ASTVผู้จัดการรายวัน-เอกชนร้องรัฐเพิ่มวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและผ่อนคลายเงื่อนไขกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูธุรกิจหลังน้ำลด "พาณิชย์"รับส่งไม้ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมเดินหน้ากู้ส่งออก ดัน"กิตติรัตน์"นำทีมโรดโชว์เรียกความเชื่อมั่น ทำความเข้าใจคู่ค้า หาวัตถุดิบ เครื่องจักร ด้านครม.ยอมถอย ขยายเวลาขึ้นค่าแรง 300 เป็น 1 เม.ย.55
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้ส่งออก ผู้ประกอบการค้าในประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม วานนี้ (22 พ.ย.) ว่า ภาคเอกชนได้ระบุถึงสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ โดยเน้นด้านเงินทุนในการทำธุรกิจ ที่ต้องการให้มีการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้มากขึ้น เพื่อใช้ฟื้นฟูกิจการ และต้องผ่อนคลายเงื่อนไขเพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น รวมถึงความช่วยเหลือในการลดหย่อนภาษีด้านต่างๆ เช่น การนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิต เป็นต้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับจะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการต่อไป
สำหรับมาตรการฟื้นฟูผู้ส่งออกภายหลังน้ำลดที่สามารถดำเนินการได้ทันที ได้แก่ การเร่งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้นำเข้าในต่างประเทศ โดยการจัดโรคโชว์ สร้างความเชื่อมั่นด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว นำโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดคณะผู้แทนการค้าเยือนต่างประเทศเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้นำเข้ารายย่อย แสวงหาแหล่งวัตถุดิบ เครื่องจักรในการผลิต แสวงหาช่องทางในการรักษาตลาดหลัก และเจาะตลาดใหม่ โดยกำหนดเป้าหมายตลาด ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐฯ อาเซียน จีน อินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง เป็นต้น
นอกจากนี้ จะให้การสนับสนุนเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยเป็นกรณีพิเศษในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกของกรมส่งเสริมการส่งออก เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ การฝึกอบรมต่างๆ เป็นต้น รวมถึงจะจัดงานระบายสินค้าในสต๊อกของผู้ส่งออก
นายศิริวัฒน์กล่าวว่า สำหรับการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประกอบการค้าในประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ร่วมกับสมาคมการค้าต่างๆ สำรวจผลกระทบที่มีต่อสมาชิก เพื่อพิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมในการฟื้นฟูภาคธุรกิจ โดยในระหว่างนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกมาตรการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว ได้แก่ การสร้างอาชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัย โดยประสานธุรกิจแฟรนไชส์ที่สามารถดำเนินธุรกิจได้ง่าย ใช้เงินทุนไม่สูงเข้าร่วมโครงการให้ผู้ประสบภัยสามารถทำธุรกิจแฟรนไชส์ในราคาพิเศษ หรือลด และยกเว้นค่าธรรมเนียม
ขณะเดียวกัน ยังมีมาตรการลดต้นทุนค้าปลีกเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยใน 27 จังหวัด โดยร่วมกับสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย คัดเลือกร้านค้าส่งเข้าร่วมโครงการ และประสานผู้ผลิตผู้แทนจำหน่ายจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพในราคาต่ำ เพื่อกระจายไปสู่ร้านค้าปลีกในราคาต่ำกว่าปกติ 15-20% และกระจายสู่ผู้บริโภคในราคาที่ถูกลง 10-15% ช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ โดยจะประสานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องขออนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียน รวมทั้งเป็นเงินกู้ยืมในการฟื้นฟู ปรับปรุงกิจการ รวม 5,000 ล้านบาทในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
พร้อมกันนี้ จะจัดงานมหกรรมการฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัย เพื่อช่วยเหลือรายย่อย วันที่ 1-2 ธ.ค.นี้ โดยภายในงานจะมีการชี้แจงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และสร้างความเข้าใจหลักเกณฑ์การขอรับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน การให้คำปรึกษาด้านการเงิน และการขอรับสินเชื่อ การให้คำปรึกษาในการฟื้นฟูธุรกิจ และสร้างอาชีพ เป็นต้น
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ให้ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2555 เฉลี่ยเพิ่มร้อยละ 40 ของค่าจ้างปัจจุบัน ซึ่งอัตราการปรับเพิ่มอยู่ระหว่าง 65-85 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.2555 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เนื่องจากมีสถานประกอบการจำนวนมากประสบปัญหาน้ำท่วม จึงต้องการระยะเวลาในการฟื้นฟู
สำหรับจังหวัดที่ได้รับค่าจ้าง 300 บาท ก่อนจังหวัดอื่น มี 7 จังหวัด คือ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม ส่วนจังหวัดที่ยังปรับไม่ถึง 300 บาท อีก 70 จังหวัด จะได้รับการพิจารณาปรับค่าจ้างอีกครั้ง ในวันที่ 1 ม.ค.2556 และคงอัตราค่าจ้าง 300 บาท ไว้ 3 ปี จนถึงปี 2558 อย่างไรก็ตาม หากภาวะเศรษฐกิจผันผวน ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงาน คณะกรรมการค่าจ้างกลางสามารถนำมติดังกล่าวกลับมาทบทวนได้
