พักนี้ได้ไปร่วมเสวนาทางการเมืองเรื่อง “โหวตโน” ในหลายเวที และอ่านงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ของผู้สันทัดกรณีหลายๆ ท่าน ทำให้ได้รับมุมมอง ข้อคิดดีๆ หลายประการ โดยเฉพาะบทความของคุณพี่บรรจง นะแส ใน ASTV ผู้จัดการ เรื่อง “ Vote No กับจินตนาการ” ตอนที่ 3 ที่ได้ขมวดปมเอาไว้ตอนหนึ่งว่า
“ผู้เขียนไม่เชื่อว่าการมี โหวตโน 10 ล้านเสียงจะส่งผลใดๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ หากเสียงโหวตโน 10 ล้านเสียงกระทำการเสร็จแล้วกลับไปอยู่ในที่ตั้งของตัวเองแบบตัวใครตัวมัน นักการเมือง พรรคการเมือง ก็ยังคงเดินหน้าในส่วนที่พวกเขาคิดและจินตนาการ นั่นคือมอบผลประโยชน์เป็นส่วนเสี้ยวให้กับประชาชนแล้วพวกเขาก็หาผลประโยชน์ทำร้ายทำลายสังคมโดยรวมในทุกๆ มิติอยู่ต่อไป....”
แล้วคุณพี่บรรจงก็สรุปว่า ในทางตรงข้ามแม้พลังโหวตโนจะมีเพียง 3 แสนเสียง แต่ถ้า 3 แสนเสียงเป็นพลังที่ขับเคลื่อนเพื่อปฏิรูปทางการเมืองจริงๆ ก็สามารถที่จะเดินหน้าทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้...
ความหมายของคุณพี่บรรจงนั้นเน้นเรื่อง “คุณภาพ” มากกว่า “ปริมาณ” หรือ “คุณภาพ”คือตัวชี้ขาด ซึ่งผมเชื่อว่าแทบทุกคนคงเห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าถามผม ผมก็ต้องคิดเหมือนคนทั่วๆ ไปที่สนับสนุนการโหวตโนว่า ถ้าได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
แต่กระนั้นก็ตาม...คำตอบสุดท้ายก็จะอยู่ตรงที่ว่า ไม่ว่าพลังโหวตโนในการเลือกตั้ง 3 ก.ค. 2554 จะมีมากน้อยเพียงใด หากไม่มีการขับเคลื่อนต่อไปหลังจากนั้น พลังโหวตโนก็จะมีค่าเสมอแค่ความสะใจทางการเมืองชั่วครู่ชั่วยาม หรือเป็นแค่พลังทำลายสถิติโหวตโน ว่ามีมากกว่าทุกครั้ง ไม่สามารถเป็นพลังคุณภาพที่จะส่งผลเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองได้แม้แต่น้อย...
ซึ่งผมไม่เชื่อว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและผู้สนับสนุนโหวตโน จะหยุดพลังของตัวเองเอาไว้แค่วันที่ 3 ก.ค.เท่านั้น
วันนี้ผมขอแลกเปลี่ยนเสนอมุมมองกึ่งจินตนาการต่อยอดจากคุณพี่บรรจง นะแส เพื่อให้พลังโหวตโนไม่สูญเปล่า ในนามของ “บันได 5 ขั้น สร้างสรรค์พลังโหวตโน เพื่อปฏิรูปประเทศไทย” พอเป็นสังเขปดังนี้
ขั้นที่ 1 การรณรงค์โหวตโน-คือขั้นตอนที่พันธมิตรฯ, คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและองค์กรแนวร่วมทั้งหลายกำลังขับเคลื่อนรณรงค์อยู่ในขณะนี้ การเคลื่อนไหวในขั้นตอนนี้นอกเหนือจากจะเชิญชวนให้ประชาชนออกมาโหวตโนแล้ว ต้องให้ปัญญาให้ความรู้มากที่สุดว่าการโหวตโน ไม่ได้เป็นการทำลายการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการแสดงพลังความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ยอมรับ “เนื้อหา” ของการเมืองไทยที่กำลังเป็นไป เป็นการสร้างพลังถ่วงดุลเพื่อนำไปสู่การปฏิรูป
และภายใต้การรณรงค์ต้องบอกกับประชาชนคนไทยว่าพันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นเจ้าของผูกขาดคำว่าโหวตโน คนไทยทุกคนที่อยากปฏิรูป ล้วนแต่เป็นเจ้าภาพร่วมกัน
ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการโหวตโน-คือการเข้าคูหากาโหวตโนในบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบหรือ 2ระบบ ทั้งเลือกตั้ง ส.ส.เขตและ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในวันที่ 3 ก.ค.
