หลังจากถูกตั้งคำถามมาตลอดตั้งแต่รณรงค์อย่าปล่อยสัตว์เข้าสภาว่า “โหวตโน” ไปแล้วก็เสียเปล่ากลายเป็นเสียงไม่มีค่า หากใครกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนก็เท่ากับว่านำคะแนนเสียงของตัวเองไปโยนทิ้งน้ำ
ในที่สุดความจริงก็ปรากฏ ว่าการออกเสียงในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือ “โหวตโน” นั้น มีทั้งผลในทาง “กฎหมาย” และยังทรงพลานุภาพส่งผลให้บรรดานักการเมืองไม่สามารถแอบอ้างคะแนนเสียงของประชาชนไปใช้หาประโยชน์ให้กับตัวเอง หรือทำร้ายชาติบ้านเมืองได้อีกต่อไป
เมื่อนักกฎหมายผู้คร่ำหวอดในการใช้กฎหมายอย่าง อนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของศาลฎีกา เขียนบทความชื่อ ผลทางนิตินัยของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (Vote No) ที่เป็นเสมือน “กุญแจ” ไขความกระจ่างว่า แท้จริงแล้วคะแนนโหวตโนนั้นมีผลทางกฎหมาย แม้ว่าโหวตโนจะไม่มีตัวตน แต่เมื่อเป็นช่องหนึ่งที่ถูกระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง
ก็ถือว่า มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับคะแนนเสียงที่ลงให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
โดย “อนุรักษ์” ได้อ้างอิงถึง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 ในมาตรา 89 ที่ระบุว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลาก ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ซึ่งชัดเจนมากว่า ผู้สมัครที่จะได้รับเลือกเป็น ส.ส.เขตนั้นจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น รวมทั้งต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน ตามที่มาตรา 88 ในกฎหมายฉบับเดียวกันระบุไว้ว่า
ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
หรือหมายความว่า ผู้สมัครที่จะถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง จะต้องผ่านองค์ประกอบของกฎหมายทั้งมาตรามาตรา 88 และมาตรา 89 ตามที่ “ท่านอนุรักษ์” ได้อธิบายไว้ว่าเป็น “เทคนิค” ในการร่างกฎหมาย ที่กำหนดเกณฑ์ 20 เปอร์เซนต์ สำหรับกรณีมีผู้สมัครคนเดียว และกำหนดเกณฑ์ “มากที่สุด” สำหรับกรณีที่มีผู้ลงสมัครหลายคน
โดยให้นับ “โหวตโน” ที่ถูกระบุไว้ใน “ช่องล่างขวาสุด” ของบัตรเลือกตั้งครั้งนี้เข้าไปด้วย
ในความเป็นจริงเรื่องนี้ได้ถูกเปิดประเด็นมาก่อนหน้านี้โดย สุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความคนกล้าของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่เมื่อมีบุคคลระดับเลขาฯศาลฎีกา ออกมาการันตีรับรองอีกคน ก็ทำให้มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในผลของกฎหมายที่จะเกิดจากการโหวตโน ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับแนวคิดของ 1 ใน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ยอมรับในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ไม่สามารถออกมาเปิดเผยได้ เพราะถือว่ามีผลโดยตรงต่อนักการเมืองและผลการเลือกตั้ง
ถือว่าได้สร้างความชอบธรรมให้แก่การรณรงค์โหวตโนอย่างสมบูรณ์
และทำให้ความชอบธรรมที่นักการเมืองจะอวดอ้างว่าตัวเองชนะการเลือกตั้ง แม้ว่าจะได้คะแนนน้อยกว่าโหวตโนก็หมดลงไปทันที โดยผู้สมัครที่แม้จะได้คะแนนสูงกว่าคนอื่น แต่น้อยกว่าคะแนนโหวตโน ก็ต้องถือว่า “สอบตก” ทำให้การเลือกตั้งเป็น “โมฆะ” ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ภายใน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนด
นับว่าเป็นการตัด “วงจรอุบาทว์” ได้ในระดับหนึ่ง