นางอรรชกา ศรีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบีโอไอวันที่ 25 พ.ย.นี้ บีโอไอจะเสนอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม จากที่คณะกรรมการบีโอไอเห็นชอบไปก่อนหน้านี้ ในเรื่องของการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วน เพื่อนำมาผลิตสินค้า โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีน้ำท่วม ให้เหมือนกันหมด 8 ปี เป็นการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้ส่งออก ผู้ประกอบการค้าในประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม วานนี้ (22 พ.ย.) ว่า ภาคเอกชนได้ระบุถึงสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ โดยเน้นด้านเงินทุนในการทำธุรกิจ ที่ต้องการให้มีการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้มากขึ้น เพื่อใช้ฟื้นฟูกิจการ และต้องผ่อนคลายเงื่อนไขเพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น รวมถึงความช่วยเหลือในการลดหย่อนภาษีด้านต่างๆ เช่น การนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิต เป็นต้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับจะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการต่อไป
สำหรับมาตรการฟื้นฟูผู้ส่งออกภายหลังน้ำลดที่สามารถดำเนินการได้ทันที ได้แก่ การเร่งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้นำเข้าในต่างประเทศ โดยการจัดโรคโชว์ สร้างความเชื่อมั่นด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว นำโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดคณะผู้แทนการค้าเยือนต่างประเทศเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้นำเข้ารายย่อย แสวงหาแหล่งวัตถุดิบ เครื่องจักรในการผลิต แสวงหาช่องทางในการรักษาตลาดหลัก และเจาะตลาดใหม่ โดยกำหนดเป้าหมายตลาด ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐฯ อาเซียน จีน อินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง เป็นต้น
นอกจากนี้ จะให้การสนับสนุนเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยเป็นกรณีพิเศษในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกของกรมส่งเสริมการส่งออก เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ การฝึกอบรมต่างๆ เป็นต้น รวมถึงจะจัดงานระบายสินค้าในสต๊อกของผู้ส่งออก
นายศิริวัฒน์กล่าวว่า สำหรับการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประกอบการค้าในประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ร่วมกับสมาคมการค้าต่างๆ สำรวจผลกระทบที่มีต่อสมาชิก เพื่อพิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมในการฟื้นฟูภาคธุรกิจ โดยในระหว่างนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกมาตรการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว ได้แก่ การสร้างอาชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัย โดยประสานธุรกิจแฟรนไชส์ที่สามารถดำเนินธุรกิจได้ง่าย ใช้เงินทุนไม่สูงเข้าร่วมโครงการให้ผู้ประสบภัยสามารถทำธุรกิจแฟรนไชส์ในราคาพิเศษ หรือลด และยกเว้นค่าธรรมเนียม
ขณะเดียวกัน ยังมีมาตรการลดต้นทุนค้าปลีกเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยใน 27 จังหวัด โดยร่วมกับสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย คัดเลือกร้านค้าส่งเข้าร่วมโครงการ และประสานผู้ผลิตผู้แทนจำหน่ายจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพในราคาต่ำ เพื่อกระจายไปสู่ร้านค้าปลีกในราคาต่ำกว่าปกติ 15-20% และกระจายสู่ผู้บริโภคในราคาที่ถูกลง 10-15% ช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ โดยจะประสานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องขออนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียน รวมทั้งเป็นเงินกู้ยืมในการฟื้นฟู ปรับปรุงกิจการ รวม 5,000 ล้านบาทในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
พร้อมกันนี้ จะจัดงานมหกรรมการฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัย เพื่อช่วยเหลือรายย่อย วันที่ 1-2 ธ.ค.นี้ โดยภายในงานจะมีการชี้แจงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และสร้างความเข้าใจหลักเกณฑ์การขอรับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน การให้คำปรึกษาด้านการเงิน และการขอรับสินเชื่อ การให้คำปรึกษาในการฟื้นฟูธุรกิจ และสร้างอาชีพ เป็นต้น
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ให้ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2555 เฉลี่ยเพิ่มร้อยละ 40 ของค่าจ้างปัจจุบัน ซึ่งอัตราการปรับเพิ่มอยู่ระหว่าง 65-85 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.2555 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เนื่องจากมีสถานประกอบการจำนวนมากประสบปัญหาน้ำท่วม จึงต้องการระยะเวลาในการฟื้นฟู
สำหรับจังหวัดที่ได้รับค่าจ้าง 300 บาท ก่อนจังหวัดอื่น มี 7 จังหวัด คือ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม ส่วนจังหวัดที่ยังปรับไม่ถึง 300 บาท อีก 70 จังหวัด จะได้รับการพิจารณาปรับค่าจ้างอีกครั้ง ในวันที่ 1 ม.ค.2556 และคงอัตราค่าจ้าง 300 บาท ไว้ 3 ปี จนถึงปี 2558 อย่างไรก็ตาม หากภาวะเศรษฐกิจผันผวน ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงาน คณะกรรมการค่าจ้างกลางสามารถนำมติดังกล่าวกลับมาทบทวนได้
นางอรรชกา ศรีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบีโอไอวันที่ 25 พ.ย.นี้ บีโอไอจะเสนอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเพิ่มเติม จากที่คณะกรรมการบีโอไอเห็นชอบไปก่อนหน้านี้ ในเรื่องของการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วน เพื่อนำมาผลิตสินค้า โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีน้ำท่วม ให้เหมือนกันหมด 8 ปี เป็นการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น