ASTVผู้จัดการรายวัน-"ยิ่งลักษณ์"พลิกลิ้น คำสั่งรื้อบิ๊กแบ็ก โบ้ยสื่อถามทำสับสน ยันไม่ได้ปัดความรับผิดชอบ แต่กทม.เป็นเจ้าของพื้นที่ต้องร่วมตัดสินใจ ฝาก"ยงยุทธ" ทบทวนเยียวยากรณีน้ำท่วมขังนานกว่า 3 เดือน เผย "เลขายูเอ็น-ฮิลลารี คลินตัน" พบนายกฯ วันนี้ "สุขุมพันธุ์" แอ่นอกรับผิดประกาศอพยพสุดมั่ว ย้ำจะเฝ้าติดตามหลังปรับบิ๊กแบ็กเป็นฝายน้ำล้น เผยพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำเริ่มลด มั่นใจเขตคลองสาน-ราษฎร์บูรณะ-ทุกครุ ปลอดน้ำท่วม ปชป.เอาแน่ ซักฟอก"ประชา-อนุดิษฐ์" ทุจริตของบริจาค
เมื่อเวลา 11.15 น. วานนี้ (15 พ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์หลังเดินทางกลับจากจ.สิงห์บุรี ถึงกรณีที่มีประชาชนชนไปรื้อแนวกระสอบทรายขนาดใหญ่ หรือบิ๊กแบ็ก ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งตนได้เข้าร่วมประชุมด้วย โดยพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ผอ.ศปภ.) ได้รายงานว่า ประชาชนอยากขอให้เปิดทางบิ๊กแบ็ก เพื่อเป็นเส้นทางสัญจร ซึ่งที่ประชุมสรุปว่า เมื่อก่อนต้องกั้นเพื่อชะลอน้ำ แต่วันนี้ปริมาณน้ำไม่ได้เพิ่มเข้ามา เพราะน้ำฝนไม่มี และแนวการระบายน้ำเรามีทางอื่นออก สามารถเร่งระบายน้ำในส่วนของคลองเปรมประชากรได้ โดยการใช้เครื่องสูบน้ำ ดังนั้น การเปิดให้พี่น้องประชาชนใช้เป็นทางสัญจรนั้น พอรับได้ นั่นคือข้อสรุปของคณะกรรมการฯ จากนั้นตนก็ลงมาให้สัมภาษณ์สื่อ
ทั้งนี้ บังเอิญคำถามสื่อถามว่า ได้มีการสั่งให้รื้อบิ๊กแบ็กหรือไม่ ซึ่งตนตอบว่า การสั่งให้รื้อบิ๊กแบ็กไม่ได้สั่ง เพียงแค่นั้น มันเลยทำให้ข้อมูลสับสน จากภาพที่ประชาชนบอกมาขอรื้อ แต่ยิ่งลักษณ์บอกว่า ไม่ได้สั่ง ข้อเท็จจริงคำถามมันเป็นอย่างนั้น และมีอีกคำถามหนึ่ง ถามกลับมาว่า แล้วน้ำเหนือบิ๊กแบ็ก เพิ่มขึ้นหรือไม่ ตนตอบไปว่า ถ้าดูปริมาณน้ำในภาพรวมไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่คนที่อยู่อาจจะรู้สึกว่าเพิ่ม ซึ่งความจริงมวลน้ำไม่ได้เพิ่ม เริ่มไหลไปตามคลองต่างๆ ซึ่งสื่อก็ทราบ แต่คนที่อยู่บนบิ๊กแบ็ก ต้องรู้สึกแน่ เพราะน้ำค่อยๆ ไหลลงมา และทำให้รู้สึกน้ำเยอะขึ้น เพราะน้ำต้องไหลตามแนวแรงโน้มถ่วง แต่ภาพรวมน้ำไม่เพิ่ม เป็นการตัดบางคำออกไป
"ขอเรียนสื่อมวลชนกับพี่น้องประชาชนว่า ดิฉันเป็นห่วง เนื่องจากว่า ในการเจรจา พล.ต.อ.ประชา เองก็เป็นห่วง จึงให้ทางส.ส.เข้าไปเฉยๆ ซึ่งดิฉันเองยังบอกว่า ตามหลักที่คุยกันในลักษณะของการดูแลประชาชน ถ้าเหตุเกิดขึ้นในพื้นที่ไหน ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเข้าไปเป็นตัวแกนหลัก แต่ขอเรียนว่า ไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ แต่อยากให้ผู้ว่าฯ เป็นตัวหลักในการตัดสินใจ เพราะบางครั้งการเปิดที่หนึ่ง เราอาจไม่จำเป็นต้องจำกัดจุดเดิม อาจจะสามารถมีการระบายน้ำได้ เช่น ในกรณีนี้เรื่องของบิ๊กแบ็ก ตอนกลางคืนวันนั้น หลังจากที่รู้เหตุการณ์ ได้ให้ทีมงานเข้าไปดูพื้นที่ และเข้าไปถึงประมาณเกือบตีหนึ่ง และมีการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมว่า ระดับน้ำเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึง ผอ.สำนักระบายน้ำของกทม. ก็ไปพื้นที่ด้วย เพื่อไปดูว่าปริมาณน้ำจริงๆ แล้ว มีผลกระทบแค่ไหน ที่จะกลับเข้ามาประชุม"
นอกจากนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ก็ได้มีการประชุมโดย ผอ.ศปภ. ได้เชิญผู้ว่าฯ กทม. เข้ามาประชุม เพื่อตกลงกัน เพราะพื้นที่นี้มีความสำคัญ เพราะการเปิดแนวที่หนึ่ง ถ้าเปิดแล้วมีผลกระทบ แต่ถ้าระดับน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำสามารถรองรับได้ ก็ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถอะลุ่มอล่วยกันได้ เพราะเราดูภาพรวม ทำอย่างไรให้น้ำลดลง นี่คือที่มาของการให้ กทม.เข้ามาร่วมตัดสินใจ สุดท้ายก็ได้มีการตัดสินใจร่วมกันว่า ยินยอมให้เปิดทางให้กับประชาชน ในการเปิดเส้นบิ๊กแบ็กตรงนั้น แต่เราก็ไปเร่งระบายส่วนอื่นเพิ่มเติม
