ปัจจุบันภาษียาสูบถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญแห่งหนึ่งของรัฐบาลไทย โดยในปี 2553 รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษียาสูบมากกว่า 53,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้กว่าร้อยละ 77 มาจากภาษีบุหรี่ (อัตราภาษีบุหรี่ปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 567 ของฐานภาษี) ในขณะที่รายได้จากภาษีสำหรับยาสูบ และยาเส้นที่ใช้ในบุหรี่มวนเองนั้นไม่ถึง 30 ล้านบาทซึ่งถือว่าต่ำมาก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากสถิติว่าผู้ใช้ยาสูบและยาเส้นดังกล่าวมีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรที่สูบบุหรี่ทั้งหมด
ยิ่งไปกว่านั้น สถิติที่ผ่านมายังแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของผู้บริโภคกลุ่มนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งน่าจะมีสาเหตมาจากอัตราภาษีที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับบุหรี่ (ประมาณร้อยละ 0.11 ถึง 11.1 ของฐานภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของยาสูบ) ซึ่งทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาที่ถูกมาก ในทางกลับกันการบริโภคบุหรี่มีปริมาณลดลงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 ซึ่งเห็นได้จากการลดลงอย่างต่อเนื่องในส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าที่ครองตลาดมากที่สุด นั่นคือสินค้าในกลุ่มราคาระดับกลาง เช่น กรองทิพย์ สายฝน L&M
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นส่วนแบ่งการตลาดของบุหรี่ราคาถูกได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 27 ในช่วงต้นปี 2548 เป็นกว่าร้อยละ 43 ในเดือนมีนาคมของปีนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าจะสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไปหาสินค้าที่มีราคาถูกลง หรือที่เรียกว่า “ดาวน์เทรดดิ้ง (Down-Trading)”
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือการเพิ่มขึ้นที่มากที่สุดของส่วนแบ่งทางการตลาดของบุหรี่ราคาถูกเกิดขึ้นเกือบจะทันที หลังจากการปรับขึ้นอัตราภาษีบุหรี่จากเดิมร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 85 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นที่สูงที่สุดจากการปรับอัตราภาษีทั้งหมด 4 ครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คำถามที่ตามมาก็คือ “เป็นไปได้หรือไม่ว่าการขึ้นภาษีภายใต้ระบบภาษีปัจจุบันเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคแบบดาวน์เทรดดิ้ง?” และสำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภาษีบุหรี่ก็จะทราบดีว่าประเด็นปัญหาที่เกิดจากระบบภาษียาสูบในปัจจุบัน (การเก็บภาษีตามมูลค่าโดยมีราคาต้นทุนเป็นฐานในการคำนวณภาษี) ไม่ได้มีเพียงพฤติกรรมดาวน์เทรดดิ้ง และการบริโภคบุหรี่มวนเองเท่านั้น โดยที่ผ่านมาเกิดคำถามในด้านความโปร่งใส และความซับซ้อนในการตรวจสอบ พิสูจน์ฐานภาษีของผู้ประกอบการ โดยในบางกรณีกลายเป็นข้อพิพาทในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
ทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ว่าระบบภาษียาสูบของประเทศไทยในปัจจุบันอาจเป็นสิ่งหนึ่งที่สนับสนุนอุปสงค์และอุปทานของสินค้าประเภทบุหรี่ และยาสูบยาเส้นราคาถูกซึ่งส่งผลในด้านลบทั้งในด้านรายได้ของรัฐ และสุขภาพของประชาชน ในขณะที่สิ่งเหล่านั้นควรจะเป็นวัตถุประสงค์หลักของระบบภาษียาสูบที่ดี ยิ่งไปกว่านั้นระบบภาษียาสูบในปัจจุบันยังสร้างข้อกังขาในเรื่องของความโปร่งใสซึ่งก็ถือเป็นองค์ประกอบอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญยิ่งของนโยบายที่ดี เมื่อพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านการค้าของโลกในปัจจุบัน น่าจะถึงเวลาแล้วหรือยังที่ระบบภาษียาสูบของเมืองไทยที่ไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างมาเป็นเวลาอันช้านาน จะถูกพิจารณาปฏิรูปอย่างจริงจังเพื่อที่จะแก้ไขจุดด้อยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ที่มา : ข้อมูลและสถิติจากกรมสรรพสามิต และสำนักงานสถิติแห่งชาติ
