"เพื่อไทย" เตรียมคุย 6 พรรคร่วม ตั้ง ส.ส.ร.3 แก้รธน. ปชป.เตือนรัฐบาลหากเร่งผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนิรโทษ"ทักษิณ" จะทำให้ประเทศลุกเป็นไฟ ประธานวิปฝ่ายค้าน ปัดข้อเสนอดึง "ชูวิทย์-ปุระชัย-บิ๊กบัง" รวมทีมตรวจสอบรัฐบาล
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการโมเดลในการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยในกรอบแนวทางดังกล่าวว่าควรแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่เป็นรัฐธรรมนูญมาจากการรัฐประหารจากการยึดอำนาจ และจะดำเนินการให้เกิดการตั้งส.ส.ร.3 ขึ้น ซึ่งทางพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค คงมีการหารือกันและน่าจะเป็นวางกรอบว่าจะให้เกิดส.ส.ร.3 โดยมีที่มาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด มีตัวแทนและมาจากกลุ่มนักวิชาการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มสาขาอาชีพ
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มองว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ไม่เป็นความจริง การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เพื่อหากติกา และเลือกตัวแทนประชาชนมากำหนดการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง โดยพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรคจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้มาตราใดแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะดำเนินการแก้ไขตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญให้มี ส.ส.ร.3 อย่างไร นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้หารือ ก็คงหารือกันหลังจากมีการตั้งเลขานุการและที่ปรึกษารัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งขณะนี้ส.ว. พรรคร่วมรัฐบาลโดยพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ก็เห็นด้วยที่จะให้มีส.ส.ร.3 แต่ก็คงต้องรอให้มีการหารือก่อนว่าจะวางกรอบการกำเนิด ส.ส.ร.3 อย่างไร
ส่วนจะมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนหรือไม่นั้นขณะนี้ยังไม่ได้วางกรอบ แต่พรรคเพื่อไทยคิดว่า หัวใจหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด
เมื่อถามว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยกำหนดว่า ต้องนำรัฐธรรมนูญ 2540 มาเป็นต้นแบบ นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เป็นผู้กำหนด เพียงแต่พรรคเพื่อไทยเสนอแก้ไขัฐธรรมนูญให้ใกล้เคียงกับฉบับปี 2540 ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็สามารถเป็นโมเดลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่จะแก้มาตราไหน ก็ต้องรอให้มีส.ส.ร.ก่อน
"ที่พรรคประชาธิปัตย์ค้านว่า ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดวิกฤตรอบใหม่นั้น ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยแก้รัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ตัวเองแล้วในเรื่องเขตเลือกตั้ง แต่เมื่อสิ่งที่ประชาชนเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย โดยเลือกพรรคเพื่อไทยเกินครึ่ง 265 เสียง ดังนั้นพรรคจะต้องทำตามนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชน ยืนยันการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของพรรคเพื่อไทย แต่เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของประชาชนวางรากฐานให้พรรคการเมืองแข็งแรง แก้ไขให้ประชาธิปไตยแข็งแรง" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
