ระดับของความเสียหายจากพิบัติภัยไม่เพียงมีเงื่อนไขด้านเวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างเสริมหรือลดทอนความสูญเสียจนส่วนเสี้ยววินาทีของการตัดสินใจในห้วงวิกฤตพิบัติภัยหมายถึงชีวิต และทรัพย์สินจำนวนมหาศาลของประชาชนเป็นเดิมพันเท่านั้น ทว่าการบริหารจัดการความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความเสียหายที่เหลื่อมล้ำจากพิษภัยภัยพิบัติยังเป็นความจำเป็นที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน ด้วยสร้างความแตกแยกสู่สังคมในห้วงวิกฤตการณ์ที่ต้องการความร่วมมือร่วมใจในการคลี่คลายเพื่อผ่านพ้นมรสุมระดับชาติไปให้ได้
การบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยเฉพาะอุทกภัยที่มีอัตราการเกิดและสร้างความเสียหายสูงสุดในไทยรวมถึงประเทศอื่นทั่วโลก ลำพังการมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยขาดยุทธศาสตร์การป้องกันภัยพิบัติเชิงรุกไม่อาจตอบโจทย์ความแปรปรวนของภูมิอากาศได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างวิกฤตซ้อนวิกกฤตขึ้นมาอีกด้วย
ด้วยสายการบังคับบัญชาแบบรวมศูนย์อำนาจและการขาดฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันของหน่วยงานต่างๆ ถึงจะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ขึ้นมาเพื่อบูรณาการข้อมูลและเป้าหมาย ทว่าภายใต้บริบทที่ไม่ได้ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นไปได้ที่เลวร้ายสุด (worst-case scenario) ก็ทำให้หน่วยงานเหล่านี้ละเลยบางตัวแปร หรือไม่ก็พยายามควบคุมตัวแปรเกี่ยวกับอุทกภัยทุกอย่างทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งๆ ที่ไม่มีความสามารถมากพอจะควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่มีในปัจจุบันได้ เท่าๆ กับที่ไม่มีทางรู้ได้ว่าจะมีตัวแปรอะไรอีกบ้างในอนาคต จนทำให้อุทกภัยปีนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ปัญหาเดิมๆ โดยเฉพาะความขัดแย้งจากการใช้น้ำที่สร้างความสูญเสียให้แก่คนกลุ่มใหญ่และเป็นไปตามนโยบายนักการเมืองและเครือข่ายธุรกิจก่อสร้าง ซ้ำเติมความเสียหายหนักขึ้น
คลื่นความเสียหายที่กระจายไปยังฝั่งอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และเมือง รวมถึงบางพื้นที่ที่ไม่เคยมีน้ำท่วมถึงจากเดิมที่กระจุกตัวแต่ในภาคเกษตรและบ้านเรือนจากการจัดความสำคัญของรัฐในการป้องกันพื้นที่ ได้ทำให้สังคมตั้งคำถามว่าอนาคตจะเป็นเช่นไรในเมื่อประเทศไม่สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติและความขัดแย้งที่ตามมาได้ และจะทำอย่างไรในกรณีที่ผู้ประสบภัยขัดขืนคำสั่งรัฐในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยเพราะเห็นว่ามาตรการเหล่านั้นขาดความสมเหตุสมผล ความน่าจะเป็น และศักยภาพที่จะแก้ไขปัญหาได้
เหตุนี้ในห้วงยามวิกฤตอุทกภัยที่สร้างความขัดแย้ง ไม่เพียงแต่การแสวงหาข้อตกลงที่สมเหตุสมผลจะจำเป็น หากการสร้างข้อตกลงที่สมเหตุสมผลยังเปิดโอกาสให้ผู้ประสบภัยที่ไม่ได้สังกัดภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ หรือเมือง แต่เป็นเกษตรกรและชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ไม่มีเสียง (voiceless) ได้มีโอกาสส่งเสียง (voice) แสดงข้อโต้แย้งได้ตราบใดที่ข้อโต้แย้งเหล่านั้นวางอยู่บนหลักการที่สร้างความสมเหตุสมผล ด้วยจะสามารถผ่อนทอนความขัดแย้งรุนแรงที่ผ่านมาตั้งแต่การรวมกลุ่มกันพังพนังกั้นน้ำ ทำลายคันกั้นน้ำ การปะทะกันระหว่างประชาชนสองฝั่งที่มีคันกั้นน้ำขวางกั้น การขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในการชะลอน้ำ ไปจนถึงการปิดถนนประท้วงของชาวบ้านได้ ดังนั้นในห้วงวิกฤต เสียงที่แตกต่างจึงควรส่งเสียงได้
