ASTVผู้จัดการรายวัน-“ยิ่งลักษณ์” รับเตรียมหารือ“กฤษฎีกา”ต้องระงับการทูลเกล้าฯไว้ก่อนหรือไม่ หลัง“บอร์ดดีเอสไอ” รับสอบสรรหากสทช.มิชอบ ด้าน"สุทธิพล ทวีชัยการ" ย้ำ กม.เขียนชัด “ปู” ไม่มีสิทธิ์ยื้อทูลเกล้าฯ เข้าข่ายก้าวล่วงพระราชอำนาจ “มาร์ค”เตือนไม่ทูลเกล้าฯ รายชื่อกสทช.อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ และนายกฯ ต้องรับผิดชอบ
วานนี้ (8 ก.ย.)น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่คณะกรรมการคดีพิเศษ(กพค.)มีมติรับคดีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เป็นคดีพิเศษว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหา แต่ตามกระบวนการได้มอบให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปศึกษาขั้นตอนของกฎหมาย โดยตนมีหน้าที่นำรายชื่อส่งไป แต่ถ้ามีเรื่องการตรวจสอบเข้ามาก็ต้องหารือเชิงข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตามกระบวนการแล้วถือเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะรักษาการกสทช.ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ใช่ แต่นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่นำรายชื่อส่ง ซึ่งทั้งหมดจะให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีศึกษาและเร่งทำให้ถูกขั้นตอนต่อไป และถ้าเห็นว่านำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ก็จะดำเนินการเลย
ส่วนจะต้องมีการเลือกประธานและรองประธานกสทช.ก่อนจึงจะส่งรายชื่อทั้งหมดให้นายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ถ้ามีการส่งรายชื่อมาและดูแล้วเป็นไปตามกฎหมายก็จะดำเนินการต่อไป
“สุชน” เผย ชื่อกสทช.ยังไม่ถึงนายกฯ
นายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้รายชื่อยังมาไม่ถึงถือมือนายกฯ และยังอยู่ในส่วนของรัฐสภา ซึ่งถ้าส่งมาแล้ว นายกฯก็ต้องตรวจสอบให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยเฉพาะจะต้องมีการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย เพราะฉะนั้น ตอนนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่าพึ่งตีตนไปก่อนไข้
"ธาริต"ปัดทำคดีกสทช.หวังสนองรัฐ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงการรับทำคดี กสทช.ว่าไม่ได้เป็นการทำงานเพื่อมุ่งสนองรัฐบาลหรือเพื่อรักษาเก้าอี้อธิบดีดีเอสไอ เนื่องจากการทำงานดังกล่าวเป็นการทำงานในฐานะข้าราชการที่ต้องปฏิบัติไปตามกฎหมายและทำตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ การสรรหาคณะกรรมการดังกล่าว ก็ไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของรัฐบาลด้วย แต่เป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
ส่วนกรอบระยะเวลาในการทำงานสำหรับคดีดังกล่าวนั้น ตามเกณฑ์ปกติของคดีทั่วๆ ไปอยู่ที่ 6 เดือน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความยากง่ายของคดี หากคดีดังกล่าวเลยกำหนด 15 วัน ในการที่นายกรัฐมนตรีจะต้องทูลเกล้าฯ แล้วจะมีผลทำให้ต้องยกเลิกกระบวนการสรรหา กสทช. ทั้ง 11 คนหรือไม่นั้น ต้องให้เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี
“เฉลิม”ปัดDSIเอาใจรัฐบาล