**หนุน"เพื่อไทย"ตั้งส.ส.ร.3 แก้รธน.
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย มีแนวคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ว่า แนวทางดังกล่าวตรงกับที่คณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อปฏิรูปการเมืองฯ ซึ่งตนเคยเป็นประธาน ได้เสนอไว้ 3 แนวทาง ตามลำดับความเร่งด่วน คือ 1. กรอบวิธีการสร้างความสมานฉันท์ในชาติ 2. กรอบการปฏิรูปประเทศ และ 3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อความเป็นธรรม ซึ่ง 2 กรอบแรก เริ่มมองเห็นแนวทางจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่เหมาะที่ควรก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านกระบวนการ ส.ส.ร. จากนั้นจึงทำประชามติ ซึ่งกระบวนการต่างๆเบื้องต้นคาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
** แก้รธน.เพื่อแม้วจะลุกเป็นไฟ
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลเตรียมผลักดันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยประกาศว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน ไม่ได้แก้เพื่อช่วยใครบางคน แต่พฤติกรรมกลับสวนทางอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ กรณีขอวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น และเมื่อมีคนมาเปิดประเด็นนี้เพิ่ม แทนที่พรรคเพื่อไทยจะสำนึกว่าสิ่งที่ต้องทำก่อนคือนโยบายที่ประกาศไว้ในช่วงการหาเสียง เช่น เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน เงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 15,000 บาท แต่กลับเล่นคำว่า “รายได้” แทน “เงินเดือน” ขอให้รัฐบาลรีบแก้ปัญหาความเดือนร้อน ปากท้องและความคาดหวังที่ได้ให้ไว้กับชาวบ้านก่อน จะดีกว่าที่มาเพิ่มประเด็นความขัดแย้งในสังคมไทยให้ปริแยก แตกถ่างเพิ่มมากขึ้น ด้วยการทำเพื่อคนคนเดียว ซึ่งอาจจะเป็นการก่อปัญหาความวุ่นวายขัดแย้งเพิ่มขึ้นในประเทศ
โดยเฉพาะ ถ้ามีวาระซ่อนเร้นเพื่อนิรโทษกรรมให้บางคน รับรองได้ว่าประเทศไทยจะมีการเผชิญหน้าของกลุ่มคน 2 กลุ่ม คือผู้ที่เห็นด้วย และคนที่คัดค้าน ความวุ่นวายจะกลับมา จะทำให้คนที่ต้องการกลับประเทศไม่มีทางกลับได้ในชีวิตนี้ ที่สำคัญหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจริง จะเป็นการทำลายกระบวนการยุติธรรม และระบบตุลาการของไทยทันที และอย่ามาโทษพรรคประชาธิปัตย์ว่า ขัดขวาง เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้กินแกลบ กินรำ เขามองออกว่าวันนี้รัฐบาลกำลังทำอะไร เพียงแต่ให้โอกาสในการบริหารประเทศเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงการตั้ง ครม.เงาของพรรคประชาธิปัตย์ว่า นายวิรัตน์พร้อมที่จะทำหน้าที่นี้หรือไม่ นายวิรัตน์ กล่าวว่า ไม่ว่าจะมีตำแหน่งใดหรือไม่ อย่างไร ตนก็พร้อมทำหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว ทั้งในฐานะที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน และเป็นทีมกฏหมายของพรรค และการแต่งตั้งใดๆ ขึ้นอยู่กับหัวหน้าพรรค ซึ่งยินดีที่จะทำงานให้พรรค
ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์จะตั้งวอร์รูมติดตามรวบรวมข่าวเหล่านี้อย่างใกล้ชิด จึงขอเตือนรัฐบาลด้วยวว่า มีคนจับตามองอยู่
** ไม่ง้อ "ชูวิทย์-ปุ-บิ๊กบัง" ร่วมทีมคุ้ย
ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ตอนที่รัฐบาลชี้แจงในที่ประชุมร่วมรัฐสภาช่วงการแถลงนโยบาย ก็บอกว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่ตอนนี้กลายเป็นเรื่องที่ต้องมาเร่งรีบ จึงไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นอีก เพราะเพียงช่วงเวลา 2-3 วัน ก็เปลี่ยนแปลงได้ถึงขนาดนี้ ไม่เข้าใจว่าจะรีบไปทำไม ตนเป็นห่วงว่า ที่สุดแล้วจะกลายเป็นเรื่องความขัดแย้งและความแตกแยกทางความคิด
