วานนี้ ( 22 ส.ค.) ศาลปกครองกลางที่มีนายอนุวัฒน์ ธาราแสวง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลางเป็นตุลาการเจ้าของสำนวน มีคำสั่งยกฟ้องในคดีที่นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร ผู้เข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้คณะกรรมการสรรหากสทช.ส่งชื่อตนเองให้วุฒิสภาพิจารณา โดยศาลเห็นว่าการที่คณะกรรมการสรรหากสทช.ได้ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกมากกว่าหนึ่งด้านนั้นไม่มีกฎหมาย หรือระเบียบจำกัดสิทธิให้สมัครเพียงด้านเดียว ส่วนที่คณะกรรมการสรรหาให้แสดงวิสัยทัศน์ด้วยวาจาก็เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งการที่คณะกรรมการสรรหา มีมติไม่ให้มีการซักถามผู้แสดงวิสัยทัศน์กับผู้สมัครทุกคนก็กระทำอย่างเท่าเทียมกันทุกคน จึงไม่ได้เป็นเหตุให้กระบวนการสรรหาเสียไป
ส่วนที่โต้แย้งว่าคณะกรรมการสรรหามีมติให้ทำลายบัตรลงคะแนนเพื่อไม่ให้พิสูจน์ได้ว่ากรรมการสรรหาคนใดกระทำการฝ่าฝืนนั้นก็ เห็นว่าแม้ธรรมเนียมในทางปฏิบัติจะต้องเก็บบัตรลงคะแนนเพื่อใช้ในการตรวจสอบในกรณีมีผู้ร้องคัดค้าน แต่ในกรณีนี้นายสุรนันท์ไม่ได้คัดค้านว่าการลงคะแนนไม่ชอบตรงกันข้ามกลับยอมรับผลคะแนนดังกล่าว โดยยอมรับว่าตนเองได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ 5 ดังนั้นการที่คณะกรรมการสรรหามีมติทำลายบัตรลงคะแนนจึงไม่เนเหตุให้กระบวนการคัดเลือกผู้สมควรได้รับเลือกกสทช.ในครั้งนี้เสียไปตามที่อ้าง
สำหรับที่โต้แย้งว่านายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ประธานคณะกรรมการสรรหาฯมีความสัมพันธ์กับนายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ผู้เข้ารับการสรรหา โดยนายจตุรงค์ไม่ยอมแจ้งความสัมพันธ์นี้ให้คณะกรรมการสรรหาทราบถือว่าทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางนั้น เห็นว่า ขณะที่นายอรรถชัยสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทอสมท.จำกัด (มหาชน) ที่นายจตุรงค์ ร่วมเป็นกรรมการบริษัทฯ อยู่ด้วย จึงยังไม่ถือว่านายจตุรงค์มีความสัมพันธ์กับนายอรรถชัยในขณะนั้น
ต่อมาข้อเท็จจริงปรากฎว่าในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทอสมท.จำกัด(มหาชน) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 เม.ย. เลือกนายอรรถชัยเป็นกรรมการบริษัทฯก่อนที่จะมีการลงคะแนนคัดเลือกในครั้งแรกคือวันที่ 25 เม.ย. ซึ่ง นายจตุรงค์ ประธานคณะกรรมการสรรหา ก็ยังเป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกับนายอรรถชัยและทราบอยู่แล้วในขณะนั้นว่านายอรรถชัยเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ แต่ก็ให้มีการลงคะแนน จนมีผู้ได้รับการคัดเลือกครบ 4 คน และนายอรรถชัยเป็นหนึ่งในสี่ที่ได้รับเลือก กรณีจึงถือได้ว่านายจตุรงค์ประธานคณะกรรมการสรรหา มีสภาพร้ายแรงทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่ได้มีการดำเนินการแก้ไขความบกพร่องในเรื่องคุณสมบัติของนายอรรถชัยและเหตุที่มีสภาพร้ายแรงอันทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางของนายจตุรงค์ประธานคณะกรรมการสรรหาแล้วโดยได้เพิกถอนสิทธิของนายอรรถชัย และถือว่าการสรรหาในวันที่ 25 เม.ย.ของคณะกรรมการสรรหามีมติเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ เพียง 3 คน
เมื่อมีผู้ได้รับคัดเลือกเพียง 3 คน ไม่ครบจำนวน 4 คน ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อระเบียบสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการกสทช.
