ASTVผู้จัดการรายวัน-รุมจวกคนศปภ. “พ.ต.ต.เสงี่ยม” ป่วนประตูระบายน้ำสั่งลด-เพิ่มปตร.คลองพระยาสุเรนทร์ตามอำเภอใจ ลั่นไม่สนผู้ว่าฯ กทม. "สุขุมพันธ์" เปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม 4 แห่ง TUTG เล็งเสนอโครงการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินป้องกันน้ำท่วม
วานนี้ (30 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ความวุ่นวายที่ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ซึ่งพ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี แกนนำชาวบ้านย่านลำลูกกา เป็นผู้ควบคุมการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ซึ่งประตูระบายน้ำได้ถูกปรับลดระดับความสูงลงมาอยู่ที่ 1 เมตรจากเดิม 1.50 ม. ทำให้ระดับน้ำด้านเหนือประตูระบายน้ำ และหลังประตูระบายน้ำต่างกัน ราว 20 ซม. ซึ่งเป็นการกระทำที่ใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย
ขณะที่ พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าวว่า ตนเป็นผู้กระทำการลดระดับบานประตูน้ำลงมาในเวลาตี 02.00 น.ที่ผ่านมา เนื่องจากมีความเห็นใจชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ด้านใต้ถัดจากประตูระบายน้ำ เช่น สายไหม และสุขาภิบาล 5 โดยในช่วงสายจะกลับมาเปิดประตูระบายน้ำที่ระดับ 1.50 ม.อีกครั้ง โดยหลังจากนี้ตนจะเป็นผู้กำหนดระดับการเปิดประตูระบายน้ำด้วยตนเอง เนื่องจากเห็นว่า กทม.มีความล้มเหลวในการระบายน้ำ โดยกล่าวว่าตนเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเงา
**“เสงี่ยม”ยอมลดปตร.**
ต่อมาเมื่อเวลา 12.00 ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ.กล่าวว่า ขณะนี้สามารถควบคุมและเจรจากับ พ.ต.ต.เสงี่ยม แล้ว โดยพ.ต.ต. เสงี่ยมก็รับฟังและยอมลดประตูระบายน้ำลง
สำหรับสถานการณ์ความขัดแย้งของมวลชนบริเวณประตูระบายน้ำจุดต่างๆนั้น พล.ต.อ.ประชาเชื่อว่า ไม่น่าจะมีที่อื่นอีก นอกจากจุดนี้ เพราะทุกจุดที่มีประตูระบายน้ำ หรือมีคันกั้นน้ำอยู่นั้น ได้ทยอยเปิดออกเกือบทั้งหมดแล้ว
****เปิดเพิ่มปตร. 4 แห่ง**
วันเดียวกัน ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า จากระดับน้ำทะลหนุนสูงที่ระดับ 1.25 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง(ม.รทก.) ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด สูง 2.07 ม.รทก. ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากนี้ไป กทม.จะปรับประตูระบายน้ำ(ปตร.) คลองพระยาสุเรนทร์ ให้เป็น 1.30 เมตร ปตร.คลองสามวา จากเดิม 80 ซม. เป็น 90 ซม. เพื่อระบายน้ำจ.ปทุมธานี บริเวณคลองหกว่าสายล่างลงสู่คลองแสนแสบ เพื่อส่งต่อไปยังอุโมงค์ยักษ์ที่สถานีสูบน้ำพระโขนง อีกทั้งเปิดปตร.คลองลำบึงขวาง จากเดิม 1 เมตร เป็น 1.20 เมตร เพื่อระบายน้ำจากลำลูกกา บริเวณคลองหกวาสายล่าง และคลอง 8-12 สู่คลองประเวศบุรีรมย์และลงสู่อุโมงค์ยักษ์ และเปิดปตร.ลาดกระบัง จากเดิม 1 เมตร เป็น 1.20 เมตร เพื่อระบายน้ำจากลำลูกกา บริเวณคลองหกวาสายล่าง และคลอง 7-12 ผ่านคลองประเวศบุรีรมย์สู่อุโมงค์ยักษ์ โดยจะประเมินสถานการณ์ 24 ชั่วโมง หากไม่กระทบต่อพื้นที่จะเปิดเพิ่มตามลำดับ