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษจะดำเนินการสอบสวน ซึ่งการรับเป็นคดีพิเศษไม่ได้หมายความว่า มีความผิด เป็นเพียงการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)เข้ามาสอบสวนได้ เมื่อถามว่า มีการกล่าวหาว่า สาเหตุที่รับเรื่องไว้เป็นกรณีพิเศษเพื่อเอาใจรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า ไม่ใช่ รัฐบาลไม่มีส่วนได้เสียอะไรเลย เมื่อถามว่า จำเป็นต้องระงับการทูลเกล้า กสทช.ทั้ง 11 คนไว้ก่อนหรือไม่ ในระหว่างที่อยู่ในการสอบสวนของดีเอสไอ ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า คงต้องหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อความปลอดภัยของรัฐบาล
มาร์ค เตือนไม่ทูลเกล้าฯอาจถูกฟ้อง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนดูข้อกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจว่าจะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯหรือไม่ ถ้านายกฯ ไม่ทูลเกล้าฯ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกก็มีสิทธิฟ้องร้อง และนายกฯก็ต้องรับผิดชอบว่าทำไมถึงไม่ดำเนินการเช่นนั้น
ขั้นตอนต่อจากนี้ก็จะมีเพียงการที่นายกรัฐมนตรีนำรายชื่อ กสทช.ขึ้นทูลเกล้า ส่วนจะตัดสินหรือไม่อยู่ที่นายกฯ เพราะหากนายกฯไม่นำขึ้นทูลเกล้า คนที่ได้รับการคัดเลือกมีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้และนายกฯเป็นผู้รักษาการณ์ตามกฎหมาย ก็ต้องมีหน้าที่วินิจฉัย ว่าตามกฎหมายถือว่าทูลเกล้าหรือไม่ทูลเกล้าซึ่งก็มีความเสี่ยงทั้ง 2 ด้าน โดยผู้รับผิดชอบโดยตรง คือนายกฯ ถ้าจะทูลเกล้า ก็ดำเนินการ และถ้าไม่ทูลเกล้าก็ต้องรับผิดชอบว่าทำไมถึงไม่ทูลเกล้า
ไอซีที.เงา จับตาสบช่องตั้งคนตัวเอง
นายจุติ ไกรฤกษ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศเงา กล่าวว่า ธรรมาภิบาล และการปลอดผลประโยนช์ทับซ้อนไม่ใช่จุดแข็งของรัฐบาลชุดนี้ เมื่อเข้ามาทุกคนก็มีข้อสงสัยข้อนี้ว่า จะหายไปจากระบบหรือไม่ วันนี้การที่มีแนวโน้มว่าจะทำให้กสทช.ไม่สามารถทำตามขั้นตอนตั้งได้ครบหรือทำงานได้เลย จะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ เพราะหาก กสทช.ตั้งได้เร็วเมื่อไรประโยชน์ในทางสาธารณะ การจัดระเบียบของวิทยุ หรือทีวีในเรืองการประมูลระบบ 3 จี เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของประเทศ ที่รัฐบาลพยายามพูดอยู่นั้นไม่สามารถทำได้เลย คนไทยทั้งประเทศจะเสียประโยชน์อย่างมาก อาทิความก้าวหน้าในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การสื่อสาร สูญเสียโอกาสในการเท่าเทียมเรื่องทั้งหมดต้องอาศัยสื่อช่วยกระตุ้นว่า ประชาชนเสียอะไรไปกับความล่าช้า สังคมที่สงบที่เป็นสุขที่วิทยุบางคลื่นไม่ต้องเข้ามาบั่นทอนความสงบในสังคม
"ไม่สามารถนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าได้แล้ว ก็จะสมประโยชน์คนบางคน หรือไอ้โม่ง ที่นั่งคอยอยู่ ว่าถ้าตั้งไม่ได้ตามกฎหมายแล้ว รัฐบาลจะมีอำนาจในการแต่งตั้งเอง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะดูไม่สวย เพราะภาพลักษณ์ที่ไปทับซ้อนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระทรวงคมนาคม ที่ผ่านมาตนเคยเตือนมาตลอดว่าเป็นธุรกิจล้านล้านที่ต้องช่วยกันดู และถ้าสมาชิกวุฒิสภาเลือกคณะกรรมการกสทช.ไม่ได้ รัฐบาลเป็นคนเลือกก็จะเจอข้อหา แต่รัฐบาลก็คงไม่แคร์ ส่วนทางออกของสมาชิกวุฒิจะทำอย่างไรต่อไปนั้นตนไม่ทราบ แต่เชื่อว่าในเรื่องทุนผูกขาดก็จะกลับมา โดยทุนผูกขาดก็จะไปสนับสนุนให้มีประชาธิปไตยที่ผูกขาด ส่วน กสทช.ที่ได้มาทั้ง11 คนนั้น ต่างคนต่างมีความเชี่ยวชาญ หรือบางคนอาจจะเชี่ยวชาญหรือมีความรู้ที่ไม่ตรงกับสายที่ได้รับการคัดเลือกมาก็ไม่น่ามีปัญหา เพราะถือเป็นความหลากหลาย และตนมั่นใจว่า สมาชิกวุฒิสภา ทุกคนได้คัดเลือกคนมาอย่างรอบคอบแล้ว"