ในการบริหารจัดการภัยพิบัติจึงต้องเปิดกว้างกับการเจรจาต่อรอง (negotiation) ของผู้ประสบภัยที่ไม่ได้รับความเท่าเทียมจากมาตรการป้องกันชีวิต ทรัพย์สิน และการเยียวยาช่วยเหลือ ที่กำหนดโดยผู้มีอำนาจเหนือกว่า การกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลจึงต้องมีความสมเหตุสมผลเพื่อสร้างความชอบธรรมในการนำไปปฏิบัติใช้ที่สามารถอธิบายได้ ประชาชนทั่วไปเข้าใจและเข้าถึงได้ เพราะถ้าสาธารณะไม่ยอมรับก็จะมีความขัดแย้งตามมา ไม่ใช่อาศัยแต่อำนาจกฎหมายบีบบังคับให้ผู้คนที่ไม่ยินยอมต้องปฏิบัติตาม ต่างจากความสมเหตุสมผลของนโยบายต่างๆ ที่จะเป็นเงื่อนไขทำให้ประชาชนยอมรับได้อันจะเป็นไปในทางเดียวกันกับระบอบเสรีประชาธิปไตยที่การต่อรองมาก่อนการใช้ความรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นหลากหลายเกี่ยวกับวิกฤตอุทกภัยครานี้ที่เคลื่อนย้ายจุดวิวาทะถกเถียงมาที่ความอยู่รอดของศูนย์กลางกรุงเทพฯ ท่ามกลางการเสียสละของพื้นที่รอบนอกที่เสียชีวิตไปแล้วถึง 315 คน สูญหาย 3 คน เดือดร้อน 824,848 ครัวเรือน ครอบคลุม 27 จังหวัดเป็นอย่างน้อย ทั้งในสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะ facebook ที่ต่างฝ่ายต่างพยายามสร้างความสมเหตุสมผลในข้อโต้แย้งและเสนอแนะของตนเอง นอกเหนือไปจากส่วนหนึ่งที่ใช้ทั้งอารมณ์หวาดกลัวและเดือดดาลเข้าสัประยุทธ์กันผ่านตัวอักษรนั้น ก็ทำให้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องบริหารจัดการอุทกภัยอย่างโปร่งใสเพื่อเปิดโอกาสให้มองเห็นทางเลือกใหม่ๆ ในการผ่านพ้นวิกฤต และเป็นกระบวนการที่ลดความขัดแย้งแตกแยกโดยกำหนดเป้าหมายเพื่อทุกคนมากกว่าจะเป็นประโยชน์คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งสถาปนาตนเองเป็นศูนย์กลางสรรพสิ่ง
กรอบคิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการช่วยเหลือนั้นทำให้คนกรุงคิดว่ามีอภิสิทธิ์เหนือคนจังหวัดอื่นจนก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ทั้งยังปิดรับข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลของผู้อื่น การอ้างว่ากรุงเทพฯ ที่ถนนแห้งสนิทจะเป็นหลังพิงของพื้นที่น้ำท่วมอื่นๆ จึงต้องมีรูปธรรมช่วยเหลือเกื้อกูลกว่านี้เพื่อสร้างความสมเหตุสมผลที่จะให้คนชายขอบยอมจมกับโลกบาดาลต่อไป อย่างไรก็ดีถ้าประเมินค่าผ่านความเสียหายทางเศรษฐกิจ ชีวิตมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ก็ไม่มีทางเท่าเทียมกัน!
นอกจากนั้นการบริหารจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์อุทกภัย รัฐบาลควรวางแผนการระบายน้ำลงสู่เส้นทางน้ำอย่างเป็นระบบโดยเร็วที่สุด และให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว รวมถึงจัดตั้งองค์กรอิสระในกำกับของรัฐขึ้นมาบริหารจัดการลุ่มน้ำ จัดทำแผนนโยบายน้ำและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการจัดการน้ำ ตามข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) เพราะจะเป็นกระบวนการที่ลดทอนความขัดแย้งระยะยาวได้ทั้งในระหว่างศูนย์กลางกับชายขอบและการพัฒนาที่มีภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมเป็นคู่ขัดแย้ง
อุทกภัยไทยในความขัดแย้งและต่อรองของศูนย์กลางกับชายขอบในรูปเมืองหลวงกับรอบนอก เขตเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมกับเกษตรกรรม จนถึงคนกรุงกับต่างจังหวัด นับเป็นความท้าทายยิ่งยวดสำหรับรัฐบาลในการที่จะสร้างความสมเหตุสมผลสาธารณะ (public justification) ให้กับนโยบายสาธารณะที่กำหนดขึ้นมาเพื่อปกป้องพื้นที่หนึ่งเหนืออีกพื้นที่หนึ่ง รวมถึงสะท้อนว่าระบอบเสรีประชาธิปไตยของไทยให้พื้นที่การต่อรองของผู้สูญเสียในห้วงวิกฤตแค่ไหน แม้ว่าวิกฤตครั้งนี้ถ้าเปิดโอกาสให้มีการเจรจาต่อรองเพื่อนำไปสู่การแสวงหาข้อสรุปที่สมเหตุสมผลจะสามารถเป็นพลังให้เกิดการปฏิวัติทั้งทางการเมือง และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้ก็ตามที
การบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยเฉพาะอุทกภัยที่มีอัตราการเกิดและสร้างความเสียหายสูงสุดในไทยรวมถึงประเทศอื่นทั่วโลก ลำพังการมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยขาดยุทธศาสตร์การป้องกันภัยพิบัติเชิงรุกไม่อาจตอบโจทย์ความแปรปรวนของภูมิอากาศได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างวิกฤตซ้อนวิกกฤตขึ้นมาอีกด้วย
ด้วยสายการบังคับบัญชาแบบรวมศูนย์อำนาจและการขาดฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันของหน่วยงานต่างๆ ถึงจะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ขึ้นมาเพื่อบูรณาการข้อมูลและเป้าหมาย ทว่าภายใต้บริบทที่ไม่ได้ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นไปได้ที่เลวร้ายสุด (worst-case scenario) ก็ทำให้หน่วยงานเหล่านี้ละเลยบางตัวแปร หรือไม่ก็พยายามควบคุมตัวแปรเกี่ยวกับอุทกภัยทุกอย่างทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งๆ ที่ไม่มีความสามารถมากพอจะควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่มีในปัจจุบันได้ เท่าๆ กับที่ไม่มีทางรู้ได้ว่าจะมีตัวแปรอะไรอีกบ้างในอนาคต จนทำให้อุทกภัยปีนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ปัญหาเดิมๆ โดยเฉพาะความขัดแย้งจากการใช้น้ำที่สร้างความสูญเสียให้แก่คนกลุ่มใหญ่และเป็นไปตามนโยบายนักการเมืองและเครือข่ายธุรกิจก่อสร้าง ซ้ำเติมความเสียหายหนักขึ้น
คลื่นความเสียหายที่กระจายไปยังฝั่งอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และเมือง รวมถึงบางพื้นที่ที่ไม่เคยมีน้ำท่วมถึงจากเดิมที่กระจุกตัวแต่ในภาคเกษตรและบ้านเรือนจากการจัดความสำคัญของรัฐในการป้องกันพื้นที่ ได้ทำให้สังคมตั้งคำถามว่าอนาคตจะเป็นเช่นไรในเมื่อประเทศไม่สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติและความขัดแย้งที่ตามมาได้ และจะทำอย่างไรในกรณีที่ผู้ประสบภัยขัดขืนคำสั่งรัฐในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยเพราะเห็นว่ามาตรการเหล่านั้นขาดความสมเหตุสมผล ความน่าจะเป็น และศักยภาพที่จะแก้ไขปัญหาได้
เหตุนี้ในห้วงยามวิกฤตอุทกภัยที่สร้างความขัดแย้ง ไม่เพียงแต่การแสวงหาข้อตกลงที่สมเหตุสมผลจะจำเป็น หากการสร้างข้อตกลงที่สมเหตุสมผลยังเปิดโอกาสให้ผู้ประสบภัยที่ไม่ได้สังกัดภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ หรือเมือง แต่เป็นเกษตรกรและชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ไม่มีเสียง (voiceless) ได้มีโอกาสส่งเสียง (voice) แสดงข้อโต้แย้งได้ตราบใดที่ข้อโต้แย้งเหล่านั้นวางอยู่บนหลักการที่สร้างความสมเหตุสมผล ด้วยจะสามารถผ่อนทอนความขัดแย้งรุนแรงที่ผ่านมาตั้งแต่การรวมกลุ่มกันพังพนังกั้นน้ำ ทำลายคันกั้นน้ำ การปะทะกันระหว่างประชาชนสองฝั่งที่มีคันกั้นน้ำขวางกั้น การขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในการชะลอน้ำ ไปจนถึงการปิดถนนประท้วงของชาวบ้านได้ ดังนั้นในห้วงวิกฤต เสียงที่แตกต่างจึงควรส่งเสียงได้
