“วัชชีปริหานิยธรรม 7 ประการ หรือธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม 7 ประการของกษัตริย์แห่งแคว้นวัชชี คือ
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงกระทำ
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ไม่ยกเลิกของเดิม) ถือปฏิบัติตามวัชชีธรรมที่วางไว้แต่เดิม
4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในหมู่ชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นว่าถ้อยคำของท่านเหล่านั้นควรค่าแก่การรับฟัง
5. บรรดากุลสตรี กุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดี โดยไม่ถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ
6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ) ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ ของชาววัชชีทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้ เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นต้องมีอันเสื่อมไป
7. จัดถวายความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้กินความกว้าง หมายรวมถึงบรรพชิตหรือนักบวชผู้ดำรงอยู่ในธรรมอันเป็นที่พึ่งทางใจของคนทั่วไป) ตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้ว พึงอยู่โดยผาสุก”
นี่คืออปริหานิยธรรม 7 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐด้วยระบบสามัคคีธรรม ซึ่งรัฐคู่อริยอมรับว่า ตราบใดที่ชาววัชชียังยึดถือและปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกเสียจากว่าจะใช้การเกลี้ยกล่อมหรือยุยงให้แตกสามัคคี
ถ้าพิจารณาหลักธรรมทั้ง 7 ประการนี้แล้ว จะเห็นว่าเป็นหลักการปกครองที่ครอบคลุม ทั้งรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และจริยศาสตร์
ดังนั้น ถ้าชุมชนใด สังคมใด ประเทศใด ผู้คนในชุมชนนั้น สังคมนั้น และประเทศนั้นยึดถือหลักธรรมนี้ เชื่อได้ว่าจะมีความสามัคคี เหนียวแน่นเป็นปึกแผ่น ยากที่ศัตรูภายนอกจะล้มล้างได้ เฉกเช่นกอไผ่ที่ขึ้นรวมกันเป็นกอใหญ่ สามารถดำรงอยู่ได้ไม่หักโค่นแม้จะมีพายุใหญ่พัดมา ในทางกลับกัน ต้นใหญ่ที่แข็งแรงแต่อยู่โดดเดี่ยว ย่อมหักโค่นได้เมื่อถูกลมพายุพัดมา
ความแตกแยก และขาดเอกภาพทางความคิด จะด้วยเหตุแห่งความแก่งแย่งแข่งดี หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุแห่งความหายนะเมื่อภัยมา
เกี่ยวกับเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนในสังคมไทยเวลานี้ โดยอนุมานได้จากเหตุการณ์น้ำท่วม และเกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล องค์กรกับองค์กร ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมดังต่อไปนี้
1. ศปภ.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมเป็นประธาน และมีผู้ว่าฯ กทม.เป็นกรรมการร่วมด้วย
ในการทำงานของ ศปภ.เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งระหว่างประธาน ศปภ.กับผู้ว่าฯ กทม.ในส่วนของการใช้อำนาจหน้าที่สั่งการให้เปิดและปิดประตูน้ำ รวมไปถึงการป้องกันการเข้ามารื้อกระสอบทรายแนวกั้นน้ำเพื่อชะลอมิให้น้ำไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นในเร็ว และมากเกินศักยภาพที่ กทม.จะระบายออกได้ทัน
แต่จากเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเข้ามารื้อกระสอบทรายที่ดอนเมือง เห็นได้ชัดเจนว่า ศปภ.ไร้ศักยภาพในการป้องกัน ทั้งยังโยนความรับผิดชอบให้ กทม.โดยการออกเป็นหนังสือราชการ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ถ้ามองในแง่ของการบริหาร ศปภ.ได้ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในภาวะวิกฤต และทำงานให้เบ็ดเสร็จในตัวเอง หรือที่เรียกว่า One Stop Service แต่กลับทำงานเหมือนกับในภาวะปกติ นอกจากเป็นการบ่งบอกถึงการไร้ภาวะผู้นำแล้ว ยังบ่งบอกถึงอุปนิสัยในการปัดความรับผิดชอบอันเป็นเนื้อแท้ของนักการเมืองด้วย
ความขัดแย้งเยี่ยงนี้เห็นได้ชัดเจนว่าขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมข้อ 2 ในประเด็นที่ว่า ไม่พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
2. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในข้อ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับชาวบ้านมารื้อแนวกระสอบทรายที่ดอนเมือง นัยว่ามี ส.ส.จากพรรคเพื่อไทยอันเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลบางคนบงการหรือหนุนหลังเพื่อหวังผลทางการเมือง ด้วยการเอาใจชาวบ้านในเขตเลือกตั้งของตนเองในการช่วยบรรเทาความทุกข์ โดยหวังว่าเมื่อรื้อกระสอบทรายแล้วจะทำให้ระดับน้ำที่ท่วมบ้านเรือนอันอยู่นอกแนวกระสอบทรายลดลง
การกระทำเยี่ยงนี้ ทำให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่าเป็นการอวดศักดาว่าข้าใหญ่ ทำอะไรก็ได้ แม้ในสิ่งที่ผิดกฎหมาย และนำหายนะมาสู่คนส่วนใหญ่เพียงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเล็กน้อยให้คนส่วนย่อย จริงอยู่ การรื้อแนวกระสอบทรายอาจทำให้ระดับน้ำลดลงได้บ้าง แต่ก่อนรื้อก็ควรอย่างยิ่งที่จะได้หารือร่วมกันว่าควรจะรื้อแนวไหนมากน้อยเท่าใดที่จะก่อความเดือดร้อนให้ทุกฝ่ายเดือดร้อนน้อยที่สุด มิใช่นำมวลชนมาเพื่อกดดันการทำงานของผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเช่น กทม. แต่เพียงฝ่ายเดียว ควรอย่างยิ่งที่ ศปภ.จะต้องเข้ามาจัดการทุกอย่างให้มีเอกภาพกว่าที่เกิดขึ้น
ความประพฤติเยี่ยงนี้ถือได้ว่าขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมข้อที่ 3 เคารพหลักการที่วางไว้
3. ครม.เองก็ขัดแย้งกัน จะเห็นได้จากการที่ รมว.เกษตรฯ ในฐานะผู้กำกับดูแลกรมชลประทานได้วางนโยบายบริหารจัดการน้ำในเขื่อนเพื่อรองรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมผิดพลาด เนื่องจากไม่ระบายน้ำออกจากเขื่อนให้เหลือน้อยเพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนในระดับที่พอจะชะลอน้ำมิให้ไหลลงมาท่วมภาคกลางอันเป็นพื้นที่ใต้เขื่อน ครั้นฝนตกลงมาและน้ำในเขื่อนมีปริมาณเกินกว่าตัวเขื่อนจะรองรับไว้ได้ ก็ต้องปล่อยออกในปริมาณมาก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมมากขึ้นกว่าที่จะเป็น
อีกประการหนึ่ง กรมชลประทานมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการเปิดและปิดประตูน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม โดยการเปิดและปิดให้สอดคล้องกับศักยภาพของแม่น้ำ คูคลองจะระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ โดยมีผลกระทบต่อชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรมน้อยที่สุด
แต่จากเหตุการณ์ที่ปรากฏมิได้เป็นดังที่ว่านี้ ได้มีการปิดประตูน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำเข้าท่วมเขตบางเขตอย่างมีเลศนัย และเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นประตูน้ำเกินจะรับได้ก็เกิดประตูพัง และน้ำเข้าท่วมขังมากกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าปล่อยให้น้ำผ่านไปภายใต้การบริหารจัดการอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้มวลน้ำไหลลงสู่ทะเลในลักษณะเฉลี่ยพื้นที่ในลักษณะไหลผ่าน
พฤติกรรมที่ว่านี้ก็ถือได้ว่าขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมข้อ 3 คือปฏิบัติตามหลักการเดิมที่วางไว้
4. เมื่อน้ำท่วมแล้ว มีนักวิชาการอาวุโส และผู้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมหลายท่านออกมาเสนอแนะ และท้วงติง ก็ไม่เอาใจใส่ และนำไปเป็นแนวทางแก้ปัญหา
เกี่ยวกับพฤติกรรมนี้ถือได้ว่าขัดหลักอปริหานิยธรรมข้อ 4
จากพฤติกรรมอันขัดหลักอปริหานิยธรรม 4 ประการที่ว่ามานี้ บ่งบอกได้ชัดเจนว่ารัฐบาลชุดนี้กำลังกระทำการอันเรียกได้ว่าเป็นความเสื่อมให้แก่ตนเอง และใครก็ตามเมื่อมีความเสื่อมแล้วจะมีการสูญเสียตามมา เริ่มตั้งแต่เสียภาวะผู้นำ เสียความเชื่อมั่น และสุดท้ายเสียตำแหน่งทางการเมือง จะด้วยการลาออก ยุบสภา อันเป็นการสูญเสียที่ตนเองยอมเสีย หรืออาจถึงขั้นมีคนมาทำให้สูญเสีย ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันที่ 7 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2555