นายจุรินทร์ กล่าวถึงกรณีที่โฆษกพรรคเพื่อไทย เสนอวิปฝ่ายค้านดึงเอา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบุรณ์ และ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน มาเป็นดรีมทีมตรวจสอบรัฐบาลว่า การทำงานในสภาถือเป็นสิทธิ์ของแต่ละพรรคการเมืองว่าจะทำงานการเมืองแบบไหน และไม่ใช่หน้าที่รัฐบาลที่จะมากังวลเรื่องของฝ่ายค้าน เพราะการตรวจสอบเป็นหน้าที่ฝ่ายค้าน ขอเพียงแต่ว่ารัฐบาลทำงานให้ดี ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนก็แล้วกัน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการโมเดลในการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยในกรอบแนวทางดังกล่าวว่าควรแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่เป็นรัฐธรรมนูญมาจากการรัฐประหารจากการยึดอำนาจ และจะดำเนินการให้เกิดการตั้งส.ส.ร.3 ขึ้น ซึ่งทางพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค คงมีการหารือกันและน่าจะเป็นวางกรอบว่าจะให้เกิดส.ส.ร.3 โดยมีที่มาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด มีตัวแทนและมาจากกลุ่มนักวิชาการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มสาขาอาชีพ
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มองว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ไม่เป็นความจริง การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เพื่อหากติกา และเลือกตัวแทนประชาชนมากำหนดการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง โดยพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรคจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้มาตราใดแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะดำเนินการแก้ไขตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญให้มี ส.ส.ร.3 อย่างไร นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้หารือ ก็คงหารือกันหลังจากมีการตั้งเลขานุการและที่ปรึกษารัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งขณะนี้ส.ว. พรรคร่วมรัฐบาลโดยพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ก็เห็นด้วยที่จะให้มีส.ส.ร.3 แต่ก็คงต้องรอให้มีการหารือก่อนว่าจะวางกรอบการกำเนิด ส.ส.ร.3 อย่างไร
ส่วนจะมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนหรือไม่นั้นขณะนี้ยังไม่ได้วางกรอบ แต่พรรคเพื่อไทยคิดว่า หัวใจหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด
เมื่อถามว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยกำหนดว่า ต้องนำรัฐธรรมนูญ 2540 มาเป็นต้นแบบ นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เป็นผู้กำหนด เพียงแต่พรรคเพื่อไทยเสนอแก้ไขัฐธรรมนูญให้ใกล้เคียงกับฉบับปี 2540 ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็สามารถเป็นโมเดลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่จะแก้มาตราไหน ก็ต้องรอให้มีส.ส.ร.ก่อน
"ที่พรรคประชาธิปัตย์ค้านว่า ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดวิกฤตรอบใหม่นั้น ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยแก้รัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ตัวเองแล้วในเรื่องเขตเลือกตั้ง แต่เมื่อสิ่งที่ประชาชนเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทย โดยเลือกพรรคเพื่อไทยเกินครึ่ง 265 เสียง ดังนั้นพรรคจะต้องทำตามนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชน ยืนยันการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของพรรคเพื่อไทย แต่เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของประชาชนวางรากฐานให้พรรคการเมืองแข็งแรง แก้ไขให้ประชาธิปไตยแข็งแรง" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