ตาม “ยุทธศาสตร์” ในวันนี้ของภาคประชาชน โดยพันธมิตรฯต้องการเดินหน้า “ยกเครื่อง” ระบบการเมือง เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง จึงได้นำข้อคิดเห็นจาก 2 นักกฎหมายผู้รักชาติ มาประสานกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 93 (7) ที่กล่าวถึง สภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องประกอบด้วย ส.ส.ไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซนต์ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดหรือ 500 คนในปัจจุบัน
ดังนั้น หมายว่าหากหลังการเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 แล้วมี ส.ส.ไม่ถึง 475 คนหรือ 95 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเต็มของสภาฯ ก็จะทำให้ไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ ส่งผลให้ไม่สามารถทำการลงมติเลือกบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งรัฐบาลได้
จากช่องทางข้อกฎหมายที่เขียนไว้เช่นนี้ หากการรณรงค์ให้เกิดปรากฏการณ์สามัคคีโหวตโน เพื่อสกัดนักการเมืองน้ำเน่าทั่วประเทศ ได้ถึง 26 จาก 375 เขตเลือกตั้ง ก็จะกลายเป็น “จุดตาย” ของบรรดานักกินเมืองโดยทันที
และแม้จะมีการเลือกตั้งใหม่ แต่ประชาชนยังมีเจตนารมณ์เช่นเดิม ฝ่ายการเมืองก็ต้องยอมรับมติมหาชนเช่นกัน อำนาจต่อรองก็จะตกอยู่ในมือของประชาชน ทั้งยังเป็นทางออกของประเทศต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง ที่เป็นช่องทางตามที่กฎหมายให้การรองรับไว้ด้วย
คะแนนโหวตโน จึงเปรียบเสมือนพรรคการเมืองขนาดกลางที่เป็น “ตัวแปร” สำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล หากแต่เป็น “ตัวแปร” ที่ไม่ได้ต่อรองเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง แต่เป็นการต่อรองเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง
เป็น “มิติใหม่” ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ และเปลี่ยนระบบการเมืองน้ำเน่าอย่างสร้างสรรค์
ทั้งยังเป็นทางออกสำหรับคนที่กลัวว่า “ระบอบทักษิณ” จะกลับมาอาละวาดอีกครั้ง เพราะจากผลการสำรวจของโพลต่างๆ ชี้ชัดว่า พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์อย่างขาดลอย และจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะเลือกพรรคการเมืองไหน ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการเข้ามามีอำนาจของ “ระบอบทักษิณ” โดยผ่าน “ร่างทรง” อย่าง ปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้
และพรรคเพื่อไทยก็จะอาศัยเสียงข้างมากในสภาฯออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีอาญา ได้กลับบ้านในฐานะเป็น “ผู้บริสุทธิ์”
เป็นการทำลายระบบนิติรัฐ-นิติธรรมโดยฐานอำนาจเถื่อน
หรือหากเป็นฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ที่แม้ไม่ชนะเลือกตั้ง แต่อาศัยผลประโยชน์ต่อรองทางการเมือง แล้วได้กลับมาเป็นรัฐบาล ก็จะทำให้คนเสื้อแดงออกมาต่อต้านอยู่ดี
ทั้ง 2 ทางถือเป็นการซ้ำเติมวิกฤติของประเทศ ยังไม่รวมไปถึงบรรยากาศการเลือกตั้งครั้งนี้ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งรุนแรง ไม่ได้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
และจะเป็นชนวนของความขัดแย้งระลอกใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่อเค้าความรุนแรงมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ
ดังนั้น “โหวตโน” จึงเป็นเพียงหนทางเดียวในการหยุดวิกฤตตั้งแต่วันนี้ และเป็นการเปิดทางให้ทุกฝ่ายนำปัญหามาพูดคุยกัน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
มิใช่ “ดังทุรัง” เดินไปข้างหน้าทั้งที่เห็นวิกฤตครั้งใหญ่รออยู่
ไม่ใช่เรื่องยากต่อการรวมพลังโหวตโนให้ได้ตามเป้าหมาย 26 เขตเลือกตั้ง แม้จะต่อสู้กับ “อำนาจเงิน” จากการซื้อเสียงทุจริตการเลือกตั้ง ถ้าประชาชนให้ความสามัคคีกันมาโหวตโนมากๆ ก็ไม่มีอำนาจใดจะต้านอำนาจของมหาชนได้ ซึ่งจะเป็นคลื่นที่ส่งสัญญาณให้พวกนักการเมืองรู้ว่า ประชาชนจะไม่ยอมตกอยู่ภายใต้ระบบการเมืองที่ฉ้อฉลอีกต่อไป
