วานนี้ ( 31 ก.ค. ) ที่สมาคมส่งเสริมชาวคลองเตย ตลาดคลองเตย ถนนพระราม 4 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานในพิธีรับมอบตำแหน่งนายกฯ สมาคมส่งเสริมชาวคลองเตย สมัยที่ 19 ถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคมนี้ว่า น่าจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของรัฐบาลนี้ ซึ่งเดิมไม่ได้คิดว่าจะต้องมีการประชุมอีก แต่การจัดงานพระราชพิธีให้สมพระเกียรติ เป็นงานที่สำคัญมาก ตนเองได้ให้หน่วยงานต่างๆ ได้รวบรวม เพื่อเตรียมพร้อมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี คิดว่าคงจะมีเรื่องพิจารณาเพียงเรื่องเดียว หากจะมีอีกคงเป็นเรื่องการคืนตำแหน่งให้ นายจาดุร อภิชาตบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ให้กลับไปดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตามเดิม ตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด เพราะหากไม่ทำในวันจันทร์นี้ อาจจะไม่ทันตามเงื่อนเวลาที่ศาลปกครองกำหนดไว้ ซึ่งทาง กพ.ได้คุยกันแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เพราะจะผูกพันกับรัฐบาลชุดใหม่จะมีผลอะไรในทางกฎหมายหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เข้าใจว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย หลังจากที่ศาลปกครองวินิจฉัยให้คืนตำแหน่ง และ กพ.ได้กำหนดอัตรารองรับไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เรื่องของนโยบาย ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ต้องดูมีประเด็นอะไรหรือไม่ เราจะทำเท่าที่จำเป็นเป็น
เมื่อถามว่าหลังประชุม ครม. จะยังเข้าทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังมีหน้าที่อยู่ตามรัฐธรรมนูญ จนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้าถวายสัตย์ ฉะนั้นมีงานอะไรก็ต้องทำ ซึ่งความจริงงานเอกสาร ก็มีอยู่ทุกวัน
**ควรตั้งครม.เสร็จก่อน 10 ส.ค.
เมื่อถามว่า เดือนสิงหาคม จะมีงานราชพิธีที่สำคัญในวันที่ 12 สิงหาคม จะเป็นรอยต่อ ที่ทำให้นายกฯ คนใหม่ได้เข้ามาทำหน้าที่ตรงนั้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังพยายามที่จะให้การดำเนินการในทุกขั้นตอนเร็วที่สุด สภาฯนัดประชุมเลือกประธานสภาฯ ในวันอังคารที่ 2 สิงหาคม ตนหวังอยากให้ทุกอย่างเรียบร้อย ก่อนวันที่ 10 สิงหาคมนี้ และอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เดินหน้า หรือเข้ารับตำแหน่ง และทำหน้าที่ได้เร็วที่สุด เพราะยิ่งช่วงเวลารอยต่อเนิ่นนานเท่าไร จะมีผลกระทบต่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ
เมื่อถามว่า คิดอย่างไรกับการที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ วางกรอบว่า 15 สิงหาคมนี้ น่าจะได้ ครม.ชุดใหม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่จริงใจตนเองอยากให้เร็วกว่านั้น เพราะคิดว่าเมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว น่าจะพร้อมที่จะทูลเกล้าฯ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เลย และจะได้มีการดำเนินการเพื่อเข้าถวายสัตย์ปฎิญาณตน และได้เข้ารับหน้าที่ ใจตนอยากให้ทุกอย่างเสร็จก่อนวันที่ 10 ส.ค.นี้
เมื่อถามว่า คิดว่า ครม.ชุดใหม่ หน้าตาควรจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทางพรรคเพื่อไทย และนายกรัฐมนตรีท่านใหม่ มีหน้าที่ทำให้ดีที่สุด เพื่อให้เข้ามาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใส
เมื่อถามว่ารายชื่อที่มีการเปิดมาตอนนี้เป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีใครทราบข้อเท็จจริง เมื่อวานยังพบปะกับนักการเมืองอาวุโสหลายท่าน ที่เข้าไปเกี่ยวข้องในรัฐบาล ก็บอกว่ายังไม่มีความชัดเจน