www.bryancaveconsulting.com
kittipong.jangkamolkulchai@bryancave.com
ยิ่งไปกว่านั้น สถิติที่ผ่านมายังแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของผู้บริโภคกลุ่มนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งน่าจะมีสาเหตมาจากอัตราภาษีที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับบุหรี่ (ประมาณร้อยละ 0.11 ถึง 11.1 ของฐานภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของยาสูบ) ซึ่งทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาที่ถูกมาก ในทางกลับกันการบริโภคบุหรี่มีปริมาณลดลงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 ซึ่งเห็นได้จากการลดลงอย่างต่อเนื่องในส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าที่ครองตลาดมากที่สุด นั่นคือสินค้าในกลุ่มราคาระดับกลาง เช่น กรองทิพย์ สายฝน L&M
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นส่วนแบ่งการตลาดของบุหรี่ราคาถูกได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 27 ในช่วงต้นปี 2548 เป็นกว่าร้อยละ 43 ในเดือนมีนาคมของปีนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าจะสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไปหาสินค้าที่มีราคาถูกลง หรือที่เรียกว่า “ดาวน์เทรดดิ้ง (Down-Trading)”
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือการเพิ่มขึ้นที่มากที่สุดของส่วนแบ่งทางการตลาดของบุหรี่ราคาถูกเกิดขึ้นเกือบจะทันที หลังจากการปรับขึ้นอัตราภาษีบุหรี่จากเดิมร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 85 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นที่สูงที่สุดจากการปรับอัตราภาษีทั้งหมด 4 ครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คำถามที่ตามมาก็คือ “เป็นไปได้หรือไม่ว่าการขึ้นภาษีภายใต้ระบบภาษีปัจจุบันเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคแบบดาวน์เทรดดิ้ง?” และสำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภาษีบุหรี่ก็จะทราบดีว่าประเด็นปัญหาที่เกิดจากระบบภาษียาสูบในปัจจุบัน (การเก็บภาษีตามมูลค่าโดยมีราคาต้นทุนเป็นฐานในการคำนวณภาษี) ไม่ได้มีเพียงพฤติกรรมดาวน์เทรดดิ้ง และการบริโภคบุหรี่มวนเองเท่านั้น โดยที่ผ่านมาเกิดคำถามในด้านความโปร่งใส และความซับซ้อนในการตรวจสอบ พิสูจน์ฐานภาษีของผู้ประกอบการ โดยในบางกรณีกลายเป็นข้อพิพาทในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
ทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ว่าระบบภาษียาสูบของประเทศไทยในปัจจุบันอาจเป็นสิ่งหนึ่งที่สนับสนุนอุปสงค์และอุปทานของสินค้าประเภทบุหรี่ และยาสูบยาเส้นราคาถูกซึ่งส่งผลในด้านลบทั้งในด้านรายได้ของรัฐ และสุขภาพของประชาชน ในขณะที่สิ่งเหล่านั้นควรจะเป็นวัตถุประสงค์หลักของระบบภาษียาสูบที่ดี ยิ่งไปกว่านั้นระบบภาษียาสูบในปัจจุบันยังสร้างข้อกังขาในเรื่องของความโปร่งใสซึ่งก็ถือเป็นองค์ประกอบอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญยิ่งของนโยบายที่ดี เมื่อพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ประกอบกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านการค้าของโลกในปัจจุบัน น่าจะถึงเวลาแล้วหรือยังที่ระบบภาษียาสูบของเมืองไทยที่ไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างมาเป็นเวลาอันช้านาน จะถูกพิจารณาปฏิรูปอย่างจริงจังเพื่อที่จะแก้ไขจุดด้อยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ที่มา : ข้อมูลและสถิติจากกรมสรรพสามิต และสำนักงานสถิติแห่งชาติ
www.bryancaveconsulting.com
kittipong.jangkamolkulchai@bryancave.com