วานนี้ (12 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวตอบถึงความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้านอุทกภัย ว่า เรื่องนี้มีอยู่ 2 ประเภท ในแง่กฎหมาย คือ 1.เป็นการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการใช้อำนาจในข้อกฎหมายและการบังคับใช้ 2.การประกาศอุทกภัยร้ายแรง ซึ่งเป็นประกาศภายใต้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเราได้มีการประกาศเรื่องอุทกภัยฉุกเฉินร้ายแรงทุกจังหวัดแล้ว และมีกฎหมายที่ให้ใช้อำนาจสั่งการเพื่อจะแก้ไขภาวะวิกฤตน้ำท่วม
“การประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น ต้องใช้กฎหมายบังคับ ซึ่งดิฉันมองว่าในส่วนของกฎหมายบังคับ เพื่อให้ทำตามนั้น เรายังไม่ได้ต่อสู้กับผู้คน แต่สิ่งที่เราต่อสู้คือการต่อสู้กับภัยธรรมชาติ วันนี้ความร่วมมือที่เราได้รับเกินกว่าข้อกฎหมายที่ได้รับ เราได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน วันนี้สื่อมวลชนและประชาชนจะเห็นว่า ทุกคนช่วยกันร่วมมือกันจึงไม่มีความสำคัญและความจำเป็นที่จะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะจะเป็นการใช้อำนาจทางทหารและทางกฎหมายมาบังคับอย่างเดียว วันนี้ศูนย์บัญชาการต่างๆ เราได้สั่งงานทุกกระทรวงทุกเหล่าทัพก็ให้ความร่วมมือกับเราอยู่” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ปกครองในทุกระดับ ให้มีการเข้มงวดดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ซึ่งประสบภัยน้ำท่วมอย่างเต็มที่ ซึ่งได้มีการหารือร่วมกับ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยารองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ที่ปรึกษา (สบ 10 ) ด้านความมั่นคง แล้ว ทั้งนี้ภายหลังที่มีประชาชนบุกเข้าทำลายกระจกร้านสะดวกซื้อเพื่อขโมยอาหาร
ขณะที่พล.ต.อ.พงศพัศ แถลงว่า คดีลักทรัพย์ โจรกรรมในเคหะสถาน ในภาวะปกติโทษสูงสุดคือ 3 ปี แต่ถ้าทำให้พื้นที่ประสบอุทกภัย โทษสูงสุดถึง 7 ปี และเชือ่ว่าพนักงานสอบสวน อัยการ หรือคำพิพากษาของศาลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือเป็นบุคคลที่ซ้ำเติมความทุกข์ร้อนของประชาชนที่กำลังประสบอุทกภัย
**ปชป.จี้ประกาศอพยพคนออกพื้นที่
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม.ในฐานะโฆษกครม.เงาพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่ากรณี เรื่องการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในขณะนี้ ทางครม.เงามองว่า หากมีความจำเป็นในการที่ต้องประกาศกฎหมายใดหรือพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการต้องรีบดำเนินการเพราะการอพยพคนออกจากพื้นที่วิกฤตนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ก็อยากจะให้ใช้กฏหมายที่สอดรับกับสถานการณ์เพราะปัจจุบันเตรียมอพยพคนจำนวนมาก ซึ่งบริเวณดังกล่าวต้องเป็นพื้นที่ปิดไม่อนุญาตให้คนเข้าไปเพราะฉะนั้นถ้ามีกฏหมายมากเอื้อประโยชน์ตรงนี้จะเป็นที่ดีมาก ซึ่งขณะนี้มีโจรน้ำจืดจำนวนมากที่แพร่ระบาดและเข้าไปขโมยของในจุดที่เป็นจุดวิกฤตต่างๆ เพราะนั้นเชื่อว่ากลไกทางกฏหมายที่จะเอื้อประโยชน์ขอให้รัฐบาลจะออกก็ออก