“ฝน 4 ประเภท คือ :
1. ฟ้าคำราม แต่ฝนไม่ตก เปรียบได้กับผู้ที่พูด แต่ไม่ทำ
2. ฝนตก แต่ฟ้าไม่คำราม เปรียบได้กับผู้ที่ทำ แต่ไม่พูด
3. ทั้งฟ้าไม่คำราม ทั้งฝนไม่ตก เปรียบได้กับผู้ที่ทั้งไม่พูด ทั้งไม่ทำ
4. ทั้งฟ้าคำราม ทั้งฝนก็ตก เปรียบได้กับผู้ที่ทั้งพูด ทั้งทำ” นี่คือพุทธพจน์ซึ่งปรากฏที่มาในพระไตรปิฎก เล่มที่ 21 ตติยปัณณาสก์
เนื้อหาและสาระของพุทธพจน์บทนี้เป็นการสอนในเชิงเปรียบเทียบ หรืออุปมาอุปไมยโดยเปรียบเทียบพฤติกรรมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ ฟ้าร้อง และฝนตก ซึ่งปกติมักจะเกิดคู่กัน จะมีอยู่บ้างที่ฟ้าร้อง แต่ฝนไม่ตก และฝนตก แต่ฟ้าไม่ร้อง และในปรากฏการณ์ 2 ประการนี้ มนุษย์ถือว่าฝนให้คุณ คือ ทำให้มีน้ำกิน มีน้ำใช้เพื่อการดำรงชีวิต แต่ฟ้าร้องเป็นที่หวาดกลัว และไม่ปรารถนาของคน
โดยนัยแห่งการเปรียบเทียบพฤติกรรมของคนกับสิ่งที่คนต้องการคือ ฝน และสิ่งที่ไม่ต้องการคือ ฟ้าร้อง จะเห็นได้ว่าในฝน 4 ประเภทนี้ ถ้ายึดถือว่าการที่ฝนตกเป็นประเภทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ และการที่ฟ้าคำรามเป็นประเภทที่ก่อให้เกิดโทษ ก็สามารถจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
1. ส่วนที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพียงอย่างเดียว ได้แก่ประเภทที่สอง และส่วนที่ก่อให้เกิดโทษเพียงอย่างเดียว ได้แก่ประเภทที่ 1
2. ส่วนที่ทั้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งไม่ก่อให้เกิดโทษ ได้แก่ประเภทที่ 3 และในทางกลับกัน ทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ และทั้งก่อให้เกิดโทษ ได้แก่ประเภทที่ 4
แต่อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งปุถุชนคนมีกิเลส ประเภททำอย่างเดียวโดยไม่พูดคงหาได้ยาก แต่จะหาได้ง่ายและพบได้อย่างดาษดื่น เห็นจะได้แก่ประเภทที่ 1 คือพูดแต่ไม่ทำ หรือทำได้น้อยกว่าที่พูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักการเมืองในระบบเลือกตั้ง และช่วงปราศรัยหาเสียงเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในยุคที่ทุกพรรคแข่งขันกันเสนอนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง ในห้วงแห่งเวลาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน
ทำไมนักการเมืองพูดแล้วทำไม่ได้ หรือได้น้อยกว่าที่พูด และการที่นักการเมืองมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ ถือว่าเข้าข่ายโกหกหรือหลอกลวงตามนัยแห่งศีลข้อมุสาได้หรือไม่?
ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูที่มาของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทุกคนจะต้องผ่านการเลือกตั้งโดยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งทางการเมือง และก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกตั้ง กิจกรรมประการหนึ่งที่นักการเมืองทุกคน และจากทุกพรรคการเมืองจะต้องทำคือ ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้แก่ตนเอง และพรรคที่ตนเองสังกัด และนี่เองคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักการเมืองต้องพูด และเป็นที่แน่นอนว่าสิ่งที่นักการเมืองจะต้องพูดก็คือ ถ้าเลือกตนเอง และพรรตนเองแล้วประชาชนจะได้อะไรเป็นเครื่องตอบแทนจากการเลือก
การพูดในลักษณะนี้เอง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้คนฟังเกิดความหวัง และเกิดความศรัทธา
จริงอยู่ ถ้ามองในแง่ของเหตุและผลแล้ว คนที่พอจะมีความคิดและคาดการณ์ในเรื่องต่างๆ ได้ด้วยตนเองก็อาจไม่เชื่อจนกว่าจะได้ศึกษาในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นได้จริงอย่างที่นักการเมืองพูดหรือไม่ และถ้าเห็นว่ามีโอกาสเป็นจริงได้จึงค่อยเลือก ในทางกลับกัน เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ก็ไม่เลือก นี่คือคนที่คิดก่อนเลือก และไม่เลือก
แต่ในคนที่มีการศึกษาน้อย และมีความคิดน้อย แต่มีความโลภมากคงไม่คิด และไม่ไตร่ตรองมากนัก และคนกลุ่มนี้เองคือเหยื่อทางการเมืองของนักเลือกตั้งประเภทพูดไปก่อนแล้วนำมาคิดทีหลังว่าทำได้หรือไม่ได้ ดังที่ได้เกิดขึ้นแก่นักการเมืองและพรรคการเมืองที่เน้นนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง ดังที่พรรคเพื่อไทยประสบอยู่ในขณะนี้จากนโยบายลดภาษีให้แก่ผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก และรถคันแรกที่ยังออกมาเป็นรูปธรรมไม่ได้อยู่ในขณะนี้
นอกจากนโยบายลดภาษีที่ว่านี้แล้ว นโยบายเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ปริญญาตรี 15,000 บาท ก็ยังเป็นลูกผีลูกคนว่าทำได้หรือไม่ได้ทั่วถึง และได้ทั่วทั้งประเทศหรือไม่ และเมื่อใด
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เป็นการพูดไปก่อนเพื่อให้ได้รับชัยชนะทางการเมือง และการที่นักการเมืองต้องพูดเช่นนี้ก็ด้วยเหตุผลเดียวคือ ต้องการชัยชนะ แต่จะทำได้หรือไม่ขอให้ได้เป็นรัฐบาลก่อนแล้วค่อยคิดทีหลัง
ส่วนประเด็นที่ว่าเข้าข่ายโกหกหรือหลอกลวงหรือไม่นั้น ก็ขอให้ดูคำจำกัดความคำว่า โกหก ตามนัยแห่งคำสอนในพุทธศาสนามาเป็นมาตรฐานในการบอกว่าโกหกหรือไม่?
องค์ประกอบในการพูดโหกมีอยู่ดังนี้
1. เรื่องนั้นเป็นเรื่องไม่จริง
2. ผู้พูดรู้อยู่ว่าเป็นเรื่องไม่จริง
3. เจตนาพูดให้ผู้ฟังคล้อยตามว่าเป็นเรื่องจริง และเชื่อตามนั้น ทั้งผู้พูดได้ประโยชน์จากความเชื่อนั้น และผู้เชื่อเสียประโยชน์จากการเชื่อตามนั้น
จากนัยแห่งคำนิยามดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่านักการเมืองพูดตอนหาเสียงคงไม่เข้าข่ายโกหก เพราะคงไม่มีใครคิดและคาดการณ์ได้ว่าเรื่องที่ตนเองพูดจะมีคนอื่นเชื่อหรือไม่ ทั้งเชื่อแล้วตนเองจะได้ประโยชน์จากความเชื่อหรือไม่ ในกรณีที่เกิดขึ้นก่อนเลือกตั้ง และนักการเมืองทุกคนที่อยู่ในภาวะเดียวกันคือพูดเพื่อให้คนเลือกตนเอง
แต่ในประเด็นหลอกลวง จะต้องดูว่าเมื่อนักการเมือง และพรรคการเมืองที่พูดไว้อย่างไร ทำไม่ได้หรือไม่ทำตามนั้นก็พออนุมานได้ว่าหลอกลวง ถ้าอยู่ในภาวะทำได้แล้วไม่ทำ หรือแม้ในกรณีทำได้ไม่ครบถ้วน ถ้ามีเจตนามาตั้งแต่แรกแล้วว่าพูดๆ ไปเถอะในตอนหาเสียง แต่เมื่อมาเป็นรัฐบาลแล้วไม่ทำก็ได้เช่นที่นักการเมืองบางคนพูด ก็หนีไม่พ้นคำว่า หลอกลวง เช่นกัน
ไม่ว่าพูดแล้วไม่ทำหรือทำไม่ได้เข้าข่ายโกหกหรือหลอกลวงหรือไม่ ก็คงหนีไม่พ้นคำว่า รัฐบาลดีแต่พูด หรือดีแต่โม้อยู่นั่นเอง และรัฐบาลประเภทนี้เปรียบได้กับฟ้าร้อง แต่ฝนไม่ตก ตามนัยแห่งฝนประเภทที่ 1
1. ฟ้าคำราม แต่ฝนไม่ตก เปรียบได้กับผู้ที่พูด แต่ไม่ทำ
2. ฝนตก แต่ฟ้าไม่คำราม เปรียบได้กับผู้ที่ทำ แต่ไม่พูด
3. ทั้งฟ้าไม่คำราม ทั้งฝนไม่ตก เปรียบได้กับผู้ที่ทั้งไม่พูด ทั้งไม่ทำ
4. ทั้งฟ้าคำราม ทั้งฝนก็ตก เปรียบได้กับผู้ที่ทั้งพูด ทั้งทำ” นี่คือพุทธพจน์ซึ่งปรากฏที่มาในพระไตรปิฎก เล่มที่ 21 ตติยปัณณาสก์
เนื้อหาและสาระของพุทธพจน์บทนี้เป็นการสอนในเชิงเปรียบเทียบ หรืออุปมาอุปไมยโดยเปรียบเทียบพฤติกรรมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ ฟ้าร้อง และฝนตก ซึ่งปกติมักจะเกิดคู่กัน จะมีอยู่บ้างที่ฟ้าร้อง แต่ฝนไม่ตก และฝนตก แต่ฟ้าไม่ร้อง และในปรากฏการณ์ 2 ประการนี้ มนุษย์ถือว่าฝนให้คุณ คือ ทำให้มีน้ำกิน มีน้ำใช้เพื่อการดำรงชีวิต แต่ฟ้าร้องเป็นที่หวาดกลัว และไม่ปรารถนาของคน
โดยนัยแห่งการเปรียบเทียบพฤติกรรมของคนกับสิ่งที่คนต้องการคือ ฝน และสิ่งที่ไม่ต้องการคือ ฟ้าร้อง จะเห็นได้ว่าในฝน 4 ประเภทนี้ ถ้ายึดถือว่าการที่ฝนตกเป็นประเภทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ และการที่ฟ้าคำรามเป็นประเภทที่ก่อให้เกิดโทษ ก็สามารถจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
1. ส่วนที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพียงอย่างเดียว ได้แก่ประเภทที่สอง และส่วนที่ก่อให้เกิดโทษเพียงอย่างเดียว ได้แก่ประเภทที่ 1
2. ส่วนที่ทั้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งไม่ก่อให้เกิดโทษ ได้แก่ประเภทที่ 3 และในทางกลับกัน ทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ และทั้งก่อให้เกิดโทษ ได้แก่ประเภทที่ 4
แต่อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งปุถุชนคนมีกิเลส ประเภททำอย่างเดียวโดยไม่พูดคงหาได้ยาก แต่จะหาได้ง่ายและพบได้อย่างดาษดื่น เห็นจะได้แก่ประเภทที่ 1 คือพูดแต่ไม่ทำ หรือทำได้น้อยกว่าที่พูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักการเมืองในระบบเลือกตั้ง และช่วงปราศรัยหาเสียงเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในยุคที่ทุกพรรคแข่งขันกันเสนอนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง ในห้วงแห่งเวลาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน
ทำไมนักการเมืองพูดแล้วทำไม่ได้ หรือได้น้อยกว่าที่พูด และการที่นักการเมืองมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ ถือว่าเข้าข่ายโกหกหรือหลอกลวงตามนัยแห่งศีลข้อมุสาได้หรือไม่?
ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูที่มาของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทุกคนจะต้องผ่านการเลือกตั้งโดยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งทางการเมือง และก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกตั้ง กิจกรรมประการหนึ่งที่นักการเมืองทุกคน และจากทุกพรรคการเมืองจะต้องทำคือ ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้แก่ตนเอง และพรรคที่ตนเองสังกัด และนี่เองคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักการเมืองต้องพูด และเป็นที่แน่นอนว่าสิ่งที่นักการเมืองจะต้องพูดก็คือ ถ้าเลือกตนเอง และพรรตนเองแล้วประชาชนจะได้อะไรเป็นเครื่องตอบแทนจากการเลือก
การพูดในลักษณะนี้เอง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้คนฟังเกิดความหวัง และเกิดความศรัทธา
จริงอยู่ ถ้ามองในแง่ของเหตุและผลแล้ว คนที่พอจะมีความคิดและคาดการณ์ในเรื่องต่างๆ ได้ด้วยตนเองก็อาจไม่เชื่อจนกว่าจะได้ศึกษาในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นได้จริงอย่างที่นักการเมืองพูดหรือไม่ และถ้าเห็นว่ามีโอกาสเป็นจริงได้จึงค่อยเลือก ในทางกลับกัน เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ก็ไม่เลือก นี่คือคนที่คิดก่อนเลือก และไม่เลือก
แต่ในคนที่มีการศึกษาน้อย และมีความคิดน้อย แต่มีความโลภมากคงไม่คิด และไม่ไตร่ตรองมากนัก และคนกลุ่มนี้เองคือเหยื่อทางการเมืองของนักเลือกตั้งประเภทพูดไปก่อนแล้วนำมาคิดทีหลังว่าทำได้หรือไม่ได้ ดังที่ได้เกิดขึ้นแก่นักการเมืองและพรรคการเมืองที่เน้นนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง ดังที่พรรคเพื่อไทยประสบอยู่ในขณะนี้จากนโยบายลดภาษีให้แก่ผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก และรถคันแรกที่ยังออกมาเป็นรูปธรรมไม่ได้อยู่ในขณะนี้
นอกจากนโยบายลดภาษีที่ว่านี้แล้ว นโยบายเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ปริญญาตรี 15,000 บาท ก็ยังเป็นลูกผีลูกคนว่าทำได้หรือไม่ได้ทั่วถึง และได้ทั่วทั้งประเทศหรือไม่ และเมื่อใด
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เป็นการพูดไปก่อนเพื่อให้ได้รับชัยชนะทางการเมือง และการที่นักการเมืองต้องพูดเช่นนี้ก็ด้วยเหตุผลเดียวคือ ต้องการชัยชนะ แต่จะทำได้หรือไม่ขอให้ได้เป็นรัฐบาลก่อนแล้วค่อยคิดทีหลัง
ส่วนประเด็นที่ว่าเข้าข่ายโกหกหรือหลอกลวงหรือไม่นั้น ก็ขอให้ดูคำจำกัดความคำว่า โกหก ตามนัยแห่งคำสอนในพุทธศาสนามาเป็นมาตรฐานในการบอกว่าโกหกหรือไม่?
องค์ประกอบในการพูดโหกมีอยู่ดังนี้
1. เรื่องนั้นเป็นเรื่องไม่จริง
2. ผู้พูดรู้อยู่ว่าเป็นเรื่องไม่จริง
3. เจตนาพูดให้ผู้ฟังคล้อยตามว่าเป็นเรื่องจริง และเชื่อตามนั้น ทั้งผู้พูดได้ประโยชน์จากความเชื่อนั้น และผู้เชื่อเสียประโยชน์จากการเชื่อตามนั้น
จากนัยแห่งคำนิยามดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่านักการเมืองพูดตอนหาเสียงคงไม่เข้าข่ายโกหก เพราะคงไม่มีใครคิดและคาดการณ์ได้ว่าเรื่องที่ตนเองพูดจะมีคนอื่นเชื่อหรือไม่ ทั้งเชื่อแล้วตนเองจะได้ประโยชน์จากความเชื่อหรือไม่ ในกรณีที่เกิดขึ้นก่อนเลือกตั้ง และนักการเมืองทุกคนที่อยู่ในภาวะเดียวกันคือพูดเพื่อให้คนเลือกตนเอง
แต่ในประเด็นหลอกลวง จะต้องดูว่าเมื่อนักการเมือง และพรรคการเมืองที่พูดไว้อย่างไร ทำไม่ได้หรือไม่ทำตามนั้นก็พออนุมานได้ว่าหลอกลวง ถ้าอยู่ในภาวะทำได้แล้วไม่ทำ หรือแม้ในกรณีทำได้ไม่ครบถ้วน ถ้ามีเจตนามาตั้งแต่แรกแล้วว่าพูดๆ ไปเถอะในตอนหาเสียง แต่เมื่อมาเป็นรัฐบาลแล้วไม่ทำก็ได้เช่นที่นักการเมืองบางคนพูด ก็หนีไม่พ้นคำว่า หลอกลวง เช่นกัน
ไม่ว่าพูดแล้วไม่ทำหรือทำไม่ได้เข้าข่ายโกหกหรือหลอกลวงหรือไม่ ก็คงหนีไม่พ้นคำว่า รัฐบาลดีแต่พูด หรือดีแต่โม้อยู่นั่นเอง และรัฐบาลประเภทนี้เปรียบได้กับฟ้าร้อง แต่ฝนไม่ตก ตามนัยแห่งฝนประเภทที่ 1