และแล้วมาตรการและนโยบายทั้งหลายในการบริหารจัดการอุทกภัยก็รวมศูนย์ส่วนกลาง ต่างจังหวัดจึงเสมือนถูกตัดขาดจากการช่วยเหลือของภาครัฐส่วนกลาง และการรายงานข่าวของสื่อมวลชนกระแสหลักเพื่อจะทุ่มเทสรรพกำลังทั้งหมดป้องกันพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งแน่นอนว่าการปกป้องพื้นที่ไข่แดงนั้นสำคัญยิ่งยวด อย่างน้อยสุดก็ต้องปกป้องศูนย์กลางของศูนย์กลางไว้ให้ได้ กรุงเทพฯ ชั้นในในฐานะฐานที่มั่นทั้งทางเศรษฐกิจ การบริหารจัดการ การสาธารณสุข และการเยียวยาช่วยเหลือ รวมถึงการอพยพจึงต้องปกป้องเหนือกรุงเทพฯ ชั้นนอกและปริมณฑล ตลอดจนต่างจังหวัดที่เป็นพื้นที่ขาประจำรองรับน้ำ
ทว่า ความเสียหายที่เหลื่อมล้ำจากอุทกภัยเพราะการบริหารจัดการของรัฐที่มุ่งปกป้องศูนย์กลางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเมืองไว้ในแต่ละจังหวัดที่น้ำท่วมถึงนับแต่พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพฯ นั้น นอกจากความปราชัยหลายต่อหลายครั้งแล้ว ยังสร้างรอยร้าวลึกระหว่างภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม ชนบทกับเมือง และเมืองกับเมือง อันเนื่องมาจากการจัดความสำคัญของรัฐในการแก้ไขวิกฤต ทั้งนี้ยิ่งเจริญทางวัตถุ ผู้คนยิ่งเสียงดังและตอบโต้กันอย่างรุนแรงยามพื้นที่อีกฝั่งไม่ถูกน้ำท่วมขณะที่พื้นที่ตนเองกำลังจมน้ำ เช่นกันกับปกป้องพื้นที่ตนเองจนไม่แยแสความเดือดร้อนของอีกพื้นที่หนึ่งที่อยู่ติดกัน ทั้งยังตอบโต้มาตรการของรัฐรุนแรงถึงขั้นพังคันกั้นน้ำ ข่มขู่ไม่ให้ปิด-เปิดประตูระบายน้ำถ้าไม่พอใจ
ทั้งๆ ที่ในวิกฤตชีวิตกลางสายน้ำนานนับเดือนของคนต่างจังหวัดไม่ได้ง่ายดายไปกว่าการอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ของคนกรุงที่ถูกน้ำท่วมถึงแต่อย่างใด ซ้ำร้ายยังยากเข้าถึงการช่วยเหลือจากภาครัฐมากกว่า กว่าจะได้รับสิ่งของบรรเทาความเดือดร้อนก็หมายถึงการต้องต่อรองหรือกระทั่งวอนขอกับกลุ่มกุมอำนาจการเมืองท้องถิ่นที่มีหน้าที่จัดสรรความช่วยเหลือถ้าไม่ได้เป็นเครือญาติหรือเครือข่ายอุปถัมภ์กันมาก่อน
ความแตกต่างระหว่างความเป็นมนุษย์ที่ถูกผูกร้อยด้วยพื้นที่ที่ถูกสถาปนาว่าเป็น ‘ดินแดนอภิสิทธิ์/ศักดิ์สิทธิ์’ ผ่านวาทกรรมการพัฒนาทำให้คนชายขอบที่อยู่รอบศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจำต้องสวมบทบาท ‘ผู้เสียสละ’ อยู่ร่ำไปด้วยการถูกเบนน้ำเข้าท่วมบ้านเรือนเรือกสวนไร่นา ในขณะเดียวกันก็ถูกทำให้กลายเป็นอื่นกับการบริหารจัดการอุทภัยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวิกฤตยืดเยื้อและลุกลามถึงใจกลางศูนย์กลาง
