นายกฯกรีซฉุดยูโรโซนกลับสู่แดนสนธยาอีกครั้ง แถมดึงตลาดหุ้นทั่วยุโรปทรุด ด้วยการประกาศให้รัฐสภาลงมติว่าจะไว้วางใจเขาหรือไม่ อีกทั้งยังจะให้ชาวกรีกลงประชามติว่าจะยอมรับข้อตกลงกู้วิกฤตหนี้ของประเทศหรือไม่
ขณะที่ผู้นำ 20 ชาติเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลก (จี-20) เตรียมพร้อมหารือในวันพฤหัสฯ นี้ (3) โดยมีประเด็นหลักอยู่ที่วิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป ความเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดของนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูในวันจันทร (31 ต.ค.) ทำให้เกิดความกลัวกันว่า ความพยายามฝ่าฟันแก้วิกฤตที่กระทำกันมา มีหวังจะต้องล้มเหลวลงอย่างรวดเร็วเสียแล้ว
ตลาดหุ้นสำคัญๆ ทั่วยุโรปดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันอังคาร(1พ.ย.) โดยในส่วนหุ้นกรีซนั้นทรุดลง 6.31% ท่ามกลางเสียงเตือนว่าการลงประชามติซึ่งมีหวังว่าประชาชนชาวกรีกอาจจะปฏิเสธไม่ยอมรับข้อตกลงในสัปดาห์ที่แล้วเพื่อรับเงินอัดฉีดก้อนใหม่ จะมีความหมายเท่ากับทำให้เอเธนส์ต้องบอกลาการเป็นชาติสมาชิกใช้สกุลเงินยูโร
พาดริก การ์วีย์ นักวิเคราะห์จากไอเอ็นจี กล่าวว่าการทำประชามติจะเท่ากับเป็นการลงมติว่า ชาวกรีซต้องการอยู่ในยูโรโซนต่อไปหรือไม่
ปาปันเดรอูที่มีส.ส.ในรัฐสภา 153 เสียง จากทั้งหมด 300 ที่นั่ง ถูกต่อต้านหนักข้อขึ้นจากสมาชิกพรรคของตนเองเกี่ยวกับนโยบายรัดเข็มขัดที่ได้ทำความตกลงไว้กับสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)โดยที่ข้อตกลงเหล่านี้เป็นต้นเหตุการนัดหยุดงานและการประท้วงของประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งหลายจุดเต็มไปด้วยความรุนแรง อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง อียูกับไอเอ็มเอฟก็จับตามมองเอเธนส์อย่างใกล้ชิด ด้วยความกังวลว่าการไม่ทำตามมาตรการเหล่านี้ จะทำให้กรีซไม่สามารถแก้ไขวิกฤตหนี้สินภาครัฐของตน ซึ่งก็ทำให้ยูโรโซนโดยองค์รวมไร้เสถียรภาพ อีกทั้งยังทำให้ปัญหาลุกลามติดเชื้อไปสู่ชาติยูโรโซนรายอื่นๆ ที่ก็มีปัญหาหนี้สินสาธารณะหนักหน่วงอยู่เหมือนกัน
ขณะที่ผู้นำ 20 ชาติเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลก (จี-20) เตรียมพร้อมหารือในวันพฤหัสฯ นี้ (3) โดยมีประเด็นหลักอยู่ที่วิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป ความเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดของนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูในวันจันทร (31 ต.ค.) ทำให้เกิดความกลัวกันว่า ความพยายามฝ่าฟันแก้วิกฤตที่กระทำกันมา มีหวังจะต้องล้มเหลวลงอย่างรวดเร็วเสียแล้ว
ตลาดหุ้นสำคัญๆ ทั่วยุโรปดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันอังคาร(1พ.ย.) โดยในส่วนหุ้นกรีซนั้นทรุดลง 6.31% ท่ามกลางเสียงเตือนว่าการลงประชามติซึ่งมีหวังว่าประชาชนชาวกรีกอาจจะปฏิเสธไม่ยอมรับข้อตกลงในสัปดาห์ที่แล้วเพื่อรับเงินอัดฉีดก้อนใหม่ จะมีความหมายเท่ากับทำให้เอเธนส์ต้องบอกลาการเป็นชาติสมาชิกใช้สกุลเงินยูโร
พาดริก การ์วีย์ นักวิเคราะห์จากไอเอ็นจี กล่าวว่าการทำประชามติจะเท่ากับเป็นการลงมติว่า ชาวกรีซต้องการอยู่ในยูโรโซนต่อไปหรือไม่
ปาปันเดรอูที่มีส.ส.ในรัฐสภา 153 เสียง จากทั้งหมด 300 ที่นั่ง ถูกต่อต้านหนักข้อขึ้นจากสมาชิกพรรคของตนเองเกี่ยวกับนโยบายรัดเข็มขัดที่ได้ทำความตกลงไว้กับสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)โดยที่ข้อตกลงเหล่านี้เป็นต้นเหตุการนัดหยุดงานและการประท้วงของประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งหลายจุดเต็มไปด้วยความรุนแรง อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง อียูกับไอเอ็มเอฟก็จับตามมองเอเธนส์อย่างใกล้ชิด ด้วยความกังวลว่าการไม่ทำตามมาตรการเหล่านี้ จะทำให้กรีซไม่สามารถแก้ไขวิกฤตหนี้สินภาครัฐของตน ซึ่งก็ทำให้ยูโรโซนโดยองค์รวมไร้เสถียรภาพ อีกทั้งยังทำให้ปัญหาลุกลามติดเชื้อไปสู่ชาติยูโรโซนรายอื่นๆ ที่ก็มีปัญหาหนี้สินสาธารณะหนักหน่วงอยู่เหมือนกัน