คำพิพากษาของศาลโลกที่กรุงเฮก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 (ค.ศ. 1962) ได้ยกคำฟ้องของกัมพูชาไม่ทำการพิจารณาตัดสินในข้อที่ว่า ขอให้ศาลพิจารณาว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสจริงกับขอให้ศาลพิจารณาว่าเส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่นั้นเป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง เพราะศาลเชื่อตามคำให้การของฝ่ายไทยประกอบคำชี้แจงของผู้เชี่ยวชาญที่ฝ่ายไทยว่าจ้างมา คือศาสตราจารย์ Dr.W.Schermerhorn แห่งสถาบัน Dean (ที่ศาลโลกให้ความเชื่อถือ)
รายงานของสถาบันแห่งนี้ปรากฏอยู่ท้ายคำให้การภาคผนวก สรุปความได้ว่าเส้นสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา และปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนเส้นขอบหน้าผานี้ ตามแผนที่ที่ได้แสดงต่อหน้าศาล (ท่านผู้อ่านหาอ่านได้จากเว๊บไซต์ (ICJ)) เส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ภาคผนวกนั้นเป็นเส้นเขตแดนที่ไม่ถูกต้องไม่มีพื้นฐานทางภูมิศาสตร์รองรับ
นอกจากนี้เส้นเขตแดนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสได้ประชุมตกลงกันนั้นคือ “เส้นเขตแดนเดินตามสันปันน้ำ และสันปันน้ำอยู่ที่เส้นขอบหน้าผา” ซึ่งหลักการนี้คณะกรรมการปักปันฯ กระทำตามอนุสัญญา ปี ค.ศ. 1904 ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันฯ ได้ตกลงกันไว้ว่าเส้นเขตแดนที่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักนั้นปรากฏหลักฐานเป็นปราการธรรมชาติเพราะมีหน้าผาเป็นเส้นเขตแดน เหตุนี้คณะกรรมการปักปันฯ จึงมีมติให้ทำแผนที่กำกับการปักปันครั้งนั้นโดยมอบหมายให้ประธานคณะกรรมการฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศสไปจัดทำแผนที่ที่ได้ตกลงกันไว้พร้อมพิมพ์แผนที่นั้นด้วย และเมื่อแผนที่พิมพ์เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการเพื่อตรวจพิจารณาแผนที่ และลงนามรับรองแผนที่ว่าเส้นเขตแดนที่ได้ปักปันกันไว้นั้นถูกต้องด้วย
ประธานฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศสได้แก่ พันเอกแบร์นาร์ดได้ทำการเบิกเงินไปจัดทำแผนที่ขึ้นมา 11 ระวางและพิมพ์เสร็จสิ้นประมาณกลางปี ค.ศ. 1908 ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ได้สลายตัวไปก่อนแผนที่จะพิมพ์เสร็จ และเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีการประชุมของคณะกรรมการปักปันฯ และไม่มีการลงนามกำกับแผนที่ชุดนี้ จึงสรุปตามสามัญสำนึกได้ว่าแผนที่ทั้ง 11 ระวางเป็นแผนที่เก๊ และไม่สามารถมาใช้เป็นเอกสารสำคัญที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ แผนที่เป็นของเก๊ไม่สมบูรณ์และไม่ควรนำมาใช้ แม้ว่าต่อมาภายหลังจะมีเสนาบดีของไทยไปขอแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติมก็มิได้หมายความว่าประเทศสยามในเวลานั้นจะรับรองแผนที่ เพราะเสนาบดีผู้นั้นมิได้เป็นคณะกรรมการปักปันฯและไม่มีอำนาจลงนามในแผนที่
ดังนั้นศาลโลกจึงมิได้ตัดสินแผนที่เก๊ชุดนี้แต่ยังเห็นด้วยกับคำให้การของฝ่ายไทยว่า แผนที่ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสแต่อย่างใด ดังนั้นเรื่องแผนที่เก๊ชุดนี้ควรนำเข้ากรุปิดตายไม่ควรนำกลับมาใช้ได้อีก อีกทั้งคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ซึ่งตัดสินให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชานั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ออกคำแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลโลกในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) โดยได้มีหนังสือลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในนามรัฐบาลไทยไปถึง ฯพณฯ ท่านอู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้
“ในคำแถลงเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม 2505 (ค.ศ. 1962) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าว ขัดอย่างชัดแจ้งต่อบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 ในข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตลอดจนขัดต่อหลักกฎหมาย และหลักความยุติธรรม ถึงกระนั้นก็ตาม ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีแห่งคำพิพากษาตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ภายใต้ข้อที่ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ
ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ท่านทราบด้วยว่า การตัดสินใจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาจะตั้งข้อสงวนสิทธิ์อย่างชัดเจนเพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่ประเทศไทยมีหรือพึงมีในอนาคตในการเรียกคืนปราสาทพระวิหาร โดยใช้วิถีทางที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือในอนาคต และขอยืนยันการคัดค้านคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งวินิจฉัยให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ข้าพเจ้าจึงขอเรียนมาเพื่อทราบพร้อมทั้งขอให้ท่านส่งหนังสือฉบับนี้ไปยังประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติทุกประเทศ”
การตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทยังคงดำรงอยู่และไม่มีอายุความ เนื่องจากการให้เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินนั้นเข้ากันกับข้อบทของกฎหมายระหว่างประเทศ ศาลโลกฯ กระทำการล่วงละเมิดสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ ตัดสินบนหลักความไม่ยุติธรรม แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมรัฐบาลที่ผ่านๆ มาจึงไม่สนใจเรื่องข้อสงวนสิทธิ์ และถ้าเราพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนกับเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งศาลโลกมิได้ตัดสินตามคำฟ้องของกัมพูชา และเห็นด้วยกับคำให้การของฝ่ายไทยที่ระบุว่าแผนที่ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน
เป็นที่น่าแปลกใจว่าทั้งรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ทำ MOU 43 และรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2546 ที่ทำ TOR46 ต่างยึดมั่นถือมั่นกับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 และถึงกับขนาดไปรับรองให้เป็นเอกสารสำคัญตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้นใครเล่าจะแก้ปัญหาของแผนที่เก๊นี้ได้ ใครเล่าจะยุติปัญหาไม่นำแผนที่เก๊นี้มาใช้อีก และใครเล่าที่จะขี่ม้าขาวตัวใหม่มาใช้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เรายื่นไว้ต่อสหประชาชาติ เรียกคืนปราสาทพระวิหารกลับมาเป็นของคนไทยทั้งประเทศ
รายงานของสถาบันแห่งนี้ปรากฏอยู่ท้ายคำให้การภาคผนวก สรุปความได้ว่าเส้นสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา และปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนเส้นขอบหน้าผานี้ ตามแผนที่ที่ได้แสดงต่อหน้าศาล (ท่านผู้อ่านหาอ่านได้จากเว๊บไซต์ (ICJ)) เส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ภาคผนวกนั้นเป็นเส้นเขตแดนที่ไม่ถูกต้องไม่มีพื้นฐานทางภูมิศาสตร์รองรับ
นอกจากนี้เส้นเขตแดนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสได้ประชุมตกลงกันนั้นคือ “เส้นเขตแดนเดินตามสันปันน้ำ และสันปันน้ำอยู่ที่เส้นขอบหน้าผา” ซึ่งหลักการนี้คณะกรรมการปักปันฯ กระทำตามอนุสัญญา ปี ค.ศ. 1904 ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันฯ ได้ตกลงกันไว้ว่าเส้นเขตแดนที่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักนั้นปรากฏหลักฐานเป็นปราการธรรมชาติเพราะมีหน้าผาเป็นเส้นเขตแดน เหตุนี้คณะกรรมการปักปันฯ จึงมีมติให้ทำแผนที่กำกับการปักปันครั้งนั้นโดยมอบหมายให้ประธานคณะกรรมการฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศสไปจัดทำแผนที่ที่ได้ตกลงกันไว้พร้อมพิมพ์แผนที่นั้นด้วย และเมื่อแผนที่พิมพ์เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการเพื่อตรวจพิจารณาแผนที่ และลงนามรับรองแผนที่ว่าเส้นเขตแดนที่ได้ปักปันกันไว้นั้นถูกต้องด้วย
ประธานฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศสได้แก่ พันเอกแบร์นาร์ดได้ทำการเบิกเงินไปจัดทำแผนที่ขึ้นมา 11 ระวางและพิมพ์เสร็จสิ้นประมาณกลางปี ค.ศ. 1908 ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ได้สลายตัวไปก่อนแผนที่จะพิมพ์เสร็จ และเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีการประชุมของคณะกรรมการปักปันฯ และไม่มีการลงนามกำกับแผนที่ชุดนี้ จึงสรุปตามสามัญสำนึกได้ว่าแผนที่ทั้ง 11 ระวางเป็นแผนที่เก๊ และไม่สามารถมาใช้เป็นเอกสารสำคัญที่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ แผนที่เป็นของเก๊ไม่สมบูรณ์และไม่ควรนำมาใช้ แม้ว่าต่อมาภายหลังจะมีเสนาบดีของไทยไปขอแผนที่ชุดนี้เพิ่มเติมก็มิได้หมายความว่าประเทศสยามในเวลานั้นจะรับรองแผนที่ เพราะเสนาบดีผู้นั้นมิได้เป็นคณะกรรมการปักปันฯและไม่มีอำนาจลงนามในแผนที่
ดังนั้นศาลโลกจึงมิได้ตัดสินแผนที่เก๊ชุดนี้แต่ยังเห็นด้วยกับคำให้การของฝ่ายไทยว่า แผนที่ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสแต่อย่างใด ดังนั้นเรื่องแผนที่เก๊ชุดนี้ควรนำเข้ากรุปิดตายไม่ควรนำกลับมาใช้ได้อีก อีกทั้งคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ซึ่งตัดสินให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชานั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ออกคำแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลโลกในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) โดยได้มีหนังสือลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในนามรัฐบาลไทยไปถึง ฯพณฯ ท่านอู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้
“ในคำแถลงเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม 2505 (ค.ศ. 1962) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าว ขัดอย่างชัดแจ้งต่อบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 ในข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตลอดจนขัดต่อหลักกฎหมาย และหลักความยุติธรรม ถึงกระนั้นก็ตาม ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีแห่งคำพิพากษาตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ภายใต้ข้อที่ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ
ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ท่านทราบด้วยว่า การตัดสินใจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาจะตั้งข้อสงวนสิทธิ์อย่างชัดเจนเพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่ประเทศไทยมีหรือพึงมีในอนาคตในการเรียกคืนปราสาทพระวิหาร โดยใช้วิถีทางที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือในอนาคต และขอยืนยันการคัดค้านคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งวินิจฉัยให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ข้าพเจ้าจึงขอเรียนมาเพื่อทราบพร้อมทั้งขอให้ท่านส่งหนังสือฉบับนี้ไปยังประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติทุกประเทศ”
การตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาทยังคงดำรงอยู่และไม่มีอายุความ เนื่องจากการให้เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินนั้นเข้ากันกับข้อบทของกฎหมายระหว่างประเทศ ศาลโลกฯ กระทำการล่วงละเมิดสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ ตัดสินบนหลักความไม่ยุติธรรม แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมรัฐบาลที่ผ่านๆ มาจึงไม่สนใจเรื่องข้อสงวนสิทธิ์ และถ้าเราพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนกับเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งศาลโลกมิได้ตัดสินตามคำฟ้องของกัมพูชา และเห็นด้วยกับคำให้การของฝ่ายไทยที่ระบุว่าแผนที่ชุดนี้ไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน
เป็นที่น่าแปลกใจว่าทั้งรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ทำ MOU 43 และรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2546 ที่ทำ TOR46 ต่างยึดมั่นถือมั่นกับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 และถึงกับขนาดไปรับรองให้เป็นเอกสารสำคัญตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้นใครเล่าจะแก้ปัญหาของแผนที่เก๊นี้ได้ ใครเล่าจะยุติปัญหาไม่นำแผนที่เก๊นี้มาใช้อีก และใครเล่าที่จะขี่ม้าขาวตัวใหม่มาใช้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เรายื่นไว้ต่อสหประชาชาติ เรียกคืนปราสาทพระวิหารกลับมาเป็นของคนไทยทั้งประเทศ