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการทำลายบิ๊กแบ็ก ที่ใช้กฎหมู่ และรัฐบาลไม่สามารถใช้กฎหมายได้ หากประชาชนกว่า 10 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ลุกขึ้นมาใช้กฎหมู่เรียกร้อง กดดันแล้วรัฐบาลจะบริหารประเทศอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รอให้ถึงเวลานั้นก่อนดีไหม เราไม่อยากเอาอะไรมาเป็นสิ่งที่กำหนดกฎเกณฑ์ ณ วันนี้ ที่เป็นข่าวยังมีประชาชนอีกบางกลุ่มต้องการรื้อบิ๊กแบ็ก ซึ่งนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ได้สั่งการทางผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เข้าไปหารือกับประชาชน เราจะทำหน้าที่ในการเจรจาอย่างเต็มที่ รวมถึงการดูแลเยียวยา การตั้งครัว และชดเชยต่างๆ เราทำ เร่งกลไกนี้ไปชี้แจงประชาชนมากขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจมีบางกลุ่ม การเยียวยาไม่ได้ช่วยแก้ไข เพราะเขาอาจจะทุกข์หรือมีปัญหาอื่นแทรกแซงเข้ามา ซึ่งเราก็พยายาม
เมื่อถามว่า สถานการณ์น้ำจะข้ามปีหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ส่วนตัวเราไม่อยากให้เป็น เราอยากเห็นปีใหม่เป็นปีที่ประชาชนจะมีแต่ความสุข ส่วนที่ไม่มั่นใจ คือ ฝั่งตะวันตก เพราะการระบายน้ำค่อยข้างยาก ซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพในการระบายน้ำ และระดับน้ำทะเลด้วย
ต่อข้อถามที่ว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่รัฐบาลจะพิจารณาหลักเกณฑ์เยียวยาใหม่ โดยเฉพาะประชาชนที่มีน้ำท่วมขังนานกว่า 3 เดือน และประกาศให้ชัดเพื่อให้ประชาชนอุ่นใจ แม้ว่าน้ำจะท่วมนาน แต่รัฐบาลก็ยังดูแล นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้คงต้องฝากให้คณะกรรมการชุดของนายยงยุทธ นำไปพิจารณา ซึ่งรัฐบาลได้พยายามวางหลักเกณฑ์ กติกาต่างๆ และการเยียวยาเบื้องต้นเราเร่งทำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จะนำส่วนนั้นไปพิจารณาอีกครั้ง
** กล่อมอย่ารื้อแนวบิ๊กแบ็กถ.วิภาวดีรังสิต
พล.อ.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกศปภ. กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการื้อบิ๊กแบ๊กที่ดอนเมือง ว่า ขอชี้แจงเพื่อให้ทราบข้อมูลตรงกันทุกฝ่ายว่า เมื่อคืนวันที่ 14พ.ย. ตนได้รับคำสั่งจากศปภ. ในกรอบการทำงานของกองทัพไทย และผู้เกี่ยวข้องให้เข้าดำเนินการวางแนวซ่อมแซมบิ๊กแบ๊กที่เสียหาย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ในการจัดการซ่อมแนวที่เสียหายความยาวประมาณ 5 เมตร ให้เป็นลักษณะฝายน้ำล้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสัญจรไปมาด้วยเรือ ซึ่งในจุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ในการสัญจร นอกจากนี้ ประชาชนส่วนรวมจะได้ประโยชน์จากการชะลอน้ำ โดยประชาชนให้ความร่วมมือที่ดีกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน เชื่อว่าจะสามารถไปได้ด้วยดี
"นับจากนี้จนถึงอนาคต สิ่งที่ทำไปจะเป็นผลสำเร็จ ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มขึ้น เช่น ในเรื่องอาหารการกิน จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ รวมถึงน้ำเน่าเสีย ขยะ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าวิตก ที่จะส่งกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าดูแล” พล.อ.พลางกูร กล่าว
ส่วนกรณีประชาชนอีกกลุ่มที่อยู่ใกล้แนวบิ๊กแบ๊ก เริ่มมีการรวมตัวกันนั้น พล.อ.พลางกูร กล่าวว่า นี่เป็นจุดหนึ่งที่มีการชี้แจงทำความเข้าใจกันในส่วนของผู้เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่า ผู้นำท้องถิ่น หรือนักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงผู้ว่าฯ กทม. เท่าที่ตนได้รับรายงาน อยู่ในขั้นตอนพูดคุยกันอยู่ ซึ่งยังไม่มีแนวโน้มที่ประชาชนจะรวมตัวกัน ตนเชื่อว่ายังเคลียร์ปัญหากันเท่านั้น
ทั้งนี้ ในส่วนของประชาชนย่าน ถ.วิภาวดีรังสิต ขาออก ตอนนี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ เข้าไปพูดคุยอยู่เช่นกัน คงเป็นสิ่งที่ประชาชนอัดอั้นตันใจ ต้องการใครสักคนมารับฟัง รวมถึงความต่อเนื่องของการช่วยเหลือ โดยในส่วนของกองทัพเอง ก็ส่งชุดเสนารักษ์ย่อยๆ ลงไปดูแล คิดว่าหากได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานก็จะไปถึงการฟื้นฟู จากคณะกรรมต่างเยียวยาต่างๆ ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม ว่าตรงไหนน้ำยังสูง และประชาชนยังทุกข์ร้อนมาก
