ASTVผู้จัดการรายวัน - กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.50%ตามคาด ด้วยเสียง 6 ต่อ 1 เสียง เหตุความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยมีมากขึ้นทั้งผลกระทบน้ำท่วมและเศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง ยอมรับน้ำท่วมมีผลต่อความเสียหายต่อเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ คาดภายไม่เกินปลายปีนี้จะเกิดการฟื้นฟูของโรงงานต่างๆ ระบุนโยบายการเงินยังมีช่องทางในการดูแลเศรษฐกิจได้อยู่
นายไพบุลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เมื่อวานนี้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.50%ต่อปี ด้วยมติ 6 ต่อ 1 เสียง เนื่องจากมองว่าในขณะนี้การขยายตัวเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งปัจจัยภายในประเทศจากผลกระทบของอุทกภัยในหลายจังหวัดและปัจจัยนอกประเทศจากภาวะเศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง
"นโยบายที่ตัดสินในครั้งนี้ เรามองมากกว่าผลกระทบข้างหน้า และมองผลของการดำเนินนโยบายการเงินต้องใช้เวลา 4-8 ไตรมาสข้างหน้าด้วย แต่ก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะหมดยุคหรือไม่ เพราะต้องนำข้อมูลแต่ละครั้งของช่วงที่มีมีการประเมินมาพิจารณา ซึ่งตอนนี้ก็มีทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จึงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสมต่อไป"
ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบอร์ดกนง.ตระหนักปัจจัยนี้ดีและมีความเห็นใจต่อความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจต่างๆ โดยมองว่าขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่ยุติและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในเบื้องต้น ธปท.ได้สมมติฐานที่ใช้ในการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในกรณีไว้ว่า การฟื้นฟูของโรงงานต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจะเริ่มกลับเข้ามาซ่อมแซมหรือสั่งเครื่องจักรใหม่ไม่เกินปลายปีนี้
"ทางธปท.ได้ประเมินว่าความเสียหายจากน้ำท่วมจะเริ่มเห็นผลต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ผ่านตัวเลขการผลิตและการส่งออกต่างๆ ทำให้อัตราการขยายตัวในช่วงในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่ำกว่าคาดไว้มาก อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 ต.ค.นี้ จะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างเป็นทางการ" นายไพบูลย์กล่าว
สำหรับกรรมการกนง. 1 เสียงที่มีความเห็นแตกต่างจากคนอื่นให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ลง 0.25% เพราะห่วงว่าปัญหาอุทกภัยจะมีความรุนแรงมากขึ้นและส่งผลต่อเนื่องมายังศักยภาพและความสามารถของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับ 3.50%ต่อปีในปัจจุบัน ถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสมและช่วยในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าได้ เพราะยังมีช่องทางในการดำเนินนโยบายแบบผ่อนปรนและกระตุ้นเศรษฐกิจได้อยู่ ขณะที่ปัจจุบันเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 4% ส่วนสำนักพยากรณ์ต่างๆ ในตลาดก็คาดว่าในปี 55 อัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยประมาณ 3.8%
และเมื่อกนง.ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้แล้วจะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบอยู่ที่ระดับ 0.3%
ส่วนแรงกดดันของเงินเฟ้อในขณะนี้อยู่ในระดับที่ทรงตัว แต่ไม่ได้ลดลงจนกระทั่งไว้วางใจได้ เพราะแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ายังมีอยู่จากปัจจัยที่เป็นตัวเพิ่มและลดแรงกดดันโดยปัจจัยที่เป็นตัวเร่งเกิดจากการใช้จ่ายภายในประเทศช่วงที่มีการฟื้นฟูและซ่อมแซมผลเสียหายจากน้ำท่วม พร้อมทั้งนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การรับจำนำข้าว เป็นต้น ขณะเดียวกันปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อชะลอตัว คือ ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ อยู่ในระดับทรงตัว ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้ประมาณการราคาน้ำมันดูไบลดลงเหลือประมาณ 100 เหรียญต่อบาร์เรล
ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจในช่วงปีหน้า เมื่อเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูแล้วมองว่าปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ดีอยู่ทั้งในส่วนของภาคเกษตรกรรม การจ้างงาน รวมถึงการส่งออก และหากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายเร็วขึ้นก็จะไม่กระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และเชื่อว่าท้ายที่สุดจะมีผลให้การขยายตัวเศรษฐกิจไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติต่อไป
นายไพบุลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เมื่อวานนี้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.50%ต่อปี ด้วยมติ 6 ต่อ 1 เสียง เนื่องจากมองว่าในขณะนี้การขยายตัวเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งปัจจัยภายในประเทศจากผลกระทบของอุทกภัยในหลายจังหวัดและปัจจัยนอกประเทศจากภาวะเศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง
"นโยบายที่ตัดสินในครั้งนี้ เรามองมากกว่าผลกระทบข้างหน้า และมองผลของการดำเนินนโยบายการเงินต้องใช้เวลา 4-8 ไตรมาสข้างหน้าด้วย แต่ก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะหมดยุคหรือไม่ เพราะต้องนำข้อมูลแต่ละครั้งของช่วงที่มีมีการประเมินมาพิจารณา ซึ่งตอนนี้ก็มีทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จึงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสมต่อไป"
ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทางบอร์ดกนง.ตระหนักปัจจัยนี้ดีและมีความเห็นใจต่อความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจต่างๆ โดยมองว่าขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่ยุติและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในเบื้องต้น ธปท.ได้สมมติฐานที่ใช้ในการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในกรณีไว้ว่า การฟื้นฟูของโรงงานต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจะเริ่มกลับเข้ามาซ่อมแซมหรือสั่งเครื่องจักรใหม่ไม่เกินปลายปีนี้
"ทางธปท.ได้ประเมินว่าความเสียหายจากน้ำท่วมจะเริ่มเห็นผลต่อภาวะเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ผ่านตัวเลขการผลิตและการส่งออกต่างๆ ทำให้อัตราการขยายตัวในช่วงในช่วงที่เหลือของปีนี้ต่ำกว่าคาดไว้มาก อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 ต.ค.นี้ จะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างเป็นทางการ" นายไพบูลย์กล่าว
สำหรับกรรมการกนง. 1 เสียงที่มีความเห็นแตกต่างจากคนอื่นให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ลง 0.25% เพราะห่วงว่าปัญหาอุทกภัยจะมีความรุนแรงมากขึ้นและส่งผลต่อเนื่องมายังศักยภาพและความสามารถของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับ 3.50%ต่อปีในปัจจุบัน ถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสมและช่วยในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าได้ เพราะยังมีช่องทางในการดำเนินนโยบายแบบผ่อนปรนและกระตุ้นเศรษฐกิจได้อยู่ ขณะที่ปัจจุบันเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 4% ส่วนสำนักพยากรณ์ต่างๆ ในตลาดก็คาดว่าในปี 55 อัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยประมาณ 3.8%
และเมื่อกนง.ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้แล้วจะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงติดลบอยู่ที่ระดับ 0.3%
ส่วนแรงกดดันของเงินเฟ้อในขณะนี้อยู่ในระดับที่ทรงตัว แต่ไม่ได้ลดลงจนกระทั่งไว้วางใจได้ เพราะแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ายังมีอยู่จากปัจจัยที่เป็นตัวเพิ่มและลดแรงกดดันโดยปัจจัยที่เป็นตัวเร่งเกิดจากการใช้จ่ายภายในประเทศช่วงที่มีการฟื้นฟูและซ่อมแซมผลเสียหายจากน้ำท่วม พร้อมทั้งนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การรับจำนำข้าว เป็นต้น ขณะเดียวกันปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อชะลอตัว คือ ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ อยู่ในระดับทรงตัว ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้ประมาณการราคาน้ำมันดูไบลดลงเหลือประมาณ 100 เหรียญต่อบาร์เรล
ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจในช่วงปีหน้า เมื่อเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูแล้วมองว่าปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ดีอยู่ทั้งในส่วนของภาคเกษตรกรรม การจ้างงาน รวมถึงการส่งออก และหากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายเร็วขึ้นก็จะไม่กระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และเชื่อว่าท้ายที่สุดจะมีผลให้การขยายตัวเศรษฐกิจไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติต่อไป