ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ดเคาะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว 40% ทั่วประเทศ เลื่อนเริ่ม 1 เม.ย.55 ส่งผล 7 จังหวัดค่าจ้างพุ่งถึง 300 บาทต่อวัน คงที่ถึงปี 58 ที่เหลือปรับครบทุกจังหวัดอีกครั้งปี 56 เตรียมเสนอ ครม.พร้อมแพ็คเกจมาตรการช่วยเหลือธุรกิจภายใน 2-3 สัปดาห์หน้า
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เผยหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ทุกจังหวัดทั่วประเทศ จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน แต่ขณะนี้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมขึ้นในจังหวัดต่างๆ จึงให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างตามมติดังกล่าว จากเดิมจะให้มีผลในวันที่ 1 ม.ค.2555 ไปเป็นในวันที่ 1 เม.ย.2555 และให้คงอัตราค่าจ้างในจังหวัดที่มีค่าจ้างขั้นต่ำถึง 300 บาทต่อวันไว้ไปจนถึงปี 2558 ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่ค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ก็จะดำเนินการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็น 300 บาท ภายในปี 2556 อย่างไรก็ตาม จะมีการพิจารณาสภาพเศรษฐกิจของประเทศด้วย หากมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็จะมีการพิจารณาว่าจะปรับค่าจ้างในทุกจังหวัดเร็วกว่ากำหนด
นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีนายสมชัย สัจจพงษ์ ผอ.สำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมชี้แจงถึงมาตรการที่จะช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ เช่น การลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20% ในปี 2556 , การหักรายจ่ายของค่าจ้างส่วนที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปหักภาษีนิติบุคคลได้ 1.5 เท่า จากที่ก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงานได้เสนอไว้ที่ 2 เท่า โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในที่ประชุม กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้างได้เสนอมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การเสนอขอลดภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 3%จากปัจจุบันอยู่ที่ 7%ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ครอบคลุมไปถึงกลุ่มธุรกิจ แต่ครอบคลุมเฉพาะบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้รับไปพิจารณา รวมทั้งการลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม และขยายเวลาการนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ทั้งนี้ ในเรื่องนี้ตนคาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมในการประชุมวันที่ 25 ต.ค.นี้
“จะเสนอมติข้างต้น ของที่ประชุมบอร์ดค่าจ้าง พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทของกระทรวงต่างๆ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม โดยจะเสนอเป็นแพ็คเกจเดียวกันทั้งหมดในคราวเดียว โดยจะเสนอให้เร็วที่สุด คาดว่าภายใน 2-3 สัปดาห์หน้า ทั้งนี้ เนื่องจากจะต้องรอแต่ละกระทรวงสรุปมาตรการช่วยเหลือออกมาให้ครบทุกกระทรวงก่อน” นพ.สมเกียรติ กล่าว
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เผยหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ทุกจังหวัดทั่วประเทศ จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน แต่ขณะนี้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมขึ้นในจังหวัดต่างๆ จึงให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างตามมติดังกล่าว จากเดิมจะให้มีผลในวันที่ 1 ม.ค.2555 ไปเป็นในวันที่ 1 เม.ย.2555 และให้คงอัตราค่าจ้างในจังหวัดที่มีค่าจ้างขั้นต่ำถึง 300 บาทต่อวันไว้ไปจนถึงปี 2558 ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่ค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ก็จะดำเนินการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็น 300 บาท ภายในปี 2556 อย่างไรก็ตาม จะมีการพิจารณาสภาพเศรษฐกิจของประเทศด้วย หากมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็จะมีการพิจารณาว่าจะปรับค่าจ้างในทุกจังหวัดเร็วกว่ากำหนด
นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีนายสมชัย สัจจพงษ์ ผอ.สำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมชี้แจงถึงมาตรการที่จะช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ เช่น การลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20% ในปี 2556 , การหักรายจ่ายของค่าจ้างส่วนที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปหักภาษีนิติบุคคลได้ 1.5 เท่า จากที่ก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงานได้เสนอไว้ที่ 2 เท่า โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในที่ประชุม กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้างได้เสนอมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การเสนอขอลดภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 3%จากปัจจุบันอยู่ที่ 7%ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ครอบคลุมไปถึงกลุ่มธุรกิจ แต่ครอบคลุมเฉพาะบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้รับไปพิจารณา รวมทั้งการลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม และขยายเวลาการนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ทั้งนี้ ในเรื่องนี้ตนคาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมในการประชุมวันที่ 25 ต.ค.นี้
“จะเสนอมติข้างต้น ของที่ประชุมบอร์ดค่าจ้าง พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทของกระทรวงต่างๆ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม โดยจะเสนอเป็นแพ็คเกจเดียวกันทั้งหมดในคราวเดียว โดยจะเสนอให้เร็วที่สุด คาดว่าภายใน 2-3 สัปดาห์หน้า ทั้งนี้ เนื่องจากจะต้องรอแต่ละกระทรวงสรุปมาตรการช่วยเหลือออกมาให้ครบทุกกระทรวงก่อน” นพ.สมเกียรติ กล่าว