** การเมืองป่วน"สายไหม-ลำลูกกา"**
นายสมชาย เวสารัชตระกูล ส.ก. เขตสายไหม กล่าวว่า หลังจากเปิดปตร.พระยาสุเรนทร์ เป็น 1.50 เมตร ได้ส่งผลกระทบทันทีต่อเขตสายไหม เพราะระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น จากที่เคยคาดว่า สถานการณ์จะดีขึ้นใน 5 ธ.ค. ก็ต้องเลื่อนออกไป ไม่ทราบว่าน้ำจะหมดเมื่อไร ขณะที่ถนนสุขาภิบาล 5 ถนนวัชรพล ระดับน้ำเพิ่มขึ้นทันที จากนั้นจะส่งผลต่อเขตบางเขน และรามอินทรา ตนไม่เข้าใจว่าเหตุใด ศปภ. จึงลอยตัวแล้วปล่อยให้มีการใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ทำเป็นไม่สนใจ กรณีที่แกนนำนปช. นำชาวบ้านมาเปิดประตูระบายน้ำโดยพลการ ทั้งที่คนสายไหมและคนลำลูกกา ตกลงกันแล้วว่า จะเปิดประตูน้ำแห่งนี้ 1 เมตร ซึ่งจะทำให้ทั้งสองชุมชนอยู่ด้วยกันได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ศปภ. ก็ควรจะมาเจรจา และขอให้กลุ่มชาวบ้านทำข้อตกลงที่เคยคุยกันไว้ คือเปิด 1 เมตร
น.ส.รัตติกาล แก้วเกิดมี ส.ก.สายไหม แสดงความมั่นใจว่า มีนักการเมืองหนุนหลัง เห็นได้ชัดจากการติดธงแดงเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะแกนนำนปช. พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ก็ประกาศชัดเจนว่า ถ้าประตูระบายน้ำบานไหนที่ประชาชนอยากเปิด แต่กทม.ไม่ให้เปิด เขาจะพาไปเปิดเองโดยไม่สนใจ ทำให้ชาวสายไหม เริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะกลุ่มที่มาชุมนุมมีทีท่าจะใช้ความรุนแรง จึงพยายามขอร้องให้ชาวสายไหม หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้า เกรงว่าจะได้รับอันตราย
**แรงงานถูกปลดไม่รู้ตัว**
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 29-30 พ.ย. 2554 โครงการสื่อสารสุขภาวะชุมชนชายขอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ใน จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่า ใน 2 พื้นที่ดังกล่าว ยังมีระดับน้ำท่วมสูงอยู่ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร หลายโรงงานยังไม่สามารถเข้าไปกู้กิจการของตัวเองได้ สำหรับในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 400 แห่ง มีคนงานไม่ต่ำกว่า 170,000 คน มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านบาท นั้น แม้บริเวณภายนอกนิคมอุตสาหกรรมระดับน้ำจะลดลงหมดแล้ว แต่ภายในยังมีน้ำท่วมสูงอยู่ บางจุดยังท่วมสูงถึง 1.5 เมตร
ทั้งนี้ มีหลายโรงงานได้แจ้งข่าวคราวแก่พนักงานผ่านเอสเอ็มเอส ในโทรศัพท์มือถือ เช่น ให้เข้าไปช่วยกอบกู้โรงงาน หรือแจ้งว่า ในช่วงที่โรงงานหยุดประกอบการนั้นโรงงานขอจ่ายเงินเดือนไม่เต็มเดือน ซึ่งมีตั้งแต่ จ่าย 50-75% หรือบางโรงงานก็ถือโอกาสเลิกจ้างคนงานไปเลย
**เผยถูกหลอกให้ลาออกฟรี**
น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ใกล้เคียง กล่าวว่า ขณะนี้หลายโรงงานจ่ายเงินเดือนไม่เต็มเดือน หรือบางโรงงานที่เป็นบริษัทซับคอนแทร็คให้โรงงานใหญ่ ให้พนักงานมาเซ็นต์หนังสือลาออกเอง โดยบอกว่าจะต้องปิดบริษัทก่อน แล้วจะเปิดบริษัทใหม่ โดยจะรับพนักงานเก่ากลับเข้าทำงานใหม่ทั้งหมด แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเซ็นต์หนังสือลาออกก่อน
