ASTVผู้จัดการรายวัน – กคช.สนองนโยบายรัฐบาลสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยอีก ทั้งโครงการบ้านเอื้อฯ และบ้านปฐมภูมิ หรือบ้านหลังแรก ชูแนวคิดใกล้รถไฟฟ้า พร้อมชงขอรัฐอุดหนุนสูงสุด 1.2 แสนบาทต่อยูนิต ราคาขายจะไม่เท่ากันทุกทำเล เหตุต้นทุนต่าง ส่วนบ้านปฐมภูมิ เน้นพื้นที่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และขออุดหนุน 15% ของต้นทุน
นายวิฑูรย์ เจียสกุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวถึงการบริหารโครงการบ้านเอื้ออาทรว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) พิจารณาเห็นว่า บ้านเอื้ออาทรยังน่าจะมีประโยชน์ต่อประชาชน และอยากจะให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งจากการให้บริษัทสำรวจความคิดเห็นประชาชน พบว่า โครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นตราสินค้า (แบรนด์) ที่ประชาชนยังเชื่อมั่น แต่หากทางรัฐบาลต้องการให้กคช.ดำเนินการต่อจะต้องมีการปรับเงื่อนไขให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
โดยประการแรก ราคาของโครงการบ้านเอื้ออาทรไม่ควรเท่ากันในทุกพื้นที่ เหมือนในอดีตที่กำหนดราคาเท่ากันทั่วประเทศ แต่การทำใหม่ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับตลาด ทำเล และต้นทุน เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทรที่ใกล้แนวรถไฟฟ้าราคาอาจจะ 6 แสนบาทหรือกว่า 6 แสนบาทต่อยูนิต โดยปริมาณที่วางไว้ตามแผน 4 ปี ประมาณ 1-2 แสนหน่วย หรือเฉลี่ยปีละ 25,000-50,000 ยูนิต ซึ่งไม่มีการลงทุนซื้อที่ดินแปลงใหม่ แต่จะเลือกที่ดินเดิมหรือที่ดินในโครงการบ้านเอื้ออาทรเก่า แต่หากเป็นโครงการที่อยู่ใกล้เมืองกรุงเทพฯและปริมณฑลจะใช้แบรนด์ “ปฐมภูมิ” หรือเป็นบ้านหลังแรกสำหรับคนที่เพิ่งจบการศึกษาเริ่มต้นทำงาน คาดว่าหน่วยการพัฒนาในเบื้องต้นประมาณ 10,000 หน่วย รัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากรถไฟฟ้า
“การดำเนินการดังกล่าว ในประเด็นของการอุดหนุนก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเช่นกัน แยกเป็นโครงการบ้านเอื้ออาทรจะขอขยับเพดานเงินอุดหนุนสูงสุด 120,000 บาท จากที่อุดหนุนในตอนนี้ 80,000 บาท ส่วนของบ้านปฐมภูมิ ราคาของเงินอุดหนุนจากต่างกัน ราคาต่างกัน แล้วแต่ทำเล ซึ่งตัวเลขจะคิดประมาณ 15% ของต้นทุนซึ่งเป็นส่วนของระบบสาธารณูปโภค ขณะเดียวกัน ก็ต้องพิจารณาว่า นโยบายบ้านหลังแรก 0% ที่รัฐจะดำเนินการในตอนนี้ จะเป็นกี่ปี เงื่อนไขที่ชัดเจนเป็นอย่างไรบ้าง เพราะโครงการบ้านปฐมภูมิ รองรับกลุ่มลูกค้าที่จบใหม่ และต้องการที่อยู่อาศัย เรามีที่ดินเตรียมไว้แล้ว 3-4 แปลง เช่น ที่ดินแถววัดกู้ โซนปากเกร็ด มีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่ดินในซอยวัดพระเงิน อยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง(บางบัวทอง) คาดว่าเฉพาะ 2 ทำเลดังกล่าว น่าจะผลิตออกมารวม 2,000 หน่วย เป็นต้น ”นายวิฑูรย์กล่าวและชี้ว่า
ในกระบวนการสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านปฐมภูมินั้น ทางกคช.จะพยายามลดความเสี่ยงในการเพิ่มภาระหนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ยังจะเพิ่มรายได้ให้แก่กคช.มากขึ้น ซึ่งวิธีการจะให้เอกชนเข้ามาก่อสร้าง ทางกคช.จะไม่ได้เป็นผู้พัฒนาโครงการ ไม่เช่นนั้น กคช.จะไม่ได้รับผลประโยชน์ แต่สถาบันการเงินจะเป็นองค์กรที่ได้รับผลตอบแทนที่สูง แต่ความเสี่ยงแทบไม่มี
