“บรรยงค์” แจงคดี ดีแทค ยันไม่มีนักการเมืองหรือใครแทรกแซง ยันทุกอย่างทำตามขั้นตอน และวิธีปฏิบัติของราชการ ส่วน “สัญญา” ที่ปรึกษา ”อลงกรณ์” ทิ้งบอมบ์ ไม่รู้มีเจตนาอะไร ระบุ ค้านกรณีที่ให้ตอบกลับ กมธ.ว่า ดีแทคเป็นต่างด้าว ไม่ใช่คัดค้านว่าสอบไม่ได้
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวความขัดแย้งระหว่างข้าราชการประจำกับฝ่ายการเมือง ในการตั้งคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ตามที่ได้มีการร้องเรียนจากคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม และ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ได้ตั้งข้อสังเกตมีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่าดีแทคเป็นคนต่างด้าว ว่า การตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว ไม่มีรัฐมนตรี หรือนักการเมืองเข้ามาแทรงแซง ทั้งนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ทั้งนายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ ต่างก็สนับสนุนการทำงาน
“ขณะนี้ คณะทำงานได้ทำงานมีความคืบหน้ามาก คาดว่า จะสรุปได้เบื้องต้นภายในเวลาที่กำหนด คือ วันที่ 4 ก.ค.2554 และจะรายงานตามลำดับชั้น ส่งให้ นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่แต่งตั้งคณะทำงาน ให้พิจารณาในเรื่องนี้ รายงานให้ รมว.พาณิชย์ รมช.พาณิชย์ ในฐานะผู้บังคับบัญชาพิจารณา หากเห็นควรว่ายังไงก็จะสั่งการมา แต่การตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด ไม่ได้อยู่ที่คณะทำงานฯ ต้องไปถึงขั้นศาลที่จะตัดสินชี้ขาด” นายบรรยงค์ กล่าว
นายบรรยงค์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ นายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษา รมช.พาณิชย์ ได้ออกข่าวว่า มีปัญหาเกิดขึ้นกรณีการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อตรวจสอบดีแทค ขอชี้แจงว่า ระหว่างที่กรมได้มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่คณะกรรมาธิการได้ส่งมาให้กรม นายสัญญาได้เชิญ นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และผู้อำนวยการกองที่ดูแลในเรื่องนี้ไปพบ และสอบถามและให้ข้อแนะนำว่า คณะกรรมาธิการได้สอบสวนและสรุปผลมาแล้ว ขอให้กรมยืนยันไปยังกรรมาธิการ ว่า เห็นด้วยกับผลที่กรรมาธิการ ศึกษามา
“ท่านรองอธิบดีมารายงานผม ผมก็ไปพบท่านสัญญา กราบเรียนว่า ผลการศึกษาของกรรมาธิการเป็นการศึกษาของเขา แต่กรมในฐานะนายทะเบียนกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว นายทะเบียนบริษัทมหาชน จะไปยืนยันว่าดีแทคเป็นต่างด้าว ยืนยันไม่ได้ ท่านก็บอกอย่างต้องต้องตรวจสอบ ผมบอกตามมาตรา 4 (พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542) ให้ดูชั้นเดียว บอกมายังไงก็อย่างนั้น แต่ของกรรมาธิการเขาดูหลายชั้น ผม และข้าราชการกรมนี้ ไม่เคยบอกตรวจสอบไม่ได้ แต่เรียนว่ามีข้อจำกัด เราตรวจเองไม่ได้ ต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยตรวจ ก็เหมือนกรณีกุหลาบแก้ว และอีกหลายๆ บริษัท” นายบรรยงค์ กล่าว