ไม่ได้กำหนดวิธีการคัดเลือกในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ซึ่งข้อ 13 ของระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า กรณีที่มัปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัยและเมื่อคณะกรรมการสรรหาได้ลงมติให้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เป็นประการใดแล้วให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการสรรหา ได้วินิจฉัยโดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการลงคะแนนใหม่ จึงเป็นการใช้อำนาจตามข้อ 13 ของระเบียบ ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และระเบียบฯ ที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่จะให้ผู้ได้รับคัดเลือกเป็น กสทช. มาจากการลงคะแนนของคณะกรรมการสรรหาและเมื่อวันที่ 25 เม.ย.มีผู้ได้รับการคัดเลือก และคณะกรรมการรสรรหา ให้การรับรองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเพียง 3 คน โดยนายสุรนันท์ไม่ได้รับการเลือก จึงยังไม่อาจถือได้ว่านายสุรนันท์ เป็นผู้มีคุณสมบัติที่เลื่อนนายสุรนันท์ขึ้นไปแทนนายอรรถชัยได้ และเมื่อคณะกรรมการสรรหา ได้ทำการลงคะแนนใหม่ปรากฏว่านายยุทธ์ ชัยประวิตร ผู้ร้องสอดเป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุด นายยุทธ์จึงเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกและเป็นผู้ที่คณะกรรมการสรรหารับรองคุณสมบัติแล้ว มติของคณะกรรมการสรรหาที่เลือกนายยุทธ์เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ แทนนายอรรถชัย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ด้านนายสุรนันท์ กล่าวภายหลังรับฟังคำพิพากษาว่า จะมีการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งเชื่อว่าจะดำเนินการได้ทันก่อนวันที่ 5 ก.ย.ที่วุฒิสภาจะพิจารณาเลือกกสทช. ทั้งนี้ที่จะอุทธรณ์เนื่องจากยังเห็นว่าคำแถลงคดีของตุลาการผู้แถลงคดี และคำพิพากษายังมีบางประเด็นที่แย้งกันอยู่และตนก็จะนำไปใช้ต่อสู้ในการอุทธรณ์ต่อศาล
ส่วนนายยุทธ์ ชัยประวิตร ก็กล่าวขอบคุณศาลที่ให้ความยุติธรรม และเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลฯในแต่ละประเด็นชัดเจนอยู่แล้ว
นายไพโรจน์ มินเด็น โฆษกศาลปกครอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีอีก 4 คดีที่เกี่ยวพันกับกรณีการสรรหาคณะกรรมการ กสทช. คดีที่ 1 คดีหมายเลขดำที่ 1063/2554 ระหว่างนายสมยศ เลี้ยงบำรุง ร้องคณะกรรมการสรรหา กสทช. กับพวก รวม 2 คน ร้องว่ากระบวนการสรรหามิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอนุญาตให้ผู้สมัครบางรายลงสมัครเป็นผู้มีคุณสมบัติหลายด้าน จึงร้องขอให้เพิกถอนกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการ กสทช. คดีที่ 2 หมายเลขคดีดำที่ 1181/2554 ระหว่างนายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล ร้องประธานคณะกรรมการสรรหาร กสทช. กับพวกรวม 3 คน กรณีเห็นว่าคุณสมบัติของผู้ร้องขัดกฎหมาย เนื่องจากเป็นกรรมกดารบริษัทที่ดำเนินกิจการด้านโทรคมนาคม โดยขอให้ดำเนินการสรรหาใหม่ทั้งหมด