หากต้องการ “ปลดแอก” ประกาศอิสรภาพจากนักการเมืองชั่ว 3 ก.ค.นี้ก็ต้องสามัคคีกัน “โหวตโน”
ในที่สุดความจริงก็ปรากฏ ว่าการออกเสียงในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือ “โหวตโน” นั้น มีทั้งผลในทาง “กฎหมาย” และยังทรงพลานุภาพส่งผลให้บรรดานักการเมืองไม่สามารถแอบอ้างคะแนนเสียงของประชาชนไปใช้หาประโยชน์ให้กับตัวเอง หรือทำร้ายชาติบ้านเมืองได้อีกต่อไป
เมื่อนักกฎหมายผู้คร่ำหวอดในการใช้กฎหมายอย่าง อนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของศาลฎีกา เขียนบทความชื่อ ผลทางนิตินัยของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (Vote No) ที่เป็นเสมือน “กุญแจ” ไขความกระจ่างว่า แท้จริงแล้วคะแนนโหวตโนนั้นมีผลทางกฎหมาย แม้ว่าโหวตโนจะไม่มีตัวตน แต่เมื่อเป็นช่องหนึ่งที่ถูกระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง
ก็ถือว่า มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับคะแนนเสียงที่ลงให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
โดย “อนุรักษ์” ได้อ้างอิงถึง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 ในมาตรา 89 ที่ระบุว่า ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลาก ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ซึ่งชัดเจนมากว่า ผู้สมัครที่จะได้รับเลือกเป็น ส.ส.เขตนั้นจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น รวมทั้งต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน ตามที่มาตรา 88 ในกฎหมายฉบับเดียวกันระบุไว้ว่า
ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะต้องได้รับคะแนนเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
หรือหมายความว่า ผู้สมัครที่จะถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง จะต้องผ่านองค์ประกอบของกฎหมายทั้งมาตรามาตรา 88 และมาตรา 89 ตามที่ “ท่านอนุรักษ์” ได้อธิบายไว้ว่าเป็น “เทคนิค” ในการร่างกฎหมาย ที่กำหนดเกณฑ์ 20 เปอร์เซนต์ สำหรับกรณีมีผู้สมัครคนเดียว และกำหนดเกณฑ์ “มากที่สุด” สำหรับกรณีที่มีผู้ลงสมัครหลายคน
โดยให้นับ “โหวตโน” ที่ถูกระบุไว้ใน “ช่องล่างขวาสุด” ของบัตรเลือกตั้งครั้งนี้เข้าไปด้วย
ในความเป็นจริงเรื่องนี้ได้ถูกเปิดประเด็นมาก่อนหน้านี้โดย สุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความคนกล้าของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่เมื่อมีบุคคลระดับเลขาฯศาลฎีกา ออกมาการันตีรับรองอีกคน ก็ทำให้มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในผลของกฎหมายที่จะเกิดจากการโหวตโน ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับแนวคิดของ 1 ใน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ยอมรับในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ไม่สามารถออกมาเปิดเผยได้ เพราะถือว่ามีผลโดยตรงต่อนักการเมืองและผลการเลือกตั้ง
ถือว่าได้สร้างความชอบธรรมให้แก่การรณรงค์โหวตโนอย่างสมบูรณ์
และทำให้ความชอบธรรมที่นักการเมืองจะอวดอ้างว่าตัวเองชนะการเลือกตั้ง แม้ว่าจะได้คะแนนน้อยกว่าโหวตโนก็หมดลงไปทันที โดยผู้สมัครที่แม้จะได้คะแนนสูงกว่าคนอื่น แต่น้อยกว่าคะแนนโหวตโน ก็ต้องถือว่า “สอบตก” ทำให้การเลือกตั้งเป็น “โมฆะ” ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ภายใน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนด
นับว่าเป็นการตัด “วงจรอุบาทว์” ได้ในระดับหนึ่ง
ตาม “ยุทธศาสตร์” ในวันนี้ของภาคประชาชน โดยพันธมิตรฯต้องการเดินหน้า “ยกเครื่อง” ระบบการเมือง เพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง จึงได้นำข้อคิดเห็นจาก 2 นักกฎหมายผู้รักชาติ มาประสานกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 93 (7) ที่กล่าวถึง สภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องประกอบด้วย ส.ส.ไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซนต์ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดหรือ 500 คนในปัจจุบัน
