เป็นรัฐบาลได้ไม่นาน รัฐบาลนี้ก็มีการเคลื่อนไหวเหมือนเป็นขบวนการเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมเพื่อให้ได้ทักษิณคืนกลับประเทศไทยโดยพ้นผิดจากข้อหาใดๆ วิธีการก็มีต่างๆ เช่น การขอพระราชทานอภัยโทษไปจนถึงการรื้อฟื้นคดีที่ดินรัชดาใหม่
เราจะมาพิจารณาดูและจะดูว่าความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวแต่ละประเด็นเป็นอย่างไรกันบ้าง
เริ่มจากการขอพระราชทานอภัยโทษเริ่มจากต้นตอที่ว่า คนในตระกูลชินวัตรเป็นตัวการ แต่นายกรัฐมนตรีกลับกล่าวว่าตนในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ใช้นามสกุลนี้ว่ายังไม่มีคนในตระกูลคุยกันเลย และไม่เคยมีนโยบาย ตนไม่ทราบเรื่องและไม่ทราบข่าวด้วย
แต่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงกล่าวว่าเรื่องอภัยโทษมีคนปล่อยข่าวออกมาโดยที่รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรเลย เป็นเรื่องของรัฐบาลชุดที่แล้ว สำนักพระราชวังถามมาว่า ความเป็นมาอย่างไร ก็ควรทำไว้ตั้งแต่ต้นไม่ควรมาดองไว้แล้วมาตรวจสอบรายชื่อที่เข้าร่วมถวายฎีกา พอบอกว่าของจริงจริง ๒ ล้าน กลับผิดพลาดบอก๑.๖ ล้าน และยังมีหมายเหตุว่าเมื่อกรมราชทัณฑ์ตรวจสอบเสร็จแล้ว ต้องส่งไปให้กรมการปกครองตรวจสอบอีกที โดยสรุป ร.ต.อ.เฉลิมระบุว่าคนปล่อยข่าวน่าจะเป็นปชป.และกรมราชทัณฑ์
นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช.กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กรมราชทัณฑ์กำลังสรุปเรื่องส่งไปยังรมว.กระทรวงยุติธรรม ซึ่งให้สัมภาษณ์ว่าหากเรื่องนี้มาถึงจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ ส่วนที่ว่ามีการเร่งดำเนินการหรือไม่นั้น ใครมาเป็นรัฐบาลก็เร่งทำทั้งนั้น เรื่องนี้เร่งมา ๒ ปีแล้ว ตนเห็นว่ารัฐบาลไม่ลำบากใจอะไร ปฏิบัติไปตามหน้าที่กฎหมายเขียนไว้ชัดว่า เป็นพระราชอำนาจคนที่ยื่นฎีกาเขาพร้อมจะรับผลไม่ว่าออกมาทางบวกหรือทางลบ
เรื่องนี้จะไม่ทำให้รัฐบาลอายุสั้น เพราะจะไม่มีปัญหาใดๆ ที่จะขัดแย้งกัน การขออภัยโทษใครๆ ก็ขอได้ ที่ว่าที่ผ่านมาไม่มีใครไม่รับโทษแล้วได้รับอภัยโทษ นายวีระกานต์ว่ามีแต่ตนไม่อยากเอ่ยชื่อเพราะเจ้าตัวยังมีชีวิตอยู่
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่าตนได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน กลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการถวายฎีกาฯ ให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว โดยมี ผ.ศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธาน และมีคณะทำงานประกอบไปด้วยบุคคลต่างๆ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิร่วมด้วยหลายคนจากที่ต่างๆ รวมทั้งผู้อำนวยการกองนิติการ และหัวหน้าฝ่ายอภัยโทษ กรมราชทัณฑ์ โดยมีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีความเห็นกับการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยโดยให้รายงานให้รัฐมนตรีว่าการทราบเป็นระยะๆ
ประธานคณะทำงานกล่าวว่าตนจะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และขอเวลาในการพิจารณาและขอให้คณะกรรมการชุดนี้มีอิสระในการทำงานและตัดสินใจ และตนจะทำเรื่องนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนาให้ความเห็นว่า เรื่องถวายฎีกาจะเป็นส่วนหนึ่งที่สังคมจะมีความขัดแย้งผู้ดำเนินการควรจะใช้ความนุ่มนวลในการกระทำ
อีกความเคลื่อนไหวคือ กรณีพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ว่าการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ทักษิณนั้นโดยส่วนตัวตนไม่ขัดข้อง แต่เรื่องนี้ตนเห็นว่าทักษิณไม่ผิด แม้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้พิจารณาว่ามีความผิด แต่ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีการซื้อที่ดิน และสั่งให้คืนเงินให้คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ จึงสรุปว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ทำสัญญาใดๆ กับรัฐทั้งสิ้น