เมื่อถามว่า การจัด ครม.ในขณะที่พรรคเพื่อไทย ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งจะมีความง่ายมากขึ้นในเรื่องการวางตัวบุคคลหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ควรจะง่าย เพราะเมื่อมีเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง ก็ต้องถือว่ามีอำนาจที่ค่อนข้างเบ็ดเสร็จในการที่จะสรรหาบุคคลต่างๆ และจัดตำแหน่งต่างๆได้ค่อนข้างอิสระ
** รมต.ต้องตัดสินใจ-รับผิดชอบ
เมื่อถามว่า ถ้าทุกอย่างต้องเคาะจากดูไบ คนที่เข้ามาจะมีความหมายหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ต้องไปถามกระบวนการของเขา เมื่อถามว่า คนที่ข้ามาจะมีความหมายหรือไม่ ถ้า พ .ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังบงการอยู่เบื้องหลัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ ขอย้ำอีกครั้ง รัฐมนตรีทุกท่านรวมทั้งนายกรัฐมนตรีด้วย เมื่อเข้ามารับตำแหน่งแล้วความรับผิดชอบทุกอย่างอยูที่ท่าน การตัดสินใจทำอะไร การบริหารราชการ การที่จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ทั้งหลายมันไม่สามารถที่จะไปบอกว่า คนนั้น คนนี้บอกให้ทำ การตัดสินใจเป็นของตัวท่านเอง ฉะนั้นท่านต้องรับผิดชอบกับการตัดสินใจทุกเรื่อง นี่คือเรื่องที่ต้องชัดเจนในความรับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมา เหตุการณ์ก่อนรัฐประหาร ซึ่งรัฐบาลขณะนั้นทุบโต๊ะโดยนายกฯ จะเกิดปัญหาซ้ำรอยในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าการเมืองไทยผ่านอะไรมามากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หวังว่านักการเมืองทุกฝ่ายเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา อยากจะให้ทุกฝ่ายนำบ้านเมืองก้าวพ้นจากสภาพปัญหา 10 ปี ที่ผ่านมา
**เตือนกกต.เลิกปลุกผี"ปฏิวัติ"
เมื่อถามว่า ดูเหมือนกกต. ก็ยังก้าวไม่พ้น บอกว่าหากขู่ กกต.มากๆ ทหารอาจจะออกมาปฏิวัติ แล้วพรรคเพื่อไทยจะไม่ได้เป็นรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากให้ กกต.ทุกท่าน ระมัดระวังคำพูด เพราะเวลาท่านพูดอะไรแบบนี้ มันกระเทือนกองทัพ ซึ่งเขาไม่ได้รู้เรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วย เขาก็ต้องมานั่งตอบคำถามในเรื่องการรัฐประหาร ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องทั้งสิ้นในยุคนี้แล้ว แล้วมันจะส่งผลกระทบไปตอกย้ำความเชื่อของประชาชน ซึ่งมีความคิดที่หลากหลายไปอีกว่า บ้านเมืองเราทำไมยังมีปัญหาเหล่านี้
สิ่งที่ทางกกต.ต้องพยายามทำให้เห็นก็คือ ท่านต้องทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรง ใครใช้วิธีการไม่ถูกต้องในการข่มขู่ คุกคาม กดดัน คิดจะใช้ความรุนแรง ท่านต้องตอบโต้ด้วยเรื่องกฎหมาย มากกว่าที่จะมาบอกว่า เดี๋ยวการเมืองจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เราต้องแยกกันให้ออก ก็ย้ำมาหลายครั้งว่า ปัญหาของประเทศไทยคือ เรามักจะแยกกันไม่ออกว่า อะไรเป็นกระบวนการทางการเมือง อะไรเป็นกระบวนการทางกฎหมาย ถ้าเราแยกให้ออกตรงนี้ แบ่งหน้าที่ให้ชัด ทุกอย่างก็จะชัดเจน จะไม่สร้างความสับสน และจะไม่สร้างปัญหาใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความสมดุลทางการเมือง ที่ควรกลับมาพร้อมกับการมีรัฐบาลชุดใหม่ แล้วจะทำให้ประเทศเดินหน้าไป คิดว่าควรเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากย้ำว่าหวังให้ทุกอย่างกลับเข้ามาสู่ระบบของสภามากยิ่งขึ้น การเมืองที่ใช้ลักษณะของมวลชนกดดันเรียกร้อง แสดงพลัง หวังว่าจะลดลงไป โดยให้สภาฯทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันรัฐบาลมีภาระหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาของประชาชน แก้ดีไม่ดี สภาฯก็ตรวจสอบ และประชาชนจะดูแล แต่อะไรซึ่งเป็นเรื่องการทำผิดกฎหมาย ไม่ถูกต้อง ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ว่าคนมีอำนาจหรือคนมีผู้สนับสนุนมากแล้วสามารถที่จะทำอะไรผิดได้