นางสมบุญ ขันธรูจี อาชีพ ทำโรงอิฐ ซึ่งบ้านถูกน้ำท่วมจนมิดหลังคาบ้านชั้นสอง เป็นเวลา 2 เดือน กล่าวว่า ผู้ใหญ่บ้านมาแจ้งให้ไปรับเงินชดเชย พวกตนจึงไปรับกันปรากฏว่า ในเอกสารบอกว่า เป็นเงินชดเชยจากน้ำท่วมบ้านตั้งแต่ปี 2553 ตอนแรกนึกว่าพิมพ์ผิด แต่ตรวจสอบแล้วไม่ใช่ เป็นของปี 2553 จริงๆ โดยเจ้าหน้าที่ บอกว่า เงินชดเชยของปี 2554 ยังมาไม่ถึง
“ปีที่แล้วบ้านป้าก็ท่วมแบบ นี้เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำ ท่วมถึงชั้นสองเป็นประจำ เขาก็ให้เงินชดเชยมา 1,400 บาท บ้านท่วมทั้งหลังนะคะ มิดหลังคาทั้งสองปีเลย ตอนแรกดีใจว่าอย่างน้อยได้ค่าซ่อมบ้านมาซักสามสี่หมื่นก็ยังดี แต่เห็นตัวเลขแล้วพูดไม่ออก บางคนได้ 600 หรือ 700 บาทยังมีเลยส่วนเงินปีนี้ยังไม่มา มาเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกที เห็นบอกว่าจะได้ 5,000 บาท แต่ไม่มีใครหวังว่าจะได้แล้วล่ะ อาจจะได้ก็คงเป็นปีหน้า เพราะของปีที่แล้วยังได้ปีนี้เลย” นางสมบุญ กล่าว
***เปิดโปรเจกต์กทม.แก้น้ำท่วม
วานนี้ (30พ.ย.) คณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ (Thailand Underground & Tunnelling Group หรือ TUTG) ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สวท.) จัดงานแถลงข่าวเป็นตัวการเป็นเจ้าภาพการประชุมอุโมงค์โลก WTC 2012 ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน พ.ค.2555 พร้อมการเสนอแนวคิด MUSTS (MULTI-SERVIC FLOOD TUNNEL SYSTEM) ระบบอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน
ในการจัดงานดังกล่าว TUTG จะนำเสนอแนวคิด MUSTS การก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินป้องกันน้ำท่วมระยะทาง 100 กิโลเมตร(กม.)ใต้ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก บางปะอิน- สมุทรปราการ และด้านล่างถนนมอเตอร์เวย์เป็นทางระบายน้ำ ซึ่งจะสามารถต่อยอดเป็น Hydro Power Flood Tunnel ในอนาคต คาดใช้งบก่อสร้างประมาณ 2 แสนล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี โดยโครงการก่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าว จะเป็นการสร้างเครือข่ายการระบายน้ำต่อจากคลองรังสิตส่งต่อมายังวงแหวนบางนา และระบายน้ำออกสู่ทะเล เป็นการแก้ปัญหาระบบการบริหารจัดการน้ำในระยะยาวอย่างยั่งยืน
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวว่า ปัญหาการบริการจัดการน้ำที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องมีการทบทวนและวางแผนยุทธศาตร์การจัดการน้ำของกทม.ครั้งใหญ่ ซึ่งหากรัฐบาลเข้ามาลงทุนก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินดัง เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลทั้งในส่วนของพื้นที่รอบนอกกทม.ด้านตะวันออกตามที่แนวคิดที่ TUTG ได้เสนอไปนั้น หากสามารถลงทุนก่อสร้างอุโมงค์ได้ในส่วนของพื้นที่รอบนอกกทม.ด้านตะวันตกด้วยก็จะช่วยสร้างประสิทธิภาพในการระบายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากมีการลงทุนก่อสร้างเกิดขึ้นจริงคาดว่าจะใช้เม็ดเงินประมาณ 400,000 ล้านบาท
ส่วนกทม.เองก็มีแผนแม่บท 15 ปีในการก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กทม. ทั้งการขุดลอกคูคลองในกทม.ขนาดเล็กและขนาดใหญ่กว่า 2,000 คลอง รวมถึงปรับภูมิทัศน์พื้นที่ริมคลองและก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คอลงขนาดใหญ่และเล็กในกทม. และโครงการก่อสร้างอุโมขนาดใหญ่ 5แห่ง ซึ่งต้องใช้งบประมาณก่อสร้าง 20,000 ล้านบาท คาดว่าหากดำเนินการทั้งหมดใช้งบทั้งสิ้น 4 แสนล้านบาท