ขั้นที่ 3 ประชุมสรุปประเมินผลโหวตโนเพื่อขับเคลื่อนแปรพลังโหวตโนให้เป็นพลังที่จะปฏิรูปการเมืองปฏิรูปประเทศไทย โดยเบื้องต้นอาจจะออกแบบจัดตั้งเป็น “สภาโหวตโนจังหวัด” หรือ “สภาโหวตโนภาค” ให้แต่ละจังหวัดหรือแต่ละภาคเลือกตัวแทนที่จะเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมต่างๆ
ขั้นที่ 4 จัดตั้งสภาโหวตโนแห่งชาติ หรือสมัชชาโหวตโนแห่งชาติ โดยใช้พลังโหวตโนทั้งหมด รวมทั้งพลังสังคมในภาคส่วนต่างๆ ที่พร้อมจะเข้าร่วมการปฏิรูปประเทศไทย
ในการนี้สภาโหวตโนแห่งชาติ จะร่วมกันระดมปัญญา ความรู้ความสามารถจัดทำ “พิมพ์เขียว” แผนการปฏิรูปประเทศไทย โดยสามารถดึงเอาผลการประชุมศึกษาดีๆ ที่กลุ่มต่างๆ เคยศึกษาเอาไว้แล้วมาเป็นส่วนหนึ่งของพิมพ์เขียว เช่น ผลสรุปที่พันธมิตรฯ เคยสรุปไว้ในช่วงการชุมนุม 193 วัน, ผลการศึกษาของคณะปฏิรูปชุดนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ฯลฯ
ขั้นที่ 5 ผลักดันให้มีการปฏิรูปการเมือง-ปฏิรูปประเทศไทย อย่างน้อยๆ การผลักดันให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือส.ส.ร.ชุดที่ 3 จะต้องเกิดขึ้น นอกเหนือจากการออกแบบความเคลื่อนไหวอื่นๆ เพื่อกดดัน ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปหรืออภิวัฒน์สังคมอย่างรอบด้าน ฯลฯ..
ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา หัวใจสำคัญก็คือ หลังวันที่ 3 ก.ค.ไม่ว่าโหวตโนจะมี 3 แสน 3 ล้าน 5 ล้าน 8 ล้านหรือเท่าไหร่ก็ตาม แต่จะต้องแปรรูปพลังโหวตโนเป็นองค์กรทางการเมืองของภาคประชาชน มีการบริหารจัดการ มีกิจกรรมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม โดยโจทย์ใหญ่คือการปฏิรูปประเทศอย่างสันติ อหิงสา เป็นพลังถ่วงดุลหยุดยั้งการเมืองที่เลวร้าย
จากคำว่า โหวตโนที่แต่เดิมอาจจะเป็นแค่ “นายประสงค์ไม่ลงคะแนน (ให้ใคร)” เพราะเบื่อการเมืองหรือไม่รู้จะเลือกใคร/พรรคไหน วันนี้โหวตโนได้ถูกยกระดับคุณค่าเป็นทั้งยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่จะปฏิรูปประเทศไทย
บางวงสัมมนาชูคำขวัญ “Vote No-Vote for Change”
บางวงบอกว่า “Vote No นับหนึ่ง อภิวัฒน์ประเทศไทย”
หรือ “Vote No เอาประเทศไทยของเราคืนมา”
ฯลฯ
ผมได้แต่หวังว่าพลังโหวตโนจะไม่สูญเปล่า....วันนี้จึงเสนอบันได 5 ขั้น มาร่วมแลกเปลี่ยน ผิดถูกอย่างไรก็ช่วยกันคิดอ่านต่อไปนะครับ
samr_rod@hotmail.com
“ผู้เขียนไม่เชื่อว่าการมี โหวตโน 10 ล้านเสียงจะส่งผลใดๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ หากเสียงโหวตโน 10 ล้านเสียงกระทำการเสร็จแล้วกลับไปอยู่ในที่ตั้งของตัวเองแบบตัวใครตัวมัน นักการเมือง พรรคการเมือง ก็ยังคงเดินหน้าในส่วนที่พวกเขาคิดและจินตนาการ นั่นคือมอบผลประโยชน์เป็นส่วนเสี้ยวให้กับประชาชนแล้วพวกเขาก็หาผลประโยชน์ทำร้ายทำลายสังคมโดยรวมในทุกๆ มิติอยู่ต่อไป....”
