ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-มติ ครม. 4ต.ค.ไฟเขียวตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 197/2554 ลงนาม โดย “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) เพื่อตรวจสอบและค้นหาความจริงและข้อเท็จจริงที่รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรงให้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ถึงสาเหตุของปัญหา โดยมีเป้าหมายที่จะให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ อันจะนำไปสู่การป้องกันความรุนแรงไม่ให้เกิดซ้ำอีกในอนาคต และส่งเสริมความปรองดองของประเทศชาติในระยะยาว
มี“ยงยุทธ วิชัยดิษฐ”รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย เป็นประธานกรรมการ มี “พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก”รมว.ยุติธรรม เป็นรองประธาน และมีกรรมการอีก 18 คน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำระดับปลัดกระทรวงฯ
แถม “วีรวงศ์ จิตต์มิตรภาพ” ประธานและกรรมการผู้จัดการสำนักงานกฎหมายวีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพะนอ ซึ่งเคยเป็นทนายความของ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร”อดีตนายกรัฐมนตรี ในนามของบริษัท ไว้ท์ แอนด์ เคส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายชั้นนำของโลก เคยเป็นบอร์ด“ฝ่ายตรวจสอบ” ในองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัดบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
แต่สิ่งที่น่าสนใจของคำสั่งดังกล่าวอยู่ในข้อที่ 4 ระบุว่า ให้ ปคอป.ได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ในคราวที่มีการประชุมในอัตรา ประธานกรรมการ 10,000 บาท รองประธานกรรมการ 9,000 บาท และกรรมการ 8,000 บาท และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน และการบริหารจัดการอื่นที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมายให้เบิกจ่ายตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ
เป็นที่ถูกจับตาว่า “เบี้ยประชุม” 1 ครั้งสูงเกิดจริงหรือไม่ เพราะหากรวมเบี้ยค่าตอบแทนในการประชุม จะตกครั้งละ 163,000 บาท
ปัจจุบัน “เบี้ยการประชุม” คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งของรัฐ เป็นเงินค่าตอบแทนเพิ่มที่บุคคลได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่พิเศษ นอกจากงานประจำที่ปฏิบัติอยู่แล้ว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่พิเศษนั้นเป็นการทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ กำหนดตามกฎหมาย “อัตราการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมรายครั้ง” ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547
กำหนดประเภท อัตราไม่เกิน (บาท/คน/ครั้ง) ได้แก่ ประธานกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมตามมาตรา 9ได้ 1,500 บาท
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา 6 (2) ได้ 1,200 บาท เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา 6 ได้ 1,200 บาทประธานอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมตามมาตรา 9 ได้ 1,000 บาท อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา 7 (2) ได้ 800 บาท
และเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา 7 ได้ 800 บาท
ส่วน สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547จะมีอัตราการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม อัตราไม่เกิน บาท/คน/ครั้งได้แก่ กรรมาธิการตามมาตรา 7 ได้ 1,000 บาท อนุกรรมาธิการตามมาตรา 7/1 ได้ 500 บาท
เทียบดูเบี้ยค่าประชุมของทั้งของทั้งฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติในอดีตก็ไม่มีใครสูงเกิดจริงไปจากนี้
ทำให้สงสัยกันว่า เบี้ยประชุมประธานปคอป.ครั้งละ1 หมื่น “กระทรวงการคลัง” จะคิดยังไง ถ้าเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ที่รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์”ยังทำตามสัญญาไม่ได้ และส่อจะเลื่อไปอีกยาว เทียบกันแล้วแรงงานระดับรายวัน ต้องทำงานวันละกี่ชั่วโมง กี่วันถึงได้ 1 หมื่นบาท ส่วน ปคอป. คาดว่าน่าจะประชุมเต็มที่แค่ 2-3 ชม.ได้ไป 1 หมื่นบาท ทำอย่างนี้ “อำมาตย์ไม่ห่วงไพร่เลย”
มี“ยงยุทธ วิชัยดิษฐ”รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย เป็นประธานกรรมการ มี “พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก”รมว.ยุติธรรม เป็นรองประธาน และมีกรรมการอีก 18 คน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำระดับปลัดกระทรวงฯ
แถม “วีรวงศ์ จิตต์มิตรภาพ” ประธานและกรรมการผู้จัดการสำนักงานกฎหมายวีระวงค์, ชินวัฒน์ และเพียงพะนอ ซึ่งเคยเป็นทนายความของ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร”อดีตนายกรัฐมนตรี ในนามของบริษัท ไว้ท์ แอนด์ เคส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายชั้นนำของโลก เคยเป็นบอร์ด“ฝ่ายตรวจสอบ” ในองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัดบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
แต่สิ่งที่น่าสนใจของคำสั่งดังกล่าวอยู่ในข้อที่ 4 ระบุว่า ให้ ปคอป.ได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ในคราวที่มีการประชุมในอัตรา ประธานกรรมการ 10,000 บาท รองประธานกรรมการ 9,000 บาท และกรรมการ 8,000 บาท และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน และการบริหารจัดการอื่นที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมายให้เบิกจ่ายตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ
เป็นที่ถูกจับตาว่า “เบี้ยประชุม” 1 ครั้งสูงเกิดจริงหรือไม่ เพราะหากรวมเบี้ยค่าตอบแทนในการประชุม จะตกครั้งละ 163,000 บาท
ปัจจุบัน “เบี้ยการประชุม” คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งของรัฐ เป็นเงินค่าตอบแทนเพิ่มที่บุคคลได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่พิเศษ นอกจากงานประจำที่ปฏิบัติอยู่แล้ว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่พิเศษนั้นเป็นการทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ กำหนดตามกฎหมาย “อัตราการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมรายครั้ง” ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน และเป็นรายครั้งสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ พ.ศ. 2551 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547
กำหนดประเภท อัตราไม่เกิน (บาท/คน/ครั้ง) ได้แก่ ประธานกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมตามมาตรา 9ได้ 1,500 บาท
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา 6 (2) ได้ 1,200 บาท เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา 6 ได้ 1,200 บาทประธานอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมตามมาตรา 9 ได้ 1,000 บาท อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา 7 (2) ได้ 800 บาท
และเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา 7 ได้ 800 บาท
ส่วน สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547จะมีอัตราการเบิกจ่ายเบี้ยประชุม อัตราไม่เกิน บาท/คน/ครั้งได้แก่ กรรมาธิการตามมาตรา 7 ได้ 1,000 บาท อนุกรรมาธิการตามมาตรา 7/1 ได้ 500 บาท
เทียบดูเบี้ยค่าประชุมของทั้งของทั้งฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติในอดีตก็ไม่มีใครสูงเกิดจริงไปจากนี้
ทำให้สงสัยกันว่า เบี้ยประชุมประธานปคอป.ครั้งละ1 หมื่น “กระทรวงการคลัง” จะคิดยังไง ถ้าเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ที่รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์”ยังทำตามสัญญาไม่ได้ และส่อจะเลื่อไปอีกยาว เทียบกันแล้วแรงงานระดับรายวัน ต้องทำงานวันละกี่ชั่วโมง กี่วันถึงได้ 1 หมื่นบาท ส่วน ปคอป. คาดว่าน่าจะประชุมเต็มที่แค่ 2-3 ชม.ได้ไป 1 หมื่นบาท ทำอย่างนี้ “อำมาตย์ไม่ห่วงไพร่เลย”