หะแรกคิดว่าระบอบทักษิณภายใต้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะค่อยๆ ย่างสามขุมในการกระชับกุมอำนาจประเทศไทยในรอบนี้ แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งถล่มทลายได้เสียงเกินครึ่ง ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์เกือบ 17 ล้านเสียงก็ตาม แต่อย่างน้อยก็น่าจะเกรงอกเกรงใจเจ้าของประเทศอีกหลายสิบล้านเสียงกันบ้าง...อย่างน้อยก็น่าจะทำให้เนียนหรือให้ดูดีดูชอบธรรมกว่านี้หน่อย....หรือไม่ก็ควรจะโชว์ผลงานให้เข้าตาประชาชนสักพักหนึ่งก่อน แล้วค่อยมาออดอ้อนขอความเห็นใจ...
แต่ก็อย่างที่เห็นและเป็นไปนั่นแหละครับ...จากพฤติการณ์พฤติกรรมที่เห็น พรรคเพื่อไทย, ระบอบทักษิณเขาฟันธงเปรี้ยงปร้างตั้งแต่นาทีแรกแล้วว่า “อำนาจคือความชอบธรรม” ส่วนวาทกรรมของนายกฯ คนสวยที่ว่า “จะแก้ไขไม่แก้แค้น” นั้นก็พูดให้มันเท่ๆ ดูเก๋ไก๋ไปเท่านั้นเอง สุดท้ายก็ขี้หกทั้งเพ...!!
ดังนั้น วันนี้ข่าวเด่นประเด็นร้อนเรื่อง พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 ที่จะเป็นพาหนะนำทักษิณให้พ้นโทษและได้กลับบ้าน จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่น่าจับตายิ่ง...เดี๋ยวมาว่ากัน..
ย้อนมองกระบวนท่า “คิดไวทำไว” ภายใต้ยุทธศาสตร์ “อำนาจคือความชอบธรรม” ของพรรคเพื่อไทย-ระบอบทักษิณก็ต้องยอมรับว่าเป็นวิธีคิดที่สะท้อนตัวตนของคนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นอย่างดี...โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการ “ตอบแทน” ให้กับคนที่รับใช้ระบอบทักษิณอย่างไม่ลังเล..ไม่คิดเล็กคิดน้อย ไม่สนใจว่าคนเขาจะกล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลคนเสื้อแดงเสื้อดำอะไรทั้งนั้น...กรณีนี้จะผิดจะถูกก็ว่ากันไป แต่ต้องยอมรับว่าคนชื่อแม้วเขานักเลง....อย่างน้อยเขาก็ได้ใจขบวนการที่ต่อสู้สนับสนุนเขา หรือแม้แต่เราๆ ท่านๆ หลายคนก็อาจจะชอบสไตล์ผู้นำแบบนี้
ลองมาขีดเส้นใต้ การกระชับอำนาจแบบคิดไวทำไวไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหมของระบอบทักษิณ ดูสักนิด...
1) ตอบแทนนักรบแดงที่ร่วมเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองทั้งสองรอบ คือ เมษา 2552 และพฤษภา 2553 ให้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อประมาณ 20 คน และติดตามด้วยการปูนบำเหน็จตำแหน่งทางการเมืองอีกนับร้อยคน โดยใช้ยุทธวิธีค่อยๆ ทยอยปล่อยออกมาทีละชุดๆ เบ็ดเสร็จคาดว่าจะมีคำสั่งออกมาประมาณ 6 รอบ...รอบแรกๆ อาจจะมีเสียงฮือฮาด่าขรมกันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่รอบหลังๆ กลายเป็นความชินชาไปแล้ว...
สรุปว่าวันนี้...คุณน้องอารี ไกรนรา, คุณพี่เจ๋ง ดอกจิก, คุณน้าไพจิตร อักษรณรงค์, คุณลุงชินวัฒน์ หาบุญพาด และ ฯลฯ จาก “ไพร่แดง” ได้กลายเป็น “อำมาตย์แดง” แต่งเติมให้ทำเนียบรัฐบาลกลายเป็น “ทำเนียบแดง” สมบูรณ์แบบเรียบร้อยโรงเรียน นปช. ณ รัฐไทยใหม่ ไปแล้ว...
2) ปฏิบัติการยึดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เมื่อยังไม่สามารถยึดกองทัพได้ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ ระบอบทักษิณก็หันมายึด สตช.ซึ่งมี ผบ.ตร.คือ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ไม่ได้มีบารมีหรือมีแบ็กอัพที่แข็งแกร่งและผลงานก็ยังไม่โดดเด่นเพียงพอ โดยกดดันให้ พล.ต.อ.วิเชียรลาออกโดยสมัครใจ (ทั้งๆ ที่ไม่เต็มใจ) เปิดทางโล่งให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ภรรยาของทักษิณขึ้นแท่น...และนับจากนี้ไปเป็นที่แน่นอนว่า “รัฐตำรวจ” ในยุคใหม่ของระบอบทักษิณก็จะเกิดขึ้น และจะทำหน้าที่แย่งซีนแย่งบทบาทของกองทัพได้หลายฉากทีเดียว...นั่นยังไม่นับการใช้ตำรวจเป็นฐานการเมืองในอนาคต...
3) การจัดทัพปรับแถวข้าราชการใหม่แทบทุกกระทรวงทบวงกรม จะเป็นการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะส่วนบนเท่านั้น หากแต่จะลงลึกถึงระดับล่าง ซึ่งมีรายละเอียดมาก และวันนี้ก็เริ่มชัดเจนขึ้นตามลำดับแล้ว โปรดจับตาและติดตามกันให้จงดี...
อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวเช่นนี้อยู่บนพื้นฐานที่ว่า...รัฐบาลมีอำนาจมีความชอบธรรมที่จะแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ หรือวางคนให้ถูกกับงานได้อยู่แล้ว เพียงแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม และยึดระบบคุณธรรม ต้องไม่ไปส่งเสริมค่านิยม ที่ว่า “ค่าของคน อยู่ที่เป็นคนของใคร”
4) การตั้งองค์กรใหม่ๆ ที่อาจมีวาระซ่อนเร้นในอนาคต....แม้ว่ารัฐบาลปูจะพยายามบอกว่าจะนำพาประเทศไปสู่การปรองดอง และบอกว่าจะยึดผลการศึกษาของคณะกรรมการฯ ชุด ดร.คณิต ณ นคร เป็นพื้นฐาน แต่ที่ผ่านมาไม่มีความชัดเจนแม้แต่น้อยว่า รัฐบาลจะ “ปรองดอง” แบบไหน อย่างไร ที่เห็นและเป็นไปดูเหมือนจะเป็นการ “ปรองแดง” เสียมากกว่า ดังที่กล่าวมาแล้วในข้อแรก
ล่าสุดรัฐบาลโดยมติ ครม.วันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ตั้ง “คณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)” นัยว่าเพื่อทำให้ระบบยุติธรรมไม่มีคำว่า “สองมาตรฐาน” ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในแวดวงตุลาการ
ฯลฯ
ครับ นั่นคือตัวอย่างส่วนหนึ่งของการกระชับอำนาจที่ไม่น่าจะเป็นเพียงการเมืองพื้นๆ หากแต่น่าจะเป็นการเมืองที่หวังผลระยะยาว แต่จะอย่างไรก็ตามเรื่องราวเหล่านี้ยังไม่น่าสนใจหรือร้อนแรงเท่ากับเรื่องเฉพาะหน้านี้กรณี “พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554” ที่รัฐบาลปรองแดงจะสวมรอย “พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2553” ที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้แก้ไขปูทางเอาไว้แล้วว่าคนที่เหลือโทษไม่เกิน 3 ปีอยู่ในข่ายที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ทั้งๆ ที่พระราชกฤษฎีกาฯ ก่อนหน้านั้นทุกฉบับกำหนดโทษที่เหลือของผู้ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษไว้สูงมาก...
แต่ก็เอาเถอะ ประเด็นปัญหาหรือเรื่องสำคัญมันอยู่ตรงที่ว่าสุดท้าย รัฐบาลปูและ “ทักษิณ” กล้าหาญชาญชัยที่จะเดินหน้าชนในเรื่องนี้ใช่หรือไม่?? ถ้าจะเดินหน้าก็ต้องบอกตรงๆ ว่าให้บอกกล่าวกับประชาชนเสียแต่เดี๋ยวนี้อย่างตรงไปตรงมา อย่าหักดิบกันด้วยเวลาปุบปับ เพราะเรื่องนี้สุดท้ายแล้วเป็นเรื่องของพระราชอำนาจ ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการดำเนินการ...
ดังว่ามาทั้งหมดก็เพื่อเตือนสติรัฐบาลให้รู้จักยับยั้งชั่งใจในการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง และการใช้อำนาจ อย่าคิดว่ามี 17 ล้านเสียงแล้วจะทำอะไรก็ได้ หากแต่ควรคิดกลับด้านว่าจะทำให้คนอีกหลายสิบล้านเห็นด้วยได้อย่างไร...
