ทำความเข้าใจอีกครั้งว่าปัจจุบันทุนสำรองระหว่างประเทศมีสินทรัพย์คิดเป็นเงินไทยเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประมาณ 6.13 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญคือ
1. “ทุนสำรองทั่วไป” อยู่ที่ “ฝ่ายการธนาคาร” มีสินทรัพย์อยู่จำนวน 4.16 ล้านล้านบาท เป็นเงินตราต่างประเทศที่ผู้ส่งออก นักลงทุน นักเล่นหุ้น และคนปล่อยกู้จากต่างประเทศ เอาเข้ามาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อแลกเป็นเงินบาท ถือเป็นสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง เพราะส่วนใหญ่ของเงินตราต่างประเทศที่เข้ามานั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีต้นทุนด้วยการกู้หนี้เงินบาทในประเทศเกือบทั้งสิ้น
2. “ทุนสำรองเงินตรา” อยู่ที่ “ฝ่ายออกบัตร” ที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเรียกว่า “คลังหลวง” มีสินทรัพย์อยู่จำนวน 1.96 ล้านล้านบาท โดยบัญชีนี้ก่อตั้งด้วยเงิน 12 ล้านบาทในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีเอาไว้เพื่อหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตร และดอกผลที่เกิดขึ้นได้นำมาใช้ช่วยชาติในยามวิกฤตมาแล้ว 3-4 ครั้ง ประกอบไปด้วย 3 บัญชีคือ
2.1บัญชีทุนสำรองเงินตรา ปัจจุบันหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตร 100% ปัจจุบันมีการพิมพ์ธนบัตรออกใช้แล้วรวม 1.2 ล้านล้านบาท
2.2 บัญชีผลประโยชน์ประจำปี เกิดดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรต่อปี จะค้างอยู่ในบัญชีนี้แล้วหักค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 5.82 พันล้านบาท ซึ่งหากเหลือแล้วให้เก็บอยู่ในบัญชีทุนสำรองพิเศษ (อยู่ในข้อ 2.3 ซึ่งจะกล่าวต่อไป)
2.3 บัญชีทุนสำรองพิเศษ คือดอกผลที่สะสมกันมาจากสินทรัพย์ที่หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรมานับร้อยปีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งรวมถึงทองคำและเงินบริจาคของคณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนด้วย ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7.45 แสนล้านบาท
คำนิยามของ “คลังหลวง” ที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ให้มาปกป้องนั้นจึงหมายถึง “ทุนสำรองเงินตรา” ของ “ฝ่ายออกบัตร” ทั้งหมด ย่อมหมายรวมถึง 3 บัญชีทั้งหมด คือ 2.1 บัญชีทุนสำรองเงินตรา 2.2 บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และ 2.3 บัญชีทุนสำรองพิเศษ
ทุนสำรองเงินตราของฝ่ายออกบัตร ที่เรียกว่า “คลังหลวง” นั้นได้นำมาใช้จ่ายช่วยชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์มาแล้วถึง 4 ครั้ง
ครั้งแรก คือการใช้ “เงินถุงแดง” ซึ่งเป็นทุนสำรองแยกออกมาจากพระคลังมหาสมบัติที่สะสมมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 มาจ่ายให้กับฝรั่งเศสเพื่อไถ่บ้านไถ่เมืองรักษาเอกราชของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5
ครั้งที่สอง เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือการใช้ดอกผลที่งอกเงยขึ้นใน “ทุนสำรองเงินตรา” หรือ “คลังหลวง” มาจ่ายค่าสงครามตามเงื่อนไขต่อรองเพื่อย้ายข้างจากประเทศผู้แพ้สงครามฝ่ายญี่ปุ่นมาอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม
ครั้งที่สาม คือเป็นทุนค้ำจุนหนุนหลังมูลค่าเงินบาทในประเทศ ไม่ให้เป็นเศษกระดาษ หลังจากถูกโจมตีค่าเงินบาทในปี 2540 จนหมดทุนสำรองทั่วไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการบริจาคทองคำเพื่อสมทบคลังหลวง หลังจากที่นักการเมืองพยายามที่จะล้วง “คลังหลวง”นำไปใช้จ่ายให้หมดสิ้น
ครั้งที่สี่ คือ นำเงินดอกผลสะสมที่เกิดจากคลังหลวง ไปจ่ายให้กับหนี้เงินต้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 165,000 ล้านบาท ในปี 2545 ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเงินเหลือเพียงพอในทุนสำรองระหว่างประเทศไปชดใช้คืนหนี้ ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนดระยะเวลา และทำให้ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยกลับคืนมาจนถึงปัจจุบัน
สถานภาพ “ทุนสำรองเงินตรา” ของฝ่ายออกบัตร ที่เรียกว่า “คลังหลวง” จึงไม่ได้มีเพียงแค่ใช้เพื่อการหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรเท่านั้น แต่เงิน “คลังหลวง” คือ ทุนสำรองเงินตรา ทั้ง 3 บัญชี ยังมีสถานภาพเป็น..
“กองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ” เพื่อใช้สำหรับรับมือกับวิกฤตในอนาคตที่ยังมองไม่เห็นในวันข้างหน้าอีกด้วย!!!
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาต้องถือว่านายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คความตอนหนึ่งว่า:
“แนวคิดเรื่องกองทุนความมั่งคั่ง ที่ผมขอให้ ธปท.ไปศึกษานั้น ไม่มีการแตะต้องคลังหลวง ไม่มีการแตะต้องเงินสำรองที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้หนุนหลังเงินบาท และไม่มีการแตะต้องทองคำที่ได้รับบริจาคมาใดๆ ครับ เพียงแต่นำเอาส่วนที่ปัจจุบัน ธปท. เอาไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เปลี่ยนไปลงทุนในโครงการในภูมิภาคแทน”
จากวิธีคิดเรื่องกองทุนมั่งคั่งมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
1. ดูเหมือนว่าข้อความของนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ยังมีความคลุมเครือ
อยู่พอควรในเรื่องการไม่แตะต้อง “เงินคลังหลวง” ว่าเป็นการ “เล่นคำ”หรือ “สื่อสารไม่ครบถ้วน” กันแน่ เป็นผลทำให้เกิดความไม่ชัดเจนว่านิยามคำว่าคลังหลวงของนายธีระชัย กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนจะเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ โดยเฉพาะคำพูดที่อธิบายต่อจากคำว่าไม่แตะคลังหลวงนั้น ตามมาด้วยข้อความที่มีเงื่อนไขว่า 1. ไม่แตะต้องเงินสำรองที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้หนุนหลังเงินบาท 2. ไม่มีการแตะต้องทองคำที่ได้รับบริจาค โดยเฉพาะข้อความที่ว่า:
“เพียงแต่นำเอาส่วนที่ปัจจุบัน ธปท.เอาไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เปลี่ยนไปลงทุนในโครงการในภูมิภาคแทน” ข้อความนี้ดูเหมือนจะซ่อนรูปอย่างไม่ชัดเจนว่า “ส่วนที่ปัจจุบัน” ที่ว่านั้นหมายถึงบัญชีไหนกันแน่? และจะมีความหมายรวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ใน “บัญชีทุนสำรองพิเศษ” ซึ่งอยู่ 1 ใน 3 บัญชีของคลังหลวงด้วยหรือไม่!?
ซึ่งหากไปล้วงเงินหรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ฯ ใน “บัญชีทุนสำรองพิเศษ” แม้จะไม่ใช่ทองคำที่บริจาคโดยคณะลูกศิษย์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนก็ตาม นั่นหมายถึงการตัดสินใจแตะต้องและเตรียมล้วงเงินคลังหลวงตามคำนิยามของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนแน่นอนแล้ว แต่หากนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ไม่มีเจตนาเช่นนั้น ก็ควรจะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการให้ชัดเจนและหมดข้อสงสัยว่า..
“การจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งรัฐบาลจะไม่แตะต้องทุนสำรองเงินตรา ฝ่ายออกบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้ง 3 บัญชี”
2. จริงอยู่ที่ว่าที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยมีวิธีการตัดสินใจที่อาจจะล่าช้าและตามไม่ทันพลวัตโลกเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดผลการขาดทุนที่มากเกินความจำเป็น แต่ปัญหานี้ไม่ได้เป็นเพราะว่าประเทศไทยไม่ได้มีกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติหรือไม่ เพราะ พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2521) และ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 นั้นต่างให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกถือสินทรัพย์ได้หลายประเภท หลายสกุลเงิน เช่น ทองคำ พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ เงินตราต่างประเทศ ฯลฯ ย่อมแสดงว่าภายใต้โครงสร้างที่เป็นอยู่นี้ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ระบบ เพราะกฎหมายกำหนดให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเลือกลงทุนเปลี่ยนสินทรัพย์ให้ไม่ด้อยค่าลงได้โดยไม่ต้องมีความจำเป็นต้องตั้งกองทุนมั่งคั่งแต่ประการใด
3. สมมติว่าคำนิยาม “คลังหลวง” ของนายธีระชัย และคณะศิษย์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ตรงกันแล้วว่าหมายถึงจะไม่แตะต้อง “ทุนสำรองเงินตรา” ทั้ง 3 บัญชี ก็แปลว่า ไม่ต้องมีการเผชิญหน้ากันระหว่างลูกศิษย์ของหลวงตามหาบัว และกระทรวงการคลังอีกต่อไป คงเหลือการเผชิญหน้าและตกลงกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับกระทรวงการคลัง เพราะแปลว่ากระทรวงการคลังตั้งเป้าหมายเลือกที่จะแตะต้องเฉพาะ “ทุนสำรองทั่วไป” ของฝ่ายการธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสินทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์ต่างประเทศประมาณ 4.16 ล้านล้านบาท
ปัญหาก็คือเรามั่นใจเรื่องความโปร่งใสได้มากน้อยขนาดไหน กองทุนเทมาเส็กจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมักถูกอ้างอยู่บ่อยครั้งว่าประสบความสำเร็จในการใช้ทุนสำรองไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศนั้น เมื่อตรวจสอบดูก็จะพบว่า สิงคโปร์มีดัชนีความโปร่งใสของประเทศอยู่ที่ 9.3 เต็ม 10 อยู่ในอันดับ 1 ของโลก และดัชนีความโปร่งใสของกองทุนเทมาเส็กอยู่ที่ 10 เต็ม ติดอันดับ 1 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีดัชนีความโปร่งใสเพียงแค่ 3.5 เต็ม 10 อยู่ในลำดับที่ 78 ของโลก และขนาดสิงคโปร์ที่ว่ามีความโปร่งใสมีการบริหารด้วยความเป็นมืออาชีพ ยังเคยขาดทุนมาในปี 2551 ถึง 3.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดทุนปีเดียวถึง 31% ส่วนประเทศไทยทั้งนักการเมืองและผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยมีประวัติอันเลวร้ายในการขาดทุนมโหฬารในการบริหารกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และขาดทุนเล่นพนันปกป้องค่าเงินบาทในปี 2540 จนหมดทุนสำรองทั่วไปมาแล้ว
แม้แต่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังไม่เคยแสดงท่าทีให้เห็นชัดเจนว่าจะเรียกคืนการหนีภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หรือไม่อย่างไร แล้วจะให้เชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสภายใต้การกำกับดูแลและจัดตั้งบุคลากรโดยกระทรวงการคลังได้หรอกหรือ?
4. การที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ให้คำอธิบายว่า กองทุนมั่งคั่งนั้น “ทุน” จะมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ถ้าบริหารได้กำไรให้เป็นรายได้ของกระทรวงการคลัง หากขาดทุนก็ให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบ โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นวิธีที่หัวใส เพราะถ้าบริหารได้กำไรก็แปลว่ารัฐบาลได้งบประมาณมาใช้จ่ายถลุงมือเติบกันได้เพิ่มเติม ส่วนถ้าขาดทุนก็เป็นภาษีประชาชนอีกนั่นแหละที่ต้องมาแบกรับอย่างไม่เป็นธรรม
ดูจากสภาพโครงสร้างนี้แปลว่าในทางปฏิบัติ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่มีโอกาสไถ่ถอนหลักทรัพย์ในกองทุนกลับมาเป็นเงินต้นได้คล่องตัว เพราะส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะยาวในเอเชีย ซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สินในรูปพันธบัตรของรัฐบาลที่แม้อาจจะมีผลตอบแทนต่ำและอาจมีการขาดทุนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนยังมีสภาพคล่องที่สามารถขายในตลาดพันธบัตรได้ และเมื่อเป็นการลงทุนระยะยาว รัฐบาลก็ควรจะแถลงให้เกิดความชัดเจนว่าเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าประเทศไทยไม่ต้องการเงินส่วนนี้รองรับสำหรับกรณีหากเกิดวิกฤตเงินไหลออกนอกประเทศในยามที่เศรษฐกิจเปราะบางและผันผวนทั่วโลก?
