ความทุกข์ที่คนถูกน้ำท่วมกว่า 2 เดือน พูดได้เลยว่า ถ้าไม่โดนกับตัวเองหรือญาติสนิทมิตรสหายก็จะไม่รู้สึกกดดัน แต่ขณะเดียวกัน ถ้าเป็นคนที่มีเมตตาธรรมก็จะรู้สึกสงสาร เห็นใจบรรดาผู้ประสบชะตากรรม เพราะน้ำท่วมกว่าสองเดือน ไม่ได้เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติเพียงด้านเดียวอย่างที่รัฐบาลและนักการเมืององครักษ์พิทักษ์ระบอบทักษิณพยายามอธิบายไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหมายถึงนักการเมืองที่มีอำนาจไม่ต้องรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ แก่บรรดาผู้ที่ประสบภัยในครั้งนี้
แต่ในด้านที่ผิดพลาดจากการบริหารน้ำทั้งระบบกลับพูดไม่เต็มปากเต็มคำ และมีแนวโน้มที่ยกความผิดให้ข้าราชการที่มีส่วนรับผิดชอบ ความทุกข์จึงมีให้เห็นหรือเกิดขึ้นทั่วทุกที่ ไม่ว่าด้านร่างกาย จิตใจของผู้ที่ประสบภัยโดยตรง คนรอบข้างหรือคนที่รับผิดชอบในการบริหาร
ท่ามกลางความทุกข์นี้ คนไทยได้มีการปรับตัวไปตามคุณลักษณะของแต่ละบุคคล บางคนยอมรับชะตากรรมแบบเงียบเฉย บางคนยอมรับแบบสุขอมทุกข์ บางคนก็บริภาษรัฐบาลแบบไม่ต้องผุดต้องเกิด แต่บางคนก็หาวิถีแห่งธรรมเพื่อความสงบ ระงับทุกข์ ซึ่งผู้เขียนใคร่เสนอวิถีแห่งพุทธ ในเรื่องน้ำท่วมกับมรรคแปด ซึ่งมรรค 8 ก็คือ หนทางสู่การดับทุกข์หรือเป็นวิถีของมรรคในอริยสัจ 4 และได้ชื่อว่าเป็น “มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง” ดังนี้
1. สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ หรือ เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา อย่างน้ำท่วมถ้ามองว่าเป็นแค่การท่วมโดยธรรมชาติเพียงด้านเดียว ก็จัดเป็นการเห็นชอบหรือเข้าใจชอบประเภทที่ว่า “ตามรู้ (อนุโพธ)” เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง แต่ถ้าเห็นถึงปรากฏการณ์น้ำท่วมที่เกิดตามธรรมชาติและท่วมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นที่ผ่านมากว่า 2 เดือนแล้ว มนุษย์เข้าไปบริหารจัดการไม่เป็น ไม่ถูกหลัก ไม่ได้จังหวะ ฯลฯ ความเข้าใจที่รู้แจ้งเห็นจริงประเภทนี้เรียกว่า “การรู้แจ้งแทงตลอด (ปฏิเวท)”
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หรือ การคิดพินิจพิเคราะห์ด้วยกุศลจิต นึกคิดที่ดีงาม อย่างการคิดที่จะแก้ไขน้ำท่วม ต้องมีพื้นฐานที่คิดเสียสละ มีเมตตากรุณา ไม่มุ่งร้ายทำลายใคร ต้องคิดว่าทุกข์ที่เกิดจากน้ำต้องหาทางกำจัดน้ำให้เร็ว ต้องจัดทุกกระบวนท่า ไม่ใช่ต่างคิด ต่างทำ โดยปราศจากคนรับผิดชอบที่รู้จริง นอกจากการคิดแต่แก้เกมทางการเมืองไปวันๆ สร้างโมเดลหรือพูดให้ดูดี อย่าง “บางระกำโมเดล” พูดเสร็จแล้ว ยังไง น้ำมาท่วมต่อที่นครสวรรค์ ชัยนาทใช่ไหม การคิดแก้รายวันจึงไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า “ดำริชอบ”
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หรือ วจีสุจริต ที่ประกอบด้วย ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบและไม่พูดเพ้อเจ้อ ซึ่งในทางปฏิบัติในกรณีน้ำท่วมที่ผ่านมา อย่างที่นายปลอดประสพ สุรัสวดีประกาศให้คนอพยพ โดยไม่ได้ตรึกตรอง ไม่ได้ตรวจสอบให้ดี ก็ทำให้คนแตกตื่น ไม่มีความเชื่อมั่นรัฐบาล หรืออย่างที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์ว่า “เอาอยู่” คือสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ จนนิคมอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายไป 7 แห่งแล้ว ผู้บริหารชาวต่างชาติให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับถึงความไม่น่าเชื่อถือผู้นำหรือรัฐบาล ซึ่งการไม่บอกสถานการณ์จริงก็เป็นการโกหกชนิดหนึ่ง ยิ่งตอบว่า “เอาอยู่ๆ” แล้วน้ำยังคงท่วมจริงกลายเป็นการพูดแบบเพ้อเจ้อโดยปริยาย
