การมาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่ละท่าน ล้วนนำแผลเหวอะหวะมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยมากน้อยต่างกัน การมาของรมว.ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ในรัฐบาลชวน 1 ที่นำระบบ Maintenance margin และ Forced sell มาใช้ในตลาดหุ้นเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2536 เป็นผลให้ช่วงเวลา 3 เดือน เฮดจ์ ฟันด์ลากตลาดหุ้นไทยจากระดับ 1,000 จุด ไปสูงสุดที่ 1,750 จุดในต้นปี 2537 จากนั้นก็มีการถล่มทุบลงมาก ทำให้เกิดการบังคับขายหุ้นนักลงทุนท้องถิ่นอย่างบ้าคลั่ง โดย SET ตกลงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ในอีก 3 ปีถัดมา การบังคับขายหุ้นนักลงทุน ก็คือการบังคับขายสินทรัพย์ของชาติ หรือคือการบังคับขายชาติ ส่งผลให้สินทรัพย์ของชาติเกิดการหมดชาติในเวลาต่อมา http://yfrog.com/h4nb83j
การพังทลายของตลาดหุ้นไทยส่งผลให้ค่าเงินบาทเสียหาย แต่ด้วยการผูกค่าเงินไว้ (Fixed) ทำให้ไม่เห็นว่าค่าเงินบาทเสียหาย
กระทรวงการคลังและธปท.พากันปกป้องค่าเงินบาทเต็มที่ โดยขาดความเข้าใจ จึงพ่ายแพ้ต่อเฮดจ์ ฟันด์ ผู้ซึ่งเข้าใจกลไกความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้นและตลาดเงินตราอย่างดี ก่อนปี 2540 ทุนสำรองสุทธิของประเทศอยู่ที่ระดับ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กลางปี 2540 ทุนสำรองสุทธิลดลงเหลือไม่ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟเป็นครั้งที่ 2 และต้องลอยค่าเงินบาท
การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2543 ทำให้เงินเหรียญสหรัฐเสียหาย เงินได้ไหลออกจากอเมริกา มายังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งไหลเข้ามายังประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยสามารถชำระหนี้งวดสุดท้าย IMF ในกลางปี 2546 รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ การเปิดตลาดอนุพันธ์ ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรในไทยมากขึ้น
หลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดความเชื่อมั่นประเทศไทยมากขึ้น เงินทุนไหลเข้าประเทศไทยมากขึ้นอีก ช่วงเวลาดังกล่าวทุนสำรองของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 74,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กระทั่งวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รมว.กระทรวงการคลังสมัยนั้น ต้องออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์เงินทุนไหลเข้า แต่ล้มเหลว ออกมาตรการได้วันเดียว ตลาดหุ้นตกกว่า 100 จุด มูลค่าตลาดเสียหายกว่า 8 แสนล้านบาท ต้องยกเลิกมาตรการดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น
ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือทุนสำรองพิเศษกับทุนสำรองทั่วไป ทองคำและเงินบริจาคจากหลวงตามหาบัวเก็บไว้ในทุนสำรองพิเศษ
ทุนสำรองทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 บัญชี คือบัญชีทุนสำรองบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก การท่องเที่ยว การขายแรงงาน การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ บัญชีทุนสำรองเงินทุน (Capital Account) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินทุนไหลเข้าออกมาลงทุนหรือเก็งกำไรในตลาดเงินและตลาดหุ้น ทุนสำรองส่วนนี้มีความผันผวนสูง
เดือนกรกฎาคม 2540 ที่เราเข้ารับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ และลอยค่าเงินบาท ทุนสำรองของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 1,144 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยมาตรการกันสำรองปลายปี 2549 ล้มเหลว ถึงวันที่ 2 กันยายน 2554 ทุนสำรองสุทธิของไทยเพิ่มขึ้นมาถึง 214,778 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นมา 188 เท่า ทำให้สภาพคล่องท่วมประเทศหนัก