เมื่อถามว่า มองว่ารัฐบาลตั้งแง่หรือต้องการเลือกคนของตัวเองมากกว่าหรือไม่ นายจุติ กล่าวว่า หากสังเกตดูจะพบว่ามีความพยายามที่จะไม่ให้มีการเลือกมาตั้งแต่ต้น มองตัวละครออก และเมื่อมีการตั้งมาแล้วก็ต้องหาเหตุจนได้ โอกาสที่จะเอาคนของรัฐบาลมาเป็น กสทช.ก็อยู่ที่ดีกรีของความหน้าด้านว่ามีมากขนาดไหน
ขุนค้อนไม่พูดชะลอนำทูลเกล้าฯ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบในรายละเอียด แต่เรื่องนี้คงต้องดูทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง เมื่อถามว่า กรณีที่คณะกรรมการคดีพิเศษ(กพค.)มีมติรับคดีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับกระบวนการสรรหากสทช.เป็นคดีพิเศษนั้น จะกระทบต่อกระบวนการพิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯ หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทรายในรายละเอียด ส่วนหากดีเอสไอกำลังตรวจสอบอยู่แต่มีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ นั้นจะเป็นการมิบังควรหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การคัดเลือก กสทช.ทั้ง 11 คน เป็นไปตามกรอบของ พ.ร.บ.กสทช.2553 ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ส่วนกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เข้ามาสอบสวนกรณีกระบวนการสรรหา กสทช. เพราะมีความไม่โปร่งใสในการสรรหาเป็นคดีพิเศษนั้น ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ส่วนการเดินหน้าเสนอชื่อ กสทช.ก็คงต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี
คาด 19 ก.ย.ส่งรายชื่อถึงนายกฯ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากที่สำนักงาน กสทช.ได้รับมอบหมายให้เชิญผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็น กสทช.ทั้ง11 คน ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กสทช.ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง กสทช.ทั้ง 11 คนแล้ววานนี้ (8 ก.ย.) โดยขอเชิญมาร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกประธานและรองประธาน กสทช.ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างครบถ้วน
“ขณะนี้ยังมีประเด็นข้อกฎหมายว่า ระหว่างวุฒิสภากับ กสทช.ใครจะเป็นผู้นำรายชื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ทางสำนักงาน กสทช.จึงแก้ปัญหาด้วยการเชิญเลขาธิการวุฒิสภาเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และนำรายชื่อ กสทช.เสนอต่อนายกฯ ภายในวันที่ 19 ก.ย.นี้” นายฐากร กล่าว
ส.ว.จับผิด “DSIสอบ กสทช.” ผิดปกติ
ในการประชุมกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มีนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ก่อนเข้าวาระประชุมนายสมชายได้แจ้งเรื่องที่กรรมการดีเอสไอเห็นชอบให้ดำเนินคดีสรรหากสทช. ว่า ได้มอบหมายให้ นายสัก กอแสงเรือง ประธานที่ปรึกษาด้านสิทธิเสรีภาพของ กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ ทำเรื่องเสนอไปยังพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เพื่อให้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายประธานวุฒิมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว รวมถึงมีมูลเหตุใดหรือไม่ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ไม่นำรายชื่อ 11 ว่าที่กสทช. ขึ้นทูลเกล้าฯ