อย่ากังวลใจเรื่องของภาพลักษณ์ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งผลสุดท้ายจะดูว่าการรับมือเรื่องน้ำและเรื่องคนของรัฐบาลชุดนี้ประสบความสำเร็จหรือไม่ นั้นเป็นเป้าหมายหลักมากกว่าที่จะต้องรักษาภาพพจน์ เพราะการออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินเอื้อประโยชน์ต่อกามประชาชน เรื่องการจัดสรรคน และเรื่องของราคาสินค้าเนื่องจากมีการโกงราคาสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากอยากให้รัฐบาลใช้ดุลพินิจให้ดีว่า การรักษาภาพพจน์ในการหลีกออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ควรคิดให้ดี
**“เสี่ยอ่าง” แฉเหลือบดูดเลือดเหยื่อน้ำท่วม
นายชูวิทย์ กมลวิศิฏฐ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย กล่าวว่าตนได้รับการร้องทุกข์จากชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะในจ.อยุธยา จึงได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบพบว่า ความเป็นอยู่ของชาวบ้านลำบากมากโดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่รอบนอกจากเขตชุมชนหรือเขตเมือง ที่ต้องถูกตัดน้ำตัดไฟ ยังต้องขึ้นไปอยู่บนชั้นสอง หรือหลังคา เพราะห่วงบ้าน เนื่องจากยังมีขโมยชุกชุมที่เข้าไปซ้ำเติม โดยเฉพาะกลางคืนไม่มีไฟฟ้าเสี่ยงต่อการถูกสัตว์เลื้อยคลานมีพิษกัด ขณะที่อาหารเครื่องอุปโภคบริโภคก็ขาดแคลน น้ำดื่มจากเดิมขวดละ7บาท มีการนำไปขายสูงถึงขวดละ30 บาท มาม่า ซองละ 5 บาท ขึ้นไป30บาท หรืออย่างอิฐบล๊อค จากราคาเดิมก้อนละ 3-4 บาท พุ่งไปก้อนละ 10 -12บาท อิฐมวลเบาเดิมราคาก้อนละ 18-19บาท พุ่งไป 22-25บาท ทรายบรรจุถุงจากเดิมขายไปเกินถุงละ 30-40 บาท วันนี้ไปหาซื้อแทบไม่มี หรือมีก็ถูกโขกไปถึงถุงละ80-100บาท
นอกจากนี้ถุงยังชีพที่ควรนำมาบริจาคก็กระจุกตัวแจกกันเฉพาะเขตชุมชน และมีการเวียนเทียนมารับของ จากนั้นก็นำไปแยกถุงใส่เรือไปขายในพื้นที่รอบนอก เพราะคนที่เอามาบริจาคก็บริจาคเฉพาะเขตชุมชน แต่ไม่มีเรือเพื่อนำของไปบริจาคในพื้นที่รอบนอก ถือเป็นการซ้ำเติมทุกข์อย่างมาก หนำซ้ำค่าเช่าเรือเพื่อให้ขนของหนีน้ำ หรือไปรับญาติพี่น้องคนป่วยที่ติดอยู่ของชาวบ้านด้วยกันเองก็ขูดเลือดขูดเนื้อเรียกราคาสูงถึงเที่ยวละ 500 บาทขึ้นไป
ปัญหาการกักตุนสินค้าอุปฏภคบริโภค ขณะนี้ขยายมาถึงกรุงเทพและเขตปริมณฑลแล้ว ซึ่งตนประสบด้วยตนเอง โดยไปหาซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดที่บิ๊กซีรามคำแหง พบชาวบ้านแย่งกันซื้อน้ำจนถึงขั้นทะเลาะชกต่อยกันบนชั้นน้ำดื่มไม่มีขาย มาม่าอาหารแห้ง ปลากระป๋องไม่มีขายขณะที่ราคาผลไม้ในกรุงเทพก็เพิ่มขึ้นทั้งหมด อย่างละ 10-20บาท อยากถามว่ารัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างนี้แค่การสั่งการเหมือนสั่งน้ำมูก แต่ฝ่ายปฏิบัติกลับไม่มาตรวจสอบมันก็ไม่มีผล เวลานี้ชาวบ้านต่างด่าถึงกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายในว่าไปอยู่ที่ไหน ทำไมไม่ออกมาจัดการปัญหา