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติชอบ หรือ กายสุจริต ที่ประกอบด้วยบางส่วนของศีลห้าคือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์และไม่ประพฤติผิดในกาม ในกรณีน้ำท่วมนี้จะพูดถึงกรณีที่เอาของบริจาคแล้วมาพ่นสีทับบ้างก็นำไปใส่ชื่อตนเอง บ้างก็นำไปขาย แต่ที่น่าเวทนาคือการกักเก็บจนกลายเป็นของเสีย อย่างของบริจาคที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่ดอนเมือง พฤติกรรมที่ปรากฏเยี่ยงโจรนี้ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์รัฐบาลเสียหาย
5. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ หรือการทำมาหากินโดยสุจริต ในส่วนนี้สะท้อนภาพสังคมไทยในเหตุการณ์น้ำท่วมได้ดี ว่าเป็น “สังคมปากว่าตาขยิบ” ในสังคมไทยยังมีพวกเห็นแก่ตัวมาก การประกอบอาชีพของนัการเมืองคือการเข้าตรวจสอบกำกับการทำงานของรัฐบาล ไปออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ต่อประชาชน ฯลฯ อย่างการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคนกำกับรัฐบาล ให้รัฐบาลทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นเปรตที่คอยรับส่วนแบ่งจากของบริจาคจากประชาชนหรือของรัฐบาลที่เกิดจากภาษีของประชาชน ฯลฯ
6. สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ หรือความเพียรในการกุศลธรรมประกอบ เพียรระวัง อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้นอย่างการวางแผนนำของไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอย่างรัดกุมให้ทั่วถึงไม่ใช่แจกเฉพาะหัวคะแนน เพียรละ หรือเพียรกำจัดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างการจัดการของภาคเอกชนเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยตรง ดีกว่าผ่านนักการเมืองที่ทุจริตของบริจาค เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิดกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้นอย่างโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยการให้ความรู้หลังกลับบ้าน การสร้างงานระหว่างอยู่ในที่ศูนย์พักพิง ฯลฯ และ เพียรรักษา กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นอย่างการทำให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเอง ให้ยืนได้ด้วยตัวเอง ฯลฯ
7. สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ หรือการไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอย่างมีสติ ในข้อนี้บุคคลที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือนายกรัฐมนตรี ที่อ่านเดือนผิด อ่านเลขผิดและพูดถึงจังหวัดผิดที่ผิดทาง ฯลฯ ซึ่งจากสภาวะน้ำท่วมเหมือนกับน้ำได้ทำลายม่านกำแพงบังตา ให้เห็นความเป็นตัวตนของคนหลายๆ คน ให้เห็นถึงขีดความสามารถ ให้เห็นถึงความเป็นนักการเมืองที่ดีที่รับผิดชอบกับประชาชน ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ หรือการฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากสิ่งยั่วยวนหรือกิเลสที่สกัดไม่ให้บรรลุความดี (นิวรณ์) ห้าประการคือ ความพอใจรักใคร่ ความพยาบาท ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่านรำคาญและความลังเลใจ หัวข้อสุดท้ายนี้เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนรู้ถึงฌานในระดับต่างๆ ซึ่งดูจากนักการเมืองในประเทศไทยในขณะนี้ ผมว่ามีดีไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ครับ ดูได้จากการประชุมสภาล่ม ดูจากการอภิปรายที่แบบน้ำท่วมทุ่งจนหูผมเหมือนกับชาวบ้านที่ต้องแช่น้ำเป็นเดือนๆ แล้วครับ ฯลฯ และจากเหตุการณ์น้ำท่วมนี้ เราจะเห็นได้ว่านายกรัฐมนตรีไม่มีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหาหรือที่เรียกว่าลังเลนั่นเอง อย่างกรณีการเปิดประตูน้ำคลองสามวา เป็นต้น