** ห่วงแทรกแซง-แทรกซื้อสื่อ
เมื่อถามว่า ห่วงหรือไม่ที่รัฐบาลมีเสียงเบ็ดเสร็จในสภาฯ มากเกินไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก คนเป็นรัฐบาลเป็นฝ่ายบริหาร ต้องมีเสียงข้างมาก ไม่เช่นนั้นเขาก็บริหารไม่ได้ เขาต้องผ่านกฎหมายได้ สามารถผลักดันนโยบายได้ และจะเป็นเรื่องที่ดี เพียงแต่การใช้อำนาจนั้นต้องอยู่บนผลประโยชน์ของประชาชน ถ้าทำทุจริตผิดกฎหมาย ก็ต้องใช้กระบวนการตรวจสอบ ซึ่งเรามีกลไกในสภาฯ และองค์กรอิสระทั้งหลายที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งสื่อมวลชน อยากย้ำว่า ภาคส่วนต่างๆในสังคมไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน องค์กรประชาชน ก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเข้มแข็ง
"ผมไม่ค่อยสบายใจกับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ กับสื่อบางค่าย ที่กลายเป็นว่า ใครเขียนกระทบกับคนที่กำลังจะมามีอำนาจแล้ว ไม่สามารถทำหน้าที่ต่อได้ ผมว่าอย่างนี้เป็นการสูญเสียความเป็นวิชาชีพ คิดว่าน่าจะต้องมีการชี้แจง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า การแทรกซึม แทรกซื้อ แทรกสื่อ จะกลับมาในวงการสื่อมวลชนอีกรอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าเวลานี้ข่าวคราวที่ออกมา หนังสือพิมพ์ค่ายนั้น น่าจะต้องชี้แจง ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อความมั่นใจที่สังคมจะมีได้ ต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในภาพรวม ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ก็ต้องอธิบายกันให้ชัด
เมื่อถามว่า แนวปรองดองที่นายกรัฐมนตรี วางไว้ในการตั้งคณะกรรมการไว้ คิดว่ารัฐบาลใหม่ควรจะมาสานต่ออย่างไรบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นความแสดงออกของการยอมรับคณะกรรมการของ นายคณิต ณ นคร แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ชัดเจนว่า ขอบเขตการทำงาน และจะมีการสร้างกลไกใหม่ขึ้นมาซ้อนหรือไม่ เช่น เดียวกันตนต้องบอกว่าปฏิกิริยาของกลุ่มคนเสื้อแดง และสื่อบางส่วนบ้างที่พูดถึงงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่เสร็จสิ้น ก็เป็นเรื่องที่แปลก ถ้าบอกว่าตั้งธงว่าการสอบจะต้องออกมาอย่างที่ตนเองคิด อันนั้นจะไม่ได้รับความเชื่อถือเช่นเดียวกัน ตนทำหน้าที่เป็นรัฐบาลมาไม่เคยเข้าไปแทรกแซงการทำหน้าที่ในการตรวจสอบขององค์กร อย่างเช่น คณะกรรมการสิทธิฯ แม้กระทั่งคณะกรรมการอิสระ ซึ่งได้ตั้งขึ้นมา ตนอยากเห็นสังคมและรัฐบาลชุดใหม่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน เราต้องเอาความจริงไม่ใช่ว่าเราไปมีความเชื่อ ปลุกระดมคนให้เชื่อและเราบอกว่าผลสอบข้อเท็จจริงจะออกมาเป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นจะไม่ได้รับความเชื่อถือ ถ้าไม่ได้รับความเชื่อถือก็ไม่ได้รับความจริงด้วย เมื่อไม่ได้รับความจริงก็ไม่ได้รับความยุติธรรมด้วย
** ต้องพร้อมรับการตรวจสอบ
เมื่อถามว่า รัฐบาลยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีปัญหากับสังคมมาก ในเรื่องการไม่ยอมรับการตรวจสอบ คิดว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี จะใช้เรื่องนี้เป็นบทเรียนอย่างไรบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นี่เป็นบทเรียนหนึ่งในรอบ 10 ปี ที่ตนอยากให้รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาได้ตระหนักด้วย
เมื่อถามว่า อาจมีการใช้คนเสื้อแดงเป็นกำลัง ที่จะมาทานการตรวจสอบ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากย้ำว่า หากเป็นอย่างนั้น การเมืองจะมีปัญหา ไม่จบไม่สิ้น
