บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า MOU 2544 มีประเด็นที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันว่าไทยหรือกัมพูชา ใครได้เปรียบ-เสียเปรียบกันแน่?
เรื่องอย่างนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีปัญหาอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนกันระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ตั้งอยู่รอบอ่าวไทย
คือไทย-มาเลเซีย,ไทย-เวียดนาม เพื่อเปรียบเทียบดังนี้
1.ไทย-มาเลเซีย
ครั้งแรก เจรจาตกลงได้เส้นเขตไหล่ทวีปต่อจากทะเลอาณาเขตที่ประชิดกันบริเวณปากแม่น้ำโก-ลก จ.นราธิวาส จำนวน 1 เส้น และเมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOUฉบับลงวันที่ 6 ก.ย.2515 ไว้เป็นหลักฐาน
ครั้งต่อมา เจรจาต่อได้พื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area=JDA) และตกลงแบ่งปัน ผลประโยชน์น้ำมันและแก๊สคนละครึ่ง เมื่อได้ข้อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU ลงวันที่ 21 ก.พ.2522 ไว้เป็นหลักฐาน เหมือนครั้งแรก
2.ไทย-เวียดนาม กระบวนการแก้ปัญหาเหมือนไทย-มาเลเซีย คือเมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU แต่เรียกว่า Agreement ลง 9 ส.ค.2540 ไว้เป็นหลักฐานด้วยแต่ แตกต่างตรงที่ว่าไทย-เวียดนามมีผลการเจรจาได้เส้นเขตไหล่ทวีปเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่มี JDA
เมื่อพิจารณาจาก 2 กรณีดังที่กล่าวมาแล้วจะมองเห็นประเด็นที่สำคัญ คือ
1.กระบวนการแก้ปัญหาทั้ง 2 กรณีนำปัญหาความขัดแย้งไปวางบนโต๊ะเจรจา เมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU ไว้เป็นหลักฐาน
2.คณะกรรมการผู้แทนการเจรจามีอิสระในการเจรจาแก้ปัญหาที่อาจได้คำตอบได้เส้นเขตไหล่ทวีปหรือได้ JDA หรือได้ทั้งเส้นเขตไหล่ทวีปและ JDA
ตัวแบบการแก้ปัญหาจาก 2 กรณีดังกล่าวจะพบว่าการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา แตกต่างกับ2 กรณีอย่างเด่นชัด คือการแก้ปัญหายังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่กลับจัดทำ MOU 2544 ให้เป็นโต๊ะเจรจา ที่กำหนดตัวแบบการเจรจาไว้เรียบร้อยแล้ว...
เรียบร้อยแล้วอย่างไรนั้น สามารถหาคำตอบได้โดย:
พิจารณาสาระสำคัญของ MOU 2544
1.ข้อ 2(ก) กำหนดให้ทำ JDA ในพื้นที่พัฒนาร่วมใต้เส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันและยอมรับว่าพื้นที่นี้ทับซ้อนนี้ ชอบธรรมโดยทั้ง 2 ฝ่ายพึงพอใจร่วมกันแล้ว เพราะให้เจรจาเรื่อง "ตัวเลขแบ่งปันผลประโยชน์" เท่านั้น หมายความว่า"ไม่ต้องเจรจาตัวเลขจำนวนพื้นที่ไหล่ทวีปอีกแล้วเพราะทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่าพื้นที่นี้ทับซ้อนถูกต้องชอบธรรมแล้ว"ใช่หรือไม่?