**หนุน"เพื่อไทย"ตั้งส.ส.ร.3 แก้รธน.
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย มีแนวคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ว่า แนวทางดังกล่าวตรงกับที่คณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อปฏิรูปการเมืองฯ ซึ่งตนเคยเป็นประธาน ได้เสนอไว้ 3 แนวทาง ตามลำดับความเร่งด่วน คือ 1. กรอบวิธีการสร้างความสมานฉันท์ในชาติ 2. กรอบการปฏิรูปประเทศ และ 3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อความเป็นธรรม ซึ่ง 2 กรอบแรก เริ่มมองเห็นแนวทางจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่เหมาะที่ควรก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านกระบวนการ ส.ส.ร. จากนั้นจึงทำประชามติ ซึ่งกระบวนการต่างๆเบื้องต้นคาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
** แก้รธน.เพื่อแม้วจะลุกเป็นไฟ
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลเตรียมผลักดันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยประกาศว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน ไม่ได้แก้เพื่อช่วยใครบางคน แต่พฤติกรรมกลับสวนทางอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ กรณีขอวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น และเมื่อมีคนมาเปิดประเด็นนี้เพิ่ม แทนที่พรรคเพื่อไทยจะสำนึกว่าสิ่งที่ต้องทำก่อนคือนโยบายที่ประกาศไว้ในช่วงการหาเสียง เช่น เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน เงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 15,000 บาท แต่กลับเล่นคำว่า “รายได้” แทน “เงินเดือน” ขอให้รัฐบาลรีบแก้ปัญหาความเดือนร้อน ปากท้องและความคาดหวังที่ได้ให้ไว้กับชาวบ้านก่อน จะดีกว่าที่มาเพิ่มประเด็นความขัดแย้งในสังคมไทยให้ปริแยก แตกถ่างเพิ่มมากขึ้น ด้วยการทำเพื่อคนคนเดียว ซึ่งอาจจะเป็นการก่อปัญหาความวุ่นวายขัดแย้งเพิ่มขึ้นในประเทศ
โดยเฉพาะ ถ้ามีวาระซ่อนเร้นเพื่อนิรโทษกรรมให้บางคน รับรองได้ว่าประเทศไทยจะมีการเผชิญหน้าของกลุ่มคน 2 กลุ่ม คือผู้ที่เห็นด้วย และคนที่คัดค้าน ความวุ่นวายจะกลับมา จะทำให้คนที่ต้องการกลับประเทศไม่มีทางกลับได้ในชีวิตนี้ ที่สำคัญหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจริง จะเป็นการทำลายกระบวนการยุติธรรม และระบบตุลาการของไทยทันที และอย่ามาโทษพรรคประชาธิปัตย์ว่า ขัดขวาง เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้กินแกลบ กินรำ เขามองออกว่าวันนี้รัฐบาลกำลังทำอะไร เพียงแต่ให้โอกาสในการบริหารประเทศเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงการตั้ง ครม.เงาของพรรคประชาธิปัตย์ว่า นายวิรัตน์พร้อมที่จะทำหน้าที่นี้หรือไม่ นายวิรัตน์ กล่าวว่า ไม่ว่าจะมีตำแหน่งใดหรือไม่ อย่างไร ตนก็พร้อมทำหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว ทั้งในฐานะที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน และเป็นทีมกฏหมายของพรรค และการแต่งตั้งใดๆ ขึ้นอยู่กับหัวหน้าพรรค ซึ่งยินดีที่จะทำงานให้พรรค
ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์จะตั้งวอร์รูมติดตามรวบรวมข่าวเหล่านี้อย่างใกล้ชิด จึงขอเตือนรัฐบาลด้วยวว่า มีคนจับตามองอยู่
** ไม่ง้อ "ชูวิทย์-ปุ-บิ๊กบัง" ร่วมทีมคุ้ย
ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ตอนที่รัฐบาลชี้แจงในที่ประชุมร่วมรัฐสภาช่วงการแถลงนโยบาย ก็บอกว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่ตอนนี้กลายเป็นเรื่องที่ต้องมาเร่งรีบ จึงไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นอีก เพราะเพียงช่วงเวลา 2-3 วัน ก็เปลี่ยนแปลงได้ถึงขนาดนี้ ไม่เข้าใจว่าจะรีบไปทำไม ตนเป็นห่วงว่า ที่สุดแล้วจะกลายเป็นเรื่องความขัดแย้งและความแตกแยกทางความคิด
นายจุรินทร์ กล่าวถึงกรณีที่โฆษกพรรคเพื่อไทย เสนอวิปฝ่ายค้านดึงเอา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบุรณ์ และ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน มาเป็นดรีมทีมตรวจสอบรัฐบาลว่า การทำงานในสภาถือเป็นสิทธิ์ของแต่ละพรรคการเมืองว่าจะทำงานการเมืองแบบไหน และไม่ใช่หน้าที่รัฐบาลที่จะมากังวลเรื่องของฝ่ายค้าน เพราะการตรวจสอบเป็นหน้าที่ฝ่ายค้าน ขอเพียงแต่ว่ารัฐบาลทำงานให้ดี ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนก็แล้วกัน