น้ำท่วมกับมรรคแปดข้างต้นคงสะท้อนให้เห็นได้ว่า วิถีทางแห่งพุทธที่ดี แต่ “รัฐบาล นักการเมืองที่มีจิตทุจริตเป็นที่ตั้ง คงยากแก่การเข้าถึงมรรค 8” เราจะต้องรอให้น้ำท่วมอีกกี่ครั้งถึงจะล้างนักการเมืองเช่นนี้ให้หมดไปจากสภา
แต่ในด้านที่ผิดพลาดจากการบริหารน้ำทั้งระบบกลับพูดไม่เต็มปากเต็มคำ และมีแนวโน้มที่ยกความผิดให้ข้าราชการที่มีส่วนรับผิดชอบ ความทุกข์จึงมีให้เห็นหรือเกิดขึ้นทั่วทุกที่ ไม่ว่าด้านร่างกาย จิตใจของผู้ที่ประสบภัยโดยตรง คนรอบข้างหรือคนที่รับผิดชอบในการบริหาร
ท่ามกลางความทุกข์นี้ คนไทยได้มีการปรับตัวไปตามคุณลักษณะของแต่ละบุคคล บางคนยอมรับชะตากรรมแบบเงียบเฉย บางคนยอมรับแบบสุขอมทุกข์ บางคนก็บริภาษรัฐบาลแบบไม่ต้องผุดต้องเกิด แต่บางคนก็หาวิถีแห่งธรรมเพื่อความสงบ ระงับทุกข์ ซึ่งผู้เขียนใคร่เสนอวิถีแห่งพุทธ ในเรื่องน้ำท่วมกับมรรคแปด ซึ่งมรรค 8 ก็คือ หนทางสู่การดับทุกข์หรือเป็นวิถีของมรรคในอริยสัจ 4 และได้ชื่อว่าเป็น “มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง” ดังนี้
1. สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ หรือ เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา อย่างน้ำท่วมถ้ามองว่าเป็นแค่การท่วมโดยธรรมชาติเพียงด้านเดียว ก็จัดเป็นการเห็นชอบหรือเข้าใจชอบประเภทที่ว่า “ตามรู้ (อนุโพธ)” เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง แต่ถ้าเห็นถึงปรากฏการณ์น้ำท่วมที่เกิดตามธรรมชาติและท่วมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นที่ผ่านมากว่า 2 เดือนแล้ว มนุษย์เข้าไปบริหารจัดการไม่เป็น ไม่ถูกหลัก ไม่ได้จังหวะ ฯลฯ ความเข้าใจที่รู้แจ้งเห็นจริงประเภทนี้เรียกว่า “การรู้แจ้งแทงตลอด (ปฏิเวท)”
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หรือ การคิดพินิจพิเคราะห์ด้วยกุศลจิต นึกคิดที่ดีงาม อย่างการคิดที่จะแก้ไขน้ำท่วม ต้องมีพื้นฐานที่คิดเสียสละ มีเมตตากรุณา ไม่มุ่งร้ายทำลายใคร ต้องคิดว่าทุกข์ที่เกิดจากน้ำต้องหาทางกำจัดน้ำให้เร็ว ต้องจัดทุกกระบวนท่า ไม่ใช่ต่างคิด ต่างทำ โดยปราศจากคนรับผิดชอบที่รู้จริง นอกจากการคิดแต่แก้เกมทางการเมืองไปวันๆ สร้างโมเดลหรือพูดให้ดูดี อย่าง “บางระกำโมเดล” พูดเสร็จแล้ว ยังไง น้ำมาท่วมต่อที่นครสวรรค์ ชัยนาทใช่ไหม การคิดแก้รายวันจึงไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า “ดำริชอบ”
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หรือ วจีสุจริต ที่ประกอบด้วย ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบและไม่พูดเพ้อเจ้อ ซึ่งในทางปฏิบัติในกรณีน้ำท่วมที่ผ่านมา อย่างที่นายปลอดประสพ สุรัสวดีประกาศให้คนอพยพ โดยไม่ได้ตรึกตรอง ไม่ได้ตรวจสอบให้ดี ก็ทำให้คนแตกตื่น ไม่มีความเชื่อมั่นรัฐบาล หรืออย่างที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์ว่า “เอาอยู่” คือสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ จนนิคมอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายไป 7 แห่งแล้ว ผู้บริหารชาวต่างชาติให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับถึงความไม่น่าเชื่อถือผู้นำหรือรัฐบาล ซึ่งการไม่บอกสถานการณ์จริงก็เป็นการโกหกชนิดหนึ่ง ยิ่งตอบว่า “เอาอยู่ๆ” แล้วน้ำยังคงท่วมจริงกลายเป็นการพูดแบบเพ้อเจ้อโดยปริยาย
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติชอบ หรือ กายสุจริต ที่ประกอบด้วยบางส่วนของศีลห้าคือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์และไม่ประพฤติผิดในกาม ในกรณีน้ำท่วมนี้จะพูดถึงกรณีที่เอาของบริจาคแล้วมาพ่นสีทับบ้างก็นำไปใส่ชื่อตนเอง บ้างก็นำไปขาย แต่ที่น่าเวทนาคือการกักเก็บจนกลายเป็นของเสีย อย่างของบริจาคที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่ดอนเมือง พฤติกรรมที่ปรากฏเยี่ยงโจรนี้ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์รัฐบาลเสียหาย
5. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ หรือการทำมาหากินโดยสุจริต ในส่วนนี้สะท้อนภาพสังคมไทยในเหตุการณ์น้ำท่วมได้ดี ว่าเป็น “สังคมปากว่าตาขยิบ” ในสังคมไทยยังมีพวกเห็นแก่ตัวมาก การประกอบอาชีพของนัการเมืองคือการเข้าตรวจสอบกำกับการทำงานของรัฐบาล ไปออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ต่อประชาชน ฯลฯ อย่างการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคนกำกับรัฐบาล ให้รัฐบาลทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นเปรตที่คอยรับส่วนแบ่งจากของบริจาคจากประชาชนหรือของรัฐบาลที่เกิดจากภาษีของประชาชน ฯลฯ
6. สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ หรือความเพียรในการกุศลธรรมประกอบ เพียรระวัง อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้นอย่างการวางแผนนำของไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมอย่างรัดกุมให้ทั่วถึงไม่ใช่แจกเฉพาะหัวคะแนน เพียรละ หรือเพียรกำจัดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างการจัดการของภาคเอกชนเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยตรง ดีกว่าผ่านนักการเมืองที่ทุจริตของบริจาค เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิดกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้นอย่างโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยการให้ความรู้หลังกลับบ้าน การสร้างงานระหว่างอยู่ในที่ศูนย์พักพิง ฯลฯ และ เพียรรักษา กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นอย่างการทำให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเอง ให้ยืนได้ด้วยตัวเอง ฯลฯ
7. สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ หรือการไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอย่างมีสติ ในข้อนี้บุคคลที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือนายกรัฐมนตรี ที่อ่านเดือนผิด อ่านเลขผิดและพูดถึงจังหวัดผิดที่ผิดทาง ฯลฯ ซึ่งจากสภาวะน้ำท่วมเหมือนกับน้ำได้ทำลายม่านกำแพงบังตา ให้เห็นความเป็นตัวตนของคนหลายๆ คน ให้เห็นถึงขีดความสามารถ ให้เห็นถึงความเป็นนักการเมืองที่ดีที่รับผิดชอบกับประชาชน ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ หรือการฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากสิ่งยั่วยวนหรือกิเลสที่สกัดไม่ให้บรรลุความดี (นิวรณ์) ห้าประการคือ ความพอใจรักใคร่ ความพยาบาท ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่านรำคาญและความลังเลใจ หัวข้อสุดท้ายนี้เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนรู้ถึงฌานในระดับต่างๆ ซึ่งดูจากนักการเมืองในประเทศไทยในขณะนี้ ผมว่ามีดีไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ครับ ดูได้จากการประชุมสภาล่ม ดูจากการอภิปรายที่แบบน้ำท่วมทุ่งจนหูผมเหมือนกับชาวบ้านที่ต้องแช่น้ำเป็นเดือนๆ แล้วครับ ฯลฯ และจากเหตุการณ์น้ำท่วมนี้ เราจะเห็นได้ว่านายกรัฐมนตรีไม่มีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหาหรือที่เรียกว่าลังเลนั่นเอง อย่างกรณีการเปิดประตูน้ำคลองสามวา เป็นต้น
น้ำท่วมกับมรรคแปดข้างต้นคงสะท้อนให้เห็นได้ว่า วิถีทางแห่งพุทธที่ดี แต่ “รัฐบาล นักการเมืองที่มีจิตทุจริตเป็นที่ตั้ง คงยากแก่การเข้าถึงมรรค 8” เราจะต้องรอให้น้ำท่วมอีกกี่ครั้งถึงจะล้างนักการเมืองเช่นนี้ให้หมดไปจากสภา