ASTVผู้จัดการรายวัน-ปชป.สั่งครม.เงา เกาะติดการบริหารของรัฐบาล ที่พยายามหาช่องทางช่วย"แม้ว" ด้าน"พีระพันธ์"ยอมรับ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ออกช่วงรัฐบาลปชป. ยันกรณี"แม้ว"ไม่เข้าข่าย "จุรินทร์"จับตากรรมการพิจารณาความเห็นฎีกาอภัยโทษ ระบุหลายคนมีสัมพันธ์ใกล้ชิด หวั่นมีการเอื้อประโยชน์ ดักคอ "ประชา" ห้ามทำความเห็นอภัยโทษช่วยนักโทษหลบหนีคดี
เมื่อเวลา 13.30 น.วานนี้ (13 ก.ย.) พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุมส.ส.ของพรรค โดยที่ประชุมได้เน้นย้ำให้ครม.เงาของพรรค ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารราชการของรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง โดยเฉพาะเรื่องการทำผิดกฎหมาย เรื่องเกี่ยวกับการทุจริตในหน้าที่ และยังมีการหารือถึงพฤติกรรมของรัฐบาลที่มีความพยายามช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มตั้งแต่การโยกย้ายข้าราชการ การหาช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อล้างมลทินให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงการพยายามเสนอเปิดคุกการเมือง โดยเห็นว่าทั้งหมดเป็นการเร่งดำเนินการเพื่อช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นมลทินให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้
ทั้งนี้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ประธานส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามถึงกรณีที่มีข่าวว่า ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มีการเสนอพระราชกฤษฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งกรณีที่ทางแกนนำพรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่ามีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฏ.) พระราชทานอภัยโทษปี 2553 ซึ่งข้อกฎหมายระบุคุณสมบัติของนักโทษที่บางส่วนเอื้อต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวว่าเป็นมาอย่างไร เพราะส.ส.เพื่อไทยอ้างว่ามีการเปิดช่องให้ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี สามารถทำเรื่องของพระราชทานอภัยโทษว่า เป็นมาอย่างไร และทำไมจึงเสนอเข้ามาแก้ไขในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
ขณะที่นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเสนอเข้ามาตอนที่ตนเป็นรมว.ยุติธรรม เรื่องนี้เริ่มจากกระทรวงยุติธรรม ทำเรื่องเสนอเข้ามา เนื่องจากเห็นว่าในขณะนั้น มีนักโทษจำนวนมากอยู่ในเรือนจำ มีสภาพแออัด พูดง่ายๆ คือ นักโทษล้นคุก และรัฐบาลมีงบประมาณ มีการดูแลนักโทษที่ไม่เพียงพอ ทางกระทรวงฯ จึงได้เสนอเพื่อให้ขอมี พ.ร.ฏ.ดังกล่าว โดยกำหนดอายุของนักโทษว่า สามารถขอพระราชทานอภัยโทษได้ต้องมีอายุ 70 ปีขึ้นไป และต้องติดคุกมาก่อน เพราะเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว และน้อยคนเมื่อมีอายุมากแล้วจะกลับมาเป็นโจรอีก
"พอเสนอเข้าครม. ก็มีการตัดเกณฑ์ลดอายุลงมาเหลือ 60 ปี โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ หากมีความผิดในคดีที่ถูกชี้มูลจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับการทุจริต ก็จะไม่เข้าข่ายดังกล่าว ดังนั้น กรณีการออกมาเปิดประเด็น เพื่อสร้างกระแสในเรื่องนี้ เป็นการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว หรืออ่านกฎหมายไม่จบ เพราะมีเงื่อนไขแนบท้ายในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วย"
นายพีระพันธ์กล่าวว่า ในกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งได้หลบหนีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ตัดสินไปแล้ว ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในการขอพระราชทานอภัยโทษ จึงถือเป็นคดีแรกที่นักโทษหนีคดี จะทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ โดยคนที่จะถวายความเห็น คือ รมว.ยุติธรรม และขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจว่าจะทรงวินิจฉัยอย่างไร แต่ส่วนตัวเห็นว่าคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้อยู่ในข่ายนี้ เป็นเพียงการสร้างประเด็นขึ้นมาเพื่อสร้างความสับสน โดยอาศัยข้อกฎหมาย
ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการเน้นย้ำให้ส.ส.ในพื้นที่ได้สื่อสารกับประชาชนถึงสิ่งที่รัฐบาลตั้งใจจะทำ คือ รัฐบาลเอาแต่ช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณมากกว่าช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งได้เน้นย้ำให้ส.ส.ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยให้ลงไปช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า อยากให้จับตาการตั้งคณะกรรมการของพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เพื่อมาพิจารณาความเห็นการขออภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะกรรมการชุดนี้หลายคนเคยเป็นคนใกล้ชิด จะมีการเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ไม่อยากเจาะจงลงไปเป็นตัวบุคคล เพราะสังคมทราบดีว่ามีใครบ้าง