เลือกตั้งปี 2548 ได้มาตั้ง 19 ล้านเสียง ก็ยังหยุดกระแสประชาชนในปี 2549 ไม่อยู่!!??
คิดเรื่อง “พี่ชาย” ให้ดีๆ นะครับท่านนายกฯ!!??
แต่ก็อย่างที่เห็นและเป็นไปนั่นแหละครับ...จากพฤติการณ์พฤติกรรมที่เห็น พรรคเพื่อไทย, ระบอบทักษิณเขาฟันธงเปรี้ยงปร้างตั้งแต่นาทีแรกแล้วว่า “อำนาจคือความชอบธรรม” ส่วนวาทกรรมของนายกฯ คนสวยที่ว่า “จะแก้ไขไม่แก้แค้น” นั้นก็พูดให้มันเท่ๆ ดูเก๋ไก๋ไปเท่านั้นเอง สุดท้ายก็ขี้หกทั้งเพ...!!
ดังนั้น วันนี้ข่าวเด่นประเด็นร้อนเรื่อง พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 ที่จะเป็นพาหนะนำทักษิณให้พ้นโทษและได้กลับบ้าน จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่น่าจับตายิ่ง...เดี๋ยวมาว่ากัน..
ย้อนมองกระบวนท่า “คิดไวทำไว” ภายใต้ยุทธศาสตร์ “อำนาจคือความชอบธรรม” ของพรรคเพื่อไทย-ระบอบทักษิณก็ต้องยอมรับว่าเป็นวิธีคิดที่สะท้อนตัวตนของคนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นอย่างดี...โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการ “ตอบแทน” ให้กับคนที่รับใช้ระบอบทักษิณอย่างไม่ลังเล..ไม่คิดเล็กคิดน้อย ไม่สนใจว่าคนเขาจะกล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลคนเสื้อแดงเสื้อดำอะไรทั้งนั้น...กรณีนี้จะผิดจะถูกก็ว่ากันไป แต่ต้องยอมรับว่าคนชื่อแม้วเขานักเลง....อย่างน้อยเขาก็ได้ใจขบวนการที่ต่อสู้สนับสนุนเขา หรือแม้แต่เราๆ ท่านๆ หลายคนก็อาจจะชอบสไตล์ผู้นำแบบนี้
ลองมาขีดเส้นใต้ การกระชับอำนาจแบบคิดไวทำไวไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหมของระบอบทักษิณ ดูสักนิด...
1) ตอบแทนนักรบแดงที่ร่วมเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองทั้งสองรอบ คือ เมษา 2552 และพฤษภา 2553 ให้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อประมาณ 20 คน และติดตามด้วยการปูนบำเหน็จตำแหน่งทางการเมืองอีกนับร้อยคน โดยใช้ยุทธวิธีค่อยๆ ทยอยปล่อยออกมาทีละชุดๆ เบ็ดเสร็จคาดว่าจะมีคำสั่งออกมาประมาณ 6 รอบ...รอบแรกๆ อาจจะมีเสียงฮือฮาด่าขรมกันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่รอบหลังๆ กลายเป็นความชินชาไปแล้ว...
สรุปว่าวันนี้...คุณน้องอารี ไกรนรา, คุณพี่เจ๋ง ดอกจิก, คุณน้าไพจิตร อักษรณรงค์, คุณลุงชินวัฒน์ หาบุญพาด และ ฯลฯ จาก “ไพร่แดง” ได้กลายเป็น “อำมาตย์แดง” แต่งเติมให้ทำเนียบรัฐบาลกลายเป็น “ทำเนียบแดง” สมบูรณ์แบบเรียบร้อยโรงเรียน นปช. ณ รัฐไทยใหม่ ไปแล้ว...
2) ปฏิบัติการยึดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เมื่อยังไม่สามารถยึดกองทัพได้ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ ระบอบทักษิณก็หันมายึด สตช.ซึ่งมี ผบ.ตร.คือ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ไม่ได้มีบารมีหรือมีแบ็กอัพที่แข็งแกร่งและผลงานก็ยังไม่โดดเด่นเพียงพอ โดยกดดันให้ พล.ต.อ.วิเชียรลาออกโดยสมัครใจ (ทั้งๆ ที่ไม่เต็มใจ) เปิดทางโล่งให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ภรรยาของทักษิณขึ้นแท่น...และนับจากนี้ไปเป็นที่แน่นอนว่า “รัฐตำรวจ” ในยุคใหม่ของระบอบทักษิณก็จะเกิดขึ้น และจะทำหน้าที่แย่งซีนแย่งบทบาทของกองทัพได้หลายฉากทีเดียว...นั่นยังไม่นับการใช้ตำรวจเป็นฐานการเมืองในอนาคต...