นายบรรยงค์ กล่าวอีกว่า จากนั้นนายสัญญาได้ขอให้กรมร่างคำสั่งตั้งคณะทำงาน ให้ตัวท่านเป็นประธาน ซึ่งได้เรียนว่า ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยในเรื่องสถานะของบุคคลที่จะมาเป็นประธาน (นายสัญญา เป็นประธานที่ปรึกษาของนายอลงกรณ์) จากนั้นนายสัญญาได้เชิญให้ไปพบอีกครั้ง มีตน มีรองอธิบดี (นายอิทธิพล) และผู้อำนวยการที่ดูแลเรื่องนี้ ท่านสัญญาได้แสดงหนังสือที่นายอลงกรณ์เขียนกำกับเอาไว้ให้ดูว่าได้เสนอให้ตั้งท่านเป็นประธาน ให้ตนเป็นเลขานุการ และไม่จำเป็นต้องมีกรรมการจากหน่วยงานอื่น พร้อมสรุปว่า หากไม่ตั้งคณะทำงานตรวจสอบจะเจอข้อหาละเว้น และยังได้โทรมาสั่งให้เพิ่มรายชื่อที่ปรึกษาของนายอลงกรณ์อีกคนเข้าไปเป็นกรรมการด้วย ซึ่งต่อมาที่ปรึกษาท่านนี้ได้โทรมาแจ้งตนเพื่อขอถอนตัว
“ระหว่างคุยกัน ท่านอลงกรณ์ได้โทร.มา ผมได้แสดงความเห็นเหมือนเดิม และบอกว่า เรื่องนี้ละเอียดอ่อน เป็นเรื่องคู่กรณีโทรคมนาคมมูลค่ามหาศาล มีการฟ้องร้องกันอยู่หลายคดี การตรวจสอบต้องโปร่งใส ผมเห็นว่า ฝ่ายการเมืองไม่ควรเป็นประธาน ควรใช้กลไกข้าราชการปกติ ท่านสัญญาไม่พอใจ ตะโกนสวนระหว่างผมคุยกับนายอลงกรณ์ สรุปว่า ท่านอธิบดีกลัวอะไร ที่สัญญามาเป็นประธาน ผมเรียนว่า ไม่ติดใจใครจะเป็นประธาน แต่ติดใจสถานะของคนที่มาเป็น จากนั้นผมก็กลับ และมาคุยกับข้าราชการ จากนั้นไปเรียนท่านปลัด (นายยรรยง) ซึ่งปลัดขอให้ดำเนินการตามแนวทางที่เคยทำ ก็เลยทำหนังสือถึงท่านปลัด ขอให้แต่งตั้งคณะทำงานฯ ตามที่ได้ทำงานอยู่ขณะนี้ออกมา ส่วนที่ท่านสัญญาออกมาให้ข่าว ผมไม่ทราบว่าท่านมีเจตนาอะไร ต้องไปถามท่านเอง” นายบรรยงค์ กล่าว
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวความขัดแย้งระหว่างข้าราชการประจำกับฝ่ายการเมือง ในการตั้งคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ตามที่ได้มีการร้องเรียนจากคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม และ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่ได้ตั้งข้อสังเกตมีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่าดีแทคเป็นคนต่างด้าว ว่า การตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว ไม่มีรัฐมนตรี หรือนักการเมืองเข้ามาแทรงแซง ทั้งนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ทั้งนายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ ต่างก็สนับสนุนการทำงาน
“ขณะนี้ คณะทำงานได้ทำงานมีความคืบหน้ามาก คาดว่า จะสรุปได้เบื้องต้นภายในเวลาที่กำหนด คือ วันที่ 4 ก.ค.2554 และจะรายงานตามลำดับชั้น ส่งให้ นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่แต่งตั้งคณะทำงาน ให้พิจารณาในเรื่องนี้ รายงานให้ รมว.พาณิชย์ รมช.พาณิชย์ ในฐานะผู้บังคับบัญชาพิจารณา หากเห็นควรว่ายังไงก็จะสั่งการมา แต่การตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด ไม่ได้อยู่ที่คณะทำงานฯ ต้องไปถึงขั้นศาลที่จะตัดสินชี้ขาด” นายบรรยงค์ กล่าว
