพราะพวกนักลงทุนใช้ฟรังก์สวิสเป็นแหล่งหลบภัย ในเวลาที่ต้องการถอยหนีออกจากวิกฤตหนี้สินภาครัฐของยูโรโซน ตลอดจนถอยห่างความปั่นป่วนผันผวนของตลาดหุ้น
ธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สวิส เนชั่นแนล แบงก์ (เอสเอ็นบี) ออกคำแถลงด้วยถ้อยคำภาษาที่บางตอนฟังอยู่รุนแรงยิ่ง โดยระบุว่าจะไม่ยอมอดทนปล่อยให้สกุลเงินตราของตนแข็งโป๊กจนกระทั่ง 1 ยูโรแลกได้ไม่ถึง 1.20 ฟรังก์สวิส และพร้อมที่จะปกป้องรักษาเป้าหมายนี้เอาไว้ให้ได้ แม้จะต้องออกรับซื้อเงินตราสกุลอื่นๆ ในปริมาณที่ไม่จำกัด
ปรากฏว่าการแสดงท่าทีเช่นนี้ทำให้มูลค่าของฟรังก์สวิสในตลาดลดฮวบลงทันทีประมาณ 8% ทั้งนี้เงินตราสกุลนี้ได้แข็งค่าขึ้นมาถึงราวหนึ่งในสามทีเดียว นับตั้งแต่การล้มครืนของวานิชธนกิจ เลห์แมน บราเธอร์ส ในปี 2008 ซึ่งถือเป็นสัญญาณของวิกฤตภาคการเงินที่ลุกลามไปทั่วโลก
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินตราสกุลนี้เพิ่มค่าขึ้นมหาศาลเช่นนี้ เป็นเพราะพวกนักลงทุนใช้ฟรังก์สวิสเป็นแหล่งหลบภัย ในเวลาที่ต้องการถอยหนีออกจากวิกฤตหนี้สินภาครัฐของยูโรโซน ตลอดจนถอยห่างความปั่นป่วนผันผวนของตลาดหุ้น