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงกระทำ
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ไม่ยกเลิกของเดิม) ถือปฏิบัติตามวัชชีธรรมที่วางไว้แต่เดิม
4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในหมู่ชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นว่าถ้อยคำของท่านเหล่านั้นควรค่าแก่การรับฟัง
5. บรรดากุลสตรี กุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดี โดยไม่ถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ
6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ) ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ ของชาววัชชีทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้ เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นต้องมีอันเสื่อมไป
7. จัดถวายความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้กินความกว้าง หมายรวมถึงบรรพชิตหรือนักบวชผู้ดำรงอยู่ในธรรมอันเป็นที่พึ่งทางใจของคนทั่วไป) ตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้ว พึงอยู่โดยผาสุก”
นี่คืออปริหานิยธรรม 7 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐด้วยระบบสามัคคีธรรม ซึ่งรัฐคู่อริยอมรับว่า ตราบใดที่ชาววัชชียังยึดถือและปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกเสียจากว่าจะใช้การเกลี้ยกล่อมหรือยุยงให้แตกสามัคคี
ถ้าพิจารณาหลักธรรมทั้ง 7 ประการนี้แล้ว จะเห็นว่าเป็นหลักการปกครองที่ครอบคลุม ทั้งรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และจริยศาสตร์
ดังนั้น ถ้าชุมชนใด สังคมใด ประเทศใด ผู้คนในชุมชนนั้น สังคมนั้น และประเทศนั้นยึดถือหลักธรรมนี้ เชื่อได้ว่าจะมีความสามัคคี เหนียวแน่นเป็นปึกแผ่น ยากที่ศัตรูภายนอกจะล้มล้างได้ เฉกเช่นกอไผ่ที่ขึ้นรวมกันเป็นกอใหญ่ สามารถดำรงอยู่ได้ไม่หักโค่นแม้จะมีพายุใหญ่พัดมา ในทางกลับกัน ต้นใหญ่ที่แข็งแรงแต่อยู่โดดเดี่ยว ย่อมหักโค่นได้เมื่อถูกลมพายุพัดมา
ความแตกแยก และขาดเอกภาพทางความคิด จะด้วยเหตุแห่งความแก่งแย่งแข่งดี หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุแห่งความหายนะเมื่อภัยมา
เกี่ยวกับเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนในสังคมไทยเวลานี้ โดยอนุมานได้จากเหตุการณ์น้ำท่วม และเกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล องค์กรกับองค์กร ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมดังต่อไปนี้
1. ศปภ.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมเป็นประธาน และมีผู้ว่าฯ กทม.เป็นกรรมการร่วมด้วย
ในการทำงานของ ศปภ.เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งระหว่างประธาน ศปภ.กับผู้ว่าฯ กทม.ในส่วนของการใช้อำนาจหน้าที่สั่งการให้เปิดและปิดประตูน้ำ รวมไปถึงการป้องกันการเข้ามารื้อกระสอบทรายแนวกั้นน้ำเพื่อชะลอมิให้น้ำไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นในเร็ว และมากเกินศักยภาพที่ กทม.จะระบายออกได้ทัน
แต่จากเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเข้ามารื้อกระสอบทรายที่ดอนเมือง เห็นได้ชัดเจนว่า ศปภ.ไร้ศักยภาพในการป้องกัน ทั้งยังโยนความรับผิดชอบให้ กทม.โดยการออกเป็นหนังสือราชการ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ถ้ามองในแง่ของการบริหาร ศปภ.ได้ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในภาวะวิกฤต และทำงานให้เบ็ดเสร็จในตัวเอง หรือที่เรียกว่า One Stop Service แต่กลับทำงานเหมือนกับในภาวะปกติ นอกจากเป็นการบ่งบอกถึงการไร้ภาวะผู้นำแล้ว ยังบ่งบอกถึงอุปนิสัยในการปัดความรับผิดชอบอันเป็นเนื้อแท้ของนักการเมืองด้วย
ความขัดแย้งเยี่ยงนี้เห็นได้ชัดเจนว่าขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมข้อ 2 ในประเด็นที่ว่า ไม่พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
2. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในข้อ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับชาวบ้านมารื้อแนวกระสอบทรายที่ดอนเมือง นัยว่ามี ส.ส.จากพรรคเพื่อไทยอันเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลบางคนบงการหรือหนุนหลังเพื่อหวังผลทางการเมือง ด้วยการเอาใจชาวบ้านในเขตเลือกตั้งของตนเองในการช่วยบรรเทาความทุกข์ โดยหวังว่าเมื่อรื้อกระสอบทรายแล้วจะทำให้ระดับน้ำที่ท่วมบ้านเรือนอันอยู่นอกแนวกระสอบทรายลดลง
การกระทำเยี่ยงนี้ ทำให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่าเป็นการอวดศักดาว่าข้าใหญ่ ทำอะไรก็ได้ แม้ในสิ่งที่ผิดกฎหมาย และนำหายนะมาสู่คนส่วนใหญ่เพียงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเล็กน้อยให้คนส่วนย่อย จริงอยู่ การรื้อแนวกระสอบทรายอาจทำให้ระดับน้ำลดลงได้บ้าง แต่ก่อนรื้อก็ควรอย่างยิ่งที่จะได้หารือร่วมกันว่าควรจะรื้อแนวไหนมากน้อยเท่าใดที่จะก่อความเดือดร้อนให้ทุกฝ่ายเดือดร้อนน้อยที่สุด มิใช่นำมวลชนมาเพื่อกดดันการทำงานของผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเช่น กทม. แต่เพียงฝ่ายเดียว ควรอย่างยิ่งที่ ศปภ.จะต้องเข้ามาจัดการทุกอย่างให้มีเอกภาพกว่าที่เกิดขึ้น
ความประพฤติเยี่ยงนี้ถือได้ว่าขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมข้อที่ 3 เคารพหลักการที่วางไว้
3. ครม.เองก็ขัดแย้งกัน จะเห็นได้จากการที่ รมว.เกษตรฯ ในฐานะผู้กำกับดูแลกรมชลประทานได้วางนโยบายบริหารจัดการน้ำในเขื่อนเพื่อรองรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมผิดพลาด เนื่องจากไม่ระบายน้ำออกจากเขื่อนให้เหลือน้อยเพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนในระดับที่พอจะชะลอน้ำมิให้ไหลลงมาท่วมภาคกลางอันเป็นพื้นที่ใต้เขื่อน ครั้นฝนตกลงมาและน้ำในเขื่อนมีปริมาณเกินกว่าตัวเขื่อนจะรองรับไว้ได้ ก็ต้องปล่อยออกในปริมาณมาก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมมากขึ้นกว่าที่จะเป็น
อีกประการหนึ่ง กรมชลประทานมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการเปิดและปิดประตูน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม โดยการเปิดและปิดให้สอดคล้องกับศักยภาพของแม่น้ำ คูคลองจะระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ โดยมีผลกระทบต่อชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรมน้อยที่สุด
แต่จากเหตุการณ์ที่ปรากฏมิได้เป็นดังที่ว่านี้ ได้มีการปิดประตูน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำเข้าท่วมเขตบางเขตอย่างมีเลศนัย และเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นประตูน้ำเกินจะรับได้ก็เกิดประตูพัง และน้ำเข้าท่วมขังมากกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าปล่อยให้น้ำผ่านไปภายใต้การบริหารจัดการอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้มวลน้ำไหลลงสู่ทะเลในลักษณะเฉลี่ยพื้นที่ในลักษณะไหลผ่าน
พฤติกรรมที่ว่านี้ก็ถือได้ว่าขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมข้อ 3 คือปฏิบัติตามหลักการเดิมที่วางไว้
4. เมื่อน้ำท่วมแล้ว มีนักวิชาการอาวุโส และผู้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมหลายท่านออกมาเสนอแนะ และท้วงติง ก็ไม่เอาใจใส่ และนำไปเป็นแนวทางแก้ปัญหา
เกี่ยวกับพฤติกรรมนี้ถือได้ว่าขัดหลักอปริหานิยธรรมข้อ 4
จากพฤติกรรมอันขัดหลักอปริหานิยธรรม 4 ประการที่ว่ามานี้ บ่งบอกได้ชัดเจนว่ารัฐบาลชุดนี้กำลังกระทำการอันเรียกได้ว่าเป็นความเสื่อมให้แก่ตนเอง และใครก็ตามเมื่อมีความเสื่อมแล้วจะมีการสูญเสียตามมา เริ่มตั้งแต่เสียภาวะผู้นำ เสียความเชื่อมั่น และสุดท้ายเสียตำแหน่งทางการเมือง จะด้วยการลาออก ยุบสภา อันเป็นการสูญเสียที่ตนเองยอมเสีย หรืออาจถึงขั้นมีคนมาทำให้สูญเสีย ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันที่ 7 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2555