**อย่านำการเมืองแทรกแซงทหาร
เมื่อถามว่าบทบาททางทหารในอนาคต ควรจะเป็นหน่วยงานอิสระหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่ากองทัพที่ผ่านมาไม่ได้เป็นหน่วยงานอิสระ ทำงานมาสองปี มีนโยบายหลายเรื่องที่ตนไปเปลี่ยนแปลงแนววิธีการทำงาน เช่น ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาต่างๆ ตอนช่วงแรกที่เข้ามามีเรื่องโรนินญา รวมไปถึงปัญหาอื่นๆ กองทัพเขาก็ทำหน้าที่ในการสนองนโยบายของรัฐบาล และบทบาทหน้าที่ของเขาก็ถูกกำหนดชัดในรัฐธรรมนูญ ในกฏหมาย และ ตนคิดว่าเขาก็อยากทำหน้าที่ตรงนั้นให้ดีที่สุด การเมืองอย่าไปแทรกแซง
เมื่อถามว่า สมัยรัฐบาลพลังประชาชน ผู้บัญชาการทหารบก เคยปฏิเสธไม่ทำตามคำสั่งของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ เพราะว่าตนเคยสอบถามเรื่องนี้ ตนเคยสอบถาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ท่านได้บอกว่า ในเรื่องของคำสั่งต่างๆ ที่เป็นคำสั่งตามกฎหมาย ก็ได้ปฏิบัติตามทุกอย่าง แต่ถ้ามีอะไรนอกเหนือกฎหมาย ก็ทำไม่ได้
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมามีปัญหาการพยายามจะเอาประชาชนมาเผชิญหน้ากับรัฐบาล ในการตรวจสอบคราวนี้ควรจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ควรจะมี ตนว่าต้องจบไม่งั้นแล้วจะมีปัญหาใหม่ตามมาอีกเยอะ ตนคิดว่าพรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนให้มาแก้ไขปัญหาของประเทศ ต้องการให้หลุดพ้นจากปัญหาต่างๆ แม้จะด้วยแนวคิดอะไรก็ตาม เมื่อเข้ามาแล้วก็ทำหน้าที่ตรงนี้เสีย ส่วนเรื่องของการพยายามเอารัดเอาเปรียบทางการเมือง โดยใช้รูปแบบของมวลชนเข้ากดดัน ต้องหยุดได้แล้ว
** จี้องค์กรสื่อสอบ"มติชน"
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตรองบรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน และอดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถูกผู้บริหารเครือบริษัทมติชน มีคำสั่งให้พ้นจากการเป็นพนักงานบริษัท ว่า ขอเรียกร้ององค์กรสื่อต่างๆ ทั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกมาปกป้อง นายประสงค์ พร้อมตรวจสอบ และตั้งคำถามถึงบริษัทมติชน เกี่ยวกับความเหมาะสม ในฐานะที่นายประสงค์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีผลงานตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล มาทุกสมัย อย่างตรงไปตรงมา
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวต่างจากการยื่นซองขาวกับพนักงานบริษัททั่วไป แต่เป็นการเข้าข่ายการแทรกแซงสื่อมวลชนอีกครั้ง ภายหลังพรรคเพื่อไทย กำลังจะเข้ามาเป็นรัฐบาล
นายบุญยอด กล่าวว่า เข้าใจว่า นายประสงค์ ถูกเสนอให้ออกจากบริษัทหลังจากเขียนบทความ " คำถามที่"ยิ่งลักษณ์" ยังไม่ (กล้า?) ตอบ" ซึ่งเป็นการตั้งคำถามในประเด็นการให้การเท็จต่อศาล อันสืบเนื่องมาจากการเป็นพยานให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดียึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท อย่างตรงไปตรงมา และสื่อมวลชนหรือประชาชนก็มีสิทธิ์ที่จะตั้งคำถามได้ แต่กลับถูกต้นสังกัดสั่งระงับ จนมาสู่การยื่นซองขาวในที่สุด
ทั้งนี้ กรณีของนายประสงค์ ถือว่าเป็นกรณีที่ 2 หลังจากก่อนหน้านี้ มีการนำกำลังเข้าตรวจค้นสถานีวิทยุชุมชนปกป้องสถาบัน คลื่นความถี่ 90.25 เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้งไม่ถึง 48 ชั่วโมง
** ปัดข่าว"ปู"กินข้าวกับผู้บริหารสื่อ
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวอ้างว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ร่วมรับประทานอาหารกับผู้บริหารสื่อรายหนึ่ง และโยงมาถึงการปลดนักข่าวคนหนึ่ง ที่เคยทำข่าวสืบสวนสอบสวนกรณีซุกหุ้น โดยพรรคเพื่อไทย และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอปฏิเสธว่าไม่เป็นไปตามที่สมาชิกประชาธิปัตย์ให้ข่าวกล่าวหา เพื่อต้องการทำลายความน่าเชื่อถือเป็นประเภทสาดโคลน โยนบาปมาให้