วานนี้ (30 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ความวุ่นวายที่ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ซึ่งพ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี แกนนำชาวบ้านย่านลำลูกกา เป็นผู้ควบคุมการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ซึ่งประตูระบายน้ำได้ถูกปรับลดระดับความสูงลงมาอยู่ที่ 1 เมตรจากเดิม 1.50 ม. ทำให้ระดับน้ำด้านเหนือประตูระบายน้ำ และหลังประตูระบายน้ำต่างกัน ราว 20 ซม. ซึ่งเป็นการกระทำที่ใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย
ขณะที่ พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าวว่า ตนเป็นผู้กระทำการลดระดับบานประตูน้ำลงมาในเวลาตี 02.00 น.ที่ผ่านมา เนื่องจากมีความเห็นใจชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ด้านใต้ถัดจากประตูระบายน้ำ เช่น สายไหม และสุขาภิบาล 5 โดยในช่วงสายจะกลับมาเปิดประตูระบายน้ำที่ระดับ 1.50 ม.อีกครั้ง โดยหลังจากนี้ตนจะเป็นผู้กำหนดระดับการเปิดประตูระบายน้ำด้วยตนเอง เนื่องจากเห็นว่า กทม.มีความล้มเหลวในการระบายน้ำ โดยกล่าวว่าตนเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเงา
**“เสงี่ยม”ยอมลดปตร.**
ต่อมาเมื่อเวลา 12.00 ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ.กล่าวว่า ขณะนี้สามารถควบคุมและเจรจากับ พ.ต.ต.เสงี่ยม แล้ว โดยพ.ต.ต. เสงี่ยมก็รับฟังและยอมลดประตูระบายน้ำลง
สำหรับสถานการณ์ความขัดแย้งของมวลชนบริเวณประตูระบายน้ำจุดต่างๆนั้น พล.ต.อ.ประชาเชื่อว่า ไม่น่าจะมีที่อื่นอีก นอกจากจุดนี้ เพราะทุกจุดที่มีประตูระบายน้ำ หรือมีคันกั้นน้ำอยู่นั้น ได้ทยอยเปิดออกเกือบทั้งหมดแล้ว
****เปิดเพิ่มปตร. 4 แห่ง**
วันเดียวกัน ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า จากระดับน้ำทะลหนุนสูงที่ระดับ 1.25 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง(ม.รทก.) ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด สูง 2.07 ม.รทก. ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากนี้ไป กทม.จะปรับประตูระบายน้ำ(ปตร.) คลองพระยาสุเรนทร์ ให้เป็น 1.30 เมตร ปตร.คลองสามวา จากเดิม 80 ซม. เป็น 90 ซม. เพื่อระบายน้ำจ.ปทุมธานี บริเวณคลองหกว่าสายล่างลงสู่คลองแสนแสบ เพื่อส่งต่อไปยังอุโมงค์ยักษ์ที่สถานีสูบน้ำพระโขนง อีกทั้งเปิดปตร.คลองลำบึงขวาง จากเดิม 1 เมตร เป็น 1.20 เมตร เพื่อระบายน้ำจากลำลูกกา บริเวณคลองหกวาสายล่าง และคลอง 8-12 สู่คลองประเวศบุรีรมย์และลงสู่อุโมงค์ยักษ์ และเปิดปตร.ลาดกระบัง จากเดิม 1 เมตร เป็น 1.20 เมตร เพื่อระบายน้ำจากลำลูกกา บริเวณคลองหกวาสายล่าง และคลอง 7-12 ผ่านคลองประเวศบุรีรมย์สู่อุโมงค์ยักษ์ โดยจะประเมินสถานการณ์ 24 ชั่วโมง หากไม่กระทบต่อพื้นที่จะเปิดเพิ่มตามลำดับ