**ระดมเครื่องสูบน้ำกว่า 660 เครื่องสู้
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในภาพรวมว่า มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนบน เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ชลประทานนำเครื่องสูบน้ำช่วยประชาชนในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง เช่น ที่จ.นครสวรรค์และจ.พระนครศรีอยุธยาแล้ว ขณะเดียวกันได้นำเครื่องสูบน้ำจากพื้นที่ที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมมาติดตั้งในพื้นที่ด้านฝั่งตะวันออก และตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมแล้ว ทำให้การสูบน้ำออกสู่ทะเลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ล่าสุดกรมชลประทานมีเครื่องสูบน้ำถาวรและเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ทางด้านฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วรวม 660 เครื่อง สามารถสูบน้ำออกสู่ทะเลได้วันละประมาณ 123 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยพื้นที่ตะวันตก มี 336 เครื่อง เป็นเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งอยู่ที่สถานีสูบน้ำถาวร 171 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 165 เครื่อง สูบน้ำได้วันละประมาณ 80 ล้านลบ.ม. ส่วนด้านตะวันออกมี 324 เครื่อง เป็นเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งอยู่ที่สถานีสูบน้ำถาวร 216 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่อีก 108 เครื่อง สูบน้ำได้วันละประมาณ 43 ล้านลบ.ม.
** เลขายูเอ็น-ฮิลลารีพบนายกฯ
นายธงทอง จันทรางศุ โฆษกศปภ. กล่าวว่า วันนี้ (16 พ.ย. ) เวลา 13.00 น. นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ จะเดินทางมาเยือนประเทศไทย และจะเข้าหารือข้อราชการกับน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นจะมีการแถลงผลการหารือร่วมกัน โดยการมาเยือนของนายบัน คี มูน ถือเป็นเรื่องดี แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยประชาคมนานาชาติได้ให้ความสนใจและพร้อมให้ความช่วยเหลือกับปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เวลา16.30 น. นายบัน คี มูน จะเดินทางลงพื้นที่ทางตอนเหนือของกทม. ในพื้นที่เขตดอนเมือง , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และจะไปที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ด้วยเฮลิคอปเตอร์
ทั้งนี้ ทางศปภ.ได้มอบหมายให้ นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่สาธารณภัยร้ายแรง พร้อมด้วยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นผู้ให้ข้อมูล และร่วมการเดินทางในครั้งนี้ จากนั้นในเวลา 17.00 น. นายบัน คี มูน จะเดินทางไปเยี่ยมศูนย์พักพิงที่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยจะไปดูเรื่องความเป็นอยู่ และให้กำลังใจผู้ประสบภัย
นอกจากนี้ ในวันที่ 16 พ.ย. เวลา 19.00 น. นางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ จะเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อร่วมหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น ในช่วงเช้าวันที่ 17 พ.ย. นางฮิลลารี จะเดินทางไปเยี่ยมผุ้ประสบภัยที่ศูนย์พักพิงที่ราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก
**"สุขุมพันธุ์"แอ่นอกรับผิดสั่งอพยพมั่ว**
ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า กรณีเกิดความผิดพลาดเมื่อคืนวันที่ 14 พ.ย. ที่ตนได้ประกาศให้พื้นที่เขตพญาไท ได้แก่ ซอยอินทามระฝั่งซ้าย ซอยประดิพัทธ์ฝังซ้าย และซอยวัดไผ่ตันเป็นพื้นที่อพยพนั้น เป็นความคลาดเคลื่อน โดยมีน้ำท่วมจริง แต่เป็นแค่บริเวณปลายซอยเท่านั้น ดังนั้น จึงได้ลงนามยกเลิกประกาศดังกล่าวแล้ว และต้องขออภัยประชาชนด้วย ขณะเดียวกันได้กำชับให้ผู้อำนวยการเขตให้ตรวจสอบรายงานที่เสนอมาให้ละเอียด รอบคอบอย่างถี่ถ้วน ก่อนที่จะเสนอขึ้นมาอีกครั้ง