2.ข้อ 2(ข) กำหนดให้เจรจาตัวเลขเขตแดนทางทะเล(ทะเลอาณาเขต-เส้นเขตไหล่ทวีป-เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ)ในพื้นที่เหนือเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เพราะยังไม่สามารถตกลงกันได้
3.ผลจากข้อ 4 ได้ตอกย้ำว่าต้องมีการปฏิบัติตามข้อ 2(ก) และ (ข) โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 3 คณะ คณะที่ 1 มีหน้าที่เจรจาเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่ JDA คณะที่ 2 มีหน้าที่เจรจาเขตแดนทางทะเลในพื้นที่ด้านบนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ และคณะที่ 3 มีหน้าที่ให้คำปรึกษาคณะที่ 2
พิจารณาจากกระบวนการแก้ปัญหาที่แตกต่างกับ 2 กรณีคือไม่ใช้ตัวแบบนำปัญหาความขัดแย้งไปวางบนโต๊ะเจรจา แต่ใช้วิธีสร้าง MOU 2544 เป็นโต๊ะเจรจา ซึ่งเท่ากับสร้างข้อผูกมัดให้คณะผู้แทนการเจรจาไม่มีอิสระหาคำตอบเป็นอย่างอื่นนอกจากต้องเจรจาภายใต้คำตอบที่มองเห็นอย่างชัดเจนว่า ต้องมี JDA เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์กันเท่านั้น.. อย่างนี้เรียกว่า MOU2544 ล็อกสเปก ใช่หรือไม่?
คำถามที่ตามมาคือเป็น MOU 2544 ล็อกสเปก มันเสียหายอย่างไร? การหาคำตอบประเด็นนี้คงต้องกลับไปดูที่สาระสำคัญของ MOU 2544
MOU 2544 ข้อ 2(ก) และข้อ 2(ข) จะพบว่า มีความขัดแย้งกัน กล่าวคือในเมื่อยอมรับว่าพื้นที่ด้านเหนือของเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันยังต้องมีการเจรจาตัวเลขเขตแดนทางทะเล (ทะเลอาณาเขต-เส้นเขตไหล่ทวีป-เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) ดังนั้นหากเขตแดนทางทะเลด้านเหนือเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้พื้นที่ JDA ด้านใต้เส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เปลี่ยนแปลงไปด้วย
แต่การที่ MOU 2544 ข้อ 2(ก) กำหนดให้ไม่ต้องเจรจาตัวเลขจำนวนพื้นที่ JDA และให้เจรจา"ตัวเลขแบ่งปันผลประโยชน์"เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ขัดกันเองในสาระสำคัญของ MOU 2544 และหากพิจารณาข้อเท็จจริงจะได้คำตอบที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า
1. เขตแดนทางทะเลในพื้นที่ด้านบนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ ต้องเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นคุณกับไทย เพราะเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตที่ 73 มายังเกาะกูด เป็นเส้นที่ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายใดๆ ยอมรับ
2.ผลจากความเป็นจริงที่ว่า เขตแดนทางทะเลดังกล่าวต้องเปลี่ยนไปในทิศทางที่เป็นคุณกับไทยนั้นย่อมส่งผลกระทบให้ "จำนวนพื้นที่ที่ทำ JDA เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นคุณกับฝ่ายไทยด้วย" กล่าวคือ จำนวนพื้นที่ทับซ้อนใน JDA จะเป็นของไทยมากว่ากัมพูชาและจะส่งผลให้ไทยมีสิทธิอธิปไตยในทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ากัมพูชา
แต่ใน MOU 2544 กลับไปกำหนดว่า ไม่ต้องเจรจาเรื่องจำนวนพื้นที่ใน JDA ให้เจรจาเรื่องตัวเลขการแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติโดยถือว่าทับซ้อนชอบธรรมแล้ว การเจรจาบนพื้นฐานอย่างนี้ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายสูญเสียสิทธิอธิปไตยอันพึงมีพึงได้ไปตามข้อกำหนดใน MOU2544 แล้วใช่หรือไม่?
ดังนั้นท่านผู้อ่านคงพอจะมองเห็นคำตอบได้แล้วใช่ไหมว่า MOU 2544 ล็อกสเปก..ทำให้ไทยเสียเปรียบจริงหรือไม่?