ด้านนายสัก กล่าวว่า การทำงานของพนักงานสอบสวนของดีเอสไอ ได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ผิดปกติ คือ มีการชี้แนะ ชี้นำกลุ่มอื่น ไปดำเนินการยื่นเรื่องต่อกรรมาธิการตรวจสอบประวัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กสทช., ประธานวุฒิสภา, กรรมาธิการ, เลขาธิการวุฒิสภาให้สอบสวนหรือพิจารณาหาข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของพนักงานสอบสวน
ที่สำคัญโดยหลักของการกฎหมายคดีพิเศษ ระบุว่าสอบสวนต้องไม่เปิดเผยข้อมูลซึ่งกระทบและสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น ซึ่งหากเปิดเผยแล้วถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และที่ผ่านมาพบว่าพนักงานสอบสวนได้เปิดเผยถึงกรรมการสรรหา กสทช. ซึ่งโดยสาธารณะทราบดีว่า กรรมการสรรหา กสทช.ประกอบด้วยใครบ้าง และที่สำคัญชั้นพนักงานสอบสวนไม่สามารถเปิดเผยสำนวนได้ และไม่มีสิทธิ์ให้ข่าวชี้ว่าใครผิด
ขณะที่นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ฐานะรองประธาน กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ กล่าวว่าตามพ.ร.บ.กสทช. กำหนดเป็นข้อบังคับชัดเจนว่า เมื่อสำนักงานเลขาธิการกสทช. ส่งรายชื่อ กสทช. ให้ครม.พิจารณาแล้ว นายกฯ ต้องส่งรายชื่อ 11 กสทช. ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ในกฎหมายไม่ได้ระบุว่าภายใต้เงื่อนไขเวลาเท่าใด
ยันกฎหมายชัด “ปู”ไม่มีสิทธิ์ยื้อทูลเกล้าฯ
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.ในฐานะว่าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อาจจะชะลอการนำรายชื่อ 11 กสทช.ขึ้นทูลเกล้าฯ ว่า ตนเชื่อมั่นในกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา กสทช.ตลอดจนการสรรหาของที่ประชุมวุฒิสภาว่าเป็นไปตามกฎกติกา ซึ่งเมื่อที่ประชุมวุฒิสภามีมติแล้ว ตามมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ บัญญัติไว้ชัดเจนว่าให้นายกฯนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ กฎหมายไม่ได้ใช้คำว่าให้นายกฯพิจารณาหรือตั้งคณะกรรมการตรวจสอบก่อนแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ หากมีการดำเนินการเช่นนั้นก็จะถือเป็นการก้าวล่วงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อกราบบังคมทูลฯแล้วการจะโปรดเกล้าฯหรือไม่สามารถจะไปก้าวล่วงได้
“กฎหมายเขียนให้นายกฯทำ 2 อย่าง คือ 1.ให้ทราบเรื่องที่ กสทช.ทั้ง 11 คนเลือกใครเป็นประธาน กสทช.และ 2.ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ซึ่งคำว่าทราบนั้นคือไม่ได้ให้พิจารณา แต่ทราบก็คือให้ทราบ โดยในเรื่องของการนำขึ้นกราบบังคมทูลฯกรณีต่างๆ เขียนไม่แตกต่างกัน อย่างเช่น เรื่องปัญหาคุณสมบัติของ ส.ส.มาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า ให้ประธานสภา ส่งเรื่องคำร้องที่ได้รับไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือ ประธานสภาไม่มีสิทธิที่จะใช้ดุลยพินิจว่าส.ส.ที่ถูกร้องนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วจะไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายไม่เปิดให้นายกฯใช้ดุลยพินิจแล้วถ้าไปใช้ดุลพินิจก็เข้าข่ายก้าวล่วงพระราชอำนาจและเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่” นายสุทธิพลกล่าว