** การเมืองป่วน"สายไหม-ลำลูกกา"**
นายสมชาย เวสารัชตระกูล ส.ก. เขตสายไหม กล่าวว่า หลังจากเปิดปตร.พระยาสุเรนทร์ เป็น 1.50 เมตร ได้ส่งผลกระทบทันทีต่อเขตสายไหม เพราะระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น จากที่เคยคาดว่า สถานการณ์จะดีขึ้นใน 5 ธ.ค. ก็ต้องเลื่อนออกไป ไม่ทราบว่าน้ำจะหมดเมื่อไร ขณะที่ถนนสุขาภิบาล 5 ถนนวัชรพล ระดับน้ำเพิ่มขึ้นทันที จากนั้นจะส่งผลต่อเขตบางเขน และรามอินทรา ตนไม่เข้าใจว่าเหตุใด ศปภ. จึงลอยตัวแล้วปล่อยให้มีการใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ทำเป็นไม่สนใจ กรณีที่แกนนำนปช. นำชาวบ้านมาเปิดประตูระบายน้ำโดยพลการ ทั้งที่คนสายไหมและคนลำลูกกา ตกลงกันแล้วว่า จะเปิดประตูน้ำแห่งนี้ 1 เมตร ซึ่งจะทำให้ทั้งสองชุมชนอยู่ด้วยกันได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ศปภ. ก็ควรจะมาเจรจา และขอให้กลุ่มชาวบ้านทำข้อตกลงที่เคยคุยกันไว้ คือเปิด 1 เมตร
น.ส.รัตติกาล แก้วเกิดมี ส.ก.สายไหม แสดงความมั่นใจว่า มีนักการเมืองหนุนหลัง เห็นได้ชัดจากการติดธงแดงเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะแกนนำนปช. พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ก็ประกาศชัดเจนว่า ถ้าประตูระบายน้ำบานไหนที่ประชาชนอยากเปิด แต่กทม.ไม่ให้เปิด เขาจะพาไปเปิดเองโดยไม่สนใจ ทำให้ชาวสายไหม เริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะกลุ่มที่มาชุมนุมมีทีท่าจะใช้ความรุนแรง จึงพยายามขอร้องให้ชาวสายไหม หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้า เกรงว่าจะได้รับอันตราย
**แรงงานถูกปลดไม่รู้ตัว**
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 29-30 พ.ย. 2554 โครงการสื่อสารสุขภาวะชุมชนชายขอบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ใน จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่า ใน 2 พื้นที่ดังกล่าว ยังมีระดับน้ำท่วมสูงอยู่ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร หลายโรงงานยังไม่สามารถเข้าไปกู้กิจการของตัวเองได้ สำหรับในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 400 แห่ง มีคนงานไม่ต่ำกว่า 170,000 คน มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านบาท นั้น แม้บริเวณภายนอกนิคมอุตสาหกรรมระดับน้ำจะลดลงหมดแล้ว แต่ภายในยังมีน้ำท่วมสูงอยู่ บางจุดยังท่วมสูงถึง 1.5 เมตร
ทั้งนี้ มีหลายโรงงานได้แจ้งข่าวคราวแก่พนักงานผ่านเอสเอ็มเอส ในโทรศัพท์มือถือ เช่น ให้เข้าไปช่วยกอบกู้โรงงาน หรือแจ้งว่า ในช่วงที่โรงงานหยุดประกอบการนั้นโรงงานขอจ่ายเงินเดือนไม่เต็มเดือน ซึ่งมีตั้งแต่ จ่าย 50-75% หรือบางโรงงานก็ถือโอกาสเลิกจ้างคนงานไปเลย
**เผยถูกหลอกให้ลาออกฟรี**
น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ใกล้เคียง กล่าวว่า ขณะนี้หลายโรงงานจ่ายเงินเดือนไม่เต็มเดือน หรือบางโรงงานที่เป็นบริษัทซับคอนแทร็คให้โรงงานใหญ่ ให้พนักงานมาเซ็นต์หนังสือลาออกเอง โดยบอกว่าจะต้องปิดบริษัทก่อน แล้วจะเปิดบริษัทใหม่ โดยจะรับพนักงานเก่ากลับเข้าทำงานใหม่ทั้งหมด แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเซ็นต์หนังสือลาออกก่อน
นางสมบุญ ขันธรูจี อาชีพ ทำโรงอิฐ ซึ่งบ้านถูกน้ำท่วมจนมิดหลังคาบ้านชั้นสอง เป็นเวลา 2 เดือน กล่าวว่า ผู้ใหญ่บ้านมาแจ้งให้ไปรับเงินชดเชย พวกตนจึงไปรับกันปรากฏว่า ในเอกสารบอกว่า เป็นเงินชดเชยจากน้ำท่วมบ้านตั้งแต่ปี 2553 ตอนแรกนึกว่าพิมพ์ผิด แต่ตรวจสอบแล้วไม่ใช่ เป็นของปี 2553 จริงๆ โดยเจ้าหน้าที่ บอกว่า เงินชดเชยของปี 2554 ยังมาไม่ถึง