แล้วคุณพี่บรรจงก็สรุปว่า ในทางตรงข้ามแม้พลังโหวตโนจะมีเพียง 3 แสนเสียง แต่ถ้า 3 แสนเสียงเป็นพลังที่ขับเคลื่อนเพื่อปฏิรูปทางการเมืองจริงๆ ก็สามารถที่จะเดินหน้าทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้...
ความหมายของคุณพี่บรรจงนั้นเน้นเรื่อง “คุณภาพ” มากกว่า “ปริมาณ” หรือ “คุณภาพ”คือตัวชี้ขาด ซึ่งผมเชื่อว่าแทบทุกคนคงเห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าถามผม ผมก็ต้องคิดเหมือนคนทั่วๆ ไปที่สนับสนุนการโหวตโนว่า ถ้าได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
แต่กระนั้นก็ตาม...คำตอบสุดท้ายก็จะอยู่ตรงที่ว่า ไม่ว่าพลังโหวตโนในการเลือกตั้ง 3 ก.ค. 2554 จะมีมากน้อยเพียงใด หากไม่มีการขับเคลื่อนต่อไปหลังจากนั้น พลังโหวตโนก็จะมีค่าเสมอแค่ความสะใจทางการเมืองชั่วครู่ชั่วยาม หรือเป็นแค่พลังทำลายสถิติโหวตโน ว่ามีมากกว่าทุกครั้ง ไม่สามารถเป็นพลังคุณภาพที่จะส่งผลเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองได้แม้แต่น้อย...
ซึ่งผมไม่เชื่อว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและผู้สนับสนุนโหวตโน จะหยุดพลังของตัวเองเอาไว้แค่วันที่ 3 ก.ค.เท่านั้น
วันนี้ผมขอแลกเปลี่ยนเสนอมุมมองกึ่งจินตนาการต่อยอดจากคุณพี่บรรจง นะแส เพื่อให้พลังโหวตโนไม่สูญเปล่า ในนามของ “บันได 5 ขั้น สร้างสรรค์พลังโหวตโน เพื่อปฏิรูปประเทศไทย” พอเป็นสังเขปดังนี้
ขั้นที่ 1 การรณรงค์โหวตโน-คือขั้นตอนที่พันธมิตรฯ, คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและองค์กรแนวร่วมทั้งหลายกำลังขับเคลื่อนรณรงค์อยู่ในขณะนี้ การเคลื่อนไหวในขั้นตอนนี้นอกเหนือจากจะเชิญชวนให้ประชาชนออกมาโหวตโนแล้ว ต้องให้ปัญญาให้ความรู้มากที่สุดว่าการโหวตโน ไม่ได้เป็นการทำลายการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการแสดงพลังความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ยอมรับ “เนื้อหา” ของการเมืองไทยที่กำลังเป็นไป เป็นการสร้างพลังถ่วงดุลเพื่อนำไปสู่การปฏิรูป
และภายใต้การรณรงค์ต้องบอกกับประชาชนคนไทยว่าพันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นเจ้าของผูกขาดคำว่าโหวตโน คนไทยทุกคนที่อยากปฏิรูป ล้วนแต่เป็นเจ้าภาพร่วมกัน
ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการโหวตโน-คือการเข้าคูหากาโหวตโนในบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบหรือ 2ระบบ ทั้งเลือกตั้ง ส.ส.เขตและ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในวันที่ 3 ก.ค.