นายบรรยงค์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ นายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษา รมช.พาณิชย์ ได้ออกข่าวว่า มีปัญหาเกิดขึ้นกรณีการแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อตรวจสอบดีแทค ขอชี้แจงว่า ระหว่างที่กรมได้มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่คณะกรรมาธิการได้ส่งมาให้กรม นายสัญญาได้เชิญ นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และผู้อำนวยการกองที่ดูแลในเรื่องนี้ไปพบ และสอบถามและให้ข้อแนะนำว่า คณะกรรมาธิการได้สอบสวนและสรุปผลมาแล้ว ขอให้กรมยืนยันไปยังกรรมาธิการ ว่า เห็นด้วยกับผลที่กรรมาธิการ ศึกษามา
“ท่านรองอธิบดีมารายงานผม ผมก็ไปพบท่านสัญญา กราบเรียนว่า ผลการศึกษาของกรรมาธิการเป็นการศึกษาของเขา แต่กรมในฐานะนายทะเบียนกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว นายทะเบียนบริษัทมหาชน จะไปยืนยันว่าดีแทคเป็นต่างด้าว ยืนยันไม่ได้ ท่านก็บอกอย่างต้องต้องตรวจสอบ ผมบอกตามมาตรา 4 (พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542) ให้ดูชั้นเดียว บอกมายังไงก็อย่างนั้น แต่ของกรรมาธิการเขาดูหลายชั้น ผม และข้าราชการกรมนี้ ไม่เคยบอกตรวจสอบไม่ได้ แต่เรียนว่ามีข้อจำกัด เราตรวจเองไม่ได้ ต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยตรวจ ก็เหมือนกรณีกุหลาบแก้ว และอีกหลายๆ บริษัท” นายบรรยงค์ กล่าว
นายบรรยงค์ กล่าวอีกว่า จากนั้นนายสัญญาได้ขอให้กรมร่างคำสั่งตั้งคณะทำงาน ให้ตัวท่านเป็นประธาน ซึ่งได้เรียนว่า ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยในเรื่องสถานะของบุคคลที่จะมาเป็นประธาน (นายสัญญา เป็นประธานที่ปรึกษาของนายอลงกรณ์) จากนั้นนายสัญญาได้เชิญให้ไปพบอีกครั้ง มีตน มีรองอธิบดี (นายอิทธิพล) และผู้อำนวยการที่ดูแลเรื่องนี้ ท่านสัญญาได้แสดงหนังสือที่นายอลงกรณ์เขียนกำกับเอาไว้ให้ดูว่าได้เสนอให้ตั้งท่านเป็นประธาน ให้ตนเป็นเลขานุการ และไม่จำเป็นต้องมีกรรมการจากหน่วยงานอื่น พร้อมสรุปว่า หากไม่ตั้งคณะทำงานตรวจสอบจะเจอข้อหาละเว้น และยังได้โทรมาสั่งให้เพิ่มรายชื่อที่ปรึกษาของนายอลงกรณ์อีกคนเข้าไปเป็นกรรมการด้วย ซึ่งต่อมาที่ปรึกษาท่านนี้ได้โทรมาแจ้งตนเพื่อขอถอนตัว
“ระหว่างคุยกัน ท่านอลงกรณ์ได้โทร.มา ผมได้แสดงความเห็นเหมือนเดิม และบอกว่า เรื่องนี้ละเอียดอ่อน เป็นเรื่องคู่กรณีโทรคมนาคมมูลค่ามหาศาล มีการฟ้องร้องกันอยู่หลายคดี การตรวจสอบต้องโปร่งใส ผมเห็นว่า ฝ่ายการเมืองไม่ควรเป็นประธาน ควรใช้กลไกข้าราชการปกติ ท่านสัญญาไม่พอใจ ตะโกนสวนระหว่างผมคุยกับนายอลงกรณ์ สรุปว่า ท่านอธิบดีกลัวอะไร ที่สัญญามาเป็นประธาน ผมเรียนว่า ไม่ติดใจใครจะเป็นประธาน แต่ติดใจสถานะของคนที่มาเป็น จากนั้นผมก็กลับ และมาคุยกับข้าราชการ จากนั้นไปเรียนท่านปลัด (นายยรรยง) ซึ่งปลัดขอให้ดำเนินการตามแนวทางที่เคยทำ ก็เลยทำหนังสือถึงท่านปลัด ขอให้แต่งตั้งคณะทำงานฯ ตามที่ได้ทำงานอยู่ขณะนี้ออกมา ส่วนที่ท่านสัญญาออกมาให้ข่าว ผมไม่ทราบว่าท่านมีเจตนาอะไร ต้องไปถามท่านเอง” นายบรรยงค์ กล่าว