5. การที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล พยายามเผยแพร่การขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ความจริงแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารโดยใช้ “เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ” เป็นหลัก และต้อง “รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท” ด้วย ดังนั้นการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยบางครั้งก็อาจจำเป็นที่จะต้องมีผลประกอบการขาดทุนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรักษาเป้าหมายเรื่องอัตราเงินเฟ้อ (ซึ่งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเหมาะสมหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
อันที่จริงแล้วเมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ทุกประเทศทั่วโลกก็ต้องขาดทุนในทุนสำรองอยู่แล้วเมื่อเทียบกับเงินสกุลของตัวเอง โดยทั่วโลกมีเงินสกุลดอลลาร์เป็นทุนสำรอง 60.7% และเป็นเงินสกุลยูโรอีก 26.6% แปลว่าไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้นที่ขาดทุน แต่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกต่างก็ขาดทุนในเรื่องเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าด้วยกันทั้งสิ้น
และหากอยากจะแก้ไขเรื่องการขาดทุนทางบัญชี สิ่งที่ทำได้หลายวิธี เช่น
วิธีแรก เปลี่ยนไปถือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ด้อยค่าลงให้มากและเร็วที่สุด ซึ่งสามารถทำได้อยู่แล้วโดยกฎหมายทั้ง พ.ร.บ.เงินตรา และพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ความจริงก็คงเปลี่ยนได้ไม่หมดเพราะต้องสำรองเงินเอาไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนเงินตราด้วย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยก็เริ่มมาเปลี่ยนถือสินทรัพย์เป็นทองคำเพิ่มขึ้นในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาจาก 84 ตันมาเป็น 127.5 ตันแล้ว หรือถ้าห่วงการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยจริงกระทรวงการคลังก็สามารถเสนอตัวออกพันธบัตรเงินบาทระยะยาวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยถือแทนพันธบัตรสหรัฐอเมริกาได้เช่นกัน
และวิธีที่สองก็คือใช้นโยบายเงินบาทอ่อนค่าลง นั่นหมายถึงรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะต้องเลือกแนวทางได้หลายวิธีผสมผสานกัน เช่น บริหารเพิ่มปริมาณให้เงินบาทเพียงพอต่อความต้องการของตลาดหรือลดอัตราดอกเบี้ย (โดยยอมแลกกับอัตราเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้น) หรือ ควบคุมการไหลเข้าออกของทุนต่างประเทศที่เก็งกำไรค่าเงินระยะสั้น หรือเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ
ดังนั้นการพูดเรื่องการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยอันเนื่องมาจากดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยเอามาเป็นเหตุอ้างในการตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติเพียง 3 แสนล้านบาท ทั้งๆ ที่มีจำนวนน้อยกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีสินทรัพย์มากถึง 6.13 ล้านล้านบาทนั้น ดูจะง่ายไปที่จะด่วนสรุปไปว่าจะเป็นยาวิเศษในการแก้ไขปัญหาการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยได้
ยิ่งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติจะหวังเอากำไรเข้ากระทรวงการคลังเพื่อใช้จ่ายเป็นงบประมาณเสียแล้ว โดยให้เพียงแค่ค่าธรรมเนียมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยิ่งไม่สมเหตุสมผลว่าจะแก้ไขปัญหาการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยได้อย่างไร?
ในทางตรงกันข้าม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระบุเองว่าจะใช้นโยบาย “ค่าเงินบาทแข็ง” เพื่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ นโยบายอันนี้ต่างหากที่จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องขาดทุนทางบัญชีหนักขึ้นไปอีก
สรุปว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็ตามไม่ทันพลวัตของโลกจนบริหารขาดทุนเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศมากเกินไป ส่วนความคิดเรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติของรัฐบาลแม้ดูก้าวหน้ากว่าแต่ก็ยากที่จะไว้วางใจได้ ไม่น่าสนับสนุนฝ่ายไหนทั้งสิ้น
เอาเป็นว่า เบื้องต้นถ้าไม่แตะต้อง “ทุนสำรองเงินตรา” หรือ “คลังหลวง” ของฝ่ายออกบัตร เป็นอันว่าสอบผ่านเบื้องต้นในเจตนารมณ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนแล้ว!!