ขั้นที่ 3 ประชุมสรุปประเมินผลโหวตโนเพื่อขับเคลื่อนแปรพลังโหวตโนให้เป็นพลังที่จะปฏิรูปการเมืองปฏิรูปประเทศไทย โดยเบื้องต้นอาจจะออกแบบจัดตั้งเป็น “สภาโหวตโนจังหวัด” หรือ “สภาโหวตโนภาค” ให้แต่ละจังหวัดหรือแต่ละภาคเลือกตัวแทนที่จะเข้าร่วมประชุมทำกิจกรรมต่างๆ
ขั้นที่ 4 จัดตั้งสภาโหวตโนแห่งชาติ หรือสมัชชาโหวตโนแห่งชาติ โดยใช้พลังโหวตโนทั้งหมด รวมทั้งพลังสังคมในภาคส่วนต่างๆ ที่พร้อมจะเข้าร่วมการปฏิรูปประเทศไทย
ในการนี้สภาโหวตโนแห่งชาติ จะร่วมกันระดมปัญญา ความรู้ความสามารถจัดทำ “พิมพ์เขียว” แผนการปฏิรูปประเทศไทย โดยสามารถดึงเอาผลการประชุมศึกษาดีๆ ที่กลุ่มต่างๆ เคยศึกษาเอาไว้แล้วมาเป็นส่วนหนึ่งของพิมพ์เขียว เช่น ผลสรุปที่พันธมิตรฯ เคยสรุปไว้ในช่วงการชุมนุม 193 วัน, ผลการศึกษาของคณะปฏิรูปชุดนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ฯลฯ
ขั้นที่ 5 ผลักดันให้มีการปฏิรูปการเมือง-ปฏิรูปประเทศไทย อย่างน้อยๆ การผลักดันให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือส.ส.ร.ชุดที่ 3 จะต้องเกิดขึ้น นอกเหนือจากการออกแบบความเคลื่อนไหวอื่นๆ เพื่อกดดัน ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปหรืออภิวัฒน์สังคมอย่างรอบด้าน ฯลฯ..
ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา หัวใจสำคัญก็คือ หลังวันที่ 3 ก.ค.ไม่ว่าโหวตโนจะมี 3 แสน 3 ล้าน 5 ล้าน 8 ล้านหรือเท่าไหร่ก็ตาม แต่จะต้องแปรรูปพลังโหวตโนเป็นองค์กรทางการเมืองของภาคประชาชน มีการบริหารจัดการ มีกิจกรรมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม โดยโจทย์ใหญ่คือการปฏิรูปประเทศอย่างสันติ อหิงสา เป็นพลังถ่วงดุลหยุดยั้งการเมืองที่เลวร้าย
จากคำว่า โหวตโนที่แต่เดิมอาจจะเป็นแค่ “นายประสงค์ไม่ลงคะแนน (ให้ใคร)” เพราะเบื่อการเมืองหรือไม่รู้จะเลือกใคร/พรรคไหน วันนี้โหวตโนได้ถูกยกระดับคุณค่าเป็นทั้งยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่จะปฏิรูปประเทศไทย
บางวงสัมมนาชูคำขวัญ “Vote No-Vote for Change”
บางวงบอกว่า “Vote No นับหนึ่ง อภิวัฒน์ประเทศไทย”
หรือ “Vote No เอาประเทศไทยของเราคืนมา”
ฯลฯ
ผมได้แต่หวังว่าพลังโหวตโนจะไม่สูญเปล่า....วันนี้จึงเสนอบันได 5 ขั้น มาร่วมแลกเปลี่ยน ผิดถูกอย่างไรก็ช่วยกันคิดอ่านต่อไปนะครับ
samr_rod@hotmail.com