พิษณุโลก-กรรมาธิการการปกครองบุกตรวจ "บางระกำโมเดล" ต้นแบบช่วยน้ำท่วม สุดอึ้ง! งบ 50 ล้าน ใช้กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำกับค่าน้ำมันสูงลิ้ว 47 ล้านบาท เหลือเงินช่วยชาวบ้านแค่จิ๊บจ๊อย ส่วน"ปู"สั่งรัฐมนตรีลงช่วยน้ำท่วมทุกคน
วานนี้ (6 ก.ย.) ที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก กรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา และคณะอนุกรรมาธิการ นำโดยนายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ พร้อมคณะ ได้เดินทางมารับฟังและติดตามการทำงานตามโครงการ “บางระกำโมเดล” ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม โดยมีนายปรีชา เรืองจันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และนายสุวิทย์ วัชโรยางกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ร่วมบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน โดยระบุว่า ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของจังหวัดพิษณุโลกตามวงเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาทนั้น กชภ.จ.อนุมัติ ครั้งที่ 9 (23ส.ค.54) ดังนี้ 1.อาหาร ที่อยู่อาศัย (สร้างที่พัก 26 หลัง) จัดการศพ 1,332,820 บาท 2.การสาธารณสุข 467,636 บาท 3.ปศุสัตว์ 87,000 บาท 4.กำจัดสิ่งกีดขวาง เปิดทางน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง 33,258,864 บาท 5.ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทน 164,320 บาท รวมทั้งสิ้น 35,310,640 บาท และกชภ.จ.อนุมัติ ครั้งที่ 10 (2ก.ย.) เป็นค่ากำจัดสิ่งกีดขวางอีก 14,689,360 บาท รวม 50,000,000 บาท
ทั้งนี้ ตามรายงานแก้ไขอุทกภัยของจังหวัดพิษณุโลก มีผลกระทบ 6 แสนไร่ 9 อำเภอ 80 ตำบล 652 หมู่บ้าน เสียชีวิต 4 ราย โดยอพยพราษฎรที่ถูกน้ำท่วม 153 ครัวเรือนและสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวจำนวน 26 หลัง พร้อมสนธิกำลังตำรวจ อส, อปพร.กว่า 5,000 นายเพื่อเตรียมการ พร้อมเปิดศูนย์ call 24 ชั่วโมง ซึ่งในระดับจังหวัดได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 95 ครั้ง สนับสนุนเรือแก่ผู้ประสพอุทกภัยเพื่อใช้สัญจรไปมาจำนวน 314 ลำ สนับสนุนถุงยังชีพจำนวน 23,357 ชุด (ณ 1 ก.ย.54) โดยประชาชนได้รับอย่างน้อย 1 ชุด
อย่างไรก็ตาม งบประมาณ 50 ล้านบาทดังกล่าว ยังไม่สามารถช่วยเหลือราษฎรเต็มที่ ซึ่งในการประชุม กชภ.จ.ครั้งที่ 10 ข้างต้น (2ก.ย.54) ได้มีการขยายวงเงินทดลองราชการเพิ่มเติม ด้านอาหาร ที่อยู่ จัดการศพจำนวน 5,000,000 บาท สังคมสงเคราะห์ 6,372,000 บาท กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 46,437,700 บาท ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าตอนแทน 2,000,000 บาท รวมขอขยายวงเงิน 59,809,700 บาท
นอกจากนี้ ยังได้มีขอขยายวงเงินเพิ่มเติมจากเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาท เพื่อของบกลาง ชดเชยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ คือ นาข้าว 44,524.50 ไร่ พืชไร่ 829 ไร่ พืชสวน 1,267.50 ไร่ เป็นเงิน 108,006,504 บาท เกษตรกรจำนวน 2,699 ราย
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ระบุอีกว่า โดยสรุปการแก้ไขอุทกภัยของจังหวัดพิษณุโลก ตาม “บางระกำโมเดล” ที่ดำเนินการไปแล้ว คือ ให้ถุงยังชีพครบทุกครัวเรือน การใช้งบ 50 ล้านบาท ส่วนสิ่งที่กรม กระทรวง ควรดำเนินการ คือ บรรจุโครงการ Water way สร้างอ่างเก็บน้ำเข้าไปในแผนชลประทาน และสุดท้าย คือ สิ่งรัฐบาลส่วนกลางจะต้องดำเนินงานเร่งด่วน คือ อนุมัติขยายวงเงินให้จังหวัด 50 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาประชาชน, แก้ไขลุ่มน้ำทั้งระบบ, สนับสนุนเงินชดเชยช่วยเหลือเกษตรกร, ปรับลด งด ขยายหนี้ของสถาบันการเงิน, ทำโครงการขนาดใหญ่เชื่อมหลายจังหวัด, เช่าพื้นที่เกษตรกรเพื่อทำแกล้มลิงในพื้นที่ชุ่มน้ำและสร้างเขื่อนลุ่มน้ำยม
ทั้งนี้ หลังจากกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา และคณะอนุกรรมาธิการรับฟังการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมจากจังหวัดพิษณุโลก และพิจิตร แล้วได้ลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำท่วมที่ อ.บางระกำ พร้อมทั้งจะรายงานให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อไป
**"นายกฯ"กำชับ รมต.ตรวจเยี่ยมน้ำท่วม
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยประชาชนผู้ประสบอุทกภัย โดยเร่งรัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและกรุงเทพฯ โดยเชิญนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 9 จังหวัดมาทำเวิร์กช็อป เป็นรายจังหวัด โดยนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้คณะรัฐมนตรีทุกคนลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่อุกทกภัยร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด กรมชลประทาน พร้อมกำชับให้กลไกการทำงานลงไปถึงประชาชนอย่างแท้จริง โดยให้รวมศูนย์กลางที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ต้องการให้ป้องกันน้ำท่วมทั้งเมืองหลวงและเมืองสำคัญ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูแลเรื่องการระบายน้ำ เนื่องจากวันที่ 9 ก.ย.นี้ จะมีร่องความกดอากาศต่ำเข้ามาอีกระลอก ทำให้ปริมาณน้ำมากขึ้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เตรียมรับมือให้ครอบคลุม รวมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นกับประชาชน
**คาดพิจิตรต้องจมน้ำต่อไปอีก 2 เตือน
ที่ จ.พิจิตร นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมของจังหวัดพิจิตรว่า จะยังคงถูกน้ำท่วมเช่นนี้ต่อเนื่องไปอีกเกือบ 2 เดือน เพราะน้ำทางภาคเหนือและน้ำเหนือเขื่อนยังมีปริมาณสูง จะต้องปล่อยออกมาเข้าสู่พิจิตรอีกเกือบ 2 เท่าตัวจากที่ท่วมขังอยู่ขณะนี้ จึงส่งผลให้ถนนหนทางที่เป็นถนนลูกรังใช้เชื่อมต่อในหมู่บ้านต่างๆ ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นพาหนะได้ ต้องใช้เรือพายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
นายสมเกียรติ พึ่งไชย อายุ 43 ปี ผู้จัดการร้านพิจิตรพลาสติก ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนสระหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร กล่าวว่า ขณะนี้เรือพายพลาสติกขายดีมีคนมาขอซื้อวันละหลายลำจนทำให้สินค้าเริ่มขาดตลาด ซึ่งถ้าใครอยากจะซื้อเรือพายต้องเขียนใบจองจ่ายเงินสด แล้วอีก 7-10 วัน จึงจะมารับเรือได้ เนื่องจากโรงงานผลิตไม่ทันกับความต้องการ แต่ยังยืนยันว่า ไม่มีการขึ้นราคา โดยราคาเริ่มต้นตั้งแต่เรือเล็กนั่งได้ 2 คน ลำละ 2,500 บาท ส่วนเรือขนาดกลางนั่งได้ 4-5 คน ลำละ 5,500 บาท และเรือขนาดใหญ่นั่งได้ 8-10 คน ลำละ 15,000 บาท
**ชาวผักไห่สังเวยน้ำท่วมแล้ว2ศพ
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ต.ท.ธวัชชัย กุลทอง พนักงานสอบสวน สภ.ผักไห่ กล่าวว่า จากการสอบสวนผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า นางนิภา แซ่ลี้ อายุ 79 ปี อยู่บ้านเลขที่ 93 ม.4 ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่บ้านเพียงคนเดียว ซึ่งก่อนหน้านี้ญาติๆ ให้ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะบ้านกำลังถูกน้ำท่วม แต่นางนิภา ปฏิเสธว่า จะอยู่ที่นี่ กระทั่งเมื่อคืนที่ผ่านมาเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้น้ำในแม่น้ำน้อยเพิ่มสูงขึ้น จนน้ำท่วมตัวบ้านของนางนิภา และเขาพยายามที่จะขยับตู้เย็นให้พ้นจากน้ำท่วม แต่ถูกกระแสไฟฟ้าจากตู้เย็นช็อตเสียชีวิตจมน้ำนอนอยู่ข้างตู้เย็น
คืนวันเดียวกันช่วงเวลา 20.00 น.นายสำราญ กองเพิ่มพูน อายุ 62 ปี ชาวหมู่ 2 ต.บ้านแพน อ.ผักไห่ ได้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมเช่นกัน โดยเหตุเกิดขณะที่นายสำราญ พายเรือไปรับญาติที่กลับจากการทำงาน เมื่อมาถึงกลางแม่น้ำน้อยกระแสน้ำได้พัดจนเรือพลิกคว่ำจนนายสำราญ จมน้ำเสียชีวิต ขณะที่ฝนกำลังตกหนัก