“ความผิดอยู่ที่ผม ผมมึนเองที่ออกพื้นที่ทั้งวัน ทุกคนต้องมีผิดพลาด หลักการทำงานของผม คือ ถ้าทำผิดก็ต้องรับผิด เข้าใจว่าทุกคนเหนื่อย เหนื่อยแล้วอาจจะเกิดความไม่รอบคอบบ้าง ส่วนจะเชื่อมั่นต่อหรือไม่นั้น ก็ต้องถามประชาชน แต่ถึงจะผิดก็ไม่ได้เกิดความเสียหายมากมาย แต่แค่เสียความรู้สึก 2 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนการขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาทของรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปเพื่อใช้เป็นหลักฐาน อีกทั้งกระทรวงมหาดไทย ก็ยืนยันแล้วว่าไม่มีระเบียบข้อนี้"ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว
**มั่นใจ3เขตโซนตะวันตกปลอดน้ำท่วม**
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เริ่มลดลงและบางพื้นที่แห้งแล้ว ส่วนถนนพระราม 2 ขณะนี้ยังไม่มีปัญหา ซึ่งได้นำเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งแล้ว ทำให้ยังไม่มีน้ำเข้าพื้นผิวถนนน้ำ แม้จะได้แผ่ขยาย แต่ไม่เร็วมากนัก ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตก กทม.คาดว่าจะยังคงรักษา 3 เขตพื้นที่ ได้แก่ คลองสาน ราษฎร์บูรณะ และทุ่งครุ ให้เป็นเขตปลอดน้ำท่วมได้ ขณะเดียวกัน กทม. ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์การปรับบิ๊กแบ๊กเป็นฝายน้ำล้น โดยให้มีช่องทางให้ประชาชนสัญจรทางเรือ ขณะนี้ยังไม่เกิดผลกระทบที่ชัดเจน และจะต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ต่อไป
**น้ำท่วมเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ต่อมาเมื่อเวลา 14.50 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พร้อมคณะได้ขึ้นรถสิบล้อเพื่อลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมขังที่ถนนกำแพงเพชร ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่หน้าสวนจตุจักร ผ่าน 5 แยกลาดพร้าว โดยพบว่าปริมาณน้ำที่ท่วมขังหน้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงอย่างเห็นได้ชัด และแห้งลงในหลายจุด ส่วนบริเวณ 5 แยกลาดพร้าวระดับน้ำลดลงเช่นกันอยู่ที่ประมาณ 10 ซ.ม. ทำให้รถยนต์ขนาดเล็กสามารถสัญจรได้
ส่วนบริเวณถนนพหลโยธินตั้งแต่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวถึงบริเวณแยกรัชโยธินยังมีน้ำท่วมขังสูงอยู่ที่ระดับ 30-50 ซ.ม. โดยสภาพน้ำมีสีเหลืองขุ่น ส่งกลิ่นเหม็นเป็นบางช่วง ทำให้สำนักสิ่งแวดล้อมกทม. ได้นำน้ำผสมจุลินทรีย์มาฉีดพ่นเพื่อปรับสภาพน้ำบนถนน จากนั้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ได้เดินทางเข้ามาในซอยเสือใหญ่อุทิศ ซึ่งมีระดับน้ำท่วมสูงได้ลดลงเหลือ 15-20 ซ.ม. และพบว่ามีขยะตกค้างในซอยเป็นจำนวนมาก
นายอิศราเมศร์ คชานุกูล ผู้อำนวยการเขตจตุจักร กล่าวว่า หากใน 3-7 วันไม่มีน้ำเหนือเข้ามาเพิ่มเติมจากคลองสองคาดว่าระดับน้ำในพื้นที่จตุจักรจะลดลงอย่างชัดเจนภายใน 3 วัน โดยจะระบายน้ำลงคลองเปรมประชากรและคลองลาดพร้าว
**คาด 5แยกลาดพร้าวแห้งสุดสัปดาห์นี้
จากนั้นเวลา 16.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนชุมชนหลังโรงเจ แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักรว่า ระดับน้ำถนนกำแพงเพชร พหลโยธินและซอยเสือใหญ่ลดลงอย่างชัดเจนบางพื้นที่ลดลงถึง 15-20 ซ.ม. แต่ทั่วไปไม่ต่ำกว่า 5 ซ.ม. แสดงว่าระบบระบายน้ำของกทม. สามารถทำงานได้ดี และยังต้องเฝ้าติดตามว่าการปรับแนวบิ๊กแบ็กจะส่งผลอย่างไรหรือไม่ โดยปริมาณน้ำที่ลดลงต่อเนื่องตนรู้สึกดีใจ ทั้งนี้ ประตูระบายและสถานีสูบน้ำที่จำเป็นต้องเปิดก็ต้องเปิดต่อไปเพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า หากไม่มีน้ำเหนือเข้ามาเพิ่มที่ถ.ลาดพร้าว เชื่อว่าภายในสุดสัปดาห์นี้น้ำจะแห้ง ส่วนแยกรัชโยธินน้ำขังจะเหลือไม่มาก ขณะที่ถนนรัชดาภิเษกต้องใช้เวลาระบาย เพราะเป็นพื้นที่ต่ำกว่าถนนรัชโยธิน
***ปชป.เล็งซักฟอก"ประชา"โกงของบริจาค
วันเดียวกันนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฯฝ่ายค้าน) แถลงว่า ก่อนปิดสมัยประชุมภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ ได้หารือถึงความเป็นไปได้ ในการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี และยื่นถอดถอนส.ส.บางรายที่เข้าข่ายกระทำการทุจริตต่อของบริจาค เช่น กรณีของพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. ที่มีส่วนร่วมต่อการแต่งตั้งส.ส.ของพรรคเพื่อไทย4ราย เป็นคณะกรรมการตรวจรับของบริจาค และกรณี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที จากพฤติกรรมการนำถุงยังชีพไปเก็บไว้ที่สำนักงานพรรคเพื่อไทย เขตสายไหม ที่มองว่าไม่เหมาะสม ซึ่งจะหารืออีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปและกำหนดรายชื่อผู้ที่จะถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจและถอดถอนภายในสัปดาห์นี้