วานนี้ (8 ก.ย.)น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่คณะกรรมการคดีพิเศษ(กพค.)มีมติรับคดีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)เป็นคดีพิเศษว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหา แต่ตามกระบวนการได้มอบให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปศึกษาขั้นตอนของกฎหมาย โดยตนมีหน้าที่นำรายชื่อส่งไป แต่ถ้ามีเรื่องการตรวจสอบเข้ามาก็ต้องหารือเชิงข้อกฎหมายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตามกระบวนการแล้วถือเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะรักษาการกสทช.ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ใช่ แต่นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่นำรายชื่อส่ง ซึ่งทั้งหมดจะให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีศึกษาและเร่งทำให้ถูกขั้นตอนต่อไป และถ้าเห็นว่านำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ก็จะดำเนินการเลย
ส่วนจะต้องมีการเลือกประธานและรองประธานกสทช.ก่อนจึงจะส่งรายชื่อทั้งหมดให้นายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ถ้ามีการส่งรายชื่อมาและดูแล้วเป็นไปตามกฎหมายก็จะดำเนินการต่อไป
“สุชน” เผย ชื่อกสทช.ยังไม่ถึงนายกฯ
นายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้รายชื่อยังมาไม่ถึงถือมือนายกฯ และยังอยู่ในส่วนของรัฐสภา ซึ่งถ้าส่งมาแล้ว นายกฯก็ต้องตรวจสอบให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยเฉพาะจะต้องมีการหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย เพราะฉะนั้น ตอนนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่าพึ่งตีตนไปก่อนไข้
"ธาริต"ปัดทำคดีกสทช.หวังสนองรัฐ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงการรับทำคดี กสทช.ว่าไม่ได้เป็นการทำงานเพื่อมุ่งสนองรัฐบาลหรือเพื่อรักษาเก้าอี้อธิบดีดีเอสไอ เนื่องจากการทำงานดังกล่าวเป็นการทำงานในฐานะข้าราชการที่ต้องปฏิบัติไปตามกฎหมายและทำตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ การสรรหาคณะกรรมการดังกล่าว ก็ไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของรัฐบาลด้วย แต่เป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
ส่วนกรอบระยะเวลาในการทำงานสำหรับคดีดังกล่าวนั้น ตามเกณฑ์ปกติของคดีทั่วๆ ไปอยู่ที่ 6 เดือน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความยากง่ายของคดี หากคดีดังกล่าวเลยกำหนด 15 วัน ในการที่นายกรัฐมนตรีจะต้องทูลเกล้าฯ แล้วจะมีผลทำให้ต้องยกเลิกกระบวนการสรรหา กสทช. ทั้ง 11 คนหรือไม่นั้น ต้องให้เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี
“เฉลิม”ปัดDSIเอาใจรัฐบาล
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษจะดำเนินการสอบสวน ซึ่งการรับเป็นคดีพิเศษไม่ได้หมายความว่า มีความผิด เป็นเพียงการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)เข้ามาสอบสวนได้ เมื่อถามว่า มีการกล่าวหาว่า สาเหตุที่รับเรื่องไว้เป็นกรณีพิเศษเพื่อเอาใจรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า ไม่ใช่ รัฐบาลไม่มีส่วนได้เสียอะไรเลย เมื่อถามว่า จำเป็นต้องระงับการทูลเกล้า กสทช.ทั้ง 11 คนไว้ก่อนหรือไม่ ในระหว่างที่อยู่ในการสอบสวนของดีเอสไอ ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า คงต้องหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อความปลอดภัยของรัฐบาล
