ตลอดระยะเวลา 79 ปี นับแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังดิ้นรนวนเวียนอยู่กับการต่อสู้ชิงอำนาจทางการเมืองของกลุ่มทุนใหญ่สองขั้วผ่านระบบตัวแทนของตน จะเรียกว่าเป็นสงครามตัวแทนการเมืองก็ว่าได้ ส่วนประชาชนเจ้าของประเทศ ที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่สุด ก็ต่อสู้และแสวงหาทางออก ฝันถึงระบอบการเมืองที่ตนปรารถนา ต้องการการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่เป็นของประชาชนโดยแท้จริง
การเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางการเมืองโดยการลุกขึ้นสู้ของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 การต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2548-2554 ล้วนแต่เป็นบทพิสูจน์ว่า ประชาชนกำลังต่อสู้และแสวงหาทางออกที่ดีให้กับตนเอง เป็นการแสดงออกถึงการปฏิเสธระบบการเมืองที่เป็นอยู่ว่าไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาปรารถนา ส่วนการต่อสู้หรือการชุมนุมของกลุ่ม “คนเสื้อแดง” ไม่อาจนับเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนได้
เหตุเพราะว่าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการต่อสู้เพื่อรักษาระบอบเก่าทางการเมือง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนทางการเมืองของกลุ่มทุนนิยมสามานย์ และนักเลือกตั้งเท่านั้น พูดให้ถึงที่สุดก็คือ “พิทักษ์และปกป้องระบอบทักษิณ” นั่นเอง
คำขวัญที่พวกเขาชูขึ้นว่า “ล้มอำมาตย์ ปกป้องประชาธิปไตยประชาชน” เป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองลวงโลก และจอมปลอมเพื่อสู้กับกลุ่มทุนทางการเมืองอีกขั้วหนึ่งเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อประชาชนส่วนใหญ่แต่อย่างใด จึงไม่อาจนับเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน ปัญหาอันเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของประชาชนชาวไทย และประเทศของเรา จึงอยู่ที่จะทำอย่างไรที่ประชาชนจะหลุดพ้นจากวังวนของระบอบการเมืองเก่าที่ครอบงำสังคม และประเทศชาติของเรา เป็นระบอบการเมืองเก่าที่กัดกลืนกินประเทศชาติ ทำลายสังคม ฉุดรั้งให้ประเทศล้าหลัง สังคมขาดความเป็นธรรม ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนห่างออกไปทุกที ศักยภาพของประเทศลดต่ำลงมาก ประสิทธิภาพในการบริหารของรัฐบาล และผู้นำประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต ความสามารถในการรับมือและแก้ไขปัญหาประเทศตกต่ำถึงขีดสุด
กล่าวได้ว่า “มาตรฐานประสิทธิภาพของนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ต่ำกว่าพนักงานหรือผู้จัดการบริษัทเอกชนด้วยซ้ำไป” ประเทศนี้นายกรัฐมนตรีกับชาวบ้านไม่มีความแตกต่างอะไรเลยในความรู้ ความสามารถ ประชาชนไม่อาจให้ความเชื่อถือไว้วางใจ ไม่มีศรัทธาต่อผู้นำประเทศของตนเลยแม้แต่น้อย จุดต่ำสุดของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนของเรา จึงมาถึงในวันนี้คือ ผู้แทนในสภาฯ ก็เสื่อมสุดๆ นายกรัฐมนตรีประสิทธิภาพตกต่ำสุด ในขณะที่ประเทศต้องเผชิญหน้ากับมหาวิกฤตที่สุด
บทเรียนอันถือเป็นบทสรุปรวบยอดการต่อสู้ของประชาชนที่รักชาติ รักประชาธิปไตย ภายใต้การนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คำตอบจึงอยู่ที่บทสรุปอันแหลมคมผ่านคำปราศรัยของ สนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำสำคัญที่กล่าวในวันงานรำลึกถึงวีรชนและเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ ที่ผ่านมา ความว่า “วันนี้ตนมองข้ามทักษิณ ชินวัตร มองข้าม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มองข้ามอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มองข้ามนักการเมืองชั่วทุกคนไปหมดแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะออกมาต่อสู้เพื่อเปลี่ยนเหี้ยมาเป็นห่า มีอย่างเดียวถ้าจะออกมาอีกครั้ง เราต้องยึดประเทศไทย ต้องไม่ให้พวกสัตว์นรกได้กลับมาปกครองประเทศไทยอีก
วันนี้บทพิสูจน์ชัดเจนว่า สิบอภิสิทธิ์ ร้อยยิ่งลักษณ์ พันทักษิณ ก็แก้ปัญหาประเทศไทยไม่ได้ เพราะมันมาในระบบโครงสร้างการเมืองเลวๆ วันนี้เราจะไม่เรียกร้องให้ใครขึ้นมาอีกแล้ว แต่เราจะขอเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยทั้งระบบ”
การเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยทั้งระบบ จึงเป็นความจำเป็นและภารกิจเร่งด่วนที่สำคัญยิ่งใหญ่ที่สุดที่ประเทศไทยยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ ศ.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่สรุปให้เห็นในบทความของท่านเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ก็เป็นเพียงการรัฐประหาร มิใช่การปฏิวัติ สังคมไทยยังมิได้เปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง เป็นเพียงการแย่งชิงอำนาจระหว่างบรรดาขุนนางข้าราชการที่ร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประชาชนส่วนใหญ่หาได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด”
ระบอบทักษิณ และการเมืองที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ที่มี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัวแทนนอมินีของทักษิณ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีก็คือ ตัวแทนอำนาจของ “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุน” ที่พัฒนาสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เท่านั้น อำนาจยังมิได้ตกถึงมือประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยทั้งระบบจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่สุด มุมมองของผู้เขียนเห็นว่า
1. เราต้องมีกลุ่มผู้นำทางการเมืองที่มีความคิด อุดมการณ์ และหลักการที่มองเห็นปัญหาของบ้านเมืองตรงกันขึ้นมาคณะหนึ่ง มีความมุ่งมั่น กล้าหาญ กล้าเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบอบการเมืองใหม่ ที่ยึดเอาผลประโยชน์ประชาชน และประเทศชาติเป็นหัวใจอย่างแท้จริง จะประกอบด้วยประชาชน ทหาร ข้าราชการ นักวิชาการ เพื่อร่วมกันต่อสู้ให้เกิด “การปฏิรูประเทศครั้งใหญ่”
2. ประเทศไทยต้องมีคำตอบ ต้องมีชุดความคิด ชุดนโยบายและแนวทางการเปลี่ยนแปลงประเทศที่เป็นเอกภาพ ที่ทุกฝ่ายร่วมกันและมุ่งมั่นก้าวไปสู่จุดหมายนั้นร่วมกัน
3. อำนาจรัฐ และอำนาจในการบริหารประเทศ ต้องตกอยู่ในกำมือของประชาชน โดยกลุ่มตัวแทนผู้นำของประชาชนที่มีความคิดและอุดมการณ์ดังกล่าวในข้อ 1 ซึ่งก็คือ ถ้าจะสู้อีกครั้ง ก็ต้องยึดประเทศไทยมาเป็นของประชาชน มิใช่ปล่อยให้นักการเมืองสัตว์นรกทั้งหลาย ปู้ยี่ปู้ยำอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
การต่อสู้ของภาคประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 การเสียสละชีวิต และเลือดเนื้อของพวกเราพันธมิตรฯ ในวันนั้น ควรจะเป็นการเสียสละที่สูญเปล่า โดยมิได้ทำให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างเป็นครั้งสุดท้าย ขอให้บทเรียนการต่อสู้ และการสูญเสียชีวิตของเหล่าวีรชน ประชาชน จงเป็นการตายเพื่อเกิด และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ เพื่อการสืบทอดเจตนารมณ์ 7 ตุลาฯ ที่มีความหมายอย่างแท้จริง
การเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางการเมืองโดยการลุกขึ้นสู้ของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 การต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2548-2554 ล้วนแต่เป็นบทพิสูจน์ว่า ประชาชนกำลังต่อสู้และแสวงหาทางออกที่ดีให้กับตนเอง เป็นการแสดงออกถึงการปฏิเสธระบบการเมืองที่เป็นอยู่ว่าไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาปรารถนา ส่วนการต่อสู้หรือการชุมนุมของกลุ่ม “คนเสื้อแดง” ไม่อาจนับเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนได้
เหตุเพราะว่าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการต่อสู้เพื่อรักษาระบอบเก่าทางการเมือง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนทางการเมืองของกลุ่มทุนนิยมสามานย์ และนักเลือกตั้งเท่านั้น พูดให้ถึงที่สุดก็คือ “พิทักษ์และปกป้องระบอบทักษิณ” นั่นเอง
คำขวัญที่พวกเขาชูขึ้นว่า “ล้มอำมาตย์ ปกป้องประชาธิปไตยประชาชน” เป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองลวงโลก และจอมปลอมเพื่อสู้กับกลุ่มทุนทางการเมืองอีกขั้วหนึ่งเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อประชาชนส่วนใหญ่แต่อย่างใด จึงไม่อาจนับเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน ปัญหาอันเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของประชาชนชาวไทย และประเทศของเรา จึงอยู่ที่จะทำอย่างไรที่ประชาชนจะหลุดพ้นจากวังวนของระบอบการเมืองเก่าที่ครอบงำสังคม และประเทศชาติของเรา เป็นระบอบการเมืองเก่าที่กัดกลืนกินประเทศชาติ ทำลายสังคม ฉุดรั้งให้ประเทศล้าหลัง สังคมขาดความเป็นธรรม ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนห่างออกไปทุกที ศักยภาพของประเทศลดต่ำลงมาก ประสิทธิภาพในการบริหารของรัฐบาล และผู้นำประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต ความสามารถในการรับมือและแก้ไขปัญหาประเทศตกต่ำถึงขีดสุด
