ASTVผู้จัดการรายวัน - “ดีแทค” ใกล้จบเห่! “อลงกรณ์” สั่งปิดเกม สั่งการส่งตำรวจดำเนินคดีแล้ว นัดแถลงรายละเอียดวันนี้ ยืนยันตัดสินโปร่งใส ยุติธรรม “สัญญา” เผยผลตรวจสอบ พบความผิดปกติอื้อ ทั้งการกำหนดข้อบังคับเรื่องสิทธิ์ออกเสียง เงินโอนซื้อหุ้น และที่ตั้งบริษัท
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ ว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีคำสั่งถึงอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ดำเนินการกล่าวโทษดำเนินบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ต่อพนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ และขอให้แจ้งผลการดำเนินการให้ทราบภายใน 7 วัน นับแต่ได้ออกคำสั่ง โดยคำสั่งลงวันที่ 8 ก.ค.2554 ที่ผ่านมา
ในการสั่งการดังกล่าว มีเหตุผลประกอบว่า มีมูลอันน่าเชื่อได้ว่านิติบุคคลที่ถือหุ้นตามลำดับชั้นของดีแทคที่ได้จดทะเบียนและแสดงสถานะเป็นนิติบุคคลไทยรวม 7 บริษัท น่าจะมีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ซึ่งจะทำให้แต่ละบริษัทดังกล่าว มีสัดส่วนของหุ้นที่ถือโดยคนต่างด้าว รวมกันได้ตั้งแต่ครึ่งหนึ่งขึ้นไปของหุ้นทั้งหมดของบริษัท (หุ้นที่คนต่างด้าวถือโดยตรง รวมกับหุ้นที่ให้ผู้อื่นถือแทน) อันจะส่งผลให้บริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นคนต่างด้าว และจะมีผลกระทบทำให้ดีแทคมีสถานะเป็นคนต่างด้าวตามไปด้วย
นายอลงกรณ์กล่าวว่า วันนี้ (11 ก.ค.) ได้นัดแถลงผลการตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นของดีแทค หลังจากที่ได้มอบหมายให้นายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษา ไปศึกษาผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์ ศึกษาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม และศึกษาข้อร้องเรียนของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ซึ่งนายสัญญาได้ทำการศึกษาเสร็จแล้ว และได้ทำสรุปมาให้ตนพิจารณาแล้ว
“ผมได้พิจารณาอย่างตรงไปตรงมา ไม่ให้ใครมาล็อบบี้ หรือมาวิ่งเต้นเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นที่ได้มีการตรวจสอบออกมา และที่ผ่านมา ก็ไม่เคยพบ ไม่เคยอนุญาตตัวแทนผู้บริหาร ทั้งผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง เข้าพบ ส่วนผลพิจารณาออกมาอย่างไร ให้รอดูผลวันนี้ เพราะต้องพิจารณาด้วยความโปร่งใส และยุติธรรม”นายอลงกรณ์กล่าว
นายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษารมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้เสนอผลการตรวจสอบให้นายอลงกรณ์ไปตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 ก.ค.2554 โดยได้เสนอสิ่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับที่คณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์จัดทำมา โดยแยกประเด็นออกมาชัดเจนเป็นข้อๆ เพื่อให้นายอลงกรณ์ได้พิจารณาตัดสินใจ ส่วนจะพิจารณาชี้ขาดอย่างไร เป็นเรื่องของรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับนโยบายจะเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะตนได้ทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว
ทั้งนี้ จากการศึกษาผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์ พบว่า ผลการตรวจสอบส่วนใหญ่ 70% เป็นที่น่าพอใจ แต่ยังมีอีก 30% ที่น่าสงสัย และเห็นว่ายังตรวจสอบได้ไม่ถึงที่สุด ทั้งๆ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบได้
"รายงานที่คณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์สรุป และเสนอให้นายยรรยง พิจารณา มันสรุปมาว่าเป็น แต่ทำไมแทงกั๊ก ใส่เสื้อสูท ใส่เสื้อกั๊กอยู่ได้”นายสัญญากล่าว
นายสัญญากล่าวว่า สำหรับข้อสังเกตที่ตรวจสอบพบ เช่น ทำไมดีแทคถึงกำหนดข้อบังคับให้คนไทย ซึ่งถือหุ้นใหญ่ 51% สามารถมีสิทธิ์ออกเสียงได้ในสัดส่วน 10 ต่อ 1 ขณะที่คนต่างชาติที่ถือหุ้น 49% แต่ออกเสียงได้ 1 ต่อ 1 ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขเช่นนี้โหวตเมื่อไร ก็แพ้ แต่ถามว่าทำได้หรือไม่ คำตอบ คือ ทำได้ แต่สมควรหรือไม่ และพฤติกรรมเช่นนี้หมายถึงอะไร ก็ต้องสอบให้ลึกลงไปอีก
นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติในส่วนของเงินทุนที่นำมาซื้อหุ้นของบริษัทต่างๆ ที่ถือหุ้นในดีแทค โดยบางบริษัทมีเงินทุนจดทะเบียนนิดเดียว แต่สามารถกู้เงินได้เป็น 100 เท่า 1,000 เท่า รวมยอดเงินเป็นหมื่นล้านบาท แต่ไม่มีรายละเอียดกู้จากไหน กู้กับใคร และยังมีเงื่อนไขพิเศษ ไม่คิดดอกเบี้ย ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระคืน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผิดปกติ
ขณะเดียวกัน ยังตรวจสอบพบอีกว่า บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในดีแทค มีที่ตั้งที่เดียวกันกับบริษัท ฮันตัน แอนด์ วิลเลียมส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษากฎหมายของเทเลนอร์ โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 34 อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี และผลการตรวจสอบไม่พบว่าไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ เคยใช้ประโยชน์จากอาคารดังกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า สำหรับผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์ ที่ได้เสนอผลการตรวจสอบถึงปลัดกระทรวงพาณิชย์ สรุปความได้ว่า คณะทำงานเห็นพ้องต้องกันว่า เอกสารหลักฐานที่ปรากฏ ยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถชี้ชัดได้ว่า ดีแทค มีสถานะเป็นคนต่างด้าว ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 แต่มีเอกสารหลักฐานข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งพฤติกรรมแวดล้อมต่างๆ ที่มีมูลอันน่าเชื่อได้ว่านิติบุคคลที่ถือหุ้นตามลำดับชั้นของดีแทคที่ได้จดทะเบียนและแสดงสถานะเป็นนิติบุคคลไทยรวม 7 บริษัท น่าจะมีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว
ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ทั้ง 7 บริษัทมีสัดส่วนหุ้นที่ถือโดยคนต่างด้าว รวมกันได้ตั้งแต่ครึ่งหนึ่งขึ้นไปของหุ้นทั้งหมดของบริษัท เป็นหุ้นที่คนต่างด้าวถือโดยตรง รวมกับหุ้นที่ให้ผู้อื่นถือแทน ส่งผลให้บริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นคนต่างด้าว และจะมีผลกระทบทำให้ดีแทคมีสถานะเป็นคนต่างด้าวตามไปด้วย
เหตุผลที่คณะทำงานฯ สรุปว่า ดีแทคอาจเข้าข่ายเป็นต่างด้าวนั้น เนื่องจากทั้ง 7 บริษัท ได้แก่ บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท โบเลโร จำกัด บริษัท กี เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท อาลิบี้ เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท เบย์วิว เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท ไกอา เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท ตั๊กวู โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งบริษัทเหล่านี้ พบว่า ได้รับเงินโอนจากต่างประเทศ ซึ่งตามงบการเงินของแต่ละบริษัทระบุว่าเป็นเงินกู้ที่มีเงื่อนไขพิเศษไม่คิดดอกเบี้ย มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม
นอกจากนี้ ยังพบว่า เทเลนอร์ เอเชีย (ประเทศนอร์เวย์) ได้แจ้งรายงานประจำปีว่า ได้ถือหุ้นในดีแทคผ่านทางบริษัทย่อยที่เกี่ยวข้องกัน คิดเป็นสัดส่วนถึง 65.5% จึงสันนิฐานได้ว่า เงินที่มาจากต่างประเทศที่อ้างว่าเป็นเงินกู้ น่าจะเป็นเงินลงทุนของคนต่างด้าวในดีแทคผ่านการถือหุ้นแทนของนิติบุคคลต่างๆ ที่ถือหุ้นตามลำดับชั้นในดีแทค
ขณะเดียวกัน ยังพบว่า กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจของดีแทคและนิติบุคคลที่ถือหุ้นตามลำดับชั้นในดีแทคเป็นบุคคลเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน ไม่มีสถานที่ตั้งที่แท้จริงตามที่จดทะเบียนไว้