“ปีที่แล้วบ้านป้าก็ท่วมแบบ นี้เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำ ท่วมถึงชั้นสองเป็นประจำ เขาก็ให้เงินชดเชยมา 1,400 บาท บ้านท่วมทั้งหลังนะคะ มิดหลังคาทั้งสองปีเลย ตอนแรกดีใจว่าอย่างน้อยได้ค่าซ่อมบ้านมาซักสามสี่หมื่นก็ยังดี แต่เห็นตัวเลขแล้วพูดไม่ออก บางคนได้ 600 หรือ 700 บาทยังมีเลยส่วนเงินปีนี้ยังไม่มา มาเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกที เห็นบอกว่าจะได้ 5,000 บาท แต่ไม่มีใครหวังว่าจะได้แล้วล่ะ อาจจะได้ก็คงเป็นปีหน้า เพราะของปีที่แล้วยังได้ปีนี้เลย” นางสมบุญ กล่าว
***เปิดโปรเจกต์กทม.แก้น้ำท่วม
วานนี้ (30พ.ย.) คณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ (Thailand Underground & Tunnelling Group หรือ TUTG) ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สวท.) จัดงานแถลงข่าวเป็นตัวการเป็นเจ้าภาพการประชุมอุโมงค์โลก WTC 2012 ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน พ.ค.2555 พร้อมการเสนอแนวคิด MUSTS (MULTI-SERVIC FLOOD TUNNEL SYSTEM) ระบบอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน
ในการจัดงานดังกล่าว TUTG จะนำเสนอแนวคิด MUSTS การก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินป้องกันน้ำท่วมระยะทาง 100 กิโลเมตร(กม.)ใต้ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก บางปะอิน- สมุทรปราการ และด้านล่างถนนมอเตอร์เวย์เป็นทางระบายน้ำ ซึ่งจะสามารถต่อยอดเป็น Hydro Power Flood Tunnel ในอนาคต คาดใช้งบก่อสร้างประมาณ 2 แสนล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี โดยโครงการก่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าว จะเป็นการสร้างเครือข่ายการระบายน้ำต่อจากคลองรังสิตส่งต่อมายังวงแหวนบางนา และระบายน้ำออกสู่ทะเล เป็นการแก้ปัญหาระบบการบริหารจัดการน้ำในระยะยาวอย่างยั่งยืน
ด้านนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวว่า ปัญหาการบริการจัดการน้ำที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องมีการทบทวนและวางแผนยุทธศาตร์การจัดการน้ำของกทม.ครั้งใหญ่ ซึ่งหากรัฐบาลเข้ามาลงทุนก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินดัง เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลทั้งในส่วนของพื้นที่รอบนอกกทม.ด้านตะวันออกตามที่แนวคิดที่ TUTG ได้เสนอไปนั้น หากสามารถลงทุนก่อสร้างอุโมงค์ได้ในส่วนของพื้นที่รอบนอกกทม.ด้านตะวันตกด้วยก็จะช่วยสร้างประสิทธิภาพในการระบายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากมีการลงทุนก่อสร้างเกิดขึ้นจริงคาดว่าจะใช้เม็ดเงินประมาณ 400,000 ล้านบาท
ส่วนกทม.เองก็มีแผนแม่บท 15 ปีในการก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กทม. ทั้งการขุดลอกคูคลองในกทม.ขนาดเล็กและขนาดใหญ่กว่า 2,000 คลอง รวมถึงปรับภูมิทัศน์พื้นที่ริมคลองและก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คอลงขนาดใหญ่และเล็กในกทม. และโครงการก่อสร้างอุโมขนาดใหญ่ 5แห่ง ซึ่งต้องใช้งบประมาณก่อสร้าง 20,000 ล้านบาท คาดว่าหากดำเนินการทั้งหมดใช้งบทั้งสิ้น 4 แสนล้านบาท