“ทำไมทางการไม่ลงมาดูแลปัญหาทุกข์สุขชาวบ้านกลับเปิดช่องให้พ่อค้าหน้าเลือดขูดรีดซ้ำเติมเพิ่มความทุกข์ให้ชาวบ้านทั้งที่ส่วนใหญ่ก็ไม่มีงานทำและต้องเก็บเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น เสมือนผีถึงหลุมจะถูกโขกสับอย่างไรก็ต้องยอม ขอแนะให้รัฐบาลควรให้เครือข่ายระบบราชการ และการปกครองท้องถิ่นในการแจกจ่ายถุงยังชีพให้ชาวบ้านได้ทั่วถึง โดยเฉพาะที่อยู่รอบนอก อย่าสักแต่สั่งแต่ไม่ติตตามผลว่าสั่งแล้วระดับปฏิบัตินำไปทำจริงหรือไม่ จึงขอเตือนหากไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะเครื่องอุปโภคบริโภคที่ต้องเข้าถึงชาวบ้านรอบนอกให้มากกว่านี้ ที่สุดแล้วอาจเกิดปัญหาจราจล การฉกชิง ปล้นจี้ร้านค้า เพราะชาวบ้านไม่มีเงินแต่ท้องหิวที่สุดจะเป็นปัญหาสังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาพ่อค้าโก่งราคาเอาเปรียบชาวบ้านต้องจัดการให้เห็นเป็นตัวอย่าง”นายชูวิทย์กล่าว
**“เพื่อไทย” เอาแน่!ดันกระทรวงน้ำ
วันเดียวกัน ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดอนเมือง แกนนำและ ส.ส.พรรคเพื่อไทย อาทิ นายพายัพ ชินวัตร ประธานภาคอีสาน นายเสนาะ เทียนทอง พล.ต.อ.วิโรจน์ เปาอินทร์ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย เข้ามอบเงินบริจาคจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
โดยนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ทางพรรคเพื่อได้สั่งการให้ส.ส.ในทุกพื้นที่ระดมช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึงโดยจะตั้งศูนย์รับบริจาคและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย แบ่งเป็นโซนภาคเหนือที่จ.นครสวรรค์ มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย เป็นประธานรับผิดชอบ ส่วนภาคอีสาน จะตั้งศูนย์ที่จ.สระบุรี มีนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม เป็นประธานรับผิดชอบ เพื่อประสานงานช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง นอกจากนั้นส.ส.ทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว.จะประสานการทำงานร่วมกัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นที่ประสบภัยโดยตรงกับรัฐบาล เนื่องจากส.ส.จะทราบพื้นที่และปัญหาดี เพราะบางครั้งมีการขอความช่วยเหลือเข้ามาแต่เมื่อลงพื้นที่ไปแล้วไม่พบจุด หรือยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เป็นต้น
“รัฐบาลต้องการให้ส.ส.เข้ามาให้ข้อมูลพื้นที่ที่ประสบปัญหาในภาพรวม เราขอความเต็มใจของส.ส.มาช่วยกันทำงาน โดยไม่ไม่แบ่งแยกว่าจะเป็นส.ส.พรรคใด หรือพื้นที่ใดที่เป็นของฝ่ายค้านหรือรัฐบาล เพราะตอนนี้ทุกคนมีปัญหา กทม.มีทั้งฝั่งธนบุรีและฝั่งตะวันออกที่มีปัญหาเหมือนกัน ดังนั้นต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย” นายอุดมเดช กล่าว
ด้านนายเสนาะ กล่าวว่า จะเสนอรัฐบาลให้พิจารณาร่างกฎหมายจัดตั้งกระทรวงน้ำ ซึ่งมีหยิบยกเรื่องนี้พิจารณาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เพื่อให้รวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงหมาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็น ให้มารวมกับทำงานเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนหรือทำงานอย่างสะเปะสะปะ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า จึงจะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาและเชื่อว่าจะได้รัฐบาลน่าจะตอบรับแนวทางดังกล่าว.
“การประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น ต้องใช้กฎหมายบังคับ ซึ่งดิฉันมองว่าในส่วนของกฎหมายบังคับ เพื่อให้ทำตามนั้น เรายังไม่ได้ต่อสู้กับผู้คน แต่สิ่งที่เราต่อสู้คือการต่อสู้กับภัยธรรมชาติ วันนี้ความร่วมมือที่เราได้รับเกินกว่าข้อกฎหมายที่ได้รับ เราได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน วันนี้สื่อมวลชนและประชาชนจะเห็นว่า ทุกคนช่วยกันร่วมมือกันจึงไม่มีความสำคัญและความจำเป็นที่จะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะจะเป็นการใช้อำนาจทางทหารและทางกฎหมายมาบังคับอย่างเดียว วันนี้ศูนย์บัญชาการต่างๆ เราได้สั่งงานทุกกระทรวงทุกเหล่าทัพก็ให้ความร่วมมือกับเราอยู่” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ปกครองในทุกระดับ ให้มีการเข้มงวดดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ซึ่งประสบภัยน้ำท่วมอย่างเต็มที่ ซึ่งได้มีการหารือร่วมกับ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยารองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ที่ปรึกษา (สบ 10 ) ด้านความมั่นคง แล้ว ทั้งนี้ภายหลังที่มีประชาชนบุกเข้าทำลายกระจกร้านสะดวกซื้อเพื่อขโมยอาหาร
ขณะที่พล.ต.อ.พงศพัศ แถลงว่า คดีลักทรัพย์ โจรกรรมในเคหะสถาน ในภาวะปกติโทษสูงสุดคือ 3 ปี แต่ถ้าทำให้พื้นที่ประสบอุทกภัย โทษสูงสุดถึง 7 ปี และเชือ่ว่าพนักงานสอบสวน อัยการ หรือคำพิพากษาของศาลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือเป็นบุคคลที่ซ้ำเติมความทุกข์ร้อนของประชาชนที่กำลังประสบอุทกภัย
**ปชป.จี้ประกาศอพยพคนออกพื้นที่
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม.ในฐานะโฆษกครม.เงาพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่ากรณี เรื่องการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในขณะนี้ ทางครม.เงามองว่า หากมีความจำเป็นในการที่ต้องประกาศกฎหมายใดหรือพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการต้องรีบดำเนินการเพราะการอพยพคนออกจากพื้นที่วิกฤตนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ก็อยากจะให้ใช้กฏหมายที่สอดรับกับสถานการณ์เพราะปัจจุบันเตรียมอพยพคนจำนวนมาก ซึ่งบริเวณดังกล่าวต้องเป็นพื้นที่ปิดไม่อนุญาตให้คนเข้าไปเพราะฉะนั้นถ้ามีกฏหมายมากเอื้อประโยชน์ตรงนี้จะเป็นที่ดีมาก ซึ่งขณะนี้มีโจรน้ำจืดจำนวนมากที่แพร่ระบาดและเข้าไปขโมยของในจุดที่เป็นจุดวิกฤตต่างๆ เพราะนั้นเชื่อว่ากลไกทางกฏหมายที่จะเอื้อประโยชน์ขอให้รัฐบาลจะออกก็ออก อย่ากังวลใจเรื่องของภาพลักษณ์ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งผลสุดท้ายจะดูว่าการรับมือเรื่องน้ำและเรื่องคนของรัฐบาลชุดนี้ประสบความสำเร็จหรือไม่ นั้นเป็นเป้าหมายหลักมากกว่าที่จะต้องรักษาภาพพจน์ เพราะการออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินเอื้อประโยชน์ต่อกามประชาชน เรื่องการจัดสรรคน และเรื่องของราคาสินค้าเนื่องจากมีการโกงราคาสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากอยากให้รัฐบาลใช้ดุลพินิจให้ดีว่า การรักษาภาพพจน์ในการหลีกออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ควรคิดให้ดี