1. “ทุนสำรองทั่วไป” อยู่ที่ “ฝ่ายการธนาคาร” มีสินทรัพย์อยู่จำนวน 4.16 ล้านล้านบาท เป็นเงินตราต่างประเทศที่ผู้ส่งออก นักลงทุน นักเล่นหุ้น และคนปล่อยกู้จากต่างประเทศ เอาเข้ามาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อแลกเป็นเงินบาท ถือเป็นสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง เพราะส่วนใหญ่ของเงินตราต่างประเทศที่เข้ามานั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีต้นทุนด้วยการกู้หนี้เงินบาทในประเทศเกือบทั้งสิ้น
2. “ทุนสำรองเงินตรา” อยู่ที่ “ฝ่ายออกบัตร” ที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเรียกว่า “คลังหลวง” มีสินทรัพย์อยู่จำนวน 1.96 ล้านล้านบาท โดยบัญชีนี้ก่อตั้งด้วยเงิน 12 ล้านบาทในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีเอาไว้เพื่อหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตร และดอกผลที่เกิดขึ้นได้นำมาใช้ช่วยชาติในยามวิกฤตมาแล้ว 3-4 ครั้ง ประกอบไปด้วย 3 บัญชีคือ
2.1บัญชีทุนสำรองเงินตรา ปัจจุบันหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตร 100% ปัจจุบันมีการพิมพ์ธนบัตรออกใช้แล้วรวม 1.2 ล้านล้านบาท
2.2 บัญชีผลประโยชน์ประจำปี เกิดดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรต่อปี จะค้างอยู่ในบัญชีนี้แล้วหักค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 5.82 พันล้านบาท ซึ่งหากเหลือแล้วให้เก็บอยู่ในบัญชีทุนสำรองพิเศษ (อยู่ในข้อ 2.3 ซึ่งจะกล่าวต่อไป)
2.3 บัญชีทุนสำรองพิเศษ คือดอกผลที่สะสมกันมาจากสินทรัพย์ที่หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรมานับร้อยปีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งรวมถึงทองคำและเงินบริจาคของคณะลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนด้วย ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7.45 แสนล้านบาท
คำนิยามของ “คลังหลวง” ที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ให้มาปกป้องนั้นจึงหมายถึง “ทุนสำรองเงินตรา” ของ “ฝ่ายออกบัตร” ทั้งหมด ย่อมหมายรวมถึง 3 บัญชีทั้งหมด คือ 2.1 บัญชีทุนสำรองเงินตรา 2.2 บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และ 2.3 บัญชีทุนสำรองพิเศษ
ทุนสำรองเงินตราของฝ่ายออกบัตร ที่เรียกว่า “คลังหลวง” นั้นได้นำมาใช้จ่ายช่วยชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์มาแล้วถึง 4 ครั้ง
ครั้งแรก คือการใช้ “เงินถุงแดง” ซึ่งเป็นทุนสำรองแยกออกมาจากพระคลังมหาสมบัติที่สะสมมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 มาจ่ายให้กับฝรั่งเศสเพื่อไถ่บ้านไถ่เมืองรักษาเอกราชของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5
ครั้งที่สอง เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือการใช้ดอกผลที่งอกเงยขึ้นใน “ทุนสำรองเงินตรา” หรือ “คลังหลวง” มาจ่ายค่าสงครามตามเงื่อนไขต่อรองเพื่อย้ายข้างจากประเทศผู้แพ้สงครามฝ่ายญี่ปุ่นมาอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม
ครั้งที่สาม คือเป็นทุนค้ำจุนหนุนหลังมูลค่าเงินบาทในประเทศ ไม่ให้เป็นเศษกระดาษ หลังจากถูกโจมตีค่าเงินบาทในปี 2540 จนหมดทุนสำรองทั่วไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการบริจาคทองคำเพื่อสมทบคลังหลวง หลังจากที่นักการเมืองพยายามที่จะล้วง “คลังหลวง”นำไปใช้จ่ายให้หมดสิ้น
ครั้งที่สี่ คือ นำเงินดอกผลสะสมที่เกิดจากคลังหลวง ไปจ่ายให้กับหนี้เงินต้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 165,000 ล้านบาท ในปี 2545 ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเงินเหลือเพียงพอในทุนสำรองระหว่างประเทศไปชดใช้คืนหนี้ ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนดระยะเวลา และทำให้ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยกลับคืนมาจนถึงปัจจุบัน
สถานภาพ “ทุนสำรองเงินตรา” ของฝ่ายออกบัตร ที่เรียกว่า “คลังหลวง” จึงไม่ได้มีเพียงแค่ใช้เพื่อการหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรเท่านั้น แต่เงิน “คลังหลวง” คือ ทุนสำรองเงินตรา ทั้ง 3 บัญชี ยังมีสถานภาพเป็น..
“กองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ” เพื่อใช้สำหรับรับมือกับวิกฤตในอนาคตที่ยังมองไม่เห็นในวันข้างหน้าอีกด้วย!!!
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาต้องถือว่านายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คความตอนหนึ่งว่า:
“แนวคิดเรื่องกองทุนความมั่งคั่ง ที่ผมขอให้ ธปท.ไปศึกษานั้น ไม่มีการแตะต้องคลังหลวง ไม่มีการแตะต้องเงินสำรองที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้หนุนหลังเงินบาท และไม่มีการแตะต้องทองคำที่ได้รับบริจาคมาใดๆ ครับ เพียงแต่นำเอาส่วนที่ปัจจุบัน ธปท. เอาไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เปลี่ยนไปลงทุนในโครงการในภูมิภาคแทน”
จากวิธีคิดเรื่องกองทุนมั่งคั่งมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
1. ดูเหมือนว่าข้อความของนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ยังมีความคลุมเครือ
อยู่พอควรในเรื่องการไม่แตะต้อง “เงินคลังหลวง” ว่าเป็นการ “เล่นคำ”หรือ “สื่อสารไม่ครบถ้วน” กันแน่ เป็นผลทำให้เกิดความไม่ชัดเจนว่านิยามคำว่าคลังหลวงของนายธีระชัย กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนจะเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ โดยเฉพาะคำพูดที่อธิบายต่อจากคำว่าไม่แตะคลังหลวงนั้น ตามมาด้วยข้อความที่มีเงื่อนไขว่า 1. ไม่แตะต้องเงินสำรองที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้หนุนหลังเงินบาท 2. ไม่มีการแตะต้องทองคำที่ได้รับบริจาค โดยเฉพาะข้อความที่ว่า:
“เพียงแต่นำเอาส่วนที่ปัจจุบัน ธปท.เอาไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เปลี่ยนไปลงทุนในโครงการในภูมิภาคแทน” ข้อความนี้ดูเหมือนจะซ่อนรูปอย่างไม่ชัดเจนว่า “ส่วนที่ปัจจุบัน” ที่ว่านั้นหมายถึงบัญชีไหนกันแน่? และจะมีความหมายรวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ใน “บัญชีทุนสำรองพิเศษ” ซึ่งอยู่ 1 ใน 3 บัญชีของคลังหลวงด้วยหรือไม่!?
ซึ่งหากไปล้วงเงินหรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ฯ ใน “บัญชีทุนสำรองพิเศษ” แม้จะไม่ใช่ทองคำที่บริจาคโดยคณะลูกศิษย์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนก็ตาม นั่นหมายถึงการตัดสินใจแตะต้องและเตรียมล้วงเงินคลังหลวงตามคำนิยามของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนแน่นอนแล้ว แต่หากนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ไม่มีเจตนาเช่นนั้น ก็ควรจะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการให้ชัดเจนและหมดข้อสงสัยว่า..
“การจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งรัฐบาลจะไม่แตะต้องทุนสำรองเงินตรา ฝ่ายออกบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้ง 3 บัญชี”
2. จริงอยู่ที่ว่าที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยมีวิธีการตัดสินใจที่อาจจะล่าช้าและตามไม่ทันพลวัตโลกเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดผลการขาดทุนที่มากเกินความจำเป็น แต่ปัญหานี้ไม่ได้เป็นเพราะว่าประเทศไทยไม่ได้มีกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติหรือไม่ เพราะ พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ. 2501 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2521) และ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 นั้นต่างให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกถือสินทรัพย์ได้หลายประเภท หลายสกุลเงิน เช่น ทองคำ พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ เงินตราต่างประเทศ ฯลฯ ย่อมแสดงว่าภายใต้โครงสร้างที่เป็นอยู่นี้ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ระบบ เพราะกฎหมายกำหนดให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเลือกลงทุนเปลี่ยนสินทรัพย์ให้ไม่ด้อยค่าลงได้โดยไม่ต้องมีความจำเป็นต้องตั้งกองทุนมั่งคั่งแต่ประการใด
3. สมมติว่าคำนิยาม “คลังหลวง” ของนายธีระชัย และคณะศิษย์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ตรงกันแล้วว่าหมายถึงจะไม่แตะต้อง “ทุนสำรองเงินตรา” ทั้ง 3 บัญชี ก็แปลว่า ไม่ต้องมีการเผชิญหน้ากันระหว่างลูกศิษย์ของหลวงตามหาบัว และกระทรวงการคลังอีกต่อไป คงเหลือการเผชิญหน้าและตกลงกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับกระทรวงการคลัง เพราะแปลว่ากระทรวงการคลังตั้งเป้าหมายเลือกที่จะแตะต้องเฉพาะ “ทุนสำรองทั่วไป” ของฝ่ายการธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสินทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์ต่างประเทศประมาณ 4.16 ล้านล้านบาท
ปัญหาก็คือเรามั่นใจเรื่องความโปร่งใสได้มากน้อยขนาดไหน กองทุนเทมาเส็กจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมักถูกอ้างอยู่บ่อยครั้งว่าประสบความสำเร็จในการใช้ทุนสำรองไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศนั้น เมื่อตรวจสอบดูก็จะพบว่า สิงคโปร์มีดัชนีความโปร่งใสของประเทศอยู่ที่ 9.3 เต็ม 10 อยู่ในอันดับ 1 ของโลก และดัชนีความโปร่งใสของกองทุนเทมาเส็กอยู่ที่ 10 เต็ม ติดอันดับ 1 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีดัชนีความโปร่งใสเพียงแค่ 3.5 เต็ม 10 อยู่ในลำดับที่ 78 ของโลก และขนาดสิงคโปร์ที่ว่ามีความโปร่งใสมีการบริหารด้วยความเป็นมืออาชีพ ยังเคยขาดทุนมาในปี 2551 ถึง 3.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดทุนปีเดียวถึง 31% ส่วนประเทศไทยทั้งนักการเมืองและผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยมีประวัติอันเลวร้ายในการขาดทุนมโหฬารในการบริหารกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และขาดทุนเล่นพนันปกป้องค่าเงินบาทในปี 2540 จนหมดทุนสำรองทั่วไปมาแล้ว
แม้แต่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังไม่เคยแสดงท่าทีให้เห็นชัดเจนว่าจะเรียกคืนการหนีภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หรือไม่อย่างไร แล้วจะให้เชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใสภายใต้การกำกับดูแลและจัดตั้งบุคลากรโดยกระทรวงการคลังได้หรอกหรือ?
4. การที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ให้คำอธิบายว่า กองทุนมั่งคั่งนั้น “ทุน” จะมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ถ้าบริหารได้กำไรให้เป็นรายได้ของกระทรวงการคลัง หากขาดทุนก็ให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบ โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นวิธีที่หัวใส เพราะถ้าบริหารได้กำไรก็แปลว่ารัฐบาลได้งบประมาณมาใช้จ่ายถลุงมือเติบกันได้เพิ่มเติม ส่วนถ้าขาดทุนก็เป็นภาษีประชาชนอีกนั่นแหละที่ต้องมาแบกรับอย่างไม่เป็นธรรม
ดูจากสภาพโครงสร้างนี้แปลว่าในทางปฏิบัติ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่มีโอกาสไถ่ถอนหลักทรัพย์ในกองทุนกลับมาเป็นเงินต้นได้คล่องตัว เพราะส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะยาวในเอเชีย ซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สินในรูปพันธบัตรของรัฐบาลที่แม้อาจจะมีผลตอบแทนต่ำและอาจมีการขาดทุนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนยังมีสภาพคล่องที่สามารถขายในตลาดพันธบัตรได้ และเมื่อเป็นการลงทุนระยะยาว รัฐบาลก็ควรจะแถลงให้เกิดความชัดเจนว่าเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าประเทศไทยไม่ต้องการเงินส่วนนี้รองรับสำหรับกรณีหากเกิดวิกฤตเงินไหลออกนอกประเทศในยามที่เศรษฐกิจเปราะบางและผันผวนทั่วโลก?