และที่สำคัญ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ซับซ้อนระหว่างศูนย์กลาง (centre) กับชายขอบ (periphery) ในห้วงวิกฤตพิบัติภัยภายใต้อำนาจบริหารจัดการรวมศูนย์ก็ไม่ได้ตรงไปตรงมาเหมือนการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ที่มุ่งเสนอข่าวสารด้านกายภาพเป็นหลักเพื่อสร้างแรงสะเทือนใจจากข่าวเร้าอารมณ์ (dramatization) หรือกด share และ like ง่ายๆ เมื่อเห็นภาพความสามัคคีหรือข้อคิดเห็นถูกใจใน facebook เพราะในข้อเท็จจริงมีความขัดแย้งเชิงโครงสร้างอยู่เบื้องหลัง
ในวิกฤตอุทกภัยยืดเยื้อมีความรุนแรงเชิงโครงสร้างจากการสร้าง ‘ความเป็นอื่น’ (the otherness) ดำรงอยู่ ยิ่งวิกฤตยาวนานเท่าใดยิ่งมีความคิดเห็นหลากหลายที่ทำลายฝ่ายเห็นต่างให้เป็นคนอื่นเท่านั้น ทั้งๆ ที่ข้อเรียกร้องและเสนอแนะส่วนใหญ่ที่แต่ละฝักฝ่ายกล่าวอ้างต่างวางอยู่บนผลประโยชน์ที่ตนเองเป็นผู้ได้สำคัญ
ขณะเดียวกันก็ละเลยและลดทอนข้อเรียกร้องของกลุ่มอื่นที่ถึงจะสมเหตุสมผล แต่ก็ไม่รับฟัง ทั้งยังประทับตราการทวงถามความเป็นธรรมอันเนื่องมาจากมาตรการที่เหลื่อมล้ำในการบริหารจัดการอุทกภัยว่าเป็นพวกไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเมื่อข้อเรียกร้องเหล่านั้นกระทบประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง วิกฤตอุทกภัยไทยไม่ได้มีแต่ด้าน ‘สายธารจิตอาสา’ ที่ไหลหลากจากทุกภาคของประเทศไม่ใช่แค่เมืองหลวงเพื่อมาเยียวยาผู้ประสบภัย ด้วยในความดีงามเหล่านั้นยังมีมุมหนึ่งคนส่วนหนึ่งซึ่งไม่คำนึงว่าถ้าตนเองได้รับผลประโยชน์จากมาตรการรัฐในการแก้ไขน้ำท่วม คนอื่นต้องเสียอะไรไปบ้าง เช่นกันกับในช่วงปกติที่การพัฒนาแหล่งน้ำจะสร้างประโยชน์ให้คนกลุ่มหนึ่งบนความสูญเสียของคนอีกกลุ่มจำนวนมากจนเป็นที่มาของข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่ให้การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ต้องมีกระบวนการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และมีการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้าน
ในความสูญเสียทรัพย์สินชีวิตผู้คนชายขอบไปแล้ว 366 คน และอีกหลายล้านครัวเรือนเดือดร้อนสาหัสจึงควรมีพื้นที่สาธารณะเพื่อสะท้อนความต้องการและความคาดหวังที่หลากหลายจากมาตรการรัฐในการจัดการวิกฤตอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งไม่ควรจำกัดไว้ที่นักวิชาการ สื่อมวลชน และคนกรุง หรือกระทั่งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่มุ่งความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูล เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิและกีดกันซ้ำซากอันเนื่องมาจากเสียงคนชายขอบเหล่านี้ไม่เคยถูกผนวกรวม (inclusion) ไว้ในมาตรการแก้ไขวิกฤตอุทกภัยแบบรวมศูนย์ที่มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง
ในห้วงน้ำโอบล้อมเมืองกรุงและท่วมขังจังหวัดตอนบนหนักหนานี้ การถกเถียงถึงนิยามความเป็นกรุงเทพฯ และวิธีการผ่านพ้นวิกฤตเป็นไปอย่างกว้างขวางแหลมคมผ่านกลไกสื่อเก่าและใหม่จนกรุงเทพฯ กลายเป็น ‘พื้นที่สาธารณะเพื่อการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมจากการบริหารจัดการอุทกภัย’ ไปในที่สุด
นัยของความขัดแย้งที่รอปะทุใหญ่อันเนื่องมาจากความเสียหายที่เหลื่อมล้ำจากการบริหารจัดการอุทกภัยจึงสะท้อนว่าท่ามกลางการระดมสรรพกำลังและงบประมาณปกป้องเมืองหลวงนั้น รัฐต้องเปิดพื้นที่สาธารณะให้กลุ่มคนชายขอบได้ส่งเสียง (voice) แสดงทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการของรัฐที่ทำให้พวกเขากลายเป็นผู้เสียสละซ้ำซากจากการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันบนหลักการของเหตุผล
หากข้อเรียกร้องเสนอแนะของกลุ่มคนต่างจังหวัดสมเหตุสมผลรัฐก็ต้องรับฟังและนำไปดำเนินการ มิฉะนั้นความคับแค้นที่ทวีขึ้นจากความยืดเยื้อของวิกฤตจะทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งอาศัยกลไกอื่นๆ ในการทวงถามความเป็นธรรมแทน ไม่ว่าจะเป็นรวมกลุ่มกันพังพนังกั้นน้ำ หรือขนาดทำลายประตูปิด-เปิดระบายน้ำ
การแสวงหาข้อตกลงที่สมเหตุสมผลบนหลักการของเหตุผลโดยมีกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สาธารณะในการเจรจาต่อรองและวิวาทะจะทำให้ได้ข้อตกลงที่ไม่มีใครได้หรือเสียเพียงฝ่ายเดียว จน ‘ฝ่าข้ามวิกฤตอุทกภัยไปได้ด้วยกัน’ แบบไม่เพ้อฝันถึงความร่วมมือร่วมใจที่ไม่มีความขัดแย้งปะทุเงียบอยู่ในนั้นเพราะรู้สึกว่าตนเองถูกทำให้เป็นอื่น อีกทั้งยังพังทลายความคิดว่าให้ประกาศกฎหมายมาเพื่อควบคุมพิบัติภัยที่เอาเข้าจริงยิ่งใช้ก็ยิ่งขยายความเหลื่อมล้ำความเสียหายจากอุทกภัยเพราะจะทำให้รัฐไม่สามารถพิทักษ์ทรัพย์สินชีวิตประชาชนทุกคนได้เท่าเทียมกัน!
ทว่า ความเสียหายที่เหลื่อมล้ำจากอุทกภัยเพราะการบริหารจัดการของรัฐที่มุ่งปกป้องศูนย์กลางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเมืองไว้ในแต่ละจังหวัดที่น้ำท่วมถึงนับแต่พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพฯ นั้น นอกจากความปราชัยหลายต่อหลายครั้งแล้ว ยังสร้างรอยร้าวลึกระหว่างภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม ชนบทกับเมือง และเมืองกับเมือง อันเนื่องมาจากการจัดความสำคัญของรัฐในการแก้ไขวิกฤต ทั้งนี้ยิ่งเจริญทางวัตถุ ผู้คนยิ่งเสียงดังและตอบโต้กันอย่างรุนแรงยามพื้นที่อีกฝั่งไม่ถูกน้ำท่วมขณะที่พื้นที่ตนเองกำลังจมน้ำ เช่นกันกับปกป้องพื้นที่ตนเองจนไม่แยแสความเดือดร้อนของอีกพื้นที่หนึ่งที่อยู่ติดกัน ทั้งยังตอบโต้มาตรการของรัฐรุนแรงถึงขั้นพังคันกั้นน้ำ ข่มขู่ไม่ให้ปิด-เปิดประตูระบายน้ำถ้าไม่พอใจ