นายวิฑูรย์ เจียสกุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวถึงการบริหารโครงการบ้านเอื้ออาทรว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) พิจารณาเห็นว่า บ้านเอื้ออาทรยังน่าจะมีประโยชน์ต่อประชาชน และอยากจะให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งจากการให้บริษัทสำรวจความคิดเห็นประชาชน พบว่า โครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นตราสินค้า (แบรนด์) ที่ประชาชนยังเชื่อมั่น แต่หากทางรัฐบาลต้องการให้กคช.ดำเนินการต่อจะต้องมีการปรับเงื่อนไขให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
โดยประการแรก ราคาของโครงการบ้านเอื้ออาทรไม่ควรเท่ากันในทุกพื้นที่ เหมือนในอดีตที่กำหนดราคาเท่ากันทั่วประเทศ แต่การทำใหม่ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับตลาด ทำเล และต้นทุน เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทรที่ใกล้แนวรถไฟฟ้าราคาอาจจะ 6 แสนบาทหรือกว่า 6 แสนบาทต่อยูนิต โดยปริมาณที่วางไว้ตามแผน 4 ปี ประมาณ 1-2 แสนหน่วย หรือเฉลี่ยปีละ 25,000-50,000 ยูนิต ซึ่งไม่มีการลงทุนซื้อที่ดินแปลงใหม่ แต่จะเลือกที่ดินเดิมหรือที่ดินในโครงการบ้านเอื้ออาทรเก่า แต่หากเป็นโครงการที่อยู่ใกล้เมืองกรุงเทพฯและปริมณฑลจะใช้แบรนด์ “ปฐมภูมิ” หรือเป็นบ้านหลังแรกสำหรับคนที่เพิ่งจบการศึกษาเริ่มต้นทำงาน คาดว่าหน่วยการพัฒนาในเบื้องต้นประมาณ 10,000 หน่วย รัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากรถไฟฟ้า
“การดำเนินการดังกล่าว ในประเด็นของการอุดหนุนก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเช่นกัน แยกเป็นโครงการบ้านเอื้ออาทรจะขอขยับเพดานเงินอุดหนุนสูงสุด 120,000 บาท จากที่อุดหนุนในตอนนี้ 80,000 บาท ส่วนของบ้านปฐมภูมิ ราคาของเงินอุดหนุนจากต่างกัน ราคาต่างกัน แล้วแต่ทำเล ซึ่งตัวเลขจะคิดประมาณ 15% ของต้นทุนซึ่งเป็นส่วนของระบบสาธารณูปโภค ขณะเดียวกัน ก็ต้องพิจารณาว่า นโยบายบ้านหลังแรก 0% ที่รัฐจะดำเนินการในตอนนี้ จะเป็นกี่ปี เงื่อนไขที่ชัดเจนเป็นอย่างไรบ้าง เพราะโครงการบ้านปฐมภูมิ รองรับกลุ่มลูกค้าที่จบใหม่ และต้องการที่อยู่อาศัย เรามีที่ดินเตรียมไว้แล้ว 3-4 แปลง เช่น ที่ดินแถววัดกู้ โซนปากเกร็ด มีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่ดินในซอยวัดพระเงิน อยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง(บางบัวทอง) คาดว่าเฉพาะ 2 ทำเลดังกล่าว น่าจะผลิตออกมารวม 2,000 หน่วย เป็นต้น ”นายวิฑูรย์กล่าวและชี้ว่า
ในกระบวนการสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านปฐมภูมินั้น ทางกคช.จะพยายามลดความเสี่ยงในการเพิ่มภาระหนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ยังจะเพิ่มรายได้ให้แก่กคช.มากขึ้น ซึ่งวิธีการจะให้เอกชนเข้ามาก่อสร้าง ทางกคช.จะไม่ได้เป็นผู้พัฒนาโครงการ ไม่เช่นนั้น กคช.จะไม่ได้รับผลประโยชน์ แต่สถาบันการเงินจะเป็นองค์กรที่ได้รับผลตอบแทนที่สูง แต่ความเสี่ยงแทบไม่มี