วานนี้ (6 ก.ย.) ที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก กรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา และคณะอนุกรรมาธิการ นำโดยนายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ พร้อมคณะ ได้เดินทางมารับฟังและติดตามการทำงานตามโครงการ “บางระกำโมเดล” ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม โดยมีนายปรีชา เรืองจันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และนายสุวิทย์ วัชโรยางกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ร่วมบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน โดยระบุว่า ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของจังหวัดพิษณุโลกตามวงเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาทนั้น กชภ.จ.อนุมัติ ครั้งที่ 9 (23ส.ค.54) ดังนี้ 1.อาหาร ที่อยู่อาศัย (สร้างที่พัก 26 หลัง) จัดการศพ 1,332,820 บาท 2.การสาธารณสุข 467,636 บาท 3.ปศุสัตว์ 87,000 บาท 4.กำจัดสิ่งกีดขวาง เปิดทางน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง 33,258,864 บาท 5.ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทน 164,320 บาท รวมทั้งสิ้น 35,310,640 บาท และกชภ.จ.อนุมัติ ครั้งที่ 10 (2ก.ย.) เป็นค่ากำจัดสิ่งกีดขวางอีก 14,689,360 บาท รวม 50,000,000 บาท
ทั้งนี้ ตามรายงานแก้ไขอุทกภัยของจังหวัดพิษณุโลก มีผลกระทบ 6 แสนไร่ 9 อำเภอ 80 ตำบล 652 หมู่บ้าน เสียชีวิต 4 ราย โดยอพยพราษฎรที่ถูกน้ำท่วม 153 ครัวเรือนและสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวจำนวน 26 หลัง พร้อมสนธิกำลังตำรวจ อส, อปพร.กว่า 5,000 นายเพื่อเตรียมการ พร้อมเปิดศูนย์ call 24 ชั่วโมง ซึ่งในระดับจังหวัดได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 95 ครั้ง สนับสนุนเรือแก่ผู้ประสพอุทกภัยเพื่อใช้สัญจรไปมาจำนวน 314 ลำ สนับสนุนถุงยังชีพจำนวน 23,357 ชุด (ณ 1 ก.ย.54) โดยประชาชนได้รับอย่างน้อย 1 ชุด
อย่างไรก็ตาม งบประมาณ 50 ล้านบาทดังกล่าว ยังไม่สามารถช่วยเหลือราษฎรเต็มที่ ซึ่งในการประชุม กชภ.จ.ครั้งที่ 10 ข้างต้น (2ก.ย.54) ได้มีการขยายวงเงินทดลองราชการเพิ่มเติม ด้านอาหาร ที่อยู่ จัดการศพจำนวน 5,000,000 บาท สังคมสงเคราะห์ 6,372,000 บาท กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 46,437,700 บาท ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าตอนแทน 2,000,000 บาท รวมขอขยายวงเงิน 59,809,700 บาท
นอกจากนี้ ยังได้มีขอขยายวงเงินเพิ่มเติมจากเงินทดรองราชการ 50 ล้านบาท เพื่อของบกลาง ชดเชยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ คือ นาข้าว 44,524.50 ไร่ พืชไร่ 829 ไร่ พืชสวน 1,267.50 ไร่ เป็นเงิน 108,006,504 บาท เกษตรกรจำนวน 2,699 ราย
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ระบุอีกว่า โดยสรุปการแก้ไขอุทกภัยของจังหวัดพิษณุโลก ตาม “บางระกำโมเดล” ที่ดำเนินการไปแล้ว คือ ให้ถุงยังชีพครบทุกครัวเรือน การใช้งบ 50 ล้านบาท ส่วนสิ่งที่กรม กระทรวง ควรดำเนินการ คือ บรรจุโครงการ Water way สร้างอ่างเก็บน้ำเข้าไปในแผนชลประทาน และสุดท้าย คือ สิ่งรัฐบาลส่วนกลางจะต้องดำเนินงานเร่งด่วน คือ อนุมัติขยายวงเงินให้จังหวัด 50 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาประชาชน, แก้ไขลุ่มน้ำทั้งระบบ, สนับสนุนเงินชดเชยช่วยเหลือเกษตรกร, ปรับลด งด ขยายหนี้ของสถาบันการเงิน, ทำโครงการขนาดใหญ่เชื่อมหลายจังหวัด, เช่าพื้นที่เกษตรกรเพื่อทำแกล้มลิงในพื้นที่ชุ่มน้ำและสร้างเขื่อนลุ่มน้ำยม