**“เสี่ยอ่าง” แฉเหลือบดูดเลือดเหยื่อน้ำท่วม
นายชูวิทย์ กมลวิศิฏฐ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย กล่าวว่าตนได้รับการร้องทุกข์จากชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะในจ.อยุธยา จึงได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบพบว่า ความเป็นอยู่ของชาวบ้านลำบากมากโดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่รอบนอกจากเขตชุมชนหรือเขตเมือง ที่ต้องถูกตัดน้ำตัดไฟ ยังต้องขึ้นไปอยู่บนชั้นสอง หรือหลังคา เพราะห่วงบ้าน เนื่องจากยังมีขโมยชุกชุมที่เข้าไปซ้ำเติม โดยเฉพาะกลางคืนไม่มีไฟฟ้าเสี่ยงต่อการถูกสัตว์เลื้อยคลานมีพิษกัด ขณะที่อาหารเครื่องอุปโภคบริโภคก็ขาดแคลน น้ำดื่มจากเดิมขวดละ7บาท มีการนำไปขายสูงถึงขวดละ30 บาท มาม่า ซองละ 5 บาท ขึ้นไป30บาท หรืออย่างอิฐบล๊อค จากราคาเดิมก้อนละ 3-4 บาท พุ่งไปก้อนละ 10 -12บาท อิฐมวลเบาเดิมราคาก้อนละ 18-19บาท พุ่งไป 22-25บาท ทรายบรรจุถุงจากเดิมขายไปเกินถุงละ 30-40 บาท วันนี้ไปหาซื้อแทบไม่มี หรือมีก็ถูกโขกไปถึงถุงละ80-100บาท
นอกจากนี้ถุงยังชีพที่ควรนำมาบริจาคก็กระจุกตัวแจกกันเฉพาะเขตชุมชน และมีการเวียนเทียนมารับของ จากนั้นก็นำไปแยกถุงใส่เรือไปขายในพื้นที่รอบนอก เพราะคนที่เอามาบริจาคก็บริจาคเฉพาะเขตชุมชน แต่ไม่มีเรือเพื่อนำของไปบริจาคในพื้นที่รอบนอก ถือเป็นการซ้ำเติมทุกข์อย่างมาก หนำซ้ำค่าเช่าเรือเพื่อให้ขนของหนีน้ำ หรือไปรับญาติพี่น้องคนป่วยที่ติดอยู่ของชาวบ้านด้วยกันเองก็ขูดเลือดขูดเนื้อเรียกราคาสูงถึงเที่ยวละ 500 บาทขึ้นไป
ปัญหาการกักตุนสินค้าอุปฏภคบริโภค ขณะนี้ขยายมาถึงกรุงเทพและเขตปริมณฑลแล้ว ซึ่งตนประสบด้วยตนเอง โดยไปหาซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดที่บิ๊กซีรามคำแหง พบชาวบ้านแย่งกันซื้อน้ำจนถึงขั้นทะเลาะชกต่อยกันบนชั้นน้ำดื่มไม่มีขาย มาม่าอาหารแห้ง ปลากระป๋องไม่มีขายขณะที่ราคาผลไม้ในกรุงเทพก็เพิ่มขึ้นทั้งหมด อย่างละ 10-20บาท อยากถามว่ารัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างนี้แค่การสั่งการเหมือนสั่งน้ำมูก แต่ฝ่ายปฏิบัติกลับไม่มาตรวจสอบมันก็ไม่มีผล เวลานี้ชาวบ้านต่างด่าถึงกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายในว่าไปอยู่ที่ไหน ทำไมไม่ออกมาจัดการปัญหา
“ทำไมทางการไม่ลงมาดูแลปัญหาทุกข์สุขชาวบ้านกลับเปิดช่องให้พ่อค้าหน้าเลือดขูดรีดซ้ำเติมเพิ่มความทุกข์ให้ชาวบ้านทั้งที่ส่วนใหญ่ก็ไม่มีงานทำและต้องเก็บเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น เสมือนผีถึงหลุมจะถูกโขกสับอย่างไรก็ต้องยอม ขอแนะให้รัฐบาลควรให้เครือข่ายระบบราชการ และการปกครองท้องถิ่นในการแจกจ่ายถุงยังชีพให้ชาวบ้านได้ทั่วถึง โดยเฉพาะที่อยู่รอบนอก