"ก่อนหน้าคุณยิ่งลักษณ์ ประกาศแล้วว่า พร้อมถูกตรวจสอบจากสังคม และทุกหน่วยงาน คุณยิ่งลักษณ์ มีวุฒิภาวะพอ คงไม่ทำอะไรอย่างนี้ ขอให้พรรคประชาธิปัตย์ เลิกดิสเครดิตรายวัน ทำให้พรรคเสียหาย ขอให้ไปทำหน้าที่ฝ่ายค้าน หันไปเล่นการเมืองอย่างสร้างสรรค์ดีกว่า" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เพราะจะผูกพันกับรัฐบาลชุดใหม่จะมีผลอะไรในทางกฎหมายหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เข้าใจว่าเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย หลังจากที่ศาลปกครองวินิจฉัยให้คืนตำแหน่ง และ กพ.ได้กำหนดอัตรารองรับไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เรื่องของนโยบาย ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ต้องดูมีประเด็นอะไรหรือไม่ เราจะทำเท่าที่จำเป็นเป็น
เมื่อถามว่าหลังประชุม ครม. จะยังเข้าทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังมีหน้าที่อยู่ตามรัฐธรรมนูญ จนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้าถวายสัตย์ ฉะนั้นมีงานอะไรก็ต้องทำ ซึ่งความจริงงานเอกสาร ก็มีอยู่ทุกวัน
**ควรตั้งครม.เสร็จก่อน 10 ส.ค.
เมื่อถามว่า เดือนสิงหาคม จะมีงานราชพิธีที่สำคัญในวันที่ 12 สิงหาคม จะเป็นรอยต่อ ที่ทำให้นายกฯ คนใหม่ได้เข้ามาทำหน้าที่ตรงนั้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังพยายามที่จะให้การดำเนินการในทุกขั้นตอนเร็วที่สุด สภาฯนัดประชุมเลือกประธานสภาฯ ในวันอังคารที่ 2 สิงหาคม ตนหวังอยากให้ทุกอย่างเรียบร้อย ก่อนวันที่ 10 สิงหาคมนี้ และอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เดินหน้า หรือเข้ารับตำแหน่ง และทำหน้าที่ได้เร็วที่สุด เพราะยิ่งช่วงเวลารอยต่อเนิ่นนานเท่าไร จะมีผลกระทบต่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ
เมื่อถามว่า คิดอย่างไรกับการที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ วางกรอบว่า 15 สิงหาคมนี้ น่าจะได้ ครม.ชุดใหม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่จริงใจตนเองอยากให้เร็วกว่านั้น เพราะคิดว่าเมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว น่าจะพร้อมที่จะทูลเกล้าฯ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เลย และจะได้มีการดำเนินการเพื่อเข้าถวายสัตย์ปฎิญาณตน และได้เข้ารับหน้าที่ ใจตนอยากให้ทุกอย่างเสร็จก่อนวันที่ 10 ส.ค.นี้
เมื่อถามว่า คิดว่า ครม.ชุดใหม่ หน้าตาควรจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทางพรรคเพื่อไทย และนายกรัฐมนตรีท่านใหม่ มีหน้าที่ทำให้ดีที่สุด เพื่อให้เข้ามาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใส
เมื่อถามว่ารายชื่อที่มีการเปิดมาตอนนี้เป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีใครทราบข้อเท็จจริง เมื่อวานยังพบปะกับนักการเมืองอาวุโสหลายท่าน ที่เข้าไปเกี่ยวข้องในรัฐบาล ก็บอกว่ายังไม่มีความชัดเจน
เมื่อถามว่า การจัด ครม.ในขณะที่พรรคเพื่อไทย ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งจะมีความง่ายมากขึ้นในเรื่องการวางตัวบุคคลหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ควรจะง่าย เพราะเมื่อมีเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง ก็ต้องถือว่ามีอำนาจที่ค่อนข้างเบ็ดเสร็จในการที่จะสรรหาบุคคลต่างๆ และจัดตำแหน่งต่างๆได้ค่อนข้างอิสระ