มาร์ค เตือนไม่ทูลเกล้าฯอาจถูกฟ้อง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนดูข้อกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจว่าจะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯหรือไม่ ถ้านายกฯ ไม่ทูลเกล้าฯ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกก็มีสิทธิฟ้องร้อง และนายกฯก็ต้องรับผิดชอบว่าทำไมถึงไม่ดำเนินการเช่นนั้น
ขั้นตอนต่อจากนี้ก็จะมีเพียงการที่นายกรัฐมนตรีนำรายชื่อ กสทช.ขึ้นทูลเกล้า ส่วนจะตัดสินหรือไม่อยู่ที่นายกฯ เพราะหากนายกฯไม่นำขึ้นทูลเกล้า คนที่ได้รับการคัดเลือกมีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้และนายกฯเป็นผู้รักษาการณ์ตามกฎหมาย ก็ต้องมีหน้าที่วินิจฉัย ว่าตามกฎหมายถือว่าทูลเกล้าหรือไม่ทูลเกล้าซึ่งก็มีความเสี่ยงทั้ง 2 ด้าน โดยผู้รับผิดชอบโดยตรง คือนายกฯ ถ้าจะทูลเกล้า ก็ดำเนินการ และถ้าไม่ทูลเกล้าก็ต้องรับผิดชอบว่าทำไมถึงไม่ทูลเกล้า
ไอซีที.เงา จับตาสบช่องตั้งคนตัวเอง
นายจุติ ไกรฤกษ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศเงา กล่าวว่า ธรรมาภิบาล และการปลอดผลประโยนช์ทับซ้อนไม่ใช่จุดแข็งของรัฐบาลชุดนี้ เมื่อเข้ามาทุกคนก็มีข้อสงสัยข้อนี้ว่า จะหายไปจากระบบหรือไม่ วันนี้การที่มีแนวโน้มว่าจะทำให้กสทช.ไม่สามารถทำตามขั้นตอนตั้งได้ครบหรือทำงานได้เลย จะทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ เพราะหาก กสทช.ตั้งได้เร็วเมื่อไรประโยชน์ในทางสาธารณะ การจัดระเบียบของวิทยุ หรือทีวีในเรืองการประมูลระบบ 3 จี เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของประเทศ ที่รัฐบาลพยายามพูดอยู่นั้นไม่สามารถทำได้เลย คนไทยทั้งประเทศจะเสียประโยชน์อย่างมาก อาทิความก้าวหน้าในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การสื่อสาร สูญเสียโอกาสในการเท่าเทียมเรื่องทั้งหมดต้องอาศัยสื่อช่วยกระตุ้นว่า ประชาชนเสียอะไรไปกับความล่าช้า สังคมที่สงบที่เป็นสุขที่วิทยุบางคลื่นไม่ต้องเข้ามาบั่นทอนความสงบในสังคม
"ไม่สามารถนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าได้แล้ว ก็จะสมประโยชน์คนบางคน หรือไอ้โม่ง ที่นั่งคอยอยู่ ว่าถ้าตั้งไม่ได้ตามกฎหมายแล้ว รัฐบาลจะมีอำนาจในการแต่งตั้งเอง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะดูไม่สวย เพราะภาพลักษณ์ที่ไปทับซ้อนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระทรวงคมนาคม ที่ผ่านมาตนเคยเตือนมาตลอดว่าเป็นธุรกิจล้านล้านที่ต้องช่วยกันดู และถ้าสมาชิกวุฒิสภาเลือกคณะกรรมการกสทช.ไม่ได้ รัฐบาลเป็นคนเลือกก็จะเจอข้อหา แต่รัฐบาลก็คงไม่แคร์ ส่วนทางออกของสมาชิกวุฒิจะทำอย่างไรต่อไปนั้นตนไม่ทราบ แต่เชื่อว่าในเรื่องทุนผูกขาดก็จะกลับมา โดยทุนผูกขาดก็จะไปสนับสนุนให้มีประชาธิปไตยที่ผูกขาด ส่วน กสทช.ที่ได้มาทั้ง11 คนนั้น ต่างคนต่างมีความเชี่ยวชาญ หรือบางคนอาจจะเชี่ยวชาญหรือมีความรู้ที่ไม่ตรงกับสายที่ได้รับการคัดเลือกมาก็ไม่น่ามีปัญหา เพราะถือเป็นความหลากหลาย และตนมั่นใจว่า สมาชิกวุฒิสภา ทุกคนได้คัดเลือกคนมาอย่างรอบคอบแล้ว"
เมื่อถามว่า มองว่ารัฐบาลตั้งแง่หรือต้องการเลือกคนของตัวเองมากกว่าหรือไม่ นายจุติ กล่าวว่า หากสังเกตดูจะพบว่ามีความพยายามที่จะไม่ให้มีการเลือกมาตั้งแต่ต้น มองตัวละครออก และเมื่อมีการตั้งมาแล้วก็ต้องหาเหตุจนได้ โอกาสที่จะเอาคนของรัฐบาลมาเป็น กสทช.ก็อยู่ที่ดีกรีของความหน้าด้านว่ามีมากขนาดไหน
ขุนค้อนไม่พูดชะลอนำทูลเกล้าฯ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบในรายละเอียด แต่เรื่องนี้คงต้องดูทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง เมื่อถามว่า กรณีที่คณะกรรมการคดีพิเศษ(กพค.)มีมติรับคดีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับกระบวนการสรรหากสทช.เป็นคดีพิเศษนั้น จะกระทบต่อกระบวนการพิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯ หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทรายในรายละเอียด ส่วนหากดีเอสไอกำลังตรวจสอบอยู่แต่มีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ นั้นจะเป็นการมิบังควรหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การคัดเลือก กสทช.ทั้ง 11 คน เป็นไปตามกรอบของ พ.ร.บ.กสทช.2553 ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ส่วนกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เข้ามาสอบสวนกรณีกระบวนการสรรหา กสทช. เพราะมีความไม่โปร่งใสในการสรรหาเป็นคดีพิเศษนั้น ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ส่วนการเดินหน้าเสนอชื่อ กสทช.ก็คงต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี
คาด 19 ก.ย.ส่งรายชื่อถึงนายกฯ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากที่สำนักงาน กสทช.ได้รับมอบหมายให้เชิญผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็น กสทช.ทั้ง11 คน ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กสทช.ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง กสทช.ทั้ง 11 คนแล้ววานนี้ (8 ก.ย.) โดยขอเชิญมาร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกประธานและรองประธาน กสทช.ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างครบถ้วน
“ขณะนี้ยังมีประเด็นข้อกฎหมายว่า ระหว่างวุฒิสภากับ กสทช.ใครจะเป็นผู้นำรายชื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ทางสำนักงาน กสทช.จึงแก้ปัญหาด้วยการเชิญเลขาธิการวุฒิสภาเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และนำรายชื่อ กสทช.เสนอต่อนายกฯ ภายในวันที่ 19 ก.ย.นี้” นายฐากร กล่าว
ส.ว.จับผิด “DSIสอบ กสทช.” ผิดปกติ
ในการประชุมกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ที่มีนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ก่อนเข้าวาระประชุมนายสมชายได้แจ้งเรื่องที่กรรมการดีเอสไอเห็นชอบให้ดำเนินคดีสรรหากสทช. ว่า ได้มอบหมายให้ นายสัก กอแสงเรือง ประธานที่ปรึกษาด้านสิทธิเสรีภาพของ กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ ทำเรื่องเสนอไปยังพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เพื่อให้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายประธานวุฒิมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว รวมถึงมีมูลเหตุใดหรือไม่ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ไม่นำรายชื่อ 11 ว่าที่กสทช. ขึ้นทูลเกล้าฯ