เรื่องอย่างนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีปัญหาอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนกันระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ตั้งอยู่รอบอ่าวไทย
คือไทย-มาเลเซีย,ไทย-เวียดนาม เพื่อเปรียบเทียบดังนี้
1.ไทย-มาเลเซีย
ครั้งแรก เจรจาตกลงได้เส้นเขตไหล่ทวีปต่อจากทะเลอาณาเขตที่ประชิดกันบริเวณปากแม่น้ำโก-ลก จ.นราธิวาส จำนวน 1 เส้น และเมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOUฉบับลงวันที่ 6 ก.ย.2515 ไว้เป็นหลักฐาน
ครั้งต่อมา เจรจาต่อได้พื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area=JDA) และตกลงแบ่งปัน ผลประโยชน์น้ำมันและแก๊สคนละครึ่ง เมื่อได้ข้อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU ลงวันที่ 21 ก.พ.2522 ไว้เป็นหลักฐาน เหมือนครั้งแรก
2.ไทย-เวียดนาม กระบวนการแก้ปัญหาเหมือนไทย-มาเลเซีย คือเมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU แต่เรียกว่า Agreement ลง 9 ส.ค.2540 ไว้เป็นหลักฐานด้วยแต่ แตกต่างตรงที่ว่าไทย-เวียดนามมีผลการเจรจาได้เส้นเขตไหล่ทวีปเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่มี JDA
เมื่อพิจารณาจาก 2 กรณีดังที่กล่าวมาแล้วจะมองเห็นประเด็นที่สำคัญ คือ
1.กระบวนการแก้ปัญหาทั้ง 2 กรณีนำปัญหาความขัดแย้งไปวางบนโต๊ะเจรจา เมื่อตกลงอันเป็นที่สิ้นสุดแล้วจึงทำ MOU ไว้เป็นหลักฐาน
2.คณะกรรมการผู้แทนการเจรจามีอิสระในการเจรจาแก้ปัญหาที่อาจได้คำตอบได้เส้นเขตไหล่ทวีปหรือได้ JDA หรือได้ทั้งเส้นเขตไหล่ทวีปและ JDA
ตัวแบบการแก้ปัญหาจาก 2 กรณีดังกล่าวจะพบว่าการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา แตกต่างกับ2 กรณีอย่างเด่นชัด คือการแก้ปัญหายังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่กลับจัดทำ MOU 2544 ให้เป็นโต๊ะเจรจา ที่กำหนดตัวแบบการเจรจาไว้เรียบร้อยแล้ว...
เรียบร้อยแล้วอย่างไรนั้น สามารถหาคำตอบได้โดย:
พิจารณาสาระสำคัญของ MOU 2544
1.ข้อ 2(ก) กำหนดให้ทำ JDA ในพื้นที่พัฒนาร่วมใต้เส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันและยอมรับว่าพื้นที่นี้ทับซ้อนนี้ ชอบธรรมโดยทั้ง 2 ฝ่ายพึงพอใจร่วมกันแล้ว เพราะให้เจรจาเรื่อง "ตัวเลขแบ่งปันผลประโยชน์" เท่านั้น หมายความว่า"ไม่ต้องเจรจาตัวเลขจำนวนพื้นที่ไหล่ทวีปอีกแล้วเพราะทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่าพื้นที่นี้ทับซ้อนถูกต้องชอบธรรมแล้ว"ใช่หรือไม่?
2.ข้อ 2(ข) กำหนดให้เจรจาตัวเลขเขตแดนทางทะเล(ทะเลอาณาเขต-เส้นเขตไหล่ทวีป-เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ)ในพื้นที่เหนือเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เพราะยังไม่สามารถตกลงกันได้
3.ผลจากข้อ 4 ได้ตอกย้ำว่าต้องมีการปฏิบัติตามข้อ 2(ก) และ (ข) โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 3 คณะ คณะที่ 1 มีหน้าที่เจรจาเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่ JDA คณะที่ 2 มีหน้าที่เจรจาเขตแดนทางทะเลในพื้นที่ด้านบนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ และคณะที่ 3 มีหน้าที่ให้คำปรึกษาคณะที่ 2
พิจารณาจากกระบวนการแก้ปัญหาที่แตกต่างกับ 2 กรณีคือไม่ใช้ตัวแบบนำปัญหาความขัดแย้งไปวางบนโต๊ะเจรจา แต่ใช้วิธีสร้าง MOU 2544 เป็นโต๊ะเจรจา ซึ่งเท่ากับสร้างข้อผูกมัดให้คณะผู้แทนการเจรจาไม่มีอิสระหาคำตอบเป็นอย่างอื่นนอกจากต้องเจรจาภายใต้คำตอบที่มองเห็นอย่างชัดเจนว่า ต้องมี JDA เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์กันเท่านั้น.. อย่างนี้เรียกว่า MOU2544 ล็อกสเปก ใช่หรือไม่?
คำถามที่ตามมาคือเป็น MOU 2544 ล็อกสเปก มันเสียหายอย่างไร? การหาคำตอบประเด็นนี้คงต้องกลับไปดูที่สาระสำคัญของ MOU 2544
MOU 2544 ข้อ 2(ก) และข้อ 2(ข) จะพบว่า มีความขัดแย้งกัน กล่าวคือในเมื่อยอมรับว่าพื้นที่ด้านเหนือของเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันยังต้องมีการเจรจาตัวเลขเขตแดนทางทะเล (ทะเลอาณาเขต-เส้นเขตไหล่ทวีป-เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) ดังนั้นหากเขตแดนทางทะเลด้านเหนือเส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้พื้นที่ JDA ด้านใต้เส้นแลตติจูด 11 องศาเหนือ เปลี่ยนแปลงไปด้วย
แต่การที่ MOU 2544 ข้อ 2(ก) กำหนดให้ไม่ต้องเจรจาตัวเลขจำนวนพื้นที่ JDA และให้เจรจา"ตัวเลขแบ่งปันผลประโยชน์"เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ขัดกันเองในสาระสำคัญของ MOU 2544 และหากพิจารณาข้อเท็จจริงจะได้คำตอบที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า
1. เขตแดนทางทะเลในพื้นที่ด้านบนเหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ ต้องเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นคุณกับไทย เพราะเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตที่ 73 มายังเกาะกูด เป็นเส้นที่ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายใดๆ ยอมรับ
2.ผลจากความเป็นจริงที่ว่า เขตแดนทางทะเลดังกล่าวต้องเปลี่ยนไปในทิศทางที่เป็นคุณกับไทยนั้นย่อมส่งผลกระทบให้ "จำนวนพื้นที่ที่ทำ JDA เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นคุณกับฝ่ายไทยด้วย" กล่าวคือ จำนวนพื้นที่ทับซ้อนใน JDA จะเป็นของไทยมากว่ากัมพูชาและจะส่งผลให้ไทยมีสิทธิอธิปไตยในทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ากัมพูชา
แต่ใน MOU 2544 กลับไปกำหนดว่า ไม่ต้องเจรจาเรื่องจำนวนพื้นที่ใน JDA ให้เจรจาเรื่องตัวเลขการแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติโดยถือว่าทับซ้อนชอบธรรมแล้ว การเจรจาบนพื้นฐานอย่างนี้ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายสูญเสียสิทธิอธิปไตยอันพึงมีพึงได้ไปตามข้อกำหนดใน MOU2544 แล้วใช่หรือไม่?
ดังนั้นท่านผู้อ่านคงพอจะมองเห็นคำตอบได้แล้วใช่ไหมว่า MOU 2544 ล็อกสเปก..ทำให้ไทยเสียเปรียบจริงหรือไม่?