** รมต.ต้องตัดสินใจ-รับผิดชอบ
เมื่อถามว่า ถ้าทุกอย่างต้องเคาะจากดูไบ คนที่เข้ามาจะมีความหมายหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ต้องไปถามกระบวนการของเขา เมื่อถามว่า คนที่ข้ามาจะมีความหมายหรือไม่ ถ้า พ .ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังบงการอยู่เบื้องหลัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ ขอย้ำอีกครั้ง รัฐมนตรีทุกท่านรวมทั้งนายกรัฐมนตรีด้วย เมื่อเข้ามารับตำแหน่งแล้วความรับผิดชอบทุกอย่างอยูที่ท่าน การตัดสินใจทำอะไร การบริหารราชการ การที่จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ทั้งหลายมันไม่สามารถที่จะไปบอกว่า คนนั้น คนนี้บอกให้ทำ การตัดสินใจเป็นของตัวท่านเอง ฉะนั้นท่านต้องรับผิดชอบกับการตัดสินใจทุกเรื่อง นี่คือเรื่องที่ต้องชัดเจนในความรับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมา เหตุการณ์ก่อนรัฐประหาร ซึ่งรัฐบาลขณะนั้นทุบโต๊ะโดยนายกฯ จะเกิดปัญหาซ้ำรอยในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าการเมืองไทยผ่านอะไรมามากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หวังว่านักการเมืองทุกฝ่ายเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา อยากจะให้ทุกฝ่ายนำบ้านเมืองก้าวพ้นจากสภาพปัญหา 10 ปี ที่ผ่านมา
**เตือนกกต.เลิกปลุกผี"ปฏิวัติ"
เมื่อถามว่า ดูเหมือนกกต. ก็ยังก้าวไม่พ้น บอกว่าหากขู่ กกต.มากๆ ทหารอาจจะออกมาปฏิวัติ แล้วพรรคเพื่อไทยจะไม่ได้เป็นรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากให้ กกต.ทุกท่าน ระมัดระวังคำพูด เพราะเวลาท่านพูดอะไรแบบนี้ มันกระเทือนกองทัพ ซึ่งเขาไม่ได้รู้เรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วย เขาก็ต้องมานั่งตอบคำถามในเรื่องการรัฐประหาร ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องทั้งสิ้นในยุคนี้แล้ว แล้วมันจะส่งผลกระทบไปตอกย้ำความเชื่อของประชาชน ซึ่งมีความคิดที่หลากหลายไปอีกว่า บ้านเมืองเราทำไมยังมีปัญหาเหล่านี้
สิ่งที่ทางกกต.ต้องพยายามทำให้เห็นก็คือ ท่านต้องทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรง ใครใช้วิธีการไม่ถูกต้องในการข่มขู่ คุกคาม กดดัน คิดจะใช้ความรุนแรง ท่านต้องตอบโต้ด้วยเรื่องกฎหมาย มากกว่าที่จะมาบอกว่า เดี๋ยวการเมืองจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เราต้องแยกกันให้ออก ก็ย้ำมาหลายครั้งว่า ปัญหาของประเทศไทยคือ เรามักจะแยกกันไม่ออกว่า อะไรเป็นกระบวนการทางการเมือง อะไรเป็นกระบวนการทางกฎหมาย ถ้าเราแยกให้ออกตรงนี้ แบ่งหน้าที่ให้ชัด ทุกอย่างก็จะชัดเจน จะไม่สร้างความสับสน และจะไม่สร้างปัญหาใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความสมดุลทางการเมือง ที่ควรกลับมาพร้อมกับการมีรัฐบาลชุดใหม่ แล้วจะทำให้ประเทศเดินหน้าไป คิดว่าควรเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากย้ำว่าหวังให้ทุกอย่างกลับเข้ามาสู่ระบบของสภามากยิ่งขึ้น การเมืองที่ใช้ลักษณะของมวลชนกดดันเรียกร้อง แสดงพลัง หวังว่าจะลดลงไป โดยให้สภาฯทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันรัฐบาลมีภาระหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาของประชาชน แก้ดีไม่ดี สภาฯก็ตรวจสอบ และประชาชนจะดูแล แต่อะไรซึ่งเป็นเรื่องการทำผิดกฎหมาย ไม่ถูกต้อง ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ว่าคนมีอำนาจหรือคนมีผู้สนับสนุนมากแล้วสามารถที่จะทำอะไรผิดได้
