ศจย.เปิดผลวิจัยวงจรยาเส้น อึ้ง!! กว่า 70% สูบยาเส้นครั้งแรก อายุเริ่มสูบแค่ 15 ปี พบคนสูบยาเส้น อัดยามากกว่าบุหรี่ซอง 3 เท่า เข้าใจผิดคิดว่าโทษน้อยกว่า จี้รัฐรื้อระบบผลิตยาเส้น ตั้งแต่โควตา-พื้นที่ปลูก-ปรับภาษี-คุมมาตรฐานยาสูบ-รณรงค์ลดนักสูบหน้า ใหม่
รศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง ภาควิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาสัยขอนแก่น กล่าวถึงผลการศึกษาเรื่อง “เส้นทางยาเส้น : เกษตรกรผู้ปลูก ผู้ผลิตยาเส้น ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคบุหรี่มวนเอง” สนับสนุนโดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ (ศจย.) โดยศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยาสูบมวนเอง (ยาเส้น) ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ ผู้ผลิตยาเส้น ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ใน แหล่งที่ตั้งของโรงงานผลิตยาเส้น 7 จังหวัด อาทิ ร้อยเอ็ด นครพนม เพชรบูรณ์ และเชียงราย พบว่า ปัจจุบันมีบุหรี่เส้นวางจำหน่ายหลายยี่ห้อ เพราะมีเกษตรกรปลูกใบยาสูบเพื่อป้อนให้โรงงานผลิตยาเส้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมการผลิต และส่งผลให้คนไทยหันมาสูบยาเส้นเพิ่มมากขึ้น
รศ.ดร.บัวพันธ์ กล่าวว่า จากการเก็บแบบสอบถามผู้บริโภคจำนวน 400 คน ใน 4 จังหวัด (ร้อยเอ็ด หนองคาย เพชรบูรณ์ และเชียงราย) โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 49 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,568 บาท โดย 66% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จบชั้นประถมศึกษา และมากกว่าครึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม โดยกลุ่มตัวอย่าง 71.8% เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ในช่วงอายุ 15-30 ปี ชนิดของบุหรี่ที่สูบครั้งแรกคือ ยาเส้น สูงถึง 73.8% ใน 1 เดือน ผู้สูบยาเส้นมวนเองจะมีจำนวนวันที่สูบมากกว่าสูบบุหรี่ซอง 3 เท่า ในแต่ละวันจะสูบยาเส้น เฉลี่ย 16.3 มวน ขณะที่ถ้าสูบบุหรี่ซองอยู่ที่วันละ 4.8 มวน สาเหตุเพราะยาเส้นมีราคาถูกกว่า
“ผู้สูบยาเส้นตระหนักถึงพิษภัยจากการสูบอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เกิดจากความเข้าใจผิดว่าบุหรี่มวนเองมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ซอง อย่างไรก็ตาม การสำรวจพบว่า ผู้สูบยาเส้น 52% ไม่เห็นภาพคำเตือนบนซองยาเส้น ขณะที่มากกว่า 72% เมื่อเห็นภาพคำเตือนแล้ว ทำให้นึกถึงผลกระทบต่อสุขภาพ และภาพคำเตือนมีผลต่อการเลิกยาเส้นของผู้บริโภคถึง 61.8% ดังนั้น หากไม่มีการควบคุมจะทำให้แนวโน้มการบริโภคขยายตัวมากขึ้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ที่ถูกต้อง” รศ.ดร.บัวพันธ์ กล่าว
รศ.ดร.บัวพันธ์ กล่าวต่อว่า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รัฐยังขาดกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุมยาสูบและบุหรี่มวนเอง จึงมีข้อเสนอแนะคือ 1.จำกัดและควบคุมพื้นที่ปลูกยาสูบให้เข้มงวดขึ้น 2.ปรับปรุงระบบภาษีใหม่ ทั้งวิธีการจัดเก็บ ตลอดจนอัตราภาษีที่เหมาะสม 3.กำหนดเกณฑ์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ4.รณรงค์เพื่อลดจำนวนผู้สูบทั้งบุหรี่ซองและบุหรี่มวนเอง รวมทั้งป้องกันนักสูบหน้าใหม่
ทั้งนี้ ศจย.และเครือข่ายนักวิชาการ ได้กำหนดจัดประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 10 ภายใต้ชื่อ “FCTC เพื่อสังคมไทยไร้ควันบุหรี่” ระหว่างวันที่ 25-26 ส.ค.นี้ ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ ภายในงานมีการเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับยาสูบ และพิษภัยของยาสูบในมิติต่างๆ ที่น่าสนใจจำนวนมาก สนใจติดต่อที่ ศจย.02-354 5346 หรือ www.trc.or.th
รศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง ภาควิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาสัยขอนแก่น กล่าวถึงผลการศึกษาเรื่อง “เส้นทางยาเส้น : เกษตรกรผู้ปลูก ผู้ผลิตยาเส้น ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคบุหรี่มวนเอง” สนับสนุนโดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ (ศจย.) โดยศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยาสูบมวนเอง (ยาเส้น) ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ ผู้ผลิตยาเส้น ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ใน แหล่งที่ตั้งของโรงงานผลิตยาเส้น 7 จังหวัด อาทิ ร้อยเอ็ด นครพนม เพชรบูรณ์ และเชียงราย พบว่า ปัจจุบันมีบุหรี่เส้นวางจำหน่ายหลายยี่ห้อ เพราะมีเกษตรกรปลูกใบยาสูบเพื่อป้อนให้โรงงานผลิตยาเส้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมการผลิต และส่งผลให้คนไทยหันมาสูบยาเส้นเพิ่มมากขึ้น
รศ.ดร.บัวพันธ์ กล่าวว่า จากการเก็บแบบสอบถามผู้บริโภคจำนวน 400 คน ใน 4 จังหวัด (ร้อยเอ็ด หนองคาย เพชรบูรณ์ และเชียงราย) โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 49 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,568 บาท โดย 66% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จบชั้นประถมศึกษา และมากกว่าครึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม โดยกลุ่มตัวอย่าง 71.8% เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่ในช่วงอายุ 15-30 ปี ชนิดของบุหรี่ที่สูบครั้งแรกคือ ยาเส้น สูงถึง 73.8% ใน 1 เดือน ผู้สูบยาเส้นมวนเองจะมีจำนวนวันที่สูบมากกว่าสูบบุหรี่ซอง 3 เท่า ในแต่ละวันจะสูบยาเส้น เฉลี่ย 16.3 มวน ขณะที่ถ้าสูบบุหรี่ซองอยู่ที่วันละ 4.8 มวน สาเหตุเพราะยาเส้นมีราคาถูกกว่า
“ผู้สูบยาเส้นตระหนักถึงพิษภัยจากการสูบอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เกิดจากความเข้าใจผิดว่าบุหรี่มวนเองมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ซอง อย่างไรก็ตาม การสำรวจพบว่า ผู้สูบยาเส้น 52% ไม่เห็นภาพคำเตือนบนซองยาเส้น ขณะที่มากกว่า 72% เมื่อเห็นภาพคำเตือนแล้ว ทำให้นึกถึงผลกระทบต่อสุขภาพ และภาพคำเตือนมีผลต่อการเลิกยาเส้นของผู้บริโภคถึง 61.8% ดังนั้น หากไม่มีการควบคุมจะทำให้แนวโน้มการบริโภคขยายตัวมากขึ้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ที่ถูกต้อง” รศ.ดร.บัวพันธ์ กล่าว
รศ.ดร.บัวพันธ์ กล่าวต่อว่า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รัฐยังขาดกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุมยาสูบและบุหรี่มวนเอง จึงมีข้อเสนอแนะคือ 1.จำกัดและควบคุมพื้นที่ปลูกยาสูบให้เข้มงวดขึ้น 2.ปรับปรุงระบบภาษีใหม่ ทั้งวิธีการจัดเก็บ ตลอดจนอัตราภาษีที่เหมาะสม 3.กำหนดเกณฑ์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ4.รณรงค์เพื่อลดจำนวนผู้สูบทั้งบุหรี่ซองและบุหรี่มวนเอง รวมทั้งป้องกันนักสูบหน้าใหม่
ทั้งนี้ ศจย.และเครือข่ายนักวิชาการ ได้กำหนดจัดประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 10 ภายใต้ชื่อ “FCTC เพื่อสังคมไทยไร้ควันบุหรี่” ระหว่างวันที่ 25-26 ส.ค.นี้ ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ ภายในงานมีการเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับยาสูบ และพิษภัยของยาสูบในมิติต่างๆ ที่น่าสนใจจำนวนมาก สนใจติดต่อที่ ศจย.02-354 5346 หรือ www.trc.or.th