คดีที่ 3 หมายเลขคดีดำที่1190/2554 ระหว่างนายรัฐทรัพย์ นิชิด้า ร้องสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากับพวกรวม 2 คน โดยร้องว่ากรรมการสรรหา 6 คนไม่มีคุณสมบัติ และขอให้เพิกถอนมติและระเบียบของสำนักเลขาธิการวุฒิสภา คดีที่ 4 คดีดำที่ 1218/2554 ระหว่างนายณัฐศิลป์ จงสงวน ร้องสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากับพวกรวม 2 คน ด้วยเหตุผลและคำขอแบบเดียวกับคดีของนายรัฐทรัพย์ โดยในคดีที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องคุณสมบัติเฉพาะตัวนั้นทางศาลปกครองน่าจะมีการพิจารณาคดีในเร็ว ๆ นี้ ส่วนคดีที่ 1 ,3 และ 4 นั้นเนื่องจากมีผู้ร้องร้องว่ามีปัญหาขัดกับระหว่างมาตรา 14 อนุ 1 ของ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ กับรัฐธรรมนูญ คือเรื่องคุณสมบัติของกรรมการสรรหาที่เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประเด็นที่ร้องเกี่ยวกับกระบวนการสรรหา กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองได้พิจารณาแล้วว่าจะต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ และอยู่ในขั้นตอนการส่งศาลรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ทำสามคดีจึงต้องรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะดำเนินการพิจารณาของศาลปกครองต่อไป
นายไพโรจน์ยังระบุด้วยว่าโดยหลักบริหารจัดการแล้วการพิจารณาคดีในหมวดเดียวกัน ทางอธิบดีศาลปกครองจะจ่ายคดีให้กับองค์คณะเดียวกัน แต่ข้อพิจารณาของคดีแต่ละคดีจะเป็นการหยิบยกมาตามข้อร้องของผู้ร้องแต่ละราย ซึ่งในกรณีคดีของนายสุรนันท์ องค์คณะอาจหยิบยกเรื่องกระบวนการสรรหาในส่วนที่เกี่ยวพันกับคำร้องในคดีของสุรนันท์เข้ามาประกอบคำพิพากษา แต่ทั้งนี้ไม่ได้มีผลผูกพันว่าตุลาการทุกคน หรือในกรณีคดีที่อยู่ในองค์คณะเดียวกัน จะต้องหยิบประเด็นที่พิพากษาไปแล้วมาพิจารณาในส่วนของคดีอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของตุลาการแต่ละคน ที่จะดูงว่ากระบวนการในแต่ละส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนของผู้ร้องคนใด
**DSIเล็งชงบอร์ดกคพ.รับเป็นคดีพิเศษ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงการตรวจสอบกระบวนการสรรหา กสทช.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า การสรรหากสทช.เป็นประเด็นใหญ่ ดีเอสไอไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสรรหาหรือการแต่งตั้งกสทช. แต่ทำในประเด็นการตรวจสอบ เมื่อตรวจพบความผิดก็แจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีดังกล่าวไม่ใช่เรื่องการให้คุณให้โทษกับใคร แต่เป็นเรื่องการดำเนินคดี ถูกคือถูก ผิดคือผิด และไม่เห็นว่า การที่ดีเอสไอตรวจสอบเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองตรงไหน เมื่อตรวจสอบพบความไม่ถูกต้อง หน้าที่ของดีเอสไอคือดำเนินคดีกับคนที่ทำผิดกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดีเอสไอถูกมองว่าจ้องล้มกสทช.จึงรีบตรวจสอบกระบวนการสรรหา นายธาริต กล่าวว่า การสรรหากสทช. ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของวุฒิสภา แต่ยอมรับว่าการตรวจสอบเรื่องนี้ทำเร็ว เพราะเห็นว่าช่วงนี้มีการสรรหาอยู่ จึงอยากตรวจสอบให้ได้ข้อมูลเป็นที่ยุติเพื่อเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการสรรหา ไม่อยากให้ใช้คำว่า ใครต้องการล้มกสทช. เพราะจะล้มหรือไม่อยู่ที่ฝ่ายพิจารณาต้องนำไปพิจารณา หากวุฒิสภาจะเดินหน้ากระบวนการแต่งตั้งกสทช. โดยเห็นว่าข้อมูลของดีเอสไอไม่เพียงพอ ทุกอย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็มีอำนาจหน้าที่ที่จะเดินหน้าต่อไปได้แต่ถ้ามีประเด็นที่ยังสงสัยในกระบวนการ หากวุฒิสภาฯจะตั้งเรื่องขึ้นตรวจสอบจะไม่ดีกว่าหรือ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากพบว่ากระบวนการสรรหากสทช.ผิดเป็นบางประเด็นจะดำเนินการอย่างไร นายธาริต กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลที่ดีเอสไอตรวจสอบพบไปประกอบการพิจารณา เหตุใดเราจึงไม่คิดอีกอย่างว่าถ้าขั้นตอนตรงไหนผิดก็ไปแก้ไขและดำเนินการให้ถูกต้อง ทำไมต้องเรียกว่าล้มกสทช.เราเพียงแต่ดำเนินการให้ถูกต้อง ผิดขั้นตอนไหนก็กลับไปเริ่มต้นทำให้ถูกต้อง ซึ่งน่าจะดีกว่าการเดินหน้าทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องต่อไป ในส่วนของดีเอสไอ ยืนยันจะเดินหน้าเสนอให้คณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.)รับเป็นคดีพิเศษเพื่อดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายต่อไป
ส่วนกรณีที่ศาลปกครองกลางยกคำร้องคดีที่นายสุรนันท์ ฟ้องคณะกรรมการสรรหากสทช. กับเลขาธิการวุฒิสภานั้น นายธาริต กล่าวว่า คดีที่ยกคำฟ้องถือเป็นประเด็นเล็กน้อย ไม่ใช่ประเด็นหลัก โดยยกฟ้องในประเด็นที่นายสุรนันท์ขอให้เพิ่มชื่อตัวเองเข้าไปในรายชื่อ 22 รายชื่อ ส่วนประเด็นหลัก ๆ ที่ฟ้องว่ากระบวนการสรรหาไม่ชอบยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองอีก 3 คดี
ส่วนที่โต้แย้งว่าคณะกรรมการสรรหามีมติให้ทำลายบัตรลงคะแนนเพื่อไม่ให้พิสูจน์ได้ว่ากรรมการสรรหาคนใดกระทำการฝ่าฝืนนั้นก็ เห็นว่าแม้ธรรมเนียมในทางปฏิบัติจะต้องเก็บบัตรลงคะแนนเพื่อใช้ในการตรวจสอบในกรณีมีผู้ร้องคัดค้าน แต่ในกรณีนี้นายสุรนันท์ไม่ได้คัดค้านว่าการลงคะแนนไม่ชอบตรงกันข้ามกลับยอมรับผลคะแนนดังกล่าว โดยยอมรับว่าตนเองได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ 5 ดังนั้นการที่คณะกรรมการสรรหามีมติทำลายบัตรลงคะแนนจึงไม่เนเหตุให้กระบวนการคัดเลือกผู้สมควรได้รับเลือกกสทช.ในครั้งนี้เสียไปตามที่อ้าง
สำหรับที่โต้แย้งว่านายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ประธานคณะกรรมการสรรหาฯมีความสัมพันธ์กับนายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ผู้เข้ารับการสรรหา โดยนายจตุรงค์ไม่ยอมแจ้งความสัมพันธ์นี้ให้คณะกรรมการสรรหาทราบถือว่าทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางนั้น เห็นว่า ขณะที่นายอรรถชัยสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทอสมท.จำกัด (มหาชน) ที่นายจตุรงค์ ร่วมเป็นกรรมการบริษัทฯ อยู่ด้วย จึงยังไม่ถือว่านายจตุรงค์มีความสัมพันธ์กับนายอรรถชัยในขณะนั้น