ด้านนายสัก กล่าวว่า การทำงานของพนักงานสอบสวนของดีเอสไอ ได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ผิดปกติ คือ มีการชี้แนะ ชี้นำกลุ่มอื่น ไปดำเนินการยื่นเรื่องต่อกรรมาธิการตรวจสอบประวัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กสทช., ประธานวุฒิสภา, กรรมาธิการ, เลขาธิการวุฒิสภาให้สอบสวนหรือพิจารณาหาข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของพนักงานสอบสวน
ที่สำคัญโดยหลักของการกฎหมายคดีพิเศษ ระบุว่าสอบสวนต้องไม่เปิดเผยข้อมูลซึ่งกระทบและสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น ซึ่งหากเปิดเผยแล้วถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และที่ผ่านมาพบว่าพนักงานสอบสวนได้เปิดเผยถึงกรรมการสรรหา กสทช. ซึ่งโดยสาธารณะทราบดีว่า กรรมการสรรหา กสทช.ประกอบด้วยใครบ้าง และที่สำคัญชั้นพนักงานสอบสวนไม่สามารถเปิดเผยสำนวนได้ และไม่มีสิทธิ์ให้ข่าวชี้ว่าใครผิด
ขณะที่นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ฐานะรองประธาน กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ กล่าวว่าตามพ.ร.บ.กสทช. กำหนดเป็นข้อบังคับชัดเจนว่า เมื่อสำนักงานเลขาธิการกสทช. ส่งรายชื่อ กสทช. ให้ครม.พิจารณาแล้ว นายกฯ ต้องส่งรายชื่อ 11 กสทช. ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ในกฎหมายไม่ได้ระบุว่าภายใต้เงื่อนไขเวลาเท่าใด
ยันกฎหมายชัด “ปู”ไม่มีสิทธิ์ยื้อทูลเกล้าฯ
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.ในฐานะว่าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อาจจะชะลอการนำรายชื่อ 11 กสทช.ขึ้นทูลเกล้าฯ ว่า ตนเชื่อมั่นในกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา กสทช.ตลอดจนการสรรหาของที่ประชุมวุฒิสภาว่าเป็นไปตามกฎกติกา ซึ่งเมื่อที่ประชุมวุฒิสภามีมติแล้ว ตามมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ บัญญัติไว้ชัดเจนว่าให้นายกฯนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ กฎหมายไม่ได้ใช้คำว่าให้นายกฯพิจารณาหรือตั้งคณะกรรมการตรวจสอบก่อนแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ หากมีการดำเนินการเช่นนั้นก็จะถือเป็นการก้าวล่วงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อกราบบังคมทูลฯแล้วการจะโปรดเกล้าฯหรือไม่สามารถจะไปก้าวล่วงได้
“กฎหมายเขียนให้นายกฯทำ 2 อย่าง คือ 1.ให้ทราบเรื่องที่ กสทช.ทั้ง 11 คนเลือกใครเป็นประธาน กสทช.และ 2.ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ซึ่งคำว่าทราบนั้นคือไม่ได้ให้พิจารณา แต่ทราบก็คือให้ทราบ โดยในเรื่องของการนำขึ้นกราบบังคมทูลฯกรณีต่างๆ เขียนไม่แตกต่างกัน อย่างเช่น เรื่องปัญหาคุณสมบัติของ ส.ส.มาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า ให้ประธานสภา ส่งเรื่องคำร้องที่ได้รับไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือ ประธานสภาไม่มีสิทธิที่จะใช้ดุลยพินิจว่าส.ส.ที่ถูกร้องนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วจะไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายไม่เปิดให้นายกฯใช้ดุลยพินิจแล้วถ้าไปใช้ดุลพินิจก็เข้าข่ายก้าวล่วงพระราชอำนาจและเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่” นายสุทธิพลกล่าว