เมื่อเวลา 11.15 น. วานนี้ (15 พ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์หลังเดินทางกลับจากจ.สิงห์บุรี ถึงกรณีที่มีประชาชนชนไปรื้อแนวกระสอบทรายขนาดใหญ่ หรือบิ๊กแบ็ก ว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งตนได้เข้าร่วมประชุมด้วย โดยพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ผอ.ศปภ.) ได้รายงานว่า ประชาชนอยากขอให้เปิดทางบิ๊กแบ็ก เพื่อเป็นเส้นทางสัญจร ซึ่งที่ประชุมสรุปว่า เมื่อก่อนต้องกั้นเพื่อชะลอน้ำ แต่วันนี้ปริมาณน้ำไม่ได้เพิ่มเข้ามา เพราะน้ำฝนไม่มี และแนวการระบายน้ำเรามีทางอื่นออก สามารถเร่งระบายน้ำในส่วนของคลองเปรมประชากรได้ โดยการใช้เครื่องสูบน้ำ ดังนั้น การเปิดให้พี่น้องประชาชนใช้เป็นทางสัญจรนั้น พอรับได้ นั่นคือข้อสรุปของคณะกรรมการฯ จากนั้นตนก็ลงมาให้สัมภาษณ์สื่อ
ทั้งนี้ บังเอิญคำถามสื่อถามว่า ได้มีการสั่งให้รื้อบิ๊กแบ็กหรือไม่ ซึ่งตนตอบว่า การสั่งให้รื้อบิ๊กแบ็กไม่ได้สั่ง เพียงแค่นั้น มันเลยทำให้ข้อมูลสับสน จากภาพที่ประชาชนบอกมาขอรื้อ แต่ยิ่งลักษณ์บอกว่า ไม่ได้สั่ง ข้อเท็จจริงคำถามมันเป็นอย่างนั้น และมีอีกคำถามหนึ่ง ถามกลับมาว่า แล้วน้ำเหนือบิ๊กแบ็ก เพิ่มขึ้นหรือไม่ ตนตอบไปว่า ถ้าดูปริมาณน้ำในภาพรวมไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่คนที่อยู่อาจจะรู้สึกว่าเพิ่ม ซึ่งความจริงมวลน้ำไม่ได้เพิ่ม เริ่มไหลไปตามคลองต่างๆ ซึ่งสื่อก็ทราบ แต่คนที่อยู่บนบิ๊กแบ็ก ต้องรู้สึกแน่ เพราะน้ำค่อยๆ ไหลลงมา และทำให้รู้สึกน้ำเยอะขึ้น เพราะน้ำต้องไหลตามแนวแรงโน้มถ่วง แต่ภาพรวมน้ำไม่เพิ่ม เป็นการตัดบางคำออกไป
"ขอเรียนสื่อมวลชนกับพี่น้องประชาชนว่า ดิฉันเป็นห่วง เนื่องจากว่า ในการเจรจา พล.ต.อ.ประชา เองก็เป็นห่วง จึงให้ทางส.ส.เข้าไปเฉยๆ ซึ่งดิฉันเองยังบอกว่า ตามหลักที่คุยกันในลักษณะของการดูแลประชาชน ถ้าเหตุเกิดขึ้นในพื้นที่ไหน ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องเข้าไปเป็นตัวแกนหลัก แต่ขอเรียนว่า ไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ แต่อยากให้ผู้ว่าฯ เป็นตัวหลักในการตัดสินใจ เพราะบางครั้งการเปิดที่หนึ่ง เราอาจไม่จำเป็นต้องจำกัดจุดเดิม อาจจะสามารถมีการระบายน้ำได้ เช่น ในกรณีนี้เรื่องของบิ๊กแบ็ก ตอนกลางคืนวันนั้น หลังจากที่รู้เหตุการณ์ ได้ให้ทีมงานเข้าไปดูพื้นที่ และเข้าไปถึงประมาณเกือบตีหนึ่ง และมีการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมว่า ระดับน้ำเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึง ผอ.สำนักระบายน้ำของกทม. ก็ไปพื้นที่ด้วย เพื่อไปดูว่าปริมาณน้ำจริงๆ แล้ว มีผลกระทบแค่ไหน ที่จะกลับเข้ามาประชุม"
นอกจากนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ก็ได้มีการประชุมโดย ผอ.ศปภ. ได้เชิญผู้ว่าฯ กทม. เข้ามาประชุม เพื่อตกลงกัน เพราะพื้นที่นี้มีความสำคัญ เพราะการเปิดแนวที่หนึ่ง ถ้าเปิดแล้วมีผลกระทบ แต่ถ้าระดับน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำสามารถรองรับได้ ก็ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถอะลุ่มอล่วยกันได้ เพราะเราดูภาพรวม ทำอย่างไรให้น้ำลดลง นี่คือที่มาของการให้ กทม.เข้ามาร่วมตัดสินใจ สุดท้ายก็ได้มีการตัดสินใจร่วมกันว่า ยินยอมให้เปิดทางให้กับประชาชน ในการเปิดเส้นบิ๊กแบ็กตรงนั้น แต่เราก็ไปเร่งระบายส่วนอื่นเพิ่มเติม
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการทำลายบิ๊กแบ็ก ที่ใช้กฎหมู่ และรัฐบาลไม่สามารถใช้กฎหมายได้ หากประชาชนกว่า 10 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ลุกขึ้นมาใช้กฎหมู่เรียกร้อง กดดันแล้วรัฐบาลจะบริหารประเทศอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รอให้ถึงเวลานั้นก่อนดีไหม เราไม่อยากเอาอะไรมาเป็นสิ่งที่กำหนดกฎเกณฑ์ ณ วันนี้ ที่เป็นข่าวยังมีประชาชนอีกบางกลุ่มต้องการรื้อบิ๊กแบ็ก ซึ่งนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ได้สั่งการทางผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เข้าไปหารือกับประชาชน เราจะทำหน้าที่ในการเจรจาอย่างเต็มที่ รวมถึงการดูแลเยียวยา การตั้งครัว และชดเชยต่างๆ เราทำ เร่งกลไกนี้ไปชี้แจงประชาชนมากขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจมีบางกลุ่ม การเยียวยาไม่ได้ช่วยแก้ไข เพราะเขาอาจจะทุกข์หรือมีปัญหาอื่นแทรกแซงเข้ามา ซึ่งเราก็พยายาม