อย่าสักแต่สั่งแต่ไม่ติตตามผลว่าสั่งแล้วระดับปฏิบัตินำไปทำจริงหรือไม่ จึงขอเตือนหากไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะเครื่องอุปโภคบริโภคที่ต้องเข้าถึงชาวบ้านรอบนอกให้มากกว่านี้ ที่สุดแล้วอาจเกิดปัญหาจราจล การฉกชิง ปล้นจี้ร้านค้า เพราะชาวบ้านไม่มีเงินแต่ท้องหิวที่สุดจะเป็นปัญหาสังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาพ่อค้าโก่งราคาเอาเปรียบชาวบ้านต้องจัดการให้เห็นเป็นตัวอย่าง”นายชูวิทย์กล่าว
**“เพื่อไทย” เอาแน่!ดันกระทรวงน้ำ
วันเดียวกัน ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดอนเมือง แกนนำและ ส.ส.พรรคเพื่อไทย อาทิ นายพายัพ ชินวัตร ประธานภาคอีสาน นายเสนาะ เทียนทอง พล.ต.อ.วิโรจน์ เปาอินทร์ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย เข้ามอบเงินบริจาคจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
โดยนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ทางพรรคเพื่อได้สั่งการให้ส.ส.ในทุกพื้นที่ระดมช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึงโดยจะตั้งศูนย์รับบริจาคและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย แบ่งเป็นโซนภาคเหนือที่จ.นครสวรรค์ มีนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย เป็นประธานรับผิดชอบ ส่วนภาคอีสาน จะตั้งศูนย์ที่จ.สระบุรี มีนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม เป็นประธานรับผิดชอบ เพื่อประสานงานช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง นอกจากนั้นส.ส.ทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว.จะประสานการทำงานร่วมกัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลพื้นที่ประสบภัยโดยตรงกับรัฐบาล เนื่องจากส.ส.จะทราบพื้นที่และปัญหาดี เพราะบางครั้งมีการขอความช่วยเหลือเข้ามาแต่เมื่อลงพื้นที่ไปแล้วไม่พบจุด หรือยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เป็นต้น
“รัฐบาลต้องการให้ส.ส.เข้ามาให้ข้อมูลพื้นที่ที่ประสบปัญหาในภาพรวม เราขอความเต็มใจของส.ส.มาช่วยกันทำงาน โดยไม่ไม่แบ่งแยกว่าจะเป็นส.ส.พรรคใด หรือพื้นที่ใดที่เป็นของฝ่ายค้านหรือรัฐบาล เพราะตอนนี้ทุกคนมีปัญหา กทม.มีทั้งฝั่งธนบุรีและฝั่งตะวันออกที่มีปัญหาเหมือนกัน ดังนั้นต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย” นายอุดมเดช กล่าว
ด้านนายเสนาะ กล่าวว่า จะเสนอรัฐบาลให้พิจารณาร่างกฎหมายจัดตั้งกระทรวงน้ำ ซึ่งมีหยิบยกเรื่องนี้พิจารณาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เพื่อให้รวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงหมาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็น ให้มารวมกับทำงานเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนหรือทำงานอย่างสะเปะสะปะ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า จึงจะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาและเชื่อว่าจะได้รัฐบาลน่าจะตอบรับแนวทางดังกล่าว.