5. การที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล พยายามเผยแพร่การขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ความจริงแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารโดยใช้ “เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ” เป็นหลัก และต้อง “รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท” ด้วย ดังนั้นการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยบางครั้งก็อาจจำเป็นที่จะต้องมีผลประกอบการขาดทุนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรักษาเป้าหมายเรื่องอัตราเงินเฟ้อ (ซึ่งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเหมาะสมหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
อันที่จริงแล้วเมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ทุกประเทศทั่วโลกก็ต้องขาดทุนในทุนสำรองอยู่แล้วเมื่อเทียบกับเงินสกุลของตัวเอง โดยทั่วโลกมีเงินสกุลดอลลาร์เป็นทุนสำรอง 60.7% และเป็นเงินสกุลยูโรอีก 26.6% แปลว่าไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้นที่ขาดทุน แต่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกต่างก็ขาดทุนในเรื่องเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าด้วยกันทั้งสิ้น
และหากอยากจะแก้ไขเรื่องการขาดทุนทางบัญชี สิ่งที่ทำได้หลายวิธี เช่น
วิธีแรก เปลี่ยนไปถือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ด้อยค่าลงให้มากและเร็วที่สุด ซึ่งสามารถทำได้อยู่แล้วโดยกฎหมายทั้ง พ.ร.บ.เงินตรา และพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ความจริงก็คงเปลี่ยนได้ไม่หมดเพราะต้องสำรองเงินเอาไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนเงินตราด้วย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยก็เริ่มมาเปลี่ยนถือสินทรัพย์เป็นทองคำเพิ่มขึ้นในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาจาก 84 ตันมาเป็น 127.5 ตันแล้ว หรือถ้าห่วงการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยจริงกระทรวงการคลังก็สามารถเสนอตัวออกพันธบัตรเงินบาทระยะยาวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยถือแทนพันธบัตรสหรัฐอเมริกาได้เช่นกัน
และวิธีที่สองก็คือใช้นโยบายเงินบาทอ่อนค่าลง นั่นหมายถึงรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะต้องเลือกแนวทางได้หลายวิธีผสมผสานกัน เช่น บริหารเพิ่มปริมาณให้เงินบาทเพียงพอต่อความต้องการของตลาดหรือลดอัตราดอกเบี้ย (โดยยอมแลกกับอัตราเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้น) หรือ ควบคุมการไหลเข้าออกของทุนต่างประเทศที่เก็งกำไรค่าเงินระยะสั้น หรือเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ
ดังนั้นการพูดเรื่องการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยอันเนื่องมาจากดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยเอามาเป็นเหตุอ้างในการตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติเพียง 3 แสนล้านบาท ทั้งๆ ที่มีจำนวนน้อยกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีสินทรัพย์มากถึง 6.13 ล้านล้านบาทนั้น ดูจะง่ายไปที่จะด่วนสรุปไปว่าจะเป็นยาวิเศษในการแก้ไขปัญหาการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยได้
ยิ่งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติจะหวังเอากำไรเข้ากระทรวงการคลังเพื่อใช้จ่ายเป็นงบประมาณเสียแล้ว โดยให้เพียงแค่ค่าธรรมเนียมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยิ่งไม่สมเหตุสมผลว่าจะแก้ไขปัญหาการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยได้อย่างไร?
ในทางตรงกันข้าม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระบุเองว่าจะใช้นโยบาย “ค่าเงินบาทแข็ง” เพื่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ นโยบายอันนี้ต่างหากที่จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องขาดทุนทางบัญชีหนักขึ้นไปอีก
สรุปว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็ตามไม่ทันพลวัตของโลกจนบริหารขาดทุนเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศมากเกินไป ส่วนความคิดเรื่องกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติของรัฐบาลแม้ดูก้าวหน้ากว่าแต่ก็ยากที่จะไว้วางใจได้ ไม่น่าสนับสนุนฝ่ายไหนทั้งสิ้น
เอาเป็นว่า เบื้องต้นถ้าไม่แตะต้อง “ทุนสำรองเงินตรา” หรือ “คลังหลวง” ของฝ่ายออกบัตร เป็นอันว่าสอบผ่านเบื้องต้นในเจตนารมณ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนแล้ว!!