ทั้งนี้ หากดีแทคเป็นคนต่างด้าว ดีแทคจะมีความผิดตามมาตรา 37 ที่ประกอบธุรกิจโดยไม่ขออนุญาต และทั้ง 7 บริษัท จะมีความผิดตามมาตรา 36 ที่สนับสนุนคนต่างด้าวในการประกอบธุรกิจ และกรรมการหรือผู้มีอำนาจกระทำการนิติบุคคล ก็จะมีความผิดตามมาตรา 41.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ ว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีคำสั่งถึงอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ดำเนินการกล่าวโทษดำเนินบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ต่อพนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ และขอให้แจ้งผลการดำเนินการให้ทราบภายใน 7 วัน นับแต่ได้ออกคำสั่ง โดยคำสั่งลงวันที่ 8 ก.ค.2554 ที่ผ่านมา
ในการสั่งการดังกล่าว มีเหตุผลประกอบว่า มีมูลอันน่าเชื่อได้ว่านิติบุคคลที่ถือหุ้นตามลำดับชั้นของดีแทคที่ได้จดทะเบียนและแสดงสถานะเป็นนิติบุคคลไทยรวม 7 บริษัท น่าจะมีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ซึ่งจะทำให้แต่ละบริษัทดังกล่าว มีสัดส่วนของหุ้นที่ถือโดยคนต่างด้าว รวมกันได้ตั้งแต่ครึ่งหนึ่งขึ้นไปของหุ้นทั้งหมดของบริษัท (หุ้นที่คนต่างด้าวถือโดยตรง รวมกับหุ้นที่ให้ผู้อื่นถือแทน) อันจะส่งผลให้บริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นคนต่างด้าว และจะมีผลกระทบทำให้ดีแทคมีสถานะเป็นคนต่างด้าวตามไปด้วย
นายอลงกรณ์กล่าวว่า วันนี้ (11 ก.ค.) ได้นัดแถลงผลการตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นของดีแทค หลังจากที่ได้มอบหมายให้นายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษา ไปศึกษาผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์ ศึกษาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม และศึกษาข้อร้องเรียนของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ซึ่งนายสัญญาได้ทำการศึกษาเสร็จแล้ว และได้ทำสรุปมาให้ตนพิจารณาแล้ว
“ผมได้พิจารณาอย่างตรงไปตรงมา ไม่ให้ใครมาล็อบบี้ หรือมาวิ่งเต้นเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นที่ได้มีการตรวจสอบออกมา และที่ผ่านมา ก็ไม่เคยพบ ไม่เคยอนุญาตตัวแทนผู้บริหาร ทั้งผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง เข้าพบ ส่วนผลพิจารณาออกมาอย่างไร ให้รอดูผลวันนี้ เพราะต้องพิจารณาด้วยความโปร่งใส และยุติธรรม”นายอลงกรณ์กล่าว
นายสัญญา สถิรบุตร ประธานที่ปรึกษารมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้เสนอผลการตรวจสอบให้นายอลงกรณ์ไปตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 ก.ค.2554 โดยได้เสนอสิ่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับที่คณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์จัดทำมา โดยแยกประเด็นออกมาชัดเจนเป็นข้อๆ เพื่อให้นายอลงกรณ์ได้พิจารณาตัดสินใจ ส่วนจะพิจารณาชี้ขาดอย่างไร เป็นเรื่องของรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับนโยบายจะเป็นผู้ตัดสินใจ เพราะตนได้ทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว
ทั้งนี้ จากการศึกษาผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์ พบว่า ผลการตรวจสอบส่วนใหญ่ 70% เป็นที่น่าพอใจ แต่ยังมีอีก 30% ที่น่าสงสัย และเห็นว่ายังตรวจสอบได้ไม่ถึงที่สุด ทั้งๆ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบได้
"รายงานที่คณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์สรุป และเสนอให้นายยรรยง พิจารณา มันสรุปมาว่าเป็น แต่ทำไมแทงกั๊ก ใส่เสื้อสูท ใส่เสื้อกั๊กอยู่ได้”นายสัญญากล่าว
นายสัญญากล่าวว่า สำหรับข้อสังเกตที่ตรวจสอบพบ เช่น ทำไมดีแทคถึงกำหนดข้อบังคับให้คนไทย ซึ่งถือหุ้นใหญ่ 51% สามารถมีสิทธิ์ออกเสียงได้ในสัดส่วน 10 ต่อ 1 ขณะที่คนต่างชาติที่ถือหุ้น 49% แต่ออกเสียงได้ 1 ต่อ 1 ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขเช่นนี้โหวตเมื่อไร ก็แพ้ แต่ถามว่าทำได้หรือไม่ คำตอบ คือ ทำได้ แต่สมควรหรือไม่ และพฤติกรรมเช่นนี้หมายถึงอะไร ก็ต้องสอบให้ลึกลงไปอีก
นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติในส่วนของเงินทุนที่นำมาซื้อหุ้นของบริษัทต่างๆ ที่ถือหุ้นในดีแทค โดยบางบริษัทมีเงินทุนจดทะเบียนนิดเดียว แต่สามารถกู้เงินได้เป็น 100 เท่า 1,000 เท่า รวมยอดเงินเป็นหมื่นล้านบาท แต่ไม่มีรายละเอียดกู้จากไหน กู้กับใคร และยังมีเงื่อนไขพิเศษ ไม่คิดดอกเบี้ย ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระคืน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผิดปกติ
ขณะเดียวกัน ยังตรวจสอบพบอีกว่า บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในดีแทค มีที่ตั้งที่เดียวกันกับบริษัท ฮันตัน แอนด์ วิลเลียมส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษากฎหมายของเทเลนอร์ โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 34 อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี และผลการตรวจสอบไม่พบว่าไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ เคยใช้ประโยชน์จากอาคารดังกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า สำหรับผลการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ชุดนายบรรยงค์ ที่ได้เสนอผลการตรวจสอบถึงปลัดกระทรวงพาณิชย์ สรุปความได้ว่า คณะทำงานเห็นพ้องต้องกันว่า เอกสารหลักฐานที่ปรากฏ ยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถชี้ชัดได้ว่า ดีแทค มีสถานะเป็นคนต่างด้าว ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 แต่มีเอกสารหลักฐานข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมทั้งพฤติกรรมแวดล้อมต่างๆ ที่มีมูลอันน่าเชื่อได้ว่านิติบุคคลที่ถือหุ้นตามลำดับชั้นของดีแทคที่ได้จดทะเบียนและแสดงสถานะเป็นนิติบุคคลไทยรวม 7 บริษัท น่าจะมีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว
ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ทั้ง 7 บริษัทมีสัดส่วนหุ้นที่ถือโดยคนต่างด้าว รวมกันได้ตั้งแต่ครึ่งหนึ่งขึ้นไปของหุ้นทั้งหมดของบริษัท เป็นหุ้นที่คนต่างด้าวถือโดยตรง รวมกับหุ้นที่ให้ผู้อื่นถือแทน ส่งผลให้บริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นคนต่างด้าว และจะมีผลกระทบทำให้ดีแทคมีสถานะเป็นคนต่างด้าวตามไปด้วย
เหตุผลที่คณะทำงานฯ สรุปว่า ดีแทคอาจเข้าข่ายเป็นต่างด้าวนั้น เนื่องจากทั้ง 7 บริษัท ได้แก่ บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท โบเลโร จำกัด บริษัท กี เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท อาลิบี้ เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท เบย์วิว เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท ไกอา เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท ตั๊กวู โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งบริษัทเหล่านี้ พบว่า ได้รับเงินโอนจากต่างประเทศ ซึ่งตามงบการเงินของแต่ละบริษัทระบุว่าเป็นเงินกู้ที่มีเงื่อนไขพิเศษไม่คิดดอกเบี้ย มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม
นอกจากนี้ ยังพบว่า เทเลนอร์ เอเชีย (ประเทศนอร์เวย์) ได้แจ้งรายงานประจำปีว่า ได้ถือหุ้นในดีแทคผ่านทางบริษัทย่อยที่เกี่ยวข้องกัน คิดเป็นสัดส่วนถึง 65.5% จึงสันนิฐานได้ว่า เงินที่มาจากต่างประเทศที่อ้างว่าเป็นเงินกู้ น่าจะเป็นเงินลงทุนของคนต่างด้าวในดีแทคผ่านการถือหุ้นแทนของนิติบุคคลต่างๆ ที่ถือหุ้นตามลำดับชั้นในดีแทค
ขณะเดียวกัน ยังพบว่า กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจของดีแทคและนิติบุคคลที่ถือหุ้นตามลำดับชั้นในดีแทคเป็นบุคคลเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน ไม่มีสถานที่ตั้งที่แท้จริงตามที่จดทะเบียนไว้
ทั้งนี้ หากดีแทคเป็นคนต่างด้าว ดีแทคจะมีความผิดตามมาตรา 37 ที่ประกอบธุรกิจโดยไม่ขออนุญาต และทั้ง 7 บริษัท จะมีความผิดตามมาตรา 36 ที่สนับสนุนคนต่างด้าวในการประกอบธุรกิจ และกรรมการหรือผู้มีอำนาจกระทำการนิติบุคคล ก็จะมีความผิดตามมาตรา 41.