นอกจากนี้ ขอให้จับตาการทำความเห็นของ รมว.ยุติธรรม จะยึดหลักแนวทางปฏิบัติเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่ ในเรื่องกรณีผู้หลบหนีคดี หรือผู้ต้องหาคดียาเสพติด คดีทุจริตคอร์รัปชัน จะไม่มีการขอพระราชทานอภัยโทษให้ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
เมื่อเวลา 13.30 น.วานนี้ (13 ก.ย.) พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุมส.ส.ของพรรค โดยที่ประชุมได้เน้นย้ำให้ครม.เงาของพรรค ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารราชการของรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง โดยเฉพาะเรื่องการทำผิดกฎหมาย เรื่องเกี่ยวกับการทุจริตในหน้าที่ และยังมีการหารือถึงพฤติกรรมของรัฐบาลที่มีความพยายามช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มตั้งแต่การโยกย้ายข้าราชการ การหาช่องว่างทางกฎหมาย เพื่อล้างมลทินให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงการพยายามเสนอเปิดคุกการเมือง โดยเห็นว่าทั้งหมดเป็นการเร่งดำเนินการเพื่อช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นมลทินให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้
ทั้งนี้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ประธานส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามถึงกรณีที่มีข่าวว่า ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มีการเสนอพระราชกฤษฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งกรณีที่ทางแกนนำพรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่ามีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฏ.) พระราชทานอภัยโทษปี 2553 ซึ่งข้อกฎหมายระบุคุณสมบัติของนักโทษที่บางส่วนเอื้อต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวว่าเป็นมาอย่างไร เพราะส.ส.เพื่อไทยอ้างว่ามีการเปิดช่องให้ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี สามารถทำเรื่องของพระราชทานอภัยโทษว่า เป็นมาอย่างไร และทำไมจึงเสนอเข้ามาแก้ไขในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
ขณะที่นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเสนอเข้ามาตอนที่ตนเป็นรมว.ยุติธรรม เรื่องนี้เริ่มจากกระทรวงยุติธรรม ทำเรื่องเสนอเข้ามา เนื่องจากเห็นว่าในขณะนั้น มีนักโทษจำนวนมากอยู่ในเรือนจำ มีสภาพแออัด พูดง่ายๆ คือ นักโทษล้นคุก และรัฐบาลมีงบประมาณ มีการดูแลนักโทษที่ไม่เพียงพอ ทางกระทรวงฯ จึงได้เสนอเพื่อให้ขอมี พ.ร.ฏ.ดังกล่าว โดยกำหนดอายุของนักโทษว่า สามารถขอพระราชทานอภัยโทษได้ต้องมีอายุ 70 ปีขึ้นไป และต้องติดคุกมาก่อน เพราะเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว และน้อยคนเมื่อมีอายุมากแล้วจะกลับมาเป็นโจรอีก
"พอเสนอเข้าครม. ก็มีการตัดเกณฑ์ลดอายุลงมาเหลือ 60 ปี โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ หากมีความผิดในคดีที่ถูกชี้มูลจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับการทุจริต ก็จะไม่เข้าข่ายดังกล่าว ดังนั้น กรณีการออกมาเปิดประเด็น เพื่อสร้างกระแสในเรื่องนี้ เป็นการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว หรืออ่านกฎหมายไม่จบ เพราะมีเงื่อนไขแนบท้ายในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วย"
นายพีระพันธ์กล่าวว่า ในกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งได้หลบหนีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ตัดสินไปแล้ว ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในการขอพระราชทานอภัยโทษ จึงถือเป็นคดีแรกที่นักโทษหนีคดี จะทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ โดยคนที่จะถวายความเห็น คือ รมว.ยุติธรรม และขึ้นอยู่กับพระราชอำนาจว่าจะทรงวินิจฉัยอย่างไร แต่ส่วนตัวเห็นว่าคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้อยู่ในข่ายนี้ เป็นเพียงการสร้างประเด็นขึ้นมาเพื่อสร้างความสับสน โดยอาศัยข้อกฎหมาย
ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการเน้นย้ำให้ส.ส.ในพื้นที่ได้สื่อสารกับประชาชนถึงสิ่งที่รัฐบาลตั้งใจจะทำ คือ รัฐบาลเอาแต่ช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณมากกว่าช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งได้เน้นย้ำให้ส.ส.ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยให้ลงไปช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า อยากให้จับตาการตั้งคณะกรรมการของพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เพื่อมาพิจารณาความเห็นการขออภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะกรรมการชุดนี้หลายคนเคยเป็นคนใกล้ชิด จะมีการเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ไม่อยากเจาะจงลงไปเป็นตัวบุคคล เพราะสังคมทราบดีว่ามีใครบ้าง
นอกจากนี้ ขอให้จับตาการทำความเห็นของ รมว.ยุติธรรม จะยึดหลักแนวทางปฏิบัติเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่ ในเรื่องกรณีผู้หลบหนีคดี หรือผู้ต้องหาคดียาเสพติด คดีทุจริตคอร์รัปชัน จะไม่มีการขอพระราชทานอภัยโทษให้ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป