บลจ.กสิกรไทยคาด บริษัทจดทะเบียนจีน-อินเดีย-ไทย รับอานิสงส์ความร่วมมือทางการเงินแถบเอเชีย จับตาข้อตกลงสวอปเงินเอเชียลดการพึ่งพาดอลลาร์ หนุนการค้าโตและมีเสถียรภาพมากขึ้น
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ท่ามกลางวิกฤตหนี้สินภาครัฐของยุโรปที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนทั่วโลกถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยังไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจน และตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แม้ว่าจะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่ก็ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าอย่างมาก ประเทศคู่ค้าของยุโรปและสหรัฐฯในเอเชียต่างก็ได้รับผลกระทบทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเช่นกัน และนั่นคือที่มาของความเคลื่อนไหวเพื่อร่วมมือทางการเงินของหลายประเทศในเอเชีย
ทั้งนี้ บริษัทเชื่อว่า ความร่วมมือต่างๆ จะทำให้ บริษัทจดทะเบียนในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการขยายการค้าระหว่างกัน
โดย ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคเอเชียมีฐานะทางการเงินที่เข็มแข็งกว่าประเทศในฝั่งตะวันตกมาก เมื่อพิจารณาจากปริมาณเงินออมที่สูงและภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับต่ำทำให้หลายฝ่ายออกมาสนับสนุนการร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศในเอเชียมากขึ้น โดยล่าสุดหลังจากการหารือระหว่างผู้นำของญี่ปุ่นและจีน สองชาติเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 ของโลกที่กรุงปักกิ่งนั้น ทั้งสองประเทศได้เห็นพ้องร่วมกันที่จะให้เกิดการค้าระหว่างกันโดยใช้เงินสกุลหยวนและเงินเยนโดยตรง แทนการใช้เงินสกุลดอลลาร์เป็นตัวกลาง
นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นจะหันมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลจีนในรูปสกุลเงินหยวนโดยตรงมากขึ้นในปีหน้า และนอกจากความคืบหน้าทางด้านการแลกเปลี่ยนเงินหยวน-เยนกันโดยตรงแล้ว ทั้งสองประเทศยังได้ดึงเอาเกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่เข็มแข็งอีกชาติเข้ามาร่วมทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในต้นปีหน้า ซึ่งความร่วมมือระหว่างสามประเทศ(ไตรภาคี)นั้น มีความคืบหน้าอย่างมากและคาดว่าจะได้ข้อสรุปในไม่ช้า
สำหรับมาตรการเหล่านี้จะเป็นการกระตุ้นการซื้อขายระหว่างกันมากขึ้นเพราะนอกจากประเทศคู่ค้าจะได้รับประโยชน์จากความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง (ไม่ต้องแลกเงินผ่านสกุลเงินดอลลาร์ซึ่งค่าเงินผันผวนตามภาวะวิกฤต) แล้วยังได้รับประโยชน์จากต้นทุนทางการค้าระหว่างกันที่ลดลงทั้งจากการแลกเปลี่ยนเงินตราและการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการนำเข้าอีกด้วย
นอกจากนี้การร่วมมือกันในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการร่วมมือกันในวงกว้างมากขึ้น ดังเช่นที่เริ่มเกิดขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้มีการส่งเสริมการใช้เงินหยวนรวมไปถึงการตั้งเขตการค้าเสรีในภูมิภาคแล้วเช่นกัน โดยจีนกับไทยก็ได้มีการทำข้อตกลง สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินไทยจีน (สวอป) มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 3.3 แสนล้านบาท)
โดยย่างก้าวที่สำคัญครั้งนี้เป็นการแสดงถึงการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจและการค้าของประเทศในเอเชียให้มีเสถียรภาพมากขึ้นและการลดการพึ่งพาเศรษฐกิจในกลุ่มยุโรปและสหรัฐฯ
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ท่ามกลางวิกฤตหนี้สินภาครัฐของยุโรปที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนทั่วโลกถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยังไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจน และตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แม้ว่าจะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่ก็ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าอย่างมาก ประเทศคู่ค้าของยุโรปและสหรัฐฯในเอเชียต่างก็ได้รับผลกระทบทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเช่นกัน และนั่นคือที่มาของความเคลื่อนไหวเพื่อร่วมมือทางการเงินของหลายประเทศในเอเชีย
ทั้งนี้ บริษัทเชื่อว่า ความร่วมมือต่างๆ จะทำให้ บริษัทจดทะเบียนในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการขยายการค้าระหว่างกัน
โดย ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคเอเชียมีฐานะทางการเงินที่เข็มแข็งกว่าประเทศในฝั่งตะวันตกมาก เมื่อพิจารณาจากปริมาณเงินออมที่สูงและภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับต่ำทำให้หลายฝ่ายออกมาสนับสนุนการร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศในเอเชียมากขึ้น โดยล่าสุดหลังจากการหารือระหว่างผู้นำของญี่ปุ่นและจีน สองชาติเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 2 และ 3 ของโลกที่กรุงปักกิ่งนั้น ทั้งสองประเทศได้เห็นพ้องร่วมกันที่จะให้เกิดการค้าระหว่างกันโดยใช้เงินสกุลหยวนและเงินเยนโดยตรง แทนการใช้เงินสกุลดอลลาร์เป็นตัวกลาง
นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นจะหันมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลจีนในรูปสกุลเงินหยวนโดยตรงมากขึ้นในปีหน้า และนอกจากความคืบหน้าทางด้านการแลกเปลี่ยนเงินหยวน-เยนกันโดยตรงแล้ว ทั้งสองประเทศยังได้ดึงเอาเกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่เข็มแข็งอีกชาติเข้ามาร่วมทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในต้นปีหน้า ซึ่งความร่วมมือระหว่างสามประเทศ(ไตรภาคี)นั้น มีความคืบหน้าอย่างมากและคาดว่าจะได้ข้อสรุปในไม่ช้า
สำหรับมาตรการเหล่านี้จะเป็นการกระตุ้นการซื้อขายระหว่างกันมากขึ้นเพราะนอกจากประเทศคู่ค้าจะได้รับประโยชน์จากความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง (ไม่ต้องแลกเงินผ่านสกุลเงินดอลลาร์ซึ่งค่าเงินผันผวนตามภาวะวิกฤต) แล้วยังได้รับประโยชน์จากต้นทุนทางการค้าระหว่างกันที่ลดลงทั้งจากการแลกเปลี่ยนเงินตราและการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการนำเข้าอีกด้วย
นอกจากนี้การร่วมมือกันในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดการร่วมมือกันในวงกว้างมากขึ้น ดังเช่นที่เริ่มเกิดขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้มีการส่งเสริมการใช้เงินหยวนรวมไปถึงการตั้งเขตการค้าเสรีในภูมิภาคแล้วเช่นกัน โดยจีนกับไทยก็ได้มีการทำข้อตกลง สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินไทยจีน (สวอป) มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 3.3 แสนล้านบาท)
โดยย่างก้าวที่สำคัญครั้งนี้เป็นการแสดงถึงการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจและการค้าของประเทศในเอเชียให้มีเสถียรภาพมากขึ้นและการลดการพึ่งพาเศรษฐกิจในกลุ่มยุโรปและสหรัฐฯ