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนเช่นนี้ แม้ศาลฎีกาฯ ตัดสินไปแล้ว ศาลฎีกาฯ จะต้องรับผิดชอบ โดยการตัดสินใหม่ เพราะเมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ก็ต้องนำเรื่องมาพิจารณาใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ทั่วโลกกระทำกัน ไม่จำเป็นต้องมีคนร้องเพราะศาลฎีกามีความชอบที่จะต้องดำเนินการ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงกล่าวว่า กรณีที่ศาลฎีกาฯ ตัดสินจำคุกพ.ต.ท.ทักษิณ ๒ ปี ไม่ใช่คดีทุจริต แต่เป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายอาญา ต่อมาเมื่อศาลแพ่งตัดสินว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างคุณหญิงพจมานกับกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น เท่ากับว่าไม่มีการซื้อขาย เท่ากับว่าทุกอย่างกลับไปสู่จุดเดิมและให้กองทุนฯ คืนเงินคุณหญิงพจมาน ดังนั้น ทักษิณจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการซื้อขาย เพราะสัญญาเป็นโมฆะ ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทักษิณด้วยเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ค้านว่าพ.ต.ท.ทักษิณมีความผิดทางอาญาเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานกับคุณหญิงพจมาน ซึ่งศาลแพ่งบอกว่าการทำสัญญาซื้อที่ดินรัชดาฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเพิกถอนการซื้อที่ดินดังกล่าว แต่จะอ้างว่าพอเพิกถอนแล้วความผิดทางอาญาไม่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่เห็นประเด็นว่าจะมารื้อคดีได้
ครับ การต่อสู้ระหว่างสองฝ่าย คือฝ่ายเห็นด้วยกับฝ่ายค้าน ยังมีอีกหลายยก
เราจะมาพิจารณาดูและจะดูว่าความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวแต่ละประเด็นเป็นอย่างไรกันบ้าง
เริ่มจากการขอพระราชทานอภัยโทษเริ่มจากต้นตอที่ว่า คนในตระกูลชินวัตรเป็นตัวการ แต่นายกรัฐมนตรีกลับกล่าวว่าตนในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ใช้นามสกุลนี้ว่ายังไม่มีคนในตระกูลคุยกันเลย และไม่เคยมีนโยบาย ตนไม่ทราบเรื่องและไม่ทราบข่าวด้วย
แต่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงกล่าวว่าเรื่องอภัยโทษมีคนปล่อยข่าวออกมาโดยที่รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรเลย เป็นเรื่องของรัฐบาลชุดที่แล้ว สำนักพระราชวังถามมาว่า ความเป็นมาอย่างไร ก็ควรทำไว้ตั้งแต่ต้นไม่ควรมาดองไว้แล้วมาตรวจสอบรายชื่อที่เข้าร่วมถวายฎีกา พอบอกว่าของจริงจริง ๒ ล้าน กลับผิดพลาดบอก๑.๖ ล้าน และยังมีหมายเหตุว่าเมื่อกรมราชทัณฑ์ตรวจสอบเสร็จแล้ว ต้องส่งไปให้กรมการปกครองตรวจสอบอีกที โดยสรุป ร.ต.อ.เฉลิมระบุว่าคนปล่อยข่าวน่าจะเป็นปชป.และกรมราชทัณฑ์
นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช.กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กรมราชทัณฑ์กำลังสรุปเรื่องส่งไปยังรมว.กระทรวงยุติธรรม ซึ่งให้สัมภาษณ์ว่าหากเรื่องนี้มาถึงจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ ส่วนที่ว่ามีการเร่งดำเนินการหรือไม่นั้น ใครมาเป็นรัฐบาลก็เร่งทำทั้งนั้น เรื่องนี้เร่งมา ๒ ปีแล้ว ตนเห็นว่ารัฐบาลไม่ลำบากใจอะไร ปฏิบัติไปตามหน้าที่กฎหมายเขียนไว้ชัดว่า เป็นพระราชอำนาจคนที่ยื่นฎีกาเขาพร้อมจะรับผลไม่ว่าออกมาทางบวกหรือทางลบ
