xs
xsm
sm
md
lg

จากไทยไทเกอร์ฯ ถึงไทยสไมล์ จะแท้งเพราะการเมืองอีกหรือไม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์
เป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการจัดตั้งสายการบิน ราคาประหยัด หรือ โลว์คอสต์ แอร์ไลน์ ของตน ในชื่อ “ ไทยสไมล์” หลังจาก แผนการตั้งสายการบินไทยไทเกอร์ แอร์เวยส์ ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกขัดขวางจากกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลที่แล้ว ที่อยู่ในการบริหารงานของพรรคภูมิใจไทย มีนายโสภณ ซารัมย์ เ ป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ตามแผนการเดิม ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง การบินไทย กับ ไทเกอร์ แอร์ สายการบินโลวคอสต์ของสิงคโปร์ ต้องบินแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่นับตั้งแต่มีการเซ็นเอ็มโอยู ระหว่างการบินไทยกับไทเกอร์ แอร์เวยส์ เมื่อ เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทยก็ไม่สามารถผลักดันให้ไทยไทเกอร์ แอร์เวยส์ให้ เกิดขึ้นได้ จนเอ็มโอยู กำลังจะหมดอายุ และคณะกรรมการ ของการบินไทย มีมติยกเลิกการตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส์ โดยตั้ง ไทยสไมล์ ซึ่งการบินไทยลงทุนและบริหารเองทั้งหมด ขึ้นมาแทน

ในครั้งนั้น นายปิยะสวัสดิ์ แถลงเหตุผลที่การบินไทยต้องตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์ว่า เพื่อขยายตลาดเข้าไปในตลาดสายการบินต้นทุนต่ำ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง และเป็นตลาดที่การบินไทยไม่มีความชำนาญ จึงต้องจับมือเป็นพันธมิตรกับ ไทเกอร์ แอร์เวยส์ สายการบินต้นทุนต่ำของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างสิงคโปร์แอร์ไลน์ กับไรอัน แอร์ เจ้าตำรับโลวคอสต์แอร์ไลน์ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในยุโรป

การบินไทย ถือหุ้น 39% ในสายการบิน นกแอร์ แต่ความตั้งใจที่จะใช้ นกแอร์ เป็น ไฟต์ติ้ง แบรนด์ในตลาดในประเทศ และประเทศใกล้เคียงไม่ประสบความสำเร็จ 6 ปีที่มีนกแอร์ ส่วนแบ่งของการบินไทยและนกแอร์ ในตลาดในประเทศลดลงจาก 70-80 % เหลือเพียง 50% เพราะสู้สายการบินต้นทุนต่ำไม่ได้ โดยเฉพาะไทยแอร์ เอเชีย ซึ่งเป็นผู้นำในตลาดนี้ และผู้บริหารนกแอร์ บริหารแบบไปเรื่อยๆ ไม่ได้คิดที่จะแข่งขัน เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดเลย โดยเลือกบินเฉพาะในประเทศเท่านั้น

แม้การบินไทย จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของนกแอร์ แต่ก็ไม่สามารถกำหนดนโยบายการดำเนินงานได้ ทิศทางของบริษัทขึ้นอยู่กับนายพาที สารสิน ซีอีโอ ของนกแอร์เพียงคนเดียว ดังนั้น การบินไทยจึงจำเป็นต้องลงทุน ตั้งไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ขึ้นมา ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีเหตุผลทางธุรกิจรองรับ

หาก การบินไทย สามารถจัดตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ได้สำเร็จ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ไทย แอร์ เอเชีย เพราะจะมีคู่แข่งที่มีน้ำหนักหมัดใกล้เคียงกัน เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด เป็นครั้งแรก ดังนั้น แผนการตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ จึงถูกขัดขวางอย่างเอาจริงเอาจัง จากกระทรวงคมนาคม ซึ่งอยู่ในกำกับของนายเนวิน ชิดชอบ แบบยกกระทรวง ตั้งแต่รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดีกรมขนส่งทางอากาศ ที่ผลัดเปลี่ยนกันออกมาให้ข่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม โดยอ้างเหตุผลต่างนานาๆ เช่น แผนการลงทุนไม่ชัดเจน ไม่ถูกต้อง บอร์ดการบินไทย มีอำนาจตัดสินใจลงทุนเองหรือไม่ เป็นการลงทุนทั่ซ้ำศ้อนกับนกแอร์ ทำไมไม่ปรับปรุงนกแอร์ให้ดี จะเป็นการยกสิทธิการบินให้กับสิงคโปร์หรือไม่ ฯลฯ สารพันเหตุผลที่ยกขึ้นมานี้ มีเป้าหมายเดียวคือ ไม่ให้ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ได้เกิด เพื่อไม่ให้ไทยแอร์ เอเชีย มีคู่แข่ง อีกทั้งยังมีตัวแทนของนายเนวิน ในบอร์ด การบินไทยที่คอยเตะถ่วง ดึงเรื่องไว้โดยตลอด จนในที่สุด ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ ก็แท้งก่อนเกิ ด เมื่อบอร์ดการบินไทยมีมติ ยกเลิกเอ็มโอยูการร่วมทุนกับไทเกอร์ แอร์ เวย์ ซึ่งจะหมดอายุในเดือนตุลาคมนี้ แต่เปลี่ยนมาเป็นให้ การบินไทยลงทุนเองทั้งหมด โดยให้แยกเป็นหน่วยธุรกิจ ที่ดำเนินการในเรื่อง สายการบินราคาประหยัด “ ไทยสไมล์ “ โดยอยู่ในโครงสร้างของการบินไทย ไม่ได้แยกออกมาตั้งเป็นบริษัทลูกต่างหาก

นโยบายตั้ง “ไทยสไมล์” เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจการเมือง เมื่อพรรคเพือ่ไทย ชนะการลือกตั้งแล้ว แต่งตั้ง พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณฑัต เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นายปิยะสวัสดิ์ ได้เข้าพบพลอากาศเอก สุกำพล รายงานเรื่องการตั้งไทยสไมล์ ให้ทราบ และได้รับความเห็นชอบ หลังจากนั้น บอร์ดการบินไทยจึงมีมติอย่างเป็นทางการออกมา ให้เลิก ไทยไทเกอร์ แอร์ และตั้งไทย สไมล์ ขึ้นมา ซึ่งแตกต่างจากตอนที่ประกาศตั้งไทย ไทเกอร์ แอร์ ที่นายโสภณ รู้เรื่อง หลังจากนายปิยะสวัสดิ์ ชงเรื่องให้บอร์ดอนุมัติก่อนแล้ว โดยไม่แจ้งให้ “ เจ้าที่” เห็นชอบก่อนล่วงหน้าตามธรมเนียมของรัฐวาหกิจไทย

เป็นเพราะ “ไฟเขียว” จาก พลอากาศเอกสุกำพลนี่เอง ที่ทำให้ปลัดกระทรวงคมนาคมไม่มีความเห็นใดๆต่อ การตั้งไทยสไมล์ ทั้งๆที่ แผนการดำเนินงาน เส้นทางการบิน ของไทยสไมล์ คือ อันเดียวกับไทย ไทเกอร์แอร์ เวยส์ ที่เคยถูกกระทรวงคมนาคมในยุคเนวิน ชิดชอบกำกับ ขัดขวางจนไม่ได้เกิด

ไทย สไมล์ กำหนดให้บริการในเดือนกรกฎาคมปีหน้า หวังว่า คงไม่มีปัจจัยแทรกซ้อนใดๆ ที่จะทำให้แท้งก่อนเกิด เหมือนไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์ อีก และยังต้องลุ้นว่า เมื่อไม่มีไทเกอร์ แอร์ เป็นหุ้นส่วนแล้ว การบินไทย จะมีความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจสายการบินราคาประหยัดหรือไม่

ทำเป็นเล่นไป ถ้าไทยสไมล์ เกิดขึ้นจริง อาจจะเป็นผลงานเพื่อชาติ เพียงชิ้นเดียวของรัฐบาลโคลนนิ่งก็ได้
กำลังโหลดความคิดเห็น