หลังการประกาศยุบสภาของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีข่าวสำคัญชิ้นหนึ่งเกิดขึ้น คือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ได้ร้องเรียนต่อกระทรวงพาณิชย์ให้ดำเนินการตรวจสอบ ความเป็นนิติบุคคลไทยของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค
พูดกันอย่างตรงไปตรงมาก็คือ ทรูมูฟสงสัยว่า ดีแทคเป็นต่างด้าว มีคนไทยหรือนิติบุคคลไทยถือหุ้นแทนต่างด้าวเป็นการเลี่ยง และฝ่าฝืนกฎหมาย
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีคำสั่งแต่งตั้งนายสัญญา สถิรบุตร เป็นประธานคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกจการค้า เป็นเลขานุการ
ขณะเดียวกันปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายยรรยง พวงราช ก็มีคำสั่งแต่งตั้งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้อีกชุดหนึ่ง
ยุ่งละซิครับทีนี้ มีคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ 2 ชุด รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ แต่งตั้งที่ปรึกษาเป็นประธาน ปลัดกระทรวงแต่งตั้งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นประธาน
ทำไมรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไม่คุยกับปลัดกระทรวง ทำไมรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไม่เรียกอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามาคุยกันก่อน อาจจะมีคนสงสัยอย่างนี้ เรื่องของเรื่องก็น่าจะเป็นเพราะนายอลงกรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มาจากพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะเป็นแกนในการจัดตั้งรัฐบาล แต่คนที่สนับสนุนให้นายยรรยง พวงราช เป็นปลัดกระทรวงคือนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการฯ โดยมีคนหูบิดที่รัฐมนตรีสนับสนุนอยู่อีกต่างหากนั่นอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งหลังยุบสภา ขณะที่เกิดเหตุนั้นเป็นกลางเดือนมิถุนายน เป็นช่วงการหาเสียง มีแนวโน้มให้เห็นแล้วว่าผลเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร พรรคใดจะชนะการเลือกตั้ง ใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะต้องไปเป็นฝ่ายค้าน นกรู้ทั้งหลายย่อมรู้ว่าจะประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไร?
ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงได้ยินว่า ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงข้าราชการประจำ ข้าราชการประจำไม่เห็นด้วยกับคำสั่งรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ฯลฯ
การไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก ปลัดกระทรวง อธิบดี กระทรวงไหนๆ ก็อาจจะไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ หรือรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ ถ้าหากคำสั่งนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขืนปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบก็บ้า หรืออาจจะติดคุกได้ง่ายๆ แต่เขาก็มีวิธีการนั่นก็คือ บันทึกความเห็นไปยังผู้ที่ออกคำสั่ง ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ไม่ใช่โพนทนาทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์อย่างที่ปฏิบัติกันที่กระทรวงพาณิชย์ในกรณีนี้ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้คนทั้งหลายเข้าใจไปว่า ฝ่ายการเมือง คือ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสัญญา สถิรบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี มีพฤติการณ์ให้ความช่วยเหลือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าช่วยเหลือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรือไม่
ไม่เป็นผลีทั้งฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการประจำ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีอำนาจในการออกคำสั่งหรือไม่?
ไปดูพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา 82 บัญญัติไว้ว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
2. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
3. ต้องปฏิบัติราชการให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
4. ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อเสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
ชะรอยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายบรรยงค์ คิดว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มิใช่ผู้บังคับบัญชา
อาจจะเข้าใจว่า ไอ้หูบิด จึงสมควรเป็นผู้บังคับบัญชาตัวจริงก็ได้ จึงได้เอะอะมะเทิ่ง เมื่อผลสอบที่นายสัญญา สถิรบุตร ออกมา และนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีคำสั่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีในกรณีที่ตรวจสอบพบว่า ดีแทคเป็นต่างด้าว
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ หรือฝ่ายการเมืองเขาไปแทรกแซงตรงไหน ในเมื่อผลสอบของนายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็บอกอยู่โทนโท่ว่า
กรณีของดีแทคเกิดจากข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร และข้อเรียกร้องของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเป็นทำนองเดียวกันว่า ดีแทคน่าจะมีสถานะนิติบุคคลต่างด้าว ดังนั้นการดำเนินการของกรมต่อกรณีดังกล่าวจึงต้องอาศัยฐานกฎหมายตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งมีบทบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีจำกัด อยู่ภายใต้กรอบบทบาทของฝ่ายบริหาร คือ ดำเนินการได้เฉพาะตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นขั้นตอนก่อนการสืบสวนสอบสวน......