** ห่วงแทรกแซง-แทรกซื้อสื่อ
เมื่อถามว่า ห่วงหรือไม่ที่รัฐบาลมีเสียงเบ็ดเสร็จในสภาฯ มากเกินไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก คนเป็นรัฐบาลเป็นฝ่ายบริหาร ต้องมีเสียงข้างมาก ไม่เช่นนั้นเขาก็บริหารไม่ได้ เขาต้องผ่านกฎหมายได้ สามารถผลักดันนโยบายได้ และจะเป็นเรื่องที่ดี เพียงแต่การใช้อำนาจนั้นต้องอยู่บนผลประโยชน์ของประชาชน ถ้าทำทุจริตผิดกฎหมาย ก็ต้องใช้กระบวนการตรวจสอบ ซึ่งเรามีกลไกในสภาฯ และองค์กรอิสระทั้งหลายที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งสื่อมวลชน อยากย้ำว่า ภาคส่วนต่างๆในสังคมไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน องค์กรประชาชน ก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเข้มแข็ง
"ผมไม่ค่อยสบายใจกับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ กับสื่อบางค่าย ที่กลายเป็นว่า ใครเขียนกระทบกับคนที่กำลังจะมามีอำนาจแล้ว ไม่สามารถทำหน้าที่ต่อได้ ผมว่าอย่างนี้เป็นการสูญเสียความเป็นวิชาชีพ คิดว่าน่าจะต้องมีการชี้แจง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่า การแทรกซึม แทรกซื้อ แทรกสื่อ จะกลับมาในวงการสื่อมวลชนอีกรอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าเวลานี้ข่าวคราวที่ออกมา หนังสือพิมพ์ค่ายนั้น น่าจะต้องชี้แจง ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อความมั่นใจที่สังคมจะมีได้ ต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในภาพรวม ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ก็ต้องอธิบายกันให้ชัด
เมื่อถามว่า แนวปรองดองที่นายกรัฐมนตรี วางไว้ในการตั้งคณะกรรมการไว้ คิดว่ารัฐบาลใหม่ควรจะมาสานต่ออย่างไรบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเห็นความแสดงออกของการยอมรับคณะกรรมการของ นายคณิต ณ นคร แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่ชัดเจนว่า ขอบเขตการทำงาน และจะมีการสร้างกลไกใหม่ขึ้นมาซ้อนหรือไม่ เช่น เดียวกันตนต้องบอกว่าปฏิกิริยาของกลุ่มคนเสื้อแดง และสื่อบางส่วนบ้างที่พูดถึงงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่เสร็จสิ้น ก็เป็นเรื่องที่แปลก ถ้าบอกว่าตั้งธงว่าการสอบจะต้องออกมาอย่างที่ตนเองคิด อันนั้นจะไม่ได้รับความเชื่อถือเช่นเดียวกัน ตนทำหน้าที่เป็นรัฐบาลมาไม่เคยเข้าไปแทรกแซงการทำหน้าที่ในการตรวจสอบขององค์กร อย่างเช่น คณะกรรมการสิทธิฯ แม้กระทั่งคณะกรรมการอิสระ ซึ่งได้ตั้งขึ้นมา ตนอยากเห็นสังคมและรัฐบาลชุดใหม่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน เราต้องเอาความจริงไม่ใช่ว่าเราไปมีความเชื่อ ปลุกระดมคนให้เชื่อและเราบอกว่าผลสอบข้อเท็จจริงจะออกมาเป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นจะไม่ได้รับความเชื่อถือ ถ้าไม่ได้รับความเชื่อถือก็ไม่ได้รับความจริงด้วย เมื่อไม่ได้รับความจริงก็ไม่ได้รับความยุติธรรมด้วย
** ต้องพร้อมรับการตรวจสอบ
เมื่อถามว่า รัฐบาลยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีปัญหากับสังคมมาก ในเรื่องการไม่ยอมรับการตรวจสอบ คิดว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี จะใช้เรื่องนี้เป็นบทเรียนอย่างไรบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นี่เป็นบทเรียนหนึ่งในรอบ 10 ปี ที่ตนอยากให้รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาได้ตระหนักด้วย
เมื่อถามว่า อาจมีการใช้คนเสื้อแดงเป็นกำลัง ที่จะมาทานการตรวจสอบ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากย้ำว่า หากเป็นอย่างนั้น การเมืองจะมีปัญหา ไม่จบไม่สิ้น
**อย่านำการเมืองแทรกแซงทหาร
เมื่อถามว่าบทบาททางทหารในอนาคต ควรจะเป็นหน่วยงานอิสระหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่ากองทัพที่ผ่านมาไม่ได้เป็นหน่วยงานอิสระ ทำงานมาสองปี มีนโยบายหลายเรื่องที่ตนไปเปลี่ยนแปลงแนววิธีการทำงาน เช่น ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาต่างๆ ตอนช่วงแรกที่เข้ามามีเรื่องโรนินญา รวมไปถึงปัญหาอื่นๆ กองทัพเขาก็ทำหน้าที่ในการสนองนโยบายของรัฐบาล และบทบาทหน้าที่ของเขาก็ถูกกำหนดชัดในรัฐธรรมนูญ ในกฏหมาย และ ตนคิดว่าเขาก็อยากทำหน้าที่ตรงนั้นให้ดีที่สุด การเมืองอย่าไปแทรกแซง