ทั้งๆ ที่ในวิกฤตชีวิตกลางสายน้ำนานนับเดือนของคนต่างจังหวัดไม่ได้ง่ายดายไปกว่าการอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ของคนกรุงที่ถูกน้ำท่วมถึงแต่อย่างใด ซ้ำร้ายยังยากเข้าถึงการช่วยเหลือจากภาครัฐมากกว่า กว่าจะได้รับสิ่งของบรรเทาความเดือดร้อนก็หมายถึงการต้องต่อรองหรือกระทั่งวอนขอกับกลุ่มกุมอำนาจการเมืองท้องถิ่นที่มีหน้าที่จัดสรรความช่วยเหลือถ้าไม่ได้เป็นเครือญาติหรือเครือข่ายอุปถัมภ์กันมาก่อน
ความแตกต่างระหว่างความเป็นมนุษย์ที่ถูกผูกร้อยด้วยพื้นที่ที่ถูกสถาปนาว่าเป็น ‘ดินแดนอภิสิทธิ์/ศักดิ์สิทธิ์’ ผ่านวาทกรรมการพัฒนาทำให้คนชายขอบที่อยู่รอบศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจำต้องสวมบทบาท ‘ผู้เสียสละ’ อยู่ร่ำไปด้วยการถูกเบนน้ำเข้าท่วมบ้านเรือนเรือกสวนไร่นา ในขณะเดียวกันก็ถูกทำให้กลายเป็นอื่นกับการบริหารจัดการอุทภัยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวิกฤตยืดเยื้อและลุกลามถึงใจกลางศูนย์กลาง
และที่สำคัญ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ซับซ้อนระหว่างศูนย์กลาง (centre) กับชายขอบ (periphery) ในห้วงวิกฤตพิบัติภัยภายใต้อำนาจบริหารจัดการรวมศูนย์ก็ไม่ได้ตรงไปตรงมาเหมือนการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ที่มุ่งเสนอข่าวสารด้านกายภาพเป็นหลักเพื่อสร้างแรงสะเทือนใจจากข่าวเร้าอารมณ์ (dramatization) หรือกด share และ like ง่ายๆ เมื่อเห็นภาพความสามัคคีหรือข้อคิดเห็นถูกใจใน facebook เพราะในข้อเท็จจริงมีความขัดแย้งเชิงโครงสร้างอยู่เบื้องหลัง
ในวิกฤตอุทกภัยยืดเยื้อมีความรุนแรงเชิงโครงสร้างจากการสร้าง ‘ความเป็นอื่น’ (the otherness) ดำรงอยู่ ยิ่งวิกฤตยาวนานเท่าใดยิ่งมีความคิดเห็นหลากหลายที่ทำลายฝ่ายเห็นต่างให้เป็นคนอื่นเท่านั้น ทั้งๆ ที่ข้อเรียกร้องและเสนอแนะส่วนใหญ่ที่แต่ละฝักฝ่ายกล่าวอ้างต่างวางอยู่บนผลประโยชน์ที่ตนเองเป็นผู้ได้สำคัญ
ขณะเดียวกันก็ละเลยและลดทอนข้อเรียกร้องของกลุ่มอื่นที่ถึงจะสมเหตุสมผล แต่ก็ไม่รับฟัง ทั้งยังประทับตราการทวงถามความเป็นธรรมอันเนื่องมาจากมาตรการที่เหลื่อมล้ำในการบริหารจัดการอุทกภัยว่าเป็นพวกไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเมื่อข้อเรียกร้องเหล่านั้นกระทบประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง วิกฤตอุทกภัยไทยไม่ได้มีแต่ด้าน ‘สายธารจิตอาสา’ ที่ไหลหลากจากทุกภาคของประเทศไม่ใช่แค่เมืองหลวงเพื่อมาเยียวยาผู้ประสบภัย ด้วยในความดีงามเหล่านั้นยังมีมุมหนึ่งคนส่วนหนึ่งซึ่งไม่คำนึงว่าถ้าตนเองได้รับผลประโยชน์จากมาตรการรัฐในการแก้ไขน้ำท่วม คนอื่นต้องเสียอะไรไปบ้าง เช่นกันกับในช่วงปกติที่การพัฒนาแหล่งน้ำจะสร้างประโยชน์ให้คนกลุ่มหนึ่งบนความสูญเสียของคนอีกกลุ่มจำนวนมากจนเป็นที่มาของข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่ให้การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ต้องมีกระบวนการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และมีการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้าน