ต่อมาข้อเท็จจริงปรากฎว่าในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทอสมท.จำกัด(มหาชน) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 เม.ย. เลือกนายอรรถชัยเป็นกรรมการบริษัทฯก่อนที่จะมีการลงคะแนนคัดเลือกในครั้งแรกคือวันที่ 25 เม.ย. ซึ่ง นายจตุรงค์ ประธานคณะกรรมการสรรหา ก็ยังเป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกับนายอรรถชัยและทราบอยู่แล้วในขณะนั้นว่านายอรรถชัยเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ แต่ก็ให้มีการลงคะแนน จนมีผู้ได้รับการคัดเลือกครบ 4 คน และนายอรรถชัยเป็นหนึ่งในสี่ที่ได้รับเลือก กรณีจึงถือได้ว่านายจตุรงค์ประธานคณะกรรมการสรรหา มีสภาพร้ายแรงทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่ได้มีการดำเนินการแก้ไขความบกพร่องในเรื่องคุณสมบัติของนายอรรถชัยและเหตุที่มีสภาพร้ายแรงอันทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางของนายจตุรงค์ประธานคณะกรรมการสรรหาแล้วโดยได้เพิกถอนสิทธิของนายอรรถชัย และถือว่าการสรรหาในวันที่ 25 เม.ย.ของคณะกรรมการสรรหามีมติเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ เพียง 3 คน
เมื่อมีผู้ได้รับคัดเลือกเพียง 3 คน ไม่ครบจำนวน 4 คน ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อระเบียบสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการกสทช.
ไม่ได้กำหนดวิธีการคัดเลือกในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ ซึ่งข้อ 13 ของระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า กรณีที่มัปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้วินิจฉัยและเมื่อคณะกรรมการสรรหาได้ลงมติให้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เป็นประการใดแล้วให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการสรรหา ได้วินิจฉัยโดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการลงคะแนนใหม่ จึงเป็นการใช้อำนาจตามข้อ 13 ของระเบียบ ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และระเบียบฯ ที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่จะให้ผู้ได้รับคัดเลือกเป็น กสทช. มาจากการลงคะแนนของคณะกรรมการสรรหาและเมื่อวันที่ 25 เม.ย.มีผู้ได้รับการคัดเลือก และคณะกรรมการรสรรหา ให้การรับรองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเพียง 3 คน โดยนายสุรนันท์ไม่ได้รับการเลือก จึงยังไม่อาจถือได้ว่านายสุรนันท์ เป็นผู้มีคุณสมบัติที่เลื่อนนายสุรนันท์ขึ้นไปแทนนายอรรถชัยได้ และเมื่อคณะกรรมการสรรหา ได้ทำการลงคะแนนใหม่ปรากฏว่านายยุทธ์ ชัยประวิตร ผู้ร้องสอดเป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุด นายยุทธ์จึงเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกและเป็นผู้ที่คณะกรรมการสรรหารับรองคุณสมบัติแล้ว มติของคณะกรรมการสรรหาที่เลือกนายยุทธ์เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ แทนนายอรรถชัย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ด้านนายสุรนันท์ กล่าวภายหลังรับฟังคำพิพากษาว่า จะมีการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งเชื่อว่าจะดำเนินการได้ทันก่อนวันที่ 5 ก.ย.ที่วุฒิสภาจะพิจารณาเลือกกสทช. ทั้งนี้ที่จะอุทธรณ์เนื่องจากยังเห็นว่าคำแถลงคดีของตุลาการผู้แถลงคดี และคำพิพากษายังมีบางประเด็นที่แย้งกันอยู่และตนก็จะนำไปใช้ต่อสู้ในการอุทธรณ์ต่อศาล