เมื่อถามว่า สมัยรัฐบาลพลังประชาชน ผู้บัญชาการทหารบก เคยปฏิเสธไม่ทำตามคำสั่งของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ เพราะว่าตนเคยสอบถามเรื่องนี้ ตนเคยสอบถาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ท่านได้บอกว่า ในเรื่องของคำสั่งต่างๆ ที่เป็นคำสั่งตามกฎหมาย ก็ได้ปฏิบัติตามทุกอย่าง แต่ถ้ามีอะไรนอกเหนือกฎหมาย ก็ทำไม่ได้
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมามีปัญหาการพยายามจะเอาประชาชนมาเผชิญหน้ากับรัฐบาล ในการตรวจสอบคราวนี้ควรจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ควรจะมี ตนว่าต้องจบไม่งั้นแล้วจะมีปัญหาใหม่ตามมาอีกเยอะ ตนคิดว่าพรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนให้มาแก้ไขปัญหาของประเทศ ต้องการให้หลุดพ้นจากปัญหาต่างๆ แม้จะด้วยแนวคิดอะไรก็ตาม เมื่อเข้ามาแล้วก็ทำหน้าที่ตรงนี้เสีย ส่วนเรื่องของการพยายามเอารัดเอาเปรียบทางการเมือง โดยใช้รูปแบบของมวลชนเข้ากดดัน ต้องหยุดได้แล้ว
** จี้องค์กรสื่อสอบ"มติชน"
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตรองบรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน และอดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถูกผู้บริหารเครือบริษัทมติชน มีคำสั่งให้พ้นจากการเป็นพนักงานบริษัท ว่า ขอเรียกร้ององค์กรสื่อต่างๆ ทั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกมาปกป้อง นายประสงค์ พร้อมตรวจสอบ และตั้งคำถามถึงบริษัทมติชน เกี่ยวกับความเหมาะสม ในฐานะที่นายประสงค์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีผลงานตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล มาทุกสมัย อย่างตรงไปตรงมา
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวต่างจากการยื่นซองขาวกับพนักงานบริษัททั่วไป แต่เป็นการเข้าข่ายการแทรกแซงสื่อมวลชนอีกครั้ง ภายหลังพรรคเพื่อไทย กำลังจะเข้ามาเป็นรัฐบาล
นายบุญยอด กล่าวว่า เข้าใจว่า นายประสงค์ ถูกเสนอให้ออกจากบริษัทหลังจากเขียนบทความ " คำถามที่"ยิ่งลักษณ์" ยังไม่ (กล้า?) ตอบ" ซึ่งเป็นการตั้งคำถามในประเด็นการให้การเท็จต่อศาล อันสืบเนื่องมาจากการเป็นพยานให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดียึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท อย่างตรงไปตรงมา และสื่อมวลชนหรือประชาชนก็มีสิทธิ์ที่จะตั้งคำถามได้ แต่กลับถูกต้นสังกัดสั่งระงับ จนมาสู่การยื่นซองขาวในที่สุด
ทั้งนี้ กรณีของนายประสงค์ ถือว่าเป็นกรณีที่ 2 หลังจากก่อนหน้านี้ มีการนำกำลังเข้าตรวจค้นสถานีวิทยุชุมชนปกป้องสถาบัน คลื่นความถี่ 90.25 เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้งไม่ถึง 48 ชั่วโมง
** ปัดข่าว"ปู"กินข้าวกับผู้บริหารสื่อ
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวอ้างว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ร่วมรับประทานอาหารกับผู้บริหารสื่อรายหนึ่ง และโยงมาถึงการปลดนักข่าวคนหนึ่ง ที่เคยทำข่าวสืบสวนสอบสวนกรณีซุกหุ้น โดยพรรคเพื่อไทย และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอปฏิเสธว่าไม่เป็นไปตามที่สมาชิกประชาธิปัตย์ให้ข่าวกล่าวหา เพื่อต้องการทำลายความน่าเชื่อถือเป็นประเภทสาดโคลน โยนบาปมาให้
"ก่อนหน้าคุณยิ่งลักษณ์ ประกาศแล้วว่า พร้อมถูกตรวจสอบจากสังคม และทุกหน่วยงาน คุณยิ่งลักษณ์ มีวุฒิภาวะพอ คงไม่ทำอะไรอย่างนี้ ขอให้พรรคประชาธิปัตย์ เลิกดิสเครดิตรายวัน ทำให้พรรคเสียหาย ขอให้ไปทำหน้าที่ฝ่ายค้าน หันไปเล่นการเมืองอย่างสร้างสรรค์ดีกว่า" นายพร้อมพงศ์ กล่าว