กล่าวได้ว่า “มาตรฐานประสิทธิภาพของนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ต่ำกว่าพนักงานหรือผู้จัดการบริษัทเอกชนด้วยซ้ำไป” ประเทศนี้นายกรัฐมนตรีกับชาวบ้านไม่มีความแตกต่างอะไรเลยในความรู้ ความสามารถ ประชาชนไม่อาจให้ความเชื่อถือไว้วางใจ ไม่มีศรัทธาต่อผู้นำประเทศของตนเลยแม้แต่น้อย จุดต่ำสุดของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนของเรา จึงมาถึงในวันนี้คือ ผู้แทนในสภาฯ ก็เสื่อมสุดๆ นายกรัฐมนตรีประสิทธิภาพตกต่ำสุด ในขณะที่ประเทศต้องเผชิญหน้ากับมหาวิกฤตที่สุด
บทเรียนอันถือเป็นบทสรุปรวบยอดการต่อสู้ของประชาชนที่รักชาติ รักประชาธิปไตย ภายใต้การนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คำตอบจึงอยู่ที่บทสรุปอันแหลมคมผ่านคำปราศรัยของ สนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำสำคัญที่กล่าวในวันงานรำลึกถึงวีรชนและเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ ที่ผ่านมา ความว่า “วันนี้ตนมองข้ามทักษิณ ชินวัตร มองข้าม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มองข้ามอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มองข้ามนักการเมืองชั่วทุกคนไปหมดแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะออกมาต่อสู้เพื่อเปลี่ยนเหี้ยมาเป็นห่า มีอย่างเดียวถ้าจะออกมาอีกครั้ง เราต้องยึดประเทศไทย ต้องไม่ให้พวกสัตว์นรกได้กลับมาปกครองประเทศไทยอีก
วันนี้บทพิสูจน์ชัดเจนว่า สิบอภิสิทธิ์ ร้อยยิ่งลักษณ์ พันทักษิณ ก็แก้ปัญหาประเทศไทยไม่ได้ เพราะมันมาในระบบโครงสร้างการเมืองเลวๆ วันนี้เราจะไม่เรียกร้องให้ใครขึ้นมาอีกแล้ว แต่เราจะขอเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยทั้งระบบ”
การเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยทั้งระบบ จึงเป็นความจำเป็นและภารกิจเร่งด่วนที่สำคัญยิ่งใหญ่ที่สุดที่ประเทศไทยยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ ศ.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่สรุปให้เห็นในบทความของท่านเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ก็เป็นเพียงการรัฐประหาร มิใช่การปฏิวัติ สังคมไทยยังมิได้เปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง เป็นเพียงการแย่งชิงอำนาจระหว่างบรรดาขุนนางข้าราชการที่ร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประชาชนส่วนใหญ่หาได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด”
ระบอบทักษิณ และการเมืองที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ที่มี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัวแทนนอมินีของทักษิณ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีก็คือ ตัวแทนอำนาจของ “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิทุน” ที่พัฒนาสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เท่านั้น อำนาจยังมิได้ตกถึงมือประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยทั้งระบบจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่สุด มุมมองของผู้เขียนเห็นว่า
1. เราต้องมีกลุ่มผู้นำทางการเมืองที่มีความคิด อุดมการณ์ และหลักการที่มองเห็นปัญหาของบ้านเมืองตรงกันขึ้นมาคณะหนึ่ง มีความมุ่งมั่น กล้าหาญ กล้าเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบอบการเมืองใหม่ ที่ยึดเอาผลประโยชน์ประชาชน และประเทศชาติเป็นหัวใจอย่างแท้จริง จะประกอบด้วยประชาชน ทหาร ข้าราชการ นักวิชาการ เพื่อร่วมกันต่อสู้ให้เกิด “การปฏิรูประเทศครั้งใหญ่”
2. ประเทศไทยต้องมีคำตอบ ต้องมีชุดความคิด ชุดนโยบายและแนวทางการเปลี่ยนแปลงประเทศที่เป็นเอกภาพ ที่ทุกฝ่ายร่วมกันและมุ่งมั่นก้าวไปสู่จุดหมายนั้นร่วมกัน
3. อำนาจรัฐ และอำนาจในการบริหารประเทศ ต้องตกอยู่ในกำมือของประชาชน โดยกลุ่มตัวแทนผู้นำของประชาชนที่มีความคิดและอุดมการณ์ดังกล่าวในข้อ 1 ซึ่งก็คือ ถ้าจะสู้อีกครั้ง ก็ต้องยึดประเทศไทยมาเป็นของประชาชน มิใช่ปล่อยให้นักการเมืองสัตว์นรกทั้งหลาย ปู้ยี่ปู้ยำอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
การต่อสู้ของภาคประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 การเสียสละชีวิต และเลือดเนื้อของพวกเราพันธมิตรฯ ในวันนั้น ควรจะเป็นการเสียสละที่สูญเปล่า โดยมิได้ทำให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างเป็นครั้งสุดท้าย ขอให้บทเรียนการต่อสู้ และการสูญเสียชีวิตของเหล่าวีรชน ประชาชน จงเป็นการตายเพื่อเกิด และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ เพื่อการสืบทอดเจตนารมณ์ 7 ตุลาฯ ที่มีความหมายอย่างแท้จริง