ยิ่งพูดก็ยิ่งเห็นขี้เท่อ ยิ่งเห็นน้ำยา ยิ่งเห็นว่า นายบรรยงค์ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างไร
กรณีของดีแทคมิใช่มีการตรวจสอบจากคณะกรรมการที่มีนายสัญญา สถิรบุตร และนายบรรยงค์ (ต่างก็เป็นประธาน) เท่านั้น หากแต่คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เขาตรวจสอบมาแล้วตั้งแต่ปี 2552 ได้ความว่า ดีแทค เป็นต่างด้าว ผลการตรวจสอบได้ส่งให้นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการ กสทช. รมต.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อธิบดีกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ
แต่ที่มันไม่เดินหน้า มันยังย่ำอยู่กับที่ก็เพราะนี่คือประเทศไทย และมีข้าราชการประจำเป็นอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอย่างนายบรรยงค์ นี่แหละครับพี่น้อง
พูดกันอย่างตรงไปตรงมาก็คือ ทรูมูฟสงสัยว่า ดีแทคเป็นต่างด้าว มีคนไทยหรือนิติบุคคลไทยถือหุ้นแทนต่างด้าวเป็นการเลี่ยง และฝ่าฝืนกฎหมาย
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีคำสั่งแต่งตั้งนายสัญญา สถิรบุตร เป็นประธานคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกจการค้า เป็นเลขานุการ
ขณะเดียวกันปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายยรรยง พวงราช ก็มีคำสั่งแต่งตั้งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้อีกชุดหนึ่ง
ยุ่งละซิครับทีนี้ มีคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ 2 ชุด รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ แต่งตั้งที่ปรึกษาเป็นประธาน ปลัดกระทรวงแต่งตั้งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นประธาน
ทำไมรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไม่คุยกับปลัดกระทรวง ทำไมรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ไม่เรียกอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามาคุยกันก่อน อาจจะมีคนสงสัยอย่างนี้ เรื่องของเรื่องก็น่าจะเป็นเพราะนายอลงกรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มาจากพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะเป็นแกนในการจัดตั้งรัฐบาล แต่คนที่สนับสนุนให้นายยรรยง พวงราช เป็นปลัดกระทรวงคือนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการฯ โดยมีคนหูบิดที่รัฐมนตรีสนับสนุนอยู่อีกต่างหากนั่นอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งหลังยุบสภา ขณะที่เกิดเหตุนั้นเป็นกลางเดือนมิถุนายน เป็นช่วงการหาเสียง มีแนวโน้มให้เห็นแล้วว่าผลเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร พรรคใดจะชนะการเลือกตั้ง ใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะต้องไปเป็นฝ่ายค้าน นกรู้ทั้งหลายย่อมรู้ว่าจะประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไร?
ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงได้ยินว่า ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงข้าราชการประจำ ข้าราชการประจำไม่เห็นด้วยกับคำสั่งรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ฯลฯ
การไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก ปลัดกระทรวง อธิบดี กระทรวงไหนๆ ก็อาจจะไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ หรือรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ ถ้าหากคำสั่งนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขืนปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบก็บ้า หรืออาจจะติดคุกได้ง่ายๆ แต่เขาก็มีวิธีการนั่นก็คือ บันทึกความเห็นไปยังผู้ที่ออกคำสั่ง ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ไม่ใช่โพนทนาทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์อย่างที่ปฏิบัติกันที่กระทรวงพาณิชย์ในกรณีนี้ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้คนทั้งหลายเข้าใจไปว่า ฝ่ายการเมือง คือ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสัญญา สถิรบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี มีพฤติการณ์ให้ความช่วยเหลือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าช่วยเหลือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรือไม่
ไม่เป็นผลีทั้งฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการประจำ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีอำนาจในการออกคำสั่งหรือไม่?
ไปดูพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา 82 บัญญัติไว้ว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
2. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
3. ต้องปฏิบัติราชการให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
4. ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อเสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
ชะรอยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายบรรยงค์ คิดว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มิใช่ผู้บังคับบัญชา
อาจจะเข้าใจว่า ไอ้หูบิด จึงสมควรเป็นผู้บังคับบัญชาตัวจริงก็ได้ จึงได้เอะอะมะเทิ่ง เมื่อผลสอบที่นายสัญญา สถิรบุตร ออกมา และนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีคำสั่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีในกรณีที่ตรวจสอบพบว่า ดีแทคเป็นต่างด้าว
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ หรือฝ่ายการเมืองเขาไปแทรกแซงตรงไหน ในเมื่อผลสอบของนายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็บอกอยู่โทนโท่ว่า
กรณีของดีแทคเกิดจากข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร และข้อเรียกร้องของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเป็นทำนองเดียวกันว่า ดีแทคน่าจะมีสถานะนิติบุคคลต่างด้าว ดังนั้นการดำเนินการของกรมต่อกรณีดังกล่าวจึงต้องอาศัยฐานกฎหมายตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งมีบทบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีจำกัด อยู่ภายใต้กรอบบทบาทของฝ่ายบริหาร คือ ดำเนินการได้เฉพาะตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นขั้นตอนก่อนการสืบสวนสอบสวน......
ยิ่งพูดก็ยิ่งเห็นขี้เท่อ ยิ่งเห็นน้ำยา ยิ่งเห็นว่า นายบรรยงค์ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างไร
กรณีของดีแทคมิใช่มีการตรวจสอบจากคณะกรรมการที่มีนายสัญญา สถิรบุตร และนายบรรยงค์ (ต่างก็เป็นประธาน) เท่านั้น หากแต่คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เขาตรวจสอบมาแล้วตั้งแต่ปี 2552 ได้ความว่า ดีแทค เป็นต่างด้าว ผลการตรวจสอบได้ส่งให้นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการ กสทช. รมต.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อธิบดีกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ
แต่ที่มันไม่เดินหน้า มันยังย่ำอยู่กับที่ก็เพราะนี่คือประเทศไทย และมีข้าราชการประจำเป็นอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอย่างนายบรรยงค์ นี่แหละครับพี่น้อง