ASTVผู้จัดการรายวัน – “อุตฯเฟอร์นิเจอร์” ดิ้นปรับตัวหาทางรอด หลังประสบปัญหาตลาดชะลอตัวแถมต้นทุนการผลิตปรับขึ้น ตลาดส่งออกลดวูบตามวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ แถมถูกคู่แข่งจากจีน เวียดนาม มาเลเซียแย่งตลาดไป ระบุ 8 เดือนส่งออกเฟอร์นิเจอร์โตแค่ 2% วอนรัฐบาลคำนึงถึงต้นทุนของอุตฯก่อนออกมาตรการใดๆ ล่าสุดจัดงาน TFIC Furniture Outlet 2011 รวมผู้ประกอบการ 100 กว่ารายขนเฟอร์นิเจอร์ขายลดราคาสูงสุด 80%
นายวีระชัย คุณาวิชยานนท์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของไทยอยู่ในภาวะที่ทรงและทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาตลาดส่งออกมีอัตราการเติบโตแค่ 2% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10% ขณะที่ในปี 2553 ส่งออกโตถึง 17% หรือมีมูลค่า 1,173 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ สาเหตุหลัก มาจากกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่มีส่วนแบ่งของตลาดส่งออกสูงถึง 50-55% ของมูลค่าการส่งออก ประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศคู่แข่งสำคัญซึ่งได้แก่ จีน เวียดนามและมาเลเซีย ซ้ำร้าย สินค้าจากประเทศดังกล่าว ได้เข้ามาเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทยไปอีกด้วย
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ยังประสบกับภาวะต้นทุนแพง วัตถุดิบปรับขึ้นสูง โดยเฉพาะไม้ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก เช่น ไม้ยางพารา ปรับขึ้นจาก 320 บาท/คิวบิคฟุต มาเป็น 400 บาท/คิวบิคฟุต ขณะที่การส่งออกยังประสบกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนมาก ส่งผลต่อต้นทุนส่งออกขึ้นถึง 10%
นายวีระชัย กล่าวต่อว่า หากรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อย่างมาก โดยแรงงานขั้นต่ำมีประมาณ 30-40% ของแรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ประมาณ 3 แสนคน ส่งผลให้ต้นทุนปรับขึ้นประมาณ 12% และในภาวะที่การแข่งขันสูงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ยิ่งทำให้การปรับขึ้นราคาขายเป็นไปได้ยากมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นกลุ่มใหญ่ในธุรกิจนี้
อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มได้พยายามปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ การหันมาผลิตสินค้าที่มีดีไซน์เพื่อแข่งในตลาดโลกและหนีการแข่งขันสินค้าราคาถูกเมื่อ 7-8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในแง่ของจำนวนสินค้าไม่ได้ปรับขึ้นสูงมาก แต่สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งตลาดระดับบนมีจำนวนน้อยคงต้องใช้เวลาพอสมควรในการขยายตลาด การขยายฐานส่งออกไปยังประเทศใหม่ๆ เพื่อทดแทนตลาดอเมริกาและญี่ปุ่น โดยหันมาเน้นตลาดเอเชีย โดยเฉพาะ อินโดนีเชีย จีน โดยตั้งเป้าส่งออกเพิ่มเป็น 20% จากเดิมส่งออกเพียง 10% เท่านั้น อีกทั้งยังหันมาทำตลาดภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
“ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยถือเป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน โดยมีมูลค่าส่งออกประมาณ 50,000 ล้านบาท เมื่อปี 2548-2549 แต่ปัจจุบันลดมาอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท ในขณะที่เวียดนามจากที่มียอดส่งออกน้อยมากปัจจุบันมีสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ส่วนมาเลเซียก็แซงเราไปเป็น 1 แสนล้านบาทแล้ว ส่วนจีนไม่ต้องพูดถึงผู้นำอันดับหนึ่ง เรามัวแต่เดินหลงทางไม่มีหน่วยรัฐเข้ามากำกับดูแลและพัฒนาอุตสาหกรรม เอกชนช่วยตัวเอง เหมือนมีเข็มทิศติดไว้ด้านหลัง เดินไปแล้วค่อยหันกลับมาดูและพบว่าตัวเองเดินผิดทาง ในขณะที่ประเทศคู่แข่งมีหน่วยงานรัฐเข้ามาดูแลและสนับสนุน”
นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมได้ร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไปยังหน่วยงานรัฐ ซึ่งก็ได้รับความเห็นใจแต่ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือเนื่องจากขาดงบประมาณ ปัจจุบันสถานการณ์ของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยมีแต่ทรงกับทรุด ขึ้นอยู่กับว่าใครจะประคองธุรกิจไปได้ ต่อไปก็จะมีบริษัทข้ามชาติเข้ามาทำตลาดในไทย แถมการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รออยู่ในปี 2558 ” นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยเข้มแข็งนัก ต้องการการสนับสนุนและช่วยเหลือจากภาครัฐ และสถาบันการเงิน อยู่เป็นทุนเดิม ซึ่งที่ผ่านมาได้พยายามปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ได้เข้มแข็งนัก แต่เมื่อมีปัญหามาช้ำเติมเข้าไปอีกเชื่อผู้ประกอบการเหล่านี้คงไปไม่รอด ดังนั้น จึงต้องการให้รัฐบาลคำนึงถึงต้นทุนของอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อนที่จะออกมาตรการใดๆ ออกมา และการปรับขึ้นนั้นจะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบขั้นบันใด เพื่อให้อุตสาหกรรมมีเวลาในการปรับตัวเพื่อรับมือ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สมาชิกมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย จึงได้ร่วมกันจัดงาน TFIC Furniture Outlet 2011 ขึ้น ณ ระหว่างวันที่ 14-18 กันยายนนี้ ณ ฮอล 7-8 อิมแพค เมืองทองธานี โดยภายในงานจะมีผู้ประกอบการกว่า 100 ราย นำเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านมาจำหน่ายในราคาพิเศษลดสูงสุดถึง 80% พร้อมกับลุ้นรับของรางวัลมากมาย
“งานครั้งที่ผ่านๆมาผู้ประกอบการจะนำสต๊อกออกมาขาย แต่สำหรับงานครั้งนี้บางรายถึงขั้นผลิตออกมาขายเพื่องานนี้โดยเฉพาะ และขายในราคาพิเศษถูกที่สุดเท่าที่เคยจัดมา และทุกคนไม่ต้องการขนกลับด้วย ซึ่งถือเป็นโอกาศที่ดีของผู้บริโภคและถือเป็นการช่วยผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง” นายจิรวัฒน์ กล่าว.
นายวีระชัย คุณาวิชยานนท์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของไทยอยู่ในภาวะที่ทรงและทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาตลาดส่งออกมีอัตราการเติบโตแค่ 2% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10% ขณะที่ในปี 2553 ส่งออกโตถึง 17% หรือมีมูลค่า 1,173 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ สาเหตุหลัก มาจากกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่มีส่วนแบ่งของตลาดส่งออกสูงถึง 50-55% ของมูลค่าการส่งออก ประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศคู่แข่งสำคัญซึ่งได้แก่ จีน เวียดนามและมาเลเซีย ซ้ำร้าย สินค้าจากประเทศดังกล่าว ได้เข้ามาเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทยไปอีกด้วย
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ยังประสบกับภาวะต้นทุนแพง วัตถุดิบปรับขึ้นสูง โดยเฉพาะไม้ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก เช่น ไม้ยางพารา ปรับขึ้นจาก 320 บาท/คิวบิคฟุต มาเป็น 400 บาท/คิวบิคฟุต ขณะที่การส่งออกยังประสบกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนมาก ส่งผลต่อต้นทุนส่งออกขึ้นถึง 10%
นายวีระชัย กล่าวต่อว่า หากรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อย่างมาก โดยแรงงานขั้นต่ำมีประมาณ 30-40% ของแรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ประมาณ 3 แสนคน ส่งผลให้ต้นทุนปรับขึ้นประมาณ 12% และในภาวะที่การแข่งขันสูงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ยิ่งทำให้การปรับขึ้นราคาขายเป็นไปได้ยากมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นกลุ่มใหญ่ในธุรกิจนี้
อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มได้พยายามปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ การหันมาผลิตสินค้าที่มีดีไซน์เพื่อแข่งในตลาดโลกและหนีการแข่งขันสินค้าราคาถูกเมื่อ 7-8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในแง่ของจำนวนสินค้าไม่ได้ปรับขึ้นสูงมาก แต่สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งตลาดระดับบนมีจำนวนน้อยคงต้องใช้เวลาพอสมควรในการขยายตลาด การขยายฐานส่งออกไปยังประเทศใหม่ๆ เพื่อทดแทนตลาดอเมริกาและญี่ปุ่น โดยหันมาเน้นตลาดเอเชีย โดยเฉพาะ อินโดนีเชีย จีน โดยตั้งเป้าส่งออกเพิ่มเป็น 20% จากเดิมส่งออกเพียง 10% เท่านั้น อีกทั้งยังหันมาทำตลาดภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
“ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยถือเป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน โดยมีมูลค่าส่งออกประมาณ 50,000 ล้านบาท เมื่อปี 2548-2549 แต่ปัจจุบันลดมาอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท ในขณะที่เวียดนามจากที่มียอดส่งออกน้อยมากปัจจุบันมีสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ส่วนมาเลเซียก็แซงเราไปเป็น 1 แสนล้านบาทแล้ว ส่วนจีนไม่ต้องพูดถึงผู้นำอันดับหนึ่ง เรามัวแต่เดินหลงทางไม่มีหน่วยรัฐเข้ามากำกับดูแลและพัฒนาอุตสาหกรรม เอกชนช่วยตัวเอง เหมือนมีเข็มทิศติดไว้ด้านหลัง เดินไปแล้วค่อยหันกลับมาดูและพบว่าตัวเองเดินผิดทาง ในขณะที่ประเทศคู่แข่งมีหน่วยงานรัฐเข้ามาดูแลและสนับสนุน”
นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมได้ร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไปยังหน่วยงานรัฐ ซึ่งก็ได้รับความเห็นใจแต่ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือเนื่องจากขาดงบประมาณ ปัจจุบันสถานการณ์ของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยมีแต่ทรงกับทรุด ขึ้นอยู่กับว่าใครจะประคองธุรกิจไปได้ ต่อไปก็จะมีบริษัทข้ามชาติเข้ามาทำตลาดในไทย แถมการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รออยู่ในปี 2558 ” นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย กล่าว
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยเข้มแข็งนัก ต้องการการสนับสนุนและช่วยเหลือจากภาครัฐ และสถาบันการเงิน อยู่เป็นทุนเดิม ซึ่งที่ผ่านมาได้พยายามปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ได้เข้มแข็งนัก แต่เมื่อมีปัญหามาช้ำเติมเข้าไปอีกเชื่อผู้ประกอบการเหล่านี้คงไปไม่รอด ดังนั้น จึงต้องการให้รัฐบาลคำนึงถึงต้นทุนของอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อนที่จะออกมาตรการใดๆ ออกมา และการปรับขึ้นนั้นจะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือแบบขั้นบันใด เพื่อให้อุตสาหกรรมมีเวลาในการปรับตัวเพื่อรับมือ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สมาชิกมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย จึงได้ร่วมกันจัดงาน TFIC Furniture Outlet 2011 ขึ้น ณ ระหว่างวันที่ 14-18 กันยายนนี้ ณ ฮอล 7-8 อิมแพค เมืองทองธานี โดยภายในงานจะมีผู้ประกอบการกว่า 100 ราย นำเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านมาจำหน่ายในราคาพิเศษลดสูงสุดถึง 80% พร้อมกับลุ้นรับของรางวัลมากมาย
“งานครั้งที่ผ่านๆมาผู้ประกอบการจะนำสต๊อกออกมาขาย แต่สำหรับงานครั้งนี้บางรายถึงขั้นผลิตออกมาขายเพื่องานนี้โดยเฉพาะ และขายในราคาพิเศษถูกที่สุดเท่าที่เคยจัดมา และทุกคนไม่ต้องการขนกลับด้วย ซึ่งถือเป็นโอกาศที่ดีของผู้บริโภคและถือเป็นการช่วยผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง” นายจิรวัฒน์ กล่าว.