เมื่อถามว่า สถานการณ์น้ำจะข้ามปีหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ส่วนตัวเราไม่อยากให้เป็น เราอยากเห็นปีใหม่เป็นปีที่ประชาชนจะมีแต่ความสุข ส่วนที่ไม่มั่นใจ คือ ฝั่งตะวันตก เพราะการระบายน้ำค่อยข้างยาก ซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพในการระบายน้ำ และระดับน้ำทะเลด้วย
ต่อข้อถามที่ว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่รัฐบาลจะพิจารณาหลักเกณฑ์เยียวยาใหม่ โดยเฉพาะประชาชนที่มีน้ำท่วมขังนานกว่า 3 เดือน และประกาศให้ชัดเพื่อให้ประชาชนอุ่นใจ แม้ว่าน้ำจะท่วมนาน แต่รัฐบาลก็ยังดูแล นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้คงต้องฝากให้คณะกรรมการชุดของนายยงยุทธ นำไปพิจารณา ซึ่งรัฐบาลได้พยายามวางหลักเกณฑ์ กติกาต่างๆ และการเยียวยาเบื้องต้นเราเร่งทำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จะนำส่วนนั้นไปพิจารณาอีกครั้ง
** กล่อมอย่ารื้อแนวบิ๊กแบ็กถ.วิภาวดีรังสิต
พล.อ.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกศปภ. กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการื้อบิ๊กแบ๊กที่ดอนเมือง ว่า ขอชี้แจงเพื่อให้ทราบข้อมูลตรงกันทุกฝ่ายว่า เมื่อคืนวันที่ 14พ.ย. ตนได้รับคำสั่งจากศปภ. ในกรอบการทำงานของกองทัพไทย และผู้เกี่ยวข้องให้เข้าดำเนินการวางแนวซ่อมแซมบิ๊กแบ๊กที่เสียหาย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ในการจัดการซ่อมแนวที่เสียหายความยาวประมาณ 5 เมตร ให้เป็นลักษณะฝายน้ำล้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสัญจรไปมาด้วยเรือ ซึ่งในจุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ในการสัญจร นอกจากนี้ ประชาชนส่วนรวมจะได้ประโยชน์จากการชะลอน้ำ โดยประชาชนให้ความร่วมมือที่ดีกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน เชื่อว่าจะสามารถไปได้ด้วยดี
"นับจากนี้จนถึงอนาคต สิ่งที่ทำไปจะเป็นผลสำเร็จ ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มขึ้น เช่น ในเรื่องอาหารการกิน จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ รวมถึงน้ำเน่าเสีย ขยะ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าวิตก ที่จะส่งกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าดูแล” พล.อ.พลางกูร กล่าว
ส่วนกรณีประชาชนอีกกลุ่มที่อยู่ใกล้แนวบิ๊กแบ๊ก เริ่มมีการรวมตัวกันนั้น พล.อ.พลางกูร กล่าวว่า นี่เป็นจุดหนึ่งที่มีการชี้แจงทำความเข้าใจกันในส่วนของผู้เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่า ผู้นำท้องถิ่น หรือนักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงผู้ว่าฯ กทม. เท่าที่ตนได้รับรายงาน อยู่ในขั้นตอนพูดคุยกันอยู่ ซึ่งยังไม่มีแนวโน้มที่ประชาชนจะรวมตัวกัน ตนเชื่อว่ายังเคลียร์ปัญหากันเท่านั้น
ทั้งนี้ ในส่วนของประชาชนย่าน ถ.วิภาวดีรังสิต ขาออก ตอนนี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ เข้าไปพูดคุยอยู่เช่นกัน คงเป็นสิ่งที่ประชาชนอัดอั้นตันใจ ต้องการใครสักคนมารับฟัง รวมถึงความต่อเนื่องของการช่วยเหลือ โดยในส่วนของกองทัพเอง ก็ส่งชุดเสนารักษ์ย่อยๆ ลงไปดูแล คิดว่าหากได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานก็จะไปถึงการฟื้นฟู จากคณะกรรมต่างเยียวยาต่างๆ ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม ว่าตรงไหนน้ำยังสูง และประชาชนยังทุกข์ร้อนมาก