หลังปี 2008 Hamburger Crisis มีประเทศต่างๆ ต้องเข้ารับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟไม่ต่ำกว่า 20 ประเทศ เหตุที่ต้องเข้าไอเอ็มเอฟ เพราะทุนสำรองของประเทศเหล่านั้นลดต่ำจนถึงระดับอันตราย ใครก็รู้ ใครก็เห็นว่าทุนสำรองของไทยช่วงนี้สูงมาก แต่ไม่มีใครรู้ว่าที่มาที่ไปของทุนสำรองเป็นอย่างไร เรื่องทุนสำรองจึงไม่ใช่เรื่องที่คิดกันแบบมักง่าย
ช่วงปี 2540 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.กระทรวงการคลัง เคยเป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนสำรองของประเทศ ที่ทุนสำรองของประเทศเสียหายและลดต่ำลงกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ http://yfrog.com/nzi9w8j จนต้องเข้า IMF และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสั่งปิด 56 สถาบันการเงินเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ปี 2554 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ร่วมข้าราชการระดับสูงกระทรวงการคลัง ใจใส่และมีความคิดง่ายๆ ที่จะนำทุนสำรองมา 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท ตั้งเป็นกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ
มีตัวเลขอื่นๆ เช่นหนี้สาธารณะที่สูงถึง 4.5 ล้านล้านบาท หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.1 ล้านล้านบาท น่าสนใจมาก ทำไมจึงไม่ใส่ใจบ้าง
ประวัติศาสตร์ 36 ปีที่ผ่านมา ทรัพยากรของประเทศไม่ได้เจริญขึ้น เห็นแต่ความเสียหายโดยต่อเนื่อง ประเทศเราเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง หากผู้บริหารระดับสูงมีวิสัยทัศน์-ปรัชญา มีคุณธรรม-จริยธรรมจริง ประเทศไทยคงไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ดัชนีคอร์รัปชันประเทศไทยสูงติดอันดับโลก ชื่อความหมายดี เช่น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กลับก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศสูงเป็นประวัติการณ์
กองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ ชื่อดีมาก แต่เราไม่เชื่อว่าจะทำให้ชาติมั่งคั่งได้ ประวัติศาสตร์บอกไว้ จะมาซ้ำเติมชาติให้ทรุดมากขึ้นไปอีก จะกลายเป็นกองทุนเพื่อการคอร์รัปชันชาติมากกว่า
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@yahoo.com
การพังทลายของตลาดหุ้นไทยส่งผลให้ค่าเงินบาทเสียหาย แต่ด้วยการผูกค่าเงินไว้ (Fixed) ทำให้ไม่เห็นว่าค่าเงินบาทเสียหาย
กระทรวงการคลังและธปท.พากันปกป้องค่าเงินบาทเต็มที่ โดยขาดความเข้าใจ จึงพ่ายแพ้ต่อเฮดจ์ ฟันด์ ผู้ซึ่งเข้าใจกลไกความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้นและตลาดเงินตราอย่างดี ก่อนปี 2540 ทุนสำรองสุทธิของประเทศอยู่ที่ระดับ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กลางปี 2540 ทุนสำรองสุทธิลดลงเหลือไม่ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟเป็นครั้งที่ 2 และต้องลอยค่าเงินบาท
การพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ในปี 2543 ทำให้เงินเหรียญสหรัฐเสียหาย เงินได้ไหลออกจากอเมริกา มายังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งไหลเข้ามายังประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยสามารถชำระหนี้งวดสุดท้าย IMF ในกลางปี 2546 รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ การเปิดตลาดอนุพันธ์ ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไรในไทยมากขึ้น
หลังการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดความเชื่อมั่นประเทศไทยมากขึ้น เงินทุนไหลเข้าประเทศไทยมากขึ้นอีก ช่วงเวลาดังกล่าวทุนสำรองของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 74,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กระทั่งวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รมว.กระทรวงการคลังสมัยนั้น ต้องออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์เงินทุนไหลเข้า แต่ล้มเหลว ออกมาตรการได้วันเดียว ตลาดหุ้นตกกว่า 100 จุด มูลค่าตลาดเสียหายกว่า 8 แสนล้านบาท ต้องยกเลิกมาตรการดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น
ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือทุนสำรองพิเศษกับทุนสำรองทั่วไป ทองคำและเงินบริจาคจากหลวงตามหาบัวเก็บไว้ในทุนสำรองพิเศษ
ทุนสำรองทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 บัญชี คือบัญชีทุนสำรองบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก การท่องเที่ยว การขายแรงงาน การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ บัญชีทุนสำรองเงินทุน (Capital Account) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินทุนไหลเข้าออกมาลงทุนหรือเก็งกำไรในตลาดเงินและตลาดหุ้น ทุนสำรองส่วนนี้มีความผันผวนสูง
เดือนกรกฎาคม 2540 ที่เราเข้ารับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ และลอยค่าเงินบาท ทุนสำรองของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 1,144 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยมาตรการกันสำรองปลายปี 2549 ล้มเหลว ถึงวันที่ 2 กันยายน 2554 ทุนสำรองสุทธิของไทยเพิ่มขึ้นมาถึง 214,778 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นมา 188 เท่า ทำให้สภาพคล่องท่วมประเทศหนัก
หลังปี 2008 Hamburger Crisis มีประเทศต่างๆ ต้องเข้ารับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟไม่ต่ำกว่า 20 ประเทศ เหตุที่ต้องเข้าไอเอ็มเอฟ เพราะทุนสำรองของประเทศเหล่านั้นลดต่ำจนถึงระดับอันตราย ใครก็รู้ ใครก็เห็นว่าทุนสำรองของไทยช่วงนี้สูงมาก แต่ไม่มีใครรู้ว่าที่มาที่ไปของทุนสำรองเป็นอย่างไร เรื่องทุนสำรองจึงไม่ใช่เรื่องที่คิดกันแบบมักง่าย
ช่วงปี 2540 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.กระทรวงการคลัง เคยเป็นผู้บริหารจัดการเงินทุนสำรองของประเทศ ที่ทุนสำรองของประเทศเสียหายและลดต่ำลงกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ http://yfrog.com/nzi9w8j จนต้องเข้า IMF และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสั่งปิด 56 สถาบันการเงินเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ปี 2554 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ร่วมข้าราชการระดับสูงกระทรวงการคลัง ใจใส่และมีความคิดง่ายๆ ที่จะนำทุนสำรองมา 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท ตั้งเป็นกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ
มีตัวเลขอื่นๆ เช่นหนี้สาธารณะที่สูงถึง 4.5 ล้านล้านบาท หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.1 ล้านล้านบาท น่าสนใจมาก ทำไมจึงไม่ใส่ใจบ้าง
ประวัติศาสตร์ 36 ปีที่ผ่านมา ทรัพยากรของประเทศไม่ได้เจริญขึ้น เห็นแต่ความเสียหายโดยต่อเนื่อง ประเทศเราเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง หากผู้บริหารระดับสูงมีวิสัยทัศน์-ปรัชญา มีคุณธรรม-จริยธรรมจริง ประเทศไทยคงไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ดัชนีคอร์รัปชันประเทศไทยสูงติดอันดับโลก ชื่อความหมายดี เช่น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กลับก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศสูงเป็นประวัติการณ์
กองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ ชื่อดีมาก แต่เราไม่เชื่อว่าจะทำให้ชาติมั่งคั่งได้ ประวัติศาสตร์บอกไว้ จะมาซ้ำเติมชาติให้ทรุดมากขึ้นไปอีก จะกลายเป็นกองทุนเพื่อการคอร์รัปชันชาติมากกว่า
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@yahoo.com