ในความสูญเสียทรัพย์สินชีวิตผู้คนชายขอบไปแล้ว 366 คน และอีกหลายล้านครัวเรือนเดือดร้อนสาหัสจึงควรมีพื้นที่สาธารณะเพื่อสะท้อนความต้องการและความคาดหวังที่หลากหลายจากมาตรการรัฐในการจัดการวิกฤตอุทกภัยครั้งนี้ ซึ่งไม่ควรจำกัดไว้ที่นักวิชาการ สื่อมวลชน และคนกรุง หรือกระทั่งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่มุ่งความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูล เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิและกีดกันซ้ำซากอันเนื่องมาจากเสียงคนชายขอบเหล่านี้ไม่เคยถูกผนวกรวม (inclusion) ไว้ในมาตรการแก้ไขวิกฤตอุทกภัยแบบรวมศูนย์ที่มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง
ในห้วงน้ำโอบล้อมเมืองกรุงและท่วมขังจังหวัดตอนบนหนักหนานี้ การถกเถียงถึงนิยามความเป็นกรุงเทพฯ และวิธีการผ่านพ้นวิกฤตเป็นไปอย่างกว้างขวางแหลมคมผ่านกลไกสื่อเก่าและใหม่จนกรุงเทพฯ กลายเป็น ‘พื้นที่สาธารณะเพื่อการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมจากการบริหารจัดการอุทกภัย’ ไปในที่สุด
นัยของความขัดแย้งที่รอปะทุใหญ่อันเนื่องมาจากความเสียหายที่เหลื่อมล้ำจากการบริหารจัดการอุทกภัยจึงสะท้อนว่าท่ามกลางการระดมสรรพกำลังและงบประมาณปกป้องเมืองหลวงนั้น รัฐต้องเปิดพื้นที่สาธารณะให้กลุ่มคนชายขอบได้ส่งเสียง (voice) แสดงทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการของรัฐที่ทำให้พวกเขากลายเป็นผู้เสียสละซ้ำซากจากการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันบนหลักการของเหตุผล
หากข้อเรียกร้องเสนอแนะของกลุ่มคนต่างจังหวัดสมเหตุสมผลรัฐก็ต้องรับฟังและนำไปดำเนินการ มิฉะนั้นความคับแค้นที่ทวีขึ้นจากความยืดเยื้อของวิกฤตจะทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งอาศัยกลไกอื่นๆ ในการทวงถามความเป็นธรรมแทน ไม่ว่าจะเป็นรวมกลุ่มกันพังพนังกั้นน้ำ หรือขนาดทำลายประตูปิด-เปิดระบายน้ำ
การแสวงหาข้อตกลงที่สมเหตุสมผลบนหลักการของเหตุผลโดยมีกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สาธารณะในการเจรจาต่อรองและวิวาทะจะทำให้ได้ข้อตกลงที่ไม่มีใครได้หรือเสียเพียงฝ่ายเดียว จน ‘ฝ่าข้ามวิกฤตอุทกภัยไปได้ด้วยกัน’ แบบไม่เพ้อฝันถึงความร่วมมือร่วมใจที่ไม่มีความขัดแย้งปะทุเงียบอยู่ในนั้นเพราะรู้สึกว่าตนเองถูกทำให้เป็นอื่น อีกทั้งยังพังทลายความคิดว่าให้ประกาศกฎหมายมาเพื่อควบคุมพิบัติภัยที่เอาเข้าจริงยิ่งใช้ก็ยิ่งขยายความเหลื่อมล้ำความเสียหายจากอุทกภัยเพราะจะทำให้รัฐไม่สามารถพิทักษ์ทรัพย์สินชีวิตประชาชนทุกคนได้เท่าเทียมกัน!