ในการบริหารจัดการภัยพิบัติจึงต้องเปิดกว้างกับการเจรจาต่อรอง (negotiation) ของผู้ประสบภัยที่ไม่ได้รับความเท่าเทียมจากมาตรการป้องกันชีวิต ทรัพย์สิน และการเยียวยาช่วยเหลือ ที่กำหนดโดยผู้มีอำนาจเหนือกว่า การกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลจึงต้องมีความสมเหตุสมผลเพื่อสร้างความชอบธรรมในการนำไปปฏิบัติใช้ที่สามารถอธิบายได้ ประชาชนทั่วไปเข้าใจและเข้าถึงได้ เพราะถ้าสาธารณะไม่ยอมรับก็จะมีความขัดแย้งตามมา ไม่ใช่อาศัยแต่อำนาจกฎหมายบีบบังคับให้ผู้คนที่ไม่ยินยอมต้องปฏิบัติตาม ต่างจากความสมเหตุสมผลของนโยบายต่างๆ ที่จะเป็นเงื่อนไขทำให้ประชาชนยอมรับได้อันจะเป็นไปในทางเดียวกันกับระบอบเสรีประชาธิปไตยที่การต่อรองมาก่อนการใช้ความรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นหลากหลายเกี่ยวกับวิกฤตอุทกภัยครานี้ที่เคลื่อนย้ายจุดวิวาทะถกเถียงมาที่ความอยู่รอดของศูนย์กลางกรุงเทพฯ ท่ามกลางการเสียสละของพื้นที่รอบนอกที่เสียชีวิตไปแล้วถึง 315 คน สูญหาย 3 คน เดือดร้อน 824,848 ครัวเรือน ครอบคลุม 27 จังหวัดเป็นอย่างน้อย ทั้งในสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะ facebook ที่ต่างฝ่ายต่างพยายามสร้างความสมเหตุสมผลในข้อโต้แย้งและเสนอแนะของตนเอง นอกเหนือไปจากส่วนหนึ่งที่ใช้ทั้งอารมณ์หวาดกลัวและเดือดดาลเข้าสัประยุทธ์กันผ่านตัวอักษรนั้น ก็ทำให้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องบริหารจัดการอุทกภัยอย่างโปร่งใสเพื่อเปิดโอกาสให้มองเห็นทางเลือกใหม่ๆ ในการผ่านพ้นวิกฤต และเป็นกระบวนการที่ลดความขัดแย้งแตกแยกโดยกำหนดเป้าหมายเพื่อทุกคนมากกว่าจะเป็นประโยชน์คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งสถาปนาตนเองเป็นศูนย์กลางสรรพสิ่ง
กรอบคิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการช่วยเหลือนั้นทำให้คนกรุงคิดว่ามีอภิสิทธิ์เหนือคนจังหวัดอื่นจนก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ทั้งยังปิดรับข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลของผู้อื่น การอ้างว่ากรุงเทพฯ ที่ถนนแห้งสนิทจะเป็นหลังพิงของพื้นที่น้ำท่วมอื่นๆ จึงต้องมีรูปธรรมช่วยเหลือเกื้อกูลกว่านี้เพื่อสร้างความสมเหตุสมผลที่จะให้คนชายขอบยอมจมกับโลกบาดาลต่อไป อย่างไรก็ดีถ้าประเมินค่าผ่านความเสียหายทางเศรษฐกิจ ชีวิตมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ก็ไม่มีทางเท่าเทียมกัน!
นอกจากนั้นการบริหารจัดการความขัดแย้งในสถานการณ์อุทกภัย รัฐบาลควรวางแผนการระบายน้ำลงสู่เส้นทางน้ำอย่างเป็นระบบโดยเร็วที่สุด และให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาว รวมถึงจัดตั้งองค์กรอิสระในกำกับของรัฐขึ้นมาบริหารจัดการลุ่มน้ำ จัดทำแผนนโยบายน้ำและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการจัดการน้ำ ตามข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) เพราะจะเป็นกระบวนการที่ลดทอนความขัดแย้งระยะยาวได้ทั้งในระหว่างศูนย์กลางกับชายขอบและการพัฒนาที่มีภาคเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมเป็นคู่ขัดแย้ง
อุทกภัยไทยในความขัดแย้งและต่อรองของศูนย์กลางกับชายขอบในรูปเมืองหลวงกับรอบนอก เขตเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมกับเกษตรกรรม จนถึงคนกรุงกับต่างจังหวัด นับเป็นความท้าทายยิ่งยวดสำหรับรัฐบาลในการที่จะสร้างความสมเหตุสมผลสาธารณะ (public justification) ให้กับนโยบายสาธารณะที่กำหนดขึ้นมาเพื่อปกป้องพื้นที่หนึ่งเหนืออีกพื้นที่หนึ่ง รวมถึงสะท้อนว่าระบอบเสรีประชาธิปไตยของไทยให้พื้นที่การต่อรองของผู้สูญเสียในห้วงวิกฤตแค่ไหน แม้ว่าวิกฤตครั้งนี้ถ้าเปิดโอกาสให้มีการเจรจาต่อรองเพื่อนำไปสู่การแสวงหาข้อสรุปที่สมเหตุสมผลจะสามารถเป็นพลังให้เกิดการปฏิวัติทั้งทางการเมือง และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้ก็ตามที