ทั้งนี้ หลังจากกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา และคณะอนุกรรมาธิการรับฟังการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมจากจังหวัดพิษณุโลก และพิจิตร แล้วได้ลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำท่วมที่ อ.บางระกำ พร้อมทั้งจะรายงานให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อไป
**"นายกฯ"กำชับ รมต.ตรวจเยี่ยมน้ำท่วม
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยประชาชนผู้ประสบอุทกภัย โดยเร่งรัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและกรุงเทพฯ โดยเชิญนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 9 จังหวัดมาทำเวิร์กช็อป เป็นรายจังหวัด โดยนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้คณะรัฐมนตรีทุกคนลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่อุกทกภัยร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด กรมชลประทาน พร้อมกำชับให้กลไกการทำงานลงไปถึงประชาชนอย่างแท้จริง โดยให้รวมศูนย์กลางที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ต้องการให้ป้องกันน้ำท่วมทั้งเมืองหลวงและเมืองสำคัญ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูแลเรื่องการระบายน้ำ เนื่องจากวันที่ 9 ก.ย.นี้ จะมีร่องความกดอากาศต่ำเข้ามาอีกระลอก ทำให้ปริมาณน้ำมากขึ้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เตรียมรับมือให้ครอบคลุม รวมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นกับประชาชน
**คาดพิจิตรต้องจมน้ำต่อไปอีก 2 เตือน
ที่ จ.พิจิตร นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมของจังหวัดพิจิตรว่า จะยังคงถูกน้ำท่วมเช่นนี้ต่อเนื่องไปอีกเกือบ 2 เดือน เพราะน้ำทางภาคเหนือและน้ำเหนือเขื่อนยังมีปริมาณสูง จะต้องปล่อยออกมาเข้าสู่พิจิตรอีกเกือบ 2 เท่าตัวจากที่ท่วมขังอยู่ขณะนี้ จึงส่งผลให้ถนนหนทางที่เป็นถนนลูกรังใช้เชื่อมต่อในหมู่บ้านต่างๆ ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นพาหนะได้ ต้องใช้เรือพายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
นายสมเกียรติ พึ่งไชย อายุ 43 ปี ผู้จัดการร้านพิจิตรพลาสติก ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนสระหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร กล่าวว่า ขณะนี้เรือพายพลาสติกขายดีมีคนมาขอซื้อวันละหลายลำจนทำให้สินค้าเริ่มขาดตลาด ซึ่งถ้าใครอยากจะซื้อเรือพายต้องเขียนใบจองจ่ายเงินสด แล้วอีก 7-10 วัน จึงจะมารับเรือได้ เนื่องจากโรงงานผลิตไม่ทันกับความต้องการ แต่ยังยืนยันว่า ไม่มีการขึ้นราคา โดยราคาเริ่มต้นตั้งแต่เรือเล็กนั่งได้ 2 คน ลำละ 2,500 บาท ส่วนเรือขนาดกลางนั่งได้ 4-5 คน ลำละ 5,500 บาท และเรือขนาดใหญ่นั่งได้ 8-10 คน ลำละ 15,000 บาท
**ชาวผักไห่สังเวยน้ำท่วมแล้ว2ศพ
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ต.ท.ธวัชชัย กุลทอง พนักงานสอบสวน สภ.ผักไห่ กล่าวว่า จากการสอบสวนผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า นางนิภา แซ่ลี้ อายุ 79 ปี อยู่บ้านเลขที่ 93 ม.4 ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่บ้านเพียงคนเดียว ซึ่งก่อนหน้านี้ญาติๆ ให้ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะบ้านกำลังถูกน้ำท่วม แต่นางนิภา ปฏิเสธว่า จะอยู่ที่นี่ กระทั่งเมื่อคืนที่ผ่านมาเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้น้ำในแม่น้ำน้อยเพิ่มสูงขึ้น จนน้ำท่วมตัวบ้านของนางนิภา และเขาพยายามที่จะขยับตู้เย็นให้พ้นจากน้ำท่วม แต่ถูกกระแสไฟฟ้าจากตู้เย็นช็อตเสียชีวิตจมน้ำนอนอยู่ข้างตู้เย็น
คืนวันเดียวกันช่วงเวลา 20.00 น.นายสำราญ กองเพิ่มพูน อายุ 62 ปี ชาวหมู่ 2 ต.บ้านแพน อ.ผักไห่ ได้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมเช่นกัน โดยเหตุเกิดขณะที่นายสำราญ พายเรือไปรับญาติที่กลับจากการทำงาน เมื่อมาถึงกลางแม่น้ำน้อยกระแสน้ำได้พัดจนเรือพลิกคว่ำจนนายสำราญ จมน้ำเสียชีวิต ขณะที่ฝนกำลังตกหนัก