เรื่องนี้จะไม่ทำให้รัฐบาลอายุสั้น เพราะจะไม่มีปัญหาใดๆ ที่จะขัดแย้งกัน การขออภัยโทษใครๆ ก็ขอได้ ที่ว่าที่ผ่านมาไม่มีใครไม่รับโทษแล้วได้รับอภัยโทษ นายวีระกานต์ว่ามีแต่ตนไม่อยากเอ่ยชื่อเพราะเจ้าตัวยังมีชีวิตอยู่
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่าตนได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน กลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการถวายฎีกาฯ ให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว โดยมี ผ.ศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธาน และมีคณะทำงานประกอบไปด้วยบุคคลต่างๆ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิร่วมด้วยหลายคนจากที่ต่างๆ รวมทั้งผู้อำนวยการกองนิติการ และหัวหน้าฝ่ายอภัยโทษ กรมราชทัณฑ์ โดยมีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีความเห็นกับการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยโดยให้รายงานให้รัฐมนตรีว่าการทราบเป็นระยะๆ
ประธานคณะทำงานกล่าวว่าตนจะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และขอเวลาในการพิจารณาและขอให้คณะกรรมการชุดนี้มีอิสระในการทำงานและตัดสินใจ และตนจะทำเรื่องนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนาให้ความเห็นว่า เรื่องถวายฎีกาจะเป็นส่วนหนึ่งที่สังคมจะมีความขัดแย้งผู้ดำเนินการควรจะใช้ความนุ่มนวลในการกระทำ
อีกความเคลื่อนไหวคือ กรณีพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ว่าการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ทักษิณนั้นโดยส่วนตัวตนไม่ขัดข้อง แต่เรื่องนี้ตนเห็นว่าทักษิณไม่ผิด แม้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้พิจารณาว่ามีความผิด แต่ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีการซื้อที่ดิน และสั่งให้คืนเงินให้คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ จึงสรุปว่าพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ทำสัญญาใดๆ กับรัฐทั้งสิ้น
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนเช่นนี้ แม้ศาลฎีกาฯ ตัดสินไปแล้ว ศาลฎีกาฯ จะต้องรับผิดชอบ โดยการตัดสินใหม่ เพราะเมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ก็ต้องนำเรื่องมาพิจารณาใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ทั่วโลกกระทำกัน ไม่จำเป็นต้องมีคนร้องเพราะศาลฎีกามีความชอบที่จะต้องดำเนินการ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงกล่าวว่า กรณีที่ศาลฎีกาฯ ตัดสินจำคุกพ.ต.ท.ทักษิณ ๒ ปี ไม่ใช่คดีทุจริต แต่เป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายอาญา ต่อมาเมื่อศาลแพ่งตัดสินว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างคุณหญิงพจมานกับกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น เท่ากับว่าไม่มีการซื้อขาย เท่ากับว่าทุกอย่างกลับไปสู่จุดเดิมและให้กองทุนฯ คืนเงินคุณหญิงพจมาน ดังนั้น ทักษิณจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการซื้อขาย เพราะสัญญาเป็นโมฆะ ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทักษิณด้วยเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ค้านว่าพ.ต.ท.ทักษิณมีความผิดทางอาญาเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานกับคุณหญิงพจมาน ซึ่งศาลแพ่งบอกว่าการทำสัญญาซื้อที่ดินรัชดาฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเพิกถอนการซื้อที่ดินดังกล่าว แต่จะอ้างว่าพอเพิกถอนแล้วความผิดทางอาญาไม่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่เห็นประเด็นว่าจะมารื้อคดีได้
ครับ การต่อสู้ระหว่างสองฝ่าย คือฝ่ายเห็นด้วยกับฝ่ายค้าน ยังมีอีกหลายยก