3) การจัดทัพปรับแถวข้าราชการใหม่แทบทุกกระทรวงทบวงกรม จะเป็นการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะส่วนบนเท่านั้น หากแต่จะลงลึกถึงระดับล่าง ซึ่งมีรายละเอียดมาก และวันนี้ก็เริ่มชัดเจนขึ้นตามลำดับแล้ว โปรดจับตาและติดตามกันให้จงดี...
อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวเช่นนี้อยู่บนพื้นฐานที่ว่า...รัฐบาลมีอำนาจมีความชอบธรรมที่จะแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ หรือวางคนให้ถูกกับงานได้อยู่แล้ว เพียงแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม และยึดระบบคุณธรรม ต้องไม่ไปส่งเสริมค่านิยม ที่ว่า “ค่าของคน อยู่ที่เป็นคนของใคร”
4) การตั้งองค์กรใหม่ๆ ที่อาจมีวาระซ่อนเร้นในอนาคต....แม้ว่ารัฐบาลปูจะพยายามบอกว่าจะนำพาประเทศไปสู่การปรองดอง และบอกว่าจะยึดผลการศึกษาของคณะกรรมการฯ ชุด ดร.คณิต ณ นคร เป็นพื้นฐาน แต่ที่ผ่านมาไม่มีความชัดเจนแม้แต่น้อยว่า รัฐบาลจะ “ปรองดอง” แบบไหน อย่างไร ที่เห็นและเป็นไปดูเหมือนจะเป็นการ “ปรองแดง” เสียมากกว่า ดังที่กล่าวมาแล้วในข้อแรก
ล่าสุดรัฐบาลโดยมติ ครม.วันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ตั้ง “คณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)” นัยว่าเพื่อทำให้ระบบยุติธรรมไม่มีคำว่า “สองมาตรฐาน” ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในแวดวงตุลาการ
ฯลฯ
ครับ นั่นคือตัวอย่างส่วนหนึ่งของการกระชับอำนาจที่ไม่น่าจะเป็นเพียงการเมืองพื้นๆ หากแต่น่าจะเป็นการเมืองที่หวังผลระยะยาว แต่จะอย่างไรก็ตามเรื่องราวเหล่านี้ยังไม่น่าสนใจหรือร้อนแรงเท่ากับเรื่องเฉพาะหน้านี้กรณี “พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554” ที่รัฐบาลปรองแดงจะสวมรอย “พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2553” ที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ได้แก้ไขปูทางเอาไว้แล้วว่าคนที่เหลือโทษไม่เกิน 3 ปีอยู่ในข่ายที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ทั้งๆ ที่พระราชกฤษฎีกาฯ ก่อนหน้านั้นทุกฉบับกำหนดโทษที่เหลือของผู้ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษไว้สูงมาก...
แต่ก็เอาเถอะ ประเด็นปัญหาหรือเรื่องสำคัญมันอยู่ตรงที่ว่าสุดท้าย รัฐบาลปูและ “ทักษิณ” กล้าหาญชาญชัยที่จะเดินหน้าชนในเรื่องนี้ใช่หรือไม่?? ถ้าจะเดินหน้าก็ต้องบอกตรงๆ ว่าให้บอกกล่าวกับประชาชนเสียแต่เดี๋ยวนี้อย่างตรงไปตรงมา อย่าหักดิบกันด้วยเวลาปุบปับ เพราะเรื่องนี้สุดท้ายแล้วเป็นเรื่องของพระราชอำนาจ ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการดำเนินการ...
ดังว่ามาทั้งหมดก็เพื่อเตือนสติรัฐบาลให้รู้จักยับยั้งชั่งใจในการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง และการใช้อำนาจ อย่าคิดว่ามี 17 ล้านเสียงแล้วจะทำอะไรก็ได้ หากแต่ควรคิดกลับด้านว่าจะทำให้คนอีกหลายสิบล้านเห็นด้วยได้อย่างไร...
เลือกตั้งปี 2548 ได้มาตั้ง 19 ล้านเสียง ก็ยังหยุดกระแสประชาชนในปี 2549 ไม่อยู่!!??
คิดเรื่อง “พี่ชาย” ให้ดีๆ นะครับท่านนายกฯ!!??