ส่วนนายยุทธ์ ชัยประวิตร ก็กล่าวขอบคุณศาลที่ให้ความยุติธรรม และเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลฯในแต่ละประเด็นชัดเจนอยู่แล้ว
นายไพโรจน์ มินเด็น โฆษกศาลปกครอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีอีก 4 คดีที่เกี่ยวพันกับกรณีการสรรหาคณะกรรมการ กสทช. คดีที่ 1 คดีหมายเลขดำที่ 1063/2554 ระหว่างนายสมยศ เลี้ยงบำรุง ร้องคณะกรรมการสรรหา กสทช. กับพวก รวม 2 คน ร้องว่ากระบวนการสรรหามิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอนุญาตให้ผู้สมัครบางรายลงสมัครเป็นผู้มีคุณสมบัติหลายด้าน จึงร้องขอให้เพิกถอนกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการ กสทช. คดีที่ 2 หมายเลขคดีดำที่ 1181/2554 ระหว่างนายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล ร้องประธานคณะกรรมการสรรหาร กสทช. กับพวกรวม 3 คน กรณีเห็นว่าคุณสมบัติของผู้ร้องขัดกฎหมาย เนื่องจากเป็นกรรมกดารบริษัทที่ดำเนินกิจการด้านโทรคมนาคม โดยขอให้ดำเนินการสรรหาใหม่ทั้งหมด
คดีที่ 3 หมายเลขคดีดำที่1190/2554 ระหว่างนายรัฐทรัพย์ นิชิด้า ร้องสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากับพวกรวม 2 คน โดยร้องว่ากรรมการสรรหา 6 คนไม่มีคุณสมบัติ และขอให้เพิกถอนมติและระเบียบของสำนักเลขาธิการวุฒิสภา คดีที่ 4 คดีดำที่ 1218/2554 ระหว่างนายณัฐศิลป์ จงสงวน ร้องสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากับพวกรวม 2 คน ด้วยเหตุผลและคำขอแบบเดียวกับคดีของนายรัฐทรัพย์ โดยในคดีที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องคุณสมบัติเฉพาะตัวนั้นทางศาลปกครองน่าจะมีการพิจารณาคดีในเร็ว ๆ นี้ ส่วนคดีที่ 1 ,3 และ 4 นั้นเนื่องจากมีผู้ร้องร้องว่ามีปัญหาขัดกับระหว่างมาตรา 14 อนุ 1 ของ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ กับรัฐธรรมนูญ คือเรื่องคุณสมบัติของกรรมการสรรหาที่เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประเด็นที่ร้องเกี่ยวกับกระบวนการสรรหา กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองได้พิจารณาแล้วว่าจะต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ และอยู่ในขั้นตอนการส่งศาลรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ทำสามคดีจึงต้องรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะดำเนินการพิจารณาของศาลปกครองต่อไป
นายไพโรจน์ยังระบุด้วยว่าโดยหลักบริหารจัดการแล้วการพิจารณาคดีในหมวดเดียวกัน ทางอธิบดีศาลปกครองจะจ่ายคดีให้กับองค์คณะเดียวกัน แต่ข้อพิจารณาของคดีแต่ละคดีจะเป็นการหยิบยกมาตามข้อร้องของผู้ร้องแต่ละราย ซึ่งในกรณีคดีของนายสุรนันท์ องค์คณะอาจหยิบยกเรื่องกระบวนการสรรหาในส่วนที่เกี่ยวพันกับคำร้องในคดีของสุรนันท์เข้ามาประกอบคำพิพากษา แต่ทั้งนี้ไม่ได้มีผลผูกพันว่าตุลาการทุกคน หรือในกรณีคดีที่อยู่ในองค์คณะเดียวกัน จะต้องหยิบประเด็นที่พิพากษาไปแล้วมาพิจารณาในส่วนของคดีอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของตุลาการแต่ละคน ที่จะดูงว่ากระบวนการในแต่ละส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนของผู้ร้องคนใด