**ระดมเครื่องสูบน้ำกว่า 660 เครื่องสู้
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในภาพรวมว่า มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนบน เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ชลประทานนำเครื่องสูบน้ำช่วยประชาชนในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง เช่น ที่จ.นครสวรรค์และจ.พระนครศรีอยุธยาแล้ว ขณะเดียวกันได้นำเครื่องสูบน้ำจากพื้นที่ที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมมาติดตั้งในพื้นที่ด้านฝั่งตะวันออก และตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มเติมแล้ว ทำให้การสูบน้ำออกสู่ทะเลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ล่าสุดกรมชลประทานมีเครื่องสูบน้ำถาวรและเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ทางด้านฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วรวม 660 เครื่อง สามารถสูบน้ำออกสู่ทะเลได้วันละประมาณ 123 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยพื้นที่ตะวันตก มี 336 เครื่อง เป็นเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งอยู่ที่สถานีสูบน้ำถาวร 171 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 165 เครื่อง สูบน้ำได้วันละประมาณ 80 ล้านลบ.ม. ส่วนด้านตะวันออกมี 324 เครื่อง เป็นเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งอยู่ที่สถานีสูบน้ำถาวร 216 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่อีก 108 เครื่อง สูบน้ำได้วันละประมาณ 43 ล้านลบ.ม.
** เลขายูเอ็น-ฮิลลารีพบนายกฯ
นายธงทอง จันทรางศุ โฆษกศปภ. กล่าวว่า วันนี้ (16 พ.ย. ) เวลา 13.00 น. นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ จะเดินทางมาเยือนประเทศไทย และจะเข้าหารือข้อราชการกับน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นจะมีการแถลงผลการหารือร่วมกัน โดยการมาเยือนของนายบัน คี มูน ถือเป็นเรื่องดี แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยประชาคมนานาชาติได้ให้ความสนใจและพร้อมให้ความช่วยเหลือกับปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เวลา16.30 น. นายบัน คี มูน จะเดินทางลงพื้นที่ทางตอนเหนือของกทม. ในพื้นที่เขตดอนเมือง , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และจะไปที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ด้วยเฮลิคอปเตอร์
ทั้งนี้ ทางศปภ.ได้มอบหมายให้ นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่สาธารณภัยร้ายแรง พร้อมด้วยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นผู้ให้ข้อมูล และร่วมการเดินทางในครั้งนี้ จากนั้นในเวลา 17.00 น. นายบัน คี มูน จะเดินทางไปเยี่ยมศูนย์พักพิงที่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยจะไปดูเรื่องความเป็นอยู่ และให้กำลังใจผู้ประสบภัย
นอกจากนี้ ในวันที่ 16 พ.ย. เวลา 19.00 น. นางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯ จะเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อร่วมหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น ในช่วงเช้าวันที่ 17 พ.ย. นางฮิลลารี จะเดินทางไปเยี่ยมผุ้ประสบภัยที่ศูนย์พักพิงที่ราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก
**"สุขุมพันธุ์"แอ่นอกรับผิดสั่งอพยพมั่ว**
ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า กรณีเกิดความผิดพลาดเมื่อคืนวันที่ 14 พ.ย. ที่ตนได้ประกาศให้พื้นที่เขตพญาไท ได้แก่ ซอยอินทามระฝั่งซ้าย ซอยประดิพัทธ์ฝังซ้าย และซอยวัดไผ่ตันเป็นพื้นที่อพยพนั้น เป็นความคลาดเคลื่อน โดยมีน้ำท่วมจริง แต่เป็นแค่บริเวณปลายซอยเท่านั้น ดังนั้น จึงได้ลงนามยกเลิกประกาศดังกล่าวแล้ว และต้องขออภัยประชาชนด้วย ขณะเดียวกันได้กำชับให้ผู้อำนวยการเขตให้ตรวจสอบรายงานที่เสนอมาให้ละเอียด รอบคอบอย่างถี่ถ้วน ก่อนที่จะเสนอขึ้นมาอีกครั้ง
“ความผิดอยู่ที่ผม ผมมึนเองที่ออกพื้นที่ทั้งวัน ทุกคนต้องมีผิดพลาด หลักการทำงานของผม คือ ถ้าทำผิดก็ต้องรับผิด เข้าใจว่าทุกคนเหนื่อย เหนื่อยแล้วอาจจะเกิดความไม่รอบคอบบ้าง ส่วนจะเชื่อมั่นต่อหรือไม่นั้น ก็ต้องถามประชาชน แต่ถึงจะผิดก็ไม่ได้เกิดความเสียหายมากมาย แต่แค่เสียความรู้สึก 2 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนการขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาทของรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปเพื่อใช้เป็นหลักฐาน อีกทั้งกระทรวงมหาดไทย ก็ยืนยันแล้วว่าไม่มีระเบียบข้อนี้"ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว
**มั่นใจ3เขตโซนตะวันตกปลอดน้ำท่วม**
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เริ่มลดลงและบางพื้นที่แห้งแล้ว ส่วนถนนพระราม 2 ขณะนี้ยังไม่มีปัญหา ซึ่งได้นำเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งแล้ว ทำให้ยังไม่มีน้ำเข้าพื้นผิวถนนน้ำ แม้จะได้แผ่ขยาย แต่ไม่เร็วมากนัก ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตก กทม.คาดว่าจะยังคงรักษา 3 เขตพื้นที่ ได้แก่ คลองสาน ราษฎร์บูรณะ และทุ่งครุ ให้เป็นเขตปลอดน้ำท่วมได้ ขณะเดียวกัน กทม. ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์การปรับบิ๊กแบ๊กเป็นฝายน้ำล้น โดยให้มีช่องทางให้ประชาชนสัญจรทางเรือ ขณะนี้ยังไม่เกิดผลกระทบที่ชัดเจน และจะต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ต่อไป
**น้ำท่วมเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ต่อมาเมื่อเวลา 14.50 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พร้อมคณะได้ขึ้นรถสิบล้อเพื่อลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมขังที่ถนนกำแพงเพชร ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่หน้าสวนจตุจักร ผ่าน 5 แยกลาดพร้าว โดยพบว่าปริมาณน้ำที่ท่วมขังหน้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสลดลงอย่างเห็นได้ชัด และแห้งลงในหลายจุด ส่วนบริเวณ 5 แยกลาดพร้าวระดับน้ำลดลงเช่นกันอยู่ที่ประมาณ 10 ซ.ม. ทำให้รถยนต์ขนาดเล็กสามารถสัญจรได้
ส่วนบริเวณถนนพหลโยธินตั้งแต่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวถึงบริเวณแยกรัชโยธินยังมีน้ำท่วมขังสูงอยู่ที่ระดับ 30-50 ซ.ม. โดยสภาพน้ำมีสีเหลืองขุ่น ส่งกลิ่นเหม็นเป็นบางช่วง ทำให้สำนักสิ่งแวดล้อมกทม. ได้นำน้ำผสมจุลินทรีย์มาฉีดพ่นเพื่อปรับสภาพน้ำบนถนน จากนั้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ได้เดินทางเข้ามาในซอยเสือใหญ่อุทิศ ซึ่งมีระดับน้ำท่วมสูงได้ลดลงเหลือ 15-20 ซ.ม. และพบว่ามีขยะตกค้างในซอยเป็นจำนวนมาก
นายอิศราเมศร์ คชานุกูล ผู้อำนวยการเขตจตุจักร กล่าวว่า หากใน 3-7 วันไม่มีน้ำเหนือเข้ามาเพิ่มเติมจากคลองสองคาดว่าระดับน้ำในพื้นที่จตุจักรจะลดลงอย่างชัดเจนภายใน 3 วัน โดยจะระบายน้ำลงคลองเปรมประชากรและคลองลาดพร้าว
**คาด 5แยกลาดพร้าวแห้งสุดสัปดาห์นี้
จากนั้นเวลา 16.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนชุมชนหลังโรงเจ แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักรว่า ระดับน้ำถนนกำแพงเพชร พหลโยธินและซอยเสือใหญ่ลดลงอย่างชัดเจนบางพื้นที่ลดลงถึง 15-20 ซ.ม. แต่ทั่วไปไม่ต่ำกว่า 5 ซ.ม. แสดงว่าระบบระบายน้ำของกทม. สามารถทำงานได้ดี และยังต้องเฝ้าติดตามว่าการปรับแนวบิ๊กแบ็กจะส่งผลอย่างไรหรือไม่ โดยปริมาณน้ำที่ลดลงต่อเนื่องตนรู้สึกดีใจ ทั้งนี้ ประตูระบายและสถานีสูบน้ำที่จำเป็นต้องเปิดก็ต้องเปิดต่อไปเพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า หากไม่มีน้ำเหนือเข้ามาเพิ่มที่ถ.ลาดพร้าว เชื่อว่าภายในสุดสัปดาห์นี้น้ำจะแห้ง ส่วนแยกรัชโยธินน้ำขังจะเหลือไม่มาก ขณะที่ถนนรัชดาภิเษกต้องใช้เวลาระบาย เพราะเป็นพื้นที่ต่ำกว่าถนนรัชโยธิน
***ปชป.เล็งซักฟอก"ประชา"โกงของบริจาค
วันเดียวกันนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฯฝ่ายค้าน) แถลงว่า ก่อนปิดสมัยประชุมภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ ได้หารือถึงความเป็นไปได้ ในการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี และยื่นถอดถอนส.ส.บางรายที่เข้าข่ายกระทำการทุจริตต่อของบริจาค เช่น กรณีของพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. ที่มีส่วนร่วมต่อการแต่งตั้งส.ส.ของพรรคเพื่อไทย4ราย เป็นคณะกรรมการตรวจรับของบริจาค และกรณี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที จากพฤติกรรมการนำถุงยังชีพไปเก็บไว้ที่สำนักงานพรรคเพื่อไทย เขตสายไหม ที่มองว่าไม่เหมาะสม ซึ่งจะหารืออีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปและกำหนดรายชื่อผู้ที่จะถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจและถอดถอนภายในสัปดาห์นี้