ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังรับแก้ภาษียาสูบไม่ทันรัฐบาลนี้ รอหลังเลือกตั้งเดินหน้าผลักดันต่อ ยืนยันปรับภาษีเชิงปริมาณ 1.10 บาทต่อมวนหรือซองละ 22 บาทเหมาะสมแล้ว หวังสกัดบุหรี่นอกราคาถูกทะลักเข้าประเทศมากเกินไป ขณะที่แพทย์หนุนมาตรการภาษีลดการบริโภคได้จริง
นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง เปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบการแก้ไขพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ยาสูบเพื่อทำให้เกิดความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการจัดเก็บ โดยเปลี่ยนฐานการจัดเก็บภาษีเชิงราคาจากการคำนวณราคาหน้าโรงงานเป็นการจัดเก็บตามราคาขายปลีก และปรับฐานภาษีเชิงปริมาณจากเดิมที่คิดการบาทต่อกรัม มาเป็นบาทต่อมวนหรือกรัม โดยจะกำหนดกำแพงเพดานการจัดเก็บไว้ที่มวนละ 3 บาทนั้น ในส่วนของการออกประกาศอัตราการใช้จริงยังต้องรอให้กฎหมายแม่มีผลใช้บังคับก่อน จึงจะดำเนินการออกประกาศอีกครั้งหนึ่งซึ่งคงไม่ทันรัฐบาลชุดปัจจุบันคงต้องรอหลังการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ให้มาผลักดันต่อ
สำหรับการออกประกาศส่วนของการปรับฐานเชิงปริมาณนั้นมีการกำหนดอัตราเบื้องต้นแล้วที่ 1.10 บาทต่อมวน โดยคำนวณจากบุหรี่ระดับล่างที่มีการขายมากที่สุดของโรงงานยาสูบ(วันเดอร์) ซึ่งหากใช้อัตราเชิงปริมารจำทำให้มีภาระภาษีเพิ่มขึ้น 22 บาท รวมกับราคาบุหรี่ปัจจุบันที่ 42 บาททำให้ราคาบุหรี่หลังใช้อัตราใหม่จะอยู่ที่ 64 บาท ซึ่งเป้าหมายเพื่อทำให้บุหรี่ราคาถูกที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด เพื่อไม่ให้ตลาดเติบโตสูงเหมือนที่ผ่านมา แต่ที่ยังไม่เสนอเข้าครม.คราวก่อนเป็นเพราะมีหลายคนเป็นห่วงว่าจะทำให้บุหรี่ราคาถูกอัพราคาขึ้นมาใกล้เคียงกับบุหรี่แพงและจูงใจให้คนหันไปสูบบุหรี่แพงแทนที่จะลดการสูบลง
“การปรับวิธีการจัดเก็บใหม่เชิงปริมาณเป็นแพ็กเกจเดียวกับการปรับปรุงกฎหมายยาสูบให้แห้กฎหมายแม่มีผลบังคับใช่ก่อน ซึ่งจะทำให้บุหรี่ตลาดล่างมีราคาแพงขึ้นและกรมสรรพสามิตก็จะมีรายได้มากขึ้นจากส่วนนี้ โดยการจัดเก็บภาษีของไทยก็ยังคงเป็นระบบ 2 เลือก 1 ซึ่งจากที่ฟังความเห็นของหน่วยงานอื่นก็เสนอว่าไทยควรจะใช้ระบบผสมทั้ง 2 วิธีเหมือนประเทศอื่นๆ ก็ต้องมาดูว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหรือไม่ และจากจำนวนบุหรี่ในระบบ 1,400 ล้านซองนั้น ก็ต้องมาดูกันต่อไปว่าจะมีผลให้จำนวนการบริโภคลดลงหรือไม่” นายมั่น กล่าว
ด้านนพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวสนับสนุนการปรับวิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิตยาสูบใหม่ของกระทรวงการคลัง เพราะจากข้อมูลของทั่วโลกชี้ชัดว่ามาตรการภาษีส่งผลต่อการบริโภคยาสูบมากที่สุด โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วหากมีการปรับขึ้นภาษี 10% จะลดการบริโภคลง 10% เช่นกัน ส่วนประเทศกำลังพัฒนาจะมีการลดภารบริโภคลง 8%
“จากตัวเลขรวมหากมีการปรับขึ้นบุหรี่ 10% จะช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลง 42 ล้านคน หากปรับขึ้น ภาษี 70% จะป้องกันการเสียชีวิตจากบุหรี่ได้ถึง 114 ล้านคน” นพ.หทัย กล่าว
ส่วน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวในทำนองเดียวกันว่า มาตรการๆต่างที่รณรงค์การสูบบุหรี่ทั้งหน่วยงานต่างๆ และสสส.จะช่วยลดการสูบบุหรี่ได้เพียง 10% ขณะที่มาตรการภาษีจะลดการสูบบุหรี่ได้ถึง 60%.
นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง เปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบการแก้ไขพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ยาสูบเพื่อทำให้เกิดความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการจัดเก็บ โดยเปลี่ยนฐานการจัดเก็บภาษีเชิงราคาจากการคำนวณราคาหน้าโรงงานเป็นการจัดเก็บตามราคาขายปลีก และปรับฐานภาษีเชิงปริมาณจากเดิมที่คิดการบาทต่อกรัม มาเป็นบาทต่อมวนหรือกรัม โดยจะกำหนดกำแพงเพดานการจัดเก็บไว้ที่มวนละ 3 บาทนั้น ในส่วนของการออกประกาศอัตราการใช้จริงยังต้องรอให้กฎหมายแม่มีผลใช้บังคับก่อน จึงจะดำเนินการออกประกาศอีกครั้งหนึ่งซึ่งคงไม่ทันรัฐบาลชุดปัจจุบันคงต้องรอหลังการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ให้มาผลักดันต่อ
สำหรับการออกประกาศส่วนของการปรับฐานเชิงปริมาณนั้นมีการกำหนดอัตราเบื้องต้นแล้วที่ 1.10 บาทต่อมวน โดยคำนวณจากบุหรี่ระดับล่างที่มีการขายมากที่สุดของโรงงานยาสูบ(วันเดอร์) ซึ่งหากใช้อัตราเชิงปริมารจำทำให้มีภาระภาษีเพิ่มขึ้น 22 บาท รวมกับราคาบุหรี่ปัจจุบันที่ 42 บาททำให้ราคาบุหรี่หลังใช้อัตราใหม่จะอยู่ที่ 64 บาท ซึ่งเป้าหมายเพื่อทำให้บุหรี่ราคาถูกที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด เพื่อไม่ให้ตลาดเติบโตสูงเหมือนที่ผ่านมา แต่ที่ยังไม่เสนอเข้าครม.คราวก่อนเป็นเพราะมีหลายคนเป็นห่วงว่าจะทำให้บุหรี่ราคาถูกอัพราคาขึ้นมาใกล้เคียงกับบุหรี่แพงและจูงใจให้คนหันไปสูบบุหรี่แพงแทนที่จะลดการสูบลง
“การปรับวิธีการจัดเก็บใหม่เชิงปริมาณเป็นแพ็กเกจเดียวกับการปรับปรุงกฎหมายยาสูบให้แห้กฎหมายแม่มีผลบังคับใช่ก่อน ซึ่งจะทำให้บุหรี่ตลาดล่างมีราคาแพงขึ้นและกรมสรรพสามิตก็จะมีรายได้มากขึ้นจากส่วนนี้ โดยการจัดเก็บภาษีของไทยก็ยังคงเป็นระบบ 2 เลือก 1 ซึ่งจากที่ฟังความเห็นของหน่วยงานอื่นก็เสนอว่าไทยควรจะใช้ระบบผสมทั้ง 2 วิธีเหมือนประเทศอื่นๆ ก็ต้องมาดูว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหรือไม่ และจากจำนวนบุหรี่ในระบบ 1,400 ล้านซองนั้น ก็ต้องมาดูกันต่อไปว่าจะมีผลให้จำนวนการบริโภคลดลงหรือไม่” นายมั่น กล่าว
ด้านนพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวสนับสนุนการปรับวิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิตยาสูบใหม่ของกระทรวงการคลัง เพราะจากข้อมูลของทั่วโลกชี้ชัดว่ามาตรการภาษีส่งผลต่อการบริโภคยาสูบมากที่สุด โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วหากมีการปรับขึ้นภาษี 10% จะลดการบริโภคลง 10% เช่นกัน ส่วนประเทศกำลังพัฒนาจะมีการลดภารบริโภคลง 8%
“จากตัวเลขรวมหากมีการปรับขึ้นบุหรี่ 10% จะช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลง 42 ล้านคน หากปรับขึ้น ภาษี 70% จะป้องกันการเสียชีวิตจากบุหรี่ได้ถึง 114 ล้านคน” นพ.หทัย กล่าว
ส่วน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวในทำนองเดียวกันว่า มาตรการๆต่างที่รณรงค์การสูบบุหรี่ทั้งหน่วยงานต่างๆ และสสส.จะช่วยลดการสูบบุหรี่ได้เพียง 10% ขณะที่มาตรการภาษีจะลดการสูบบุหรี่ได้ถึง 60%.