ดังนั้น หมายว่าหากหลังการเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 แล้วมี ส.ส.ไม่ถึง 475 คนหรือ 95 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเต็มของสภาฯ ก็จะทำให้ไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ ส่งผลให้ไม่สามารถทำการลงมติเลือกบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งรัฐบาลได้
จากช่องทางข้อกฎหมายที่เขียนไว้เช่นนี้ หากการรณรงค์ให้เกิดปรากฏการณ์สามัคคีโหวตโน เพื่อสกัดนักการเมืองน้ำเน่าทั่วประเทศ ได้ถึง 26 จาก 375 เขตเลือกตั้ง ก็จะกลายเป็น “จุดตาย” ของบรรดานักกินเมืองโดยทันที
และแม้จะมีการเลือกตั้งใหม่ แต่ประชาชนยังมีเจตนารมณ์เช่นเดิม ฝ่ายการเมืองก็ต้องยอมรับมติมหาชนเช่นกัน อำนาจต่อรองก็จะตกอยู่ในมือของประชาชน ทั้งยังเป็นทางออกของประเทศต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง ที่เป็นช่องทางตามที่กฎหมายให้การรองรับไว้ด้วย
คะแนนโหวตโน จึงเปรียบเสมือนพรรคการเมืองขนาดกลางที่เป็น “ตัวแปร” สำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล หากแต่เป็น “ตัวแปร” ที่ไม่ได้ต่อรองเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง แต่เป็นการต่อรองเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง
เป็น “มิติใหม่” ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ และเปลี่ยนระบบการเมืองน้ำเน่าอย่างสร้างสรรค์
ทั้งยังเป็นทางออกสำหรับคนที่กลัวว่า “ระบอบทักษิณ” จะกลับมาอาละวาดอีกครั้ง เพราะจากผลการสำรวจของโพลต่างๆ ชี้ชัดว่า พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์อย่างขาดลอย และจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะเลือกพรรคการเมืองไหน ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการเข้ามามีอำนาจของ “ระบอบทักษิณ” โดยผ่าน “ร่างทรง” อย่าง ปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้
และพรรคเพื่อไทยก็จะอาศัยเสียงข้างมากในสภาฯออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีอาญา ได้กลับบ้านในฐานะเป็น “ผู้บริสุทธิ์”
เป็นการทำลายระบบนิติรัฐ-นิติธรรมโดยฐานอำนาจเถื่อน
หรือหากเป็นฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ที่แม้ไม่ชนะเลือกตั้ง แต่อาศัยผลประโยชน์ต่อรองทางการเมือง แล้วได้กลับมาเป็นรัฐบาล ก็จะทำให้คนเสื้อแดงออกมาต่อต้านอยู่ดี
ทั้ง 2 ทางถือเป็นการซ้ำเติมวิกฤติของประเทศ ยังไม่รวมไปถึงบรรยากาศการเลือกตั้งครั้งนี้ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งรุนแรง ไม่ได้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
และจะเป็นชนวนของความขัดแย้งระลอกใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่อเค้าความรุนแรงมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ
ดังนั้น “โหวตโน” จึงเป็นเพียงหนทางเดียวในการหยุดวิกฤตตั้งแต่วันนี้ และเป็นการเปิดทางให้ทุกฝ่ายนำปัญหามาพูดคุยกัน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
มิใช่ “ดังทุรัง” เดินไปข้างหน้าทั้งที่เห็นวิกฤตครั้งใหญ่รออยู่
ไม่ใช่เรื่องยากต่อการรวมพลังโหวตโนให้ได้ตามเป้าหมาย 26 เขตเลือกตั้ง แม้จะต่อสู้กับ “อำนาจเงิน” จากการซื้อเสียงทุจริตการเลือกตั้ง ถ้าประชาชนให้ความสามัคคีกันมาโหวตโนมากๆ ก็ไม่มีอำนาจใดจะต้านอำนาจของมหาชนได้ ซึ่งจะเป็นคลื่นที่ส่งสัญญาณให้พวกนักการเมืองรู้ว่า ประชาชนจะไม่ยอมตกอยู่ภายใต้ระบบการเมืองที่ฉ้อฉลอีกต่อไป
หากต้องการ “ปลดแอก” ประกาศอิสรภาพจากนักการเมืองชั่ว 3 ก.ค.นี้ก็ต้องสามัคคีกัน “โหวตโน”