**DSIเล็งชงบอร์ดกคพ.รับเป็นคดีพิเศษ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงการตรวจสอบกระบวนการสรรหา กสทช.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า การสรรหากสทช.เป็นประเด็นใหญ่ ดีเอสไอไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสรรหาหรือการแต่งตั้งกสทช. แต่ทำในประเด็นการตรวจสอบ เมื่อตรวจพบความผิดก็แจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีดังกล่าวไม่ใช่เรื่องการให้คุณให้โทษกับใคร แต่เป็นเรื่องการดำเนินคดี ถูกคือถูก ผิดคือผิด และไม่เห็นว่า การที่ดีเอสไอตรวจสอบเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองตรงไหน เมื่อตรวจสอบพบความไม่ถูกต้อง หน้าที่ของดีเอสไอคือดำเนินคดีกับคนที่ทำผิดกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดีเอสไอถูกมองว่าจ้องล้มกสทช.จึงรีบตรวจสอบกระบวนการสรรหา นายธาริต กล่าวว่า การสรรหากสทช. ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของวุฒิสภา แต่ยอมรับว่าการตรวจสอบเรื่องนี้ทำเร็ว เพราะเห็นว่าช่วงนี้มีการสรรหาอยู่ จึงอยากตรวจสอบให้ได้ข้อมูลเป็นที่ยุติเพื่อเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการสรรหา ไม่อยากให้ใช้คำว่า ใครต้องการล้มกสทช. เพราะจะล้มหรือไม่อยู่ที่ฝ่ายพิจารณาต้องนำไปพิจารณา หากวุฒิสภาจะเดินหน้ากระบวนการแต่งตั้งกสทช. โดยเห็นว่าข้อมูลของดีเอสไอไม่เพียงพอ ทุกอย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็มีอำนาจหน้าที่ที่จะเดินหน้าต่อไปได้แต่ถ้ามีประเด็นที่ยังสงสัยในกระบวนการ หากวุฒิสภาฯจะตั้งเรื่องขึ้นตรวจสอบจะไม่ดีกว่าหรือ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากพบว่ากระบวนการสรรหากสทช.ผิดเป็นบางประเด็นจะดำเนินการอย่างไร นายธาริต กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลที่ดีเอสไอตรวจสอบพบไปประกอบการพิจารณา เหตุใดเราจึงไม่คิดอีกอย่างว่าถ้าขั้นตอนตรงไหนผิดก็ไปแก้ไขและดำเนินการให้ถูกต้อง ทำไมต้องเรียกว่าล้มกสทช.เราเพียงแต่ดำเนินการให้ถูกต้อง ผิดขั้นตอนไหนก็กลับไปเริ่มต้นทำให้ถูกต้อง ซึ่งน่าจะดีกว่าการเดินหน้าทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องต่อไป ในส่วนของดีเอสไอ ยืนยันจะเดินหน้าเสนอให้คณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.)รับเป็นคดีพิเศษเพื่อดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายต่อไป
ส่วนกรณีที่ศาลปกครองกลางยกคำร้องคดีที่นายสุรนันท์ ฟ้องคณะกรรมการสรรหากสทช. กับเลขาธิการวุฒิสภานั้น นายธาริต กล่าวว่า คดีที่ยกคำฟ้องถือเป็นประเด็นเล็กน้อย ไม่ใช่ประเด็นหลัก โดยยกฟ้องในประเด็นที่นายสุรนันท์ขอให้เพิ่มชื่อตัวเองเข้าไปในรายชื่อ 22 รายชื่อ ส่วนประเด็นหลัก ๆ ที่ฟ้องว่ากระบวนการสรรหาไม่ชอบยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองอีก 3 คดี